Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Seizure - Coggle Diagram
Seizure
สาเหตุ :star:
- โรคลมชักไม่ทราบสาเหตุ (>50% เป็นโรคลมชัก)
- รอยโรคของสมองโดยตรง ได้แก่ สมองได้รับการกระทบกระเทือน
- ความผิดปกติทางชีวเคมี ที่พบบ่อย ได้แก่ น้ำตาลในเลือดตํ่า สมองขาดออกซิเจน ได้รับพิษตะกั่ว การขาดยาบางอย่าง
-
Seizure คือ เป็นการปลดปล่อยคลื่นไฟฟ้าออกมาจากเซลล์สมองอย่างทันทีทันใด ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงหน้าที่ของสมอง โดยเฉพาะความรู้สติการเคลื่อนไหว การรับความรู้สึก ระบบประสาทอัตโนมัติและด้านจิตใจ (เป็นกลุ่มอาการไม่มีโรคโดยเฉพาะ)
อาการและอาการแสดง :star:
อาการชักเฉพาะที่ (ทั้งแบบรู้ตัวและไม่รู้ตัว)
โดยกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติอาจรบกวนสมองส่วนที่ควบคุมการทำงานแห่งใดแห่งหนึ่งในร่างกาย ทำให้เกิดอาการต่างๆ โดยที่ยังไม่รู้ตัว
เช่น อาการชา หรือกระตุกของแขนขาหรือใบหน้าข้างใดข้างหนึ่งเป็นซ้ำๆ โดยที่ไม่สามารถควบคุมได้ นอกจากนี้อาจมีอาการคลื่นไส้ ปวดท้อง หวาดกลัวความรู้สึกแปลกๆ ความรู้สึกเหมือนฝัน หูแว่ว เห็นภาพหลอน หรือหัวใจเต้นผิดปกติ
อาการชักแบบเหม่อลอย
มักจะมีอาการเตือนนำมาก่อนเหมือนดังที่กล่าวมาแล้ว ตามด้วยอาการเหม่อลอยผู้ป่วยมักจะทำปากขมุบขมิบหรือเคี้ยวปากหรือมือเกร็งหรือขยับไปมา อาจคลำตามเสื้อผ้าอย่างไม่รู้ตัว เคลื่อนไหวแขนขาอย่างไร้จุดหมายโดยไม่รับรู้สิ่งรอบข้างแล้ว โดยที่จำเหตุการณ์ระหว่างนั้นไม่ได้
อาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว
อาการชักเกร็งกระตุกทั้งตัว ผู้ป่วยจะสูญเสียความรู้สึกตัวทันที และล้มลงกล้ามเนื้อจะแข็งเกร็งทั่วทั้งตัวตาจะเหลือกค้าง น้ำลายฟูมปาก อาจจะกัดลิ้นตนเองหรือปัสสาวะราด ระยะเวลาชักนานประมาณ 2-3 นาที หลังชักมักจะเพลีย และนอนหลับหลังจากหยุดชัก
กรณีศึกษา :pencil2:
3 ชั่วโมง ก่อนมาโรงพยาบาล ผู้ป่วยซึมลง ไม่พูด แขนขาอ่อนแรง ตามองทางซ้าย วันที่ 7 พฤษภาคม 2565 เวลา 11.00 น. ปกติดี เริ่มนอนเวลา 12.00 น. ปลุกผู้ป่วย พบผู้ป่วยซึม ตามองซ้าย แขนขาอ่อนแรง
-
อาการชักแบบเหม่อนิ่ง
ผู้ป่วยจะจ้องไปข้างหน้าอย่างไร้จุดหมาย เป็นระยะเวลาสั้นๆ คล้ายเหม่อประมาณ 2-3 วินาที แล้วกลับมาทำสิ่งที่ค้างอยู่ต่อไปโดยมักไม่มีการเคลื่อนไหวแขนขา
-
พยาธิสภาพ :star:
อาการที่เกิดจากภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลันของการทางานของเซลล์สมองโดยมีการปลดปล่อยคลื่นไฟฟ้าที่ผิดปกติ (epileptiform activity) ออกมาจากเซลล์สมองจำนวนมากพร้อม ๆ กันจากสมองจุดใดจุดหนึ่งหรือทั้งหมด
1. อาการชักที่มีปัจจัยกระตุ้น (provoked seizure) หมายถึง อาการชักที่เกิดจากมีปัจจัยกระตุ้น ทำให้ seizure threshold ลดลงชั่วคราว โดยอาการชักจะไม่เกิดขึ้นซ้ำอีก ถ้าปัจจัยกระตุ้นนั้นหมดไป
2. อาการชักที่ไม่มีปัจจัยกระตุ้น (Unprovoked seizure) หมายถึง อาการชักที่เกิดขึ้นโดยไม่มีปัจจัยกระตุ้น อาจเป็นการครั้งแรกของผู้ป่วยลมชัก ดังนั้นจึงมีโอกาสเกิดการชักซ้ำได้บ่อย เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ติดเชื้อ เนื้องอกในสมอง สมองเสื่อม
กรณีศึกษา :pencil2:
เป็นอาการชักที่เกิดขึ้นโดยไม่มีปัจจัยกระตุ้น อาจเป็นการครั้งแรกของผู้ป่วยลมชัก ดังนั้นจึงมีโอกาสเกิดการชักซ้ำได้บ่อย เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ติดเชื้อ เนื้องอกในสมอง สมองเสื่อม
-
ผู้รับบริการ :star:
หญิงไทยสูงอายุ รูปร่างอ้วน สวมชุดผู้ป่วย นอนบนเตียงโรงพยาบาล ผู้ป่วยรู้สึกตัวไม่ค่อยดี มีง่วงซึม ไม่พูด แต่พยักหน้าได้ ลืมตาเมื่อเจ็บ และเมื่อเรียกชื่อเสียงดังๆ ผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองไม่ได้ E3V1M5
-
-
-
-
-