Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผู้ป่วยชายไทย อายุ 64 ปี
image - Coggle Diagram
ผู้ป่วยชายไทย อายุ 64 ปี
HPI :
- 5 วันก่อนมาโรงพยาบาล แน่นหน้าอก หายใจเหนื่อย กินได้น้อย ปัสสาวะออกน้อย คลื่นไส้อาเจียนบางครั้ง ไอแห้ง ไม่ได้รับการรักษา
- 1 วันก่อนมาโรงพยาบาล แน่นหน้าอก หายใจเหนื่อยมากขึ้น อาเจียน 5-6 ครั้ง อ่อนเพลีย กินได้น้อย ปัสสาวะออกน้อย จึงมาโรงพยาบาล แพทย์สั่ง Admit
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 6
อ่อนเพลีย เนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจไม่ดี
ร่วมกับรับประทานอาหารไดน้อย
ข้อมูลสนับสนุน
S : ผู้ป่วยบอกว่า “อ่อนเพลีย”
ผู้ป่วยบอกว่า “รับประทานอาหารมื้อละ 3-4 คำ”
O : ผู้ป่วยน้ำหนัก 57 กิโลกรัม ส่วนสูง 167 เซนติเมตร BMI = 20.43 kg/m2
วัตถุประสงค์
- เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเกิดอาการอ่อนเพลีย และสามารถรับประทานอาหารได้มากขึ้น
เกณฑ์การประเมิน
- ผู้ป่วยไม่มีอาการอ่อนเพลีย และสามารถรับประทานอาหารได้มากขึ้น
กิจกรรมการพยาบาล
- ประเมินอาการและอาการแสดงของการขาดสารอาหารอย่างรุนแรง เช่น อาการกล้ามเนื้อแขนขาลีบ อ่อนเพลีย เยื่อบุตาซีด อาการบวมตามแขนขา
- แนะนำให้รับประทานอาหารครั้งละน้อยๆ และเพิ่มจำนวนมื้ออาหารเป็นวันละ 5-6 มื้อ
- ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับประทานอาหารที่มีโปรตีนคุณภาพสูง เช่น เนื้อปลา ไข่ขาว นม เป็นต้น เพราะโปรตีนเป็นสารที่จำเป็นต่อการสร้างและซ่อมแซมกล้ามเนื้อให้ร่างกายและการกินโปรตีนคุณภาพสูง จะทำให้ร่างกายนำโปรตีนไปใช้ได้เต็มที่ ลดการทำงานของไต ทำให้ของเสียเกิดขึ้นน้อย
- ดูแลจัดอาหารให้น่ารับประทาน เพื่อกระตุ้นการอยากอาหาร
- หากผู้ป่วยเบื่ออาหารโรงพยาบาล แนะนำให้ผู้ป่วยเลือกรับประทานอาหารเอง โดยไม่ขัดกับโรคที่เป็นและแผนการรักษาของแพทย์ เพราะจะทำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้มากขึ้นและไม่ขาดสารอาหาร
- จัดสภาพแวดล้อมให้สะอาด เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีความอยากอาหารเพิ่มขึ้น
- ให้ผู้ป่วยชั่งน้ำหนักสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เพราะจะทำให้ทราบถึงระดับความรุนแรงของภาวะขาดสารอาหาร
- ส่งปรึกษานักโภชนาการ เพื่อให้แนะนำการรับประทานอาหารให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เหมาะสม และคำนวณสารอาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วยที่ควรจะได้รับในแต่ละวัน
การประเมินผล
18/05/65
- ผู้ป่วยไม่มีอาการอ่อนเพลีย และสามารถรับประทานอาหารได้มากขึ้น
19/05/65 **บรรลุตามวัตถุประสงค์
- ผู้ป่วยไม่มีอาการอ่อนเพลีย และสามารถรับประทานอาหารได้มากขึ้น
สภาพผู้ป่วยเมื่อแรกรับ
แรกรับผู้ป่วยรู้สึกตัวดี หายใจเหนื่อยเล็กน้อย เจ็บแน่นหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน ขาบวมกดบุ๋ม 1+ ทั้ง 2 ข้าง
V/S T = 36.8 C , PR = 80/min , RR = 25/min , BP = 106/64 mmHg , O2 sat = 98%
น้ำหนัก 57 กิโลกรัม ส่วนสูง 167 เซนติเมตร BMI = 20.43 kg/m2
-
-
-
-