Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Thalassemia, นางสาวกรรวี ด้วงมหาสอน รหัสนิสิต 63019950, ดาวน์โหลด,…
Thalassemia
5. Action/Nursing care
อาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย โดยทั่วไปคือการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ ที่สำคัญคือ เน้นการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่ เต้าหู่ ถั่วต่าง ๆ ข้าวกล้อง ข้าวบาร์เลย์ เป็นต้น เพราะผู้ป่วยโรคนี้มักจะมีการเจริญเติบโตของร่างกายน้อยกว่าปกติ มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ และมีความหนาแน่นของมวลกระดูกน้อย, อาหารที่มีสารโฟเลตสูงเพื่อช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง เช่น พืชผักต่าง ๆ อย่างตำลึง กะหล่ำ คะน้า ถั่วงอก มะเขือเทศ เป็นต้น, อาหารที่มีแคลเซียม แมกนีเซียม และวิตามินดีสูง เพื่อช่วยป้องกันภาวะกระดูกพรุน เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม ผักกวางตุ้ง ผักโขม ผักหวาน ฟักอ่อน ใบแค ใบชะพลู ใบตำลึง ใบยอ ใบย่านาง ใบสะระแหน่ ส้มเขียวหวาน มะขามหวาน มะม่วงแก้วสุก เป็นต้น นอกจากนี้ควรรับประทานอาหารที่มีวิตามินเอ วิตามินอี และวิตามินซีสูง เพื่อช่วยลดภาวะการเกิดอนุมูลอิสระในร่างกายจากการที่เม็ดเลือดแดงแตกง่าย เช่น ฝรั่ง มะยม เสาวรส มะละกอ ผักหวาน ฟักทอง เป็นต้น
อาหารที่ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียควรหลีกเลี่ยง คือ อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง (เพราะร่างกายของผู้ป่วยจะมีธาตุเหล็กมากเกินพออยู่แล้ว) เช่น หอยชนิดต่าง ๆ สัตว์ที่มีเนื้อแดง (เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู) เลือดสัตว์ เครื่องในสัตว์ หมูหย็อง ปลาสีเสียด ปลาดุก ปลาลิ้นหมา กุ้งฝอยสด กุ้งแห้งตัวเล็ก ดาร์กช็อกโกแลต ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วลิสง เต้าเจี้ยว เมล็ดฟักทอง งาขาว งาดำ กะเพราแดง ใบแมงลัก ผักกูด ผักเม็ก เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ซึ่งร่างกายจะสามารถดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหารดังกล่าวได้ดีกว่าธาตุเหล็กที่พบในพืชผักต่าง ๆ สำหรับตัวอย่างรายการอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เช่น ก๋วยเตี๋ยวน้ำตก แกงหอยขม กุ้งเต้น ขนมจีนน้ำเงี้ยวใส่เลือดหมูและดอกงิ้ว น้ำพริกกุ้งเสียบ น้ำพริกกะปิกับดอกโสนลวก เนื้อวัวแดดเดียว ส้มตำไทยใส่กุ้งแห้ง หมูหย็อง ออส่วน หอยนางรม หอยแมลงภู่ทอด เป็นต้น
ไม่รับประทานพืชผักที่มีธาตุเหล็กสูงร่วมกับอาหารที่เพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กจากพืชต่าง ๆ ได้แก่ อาหารที่มีวิตามินซีสูง เช่น มะขามป้อม มะเขือเทศ ส้ม ฝรั่ง เนื้อสัตว์ และแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ควรรับประทานอาหารที่ช่วยลดการดูดซึมธาตุเหล็กจากพืชผักร่วมด้วย เช่น ชา กาแฟ ผลิตภัณฑ์ที่มีกาเฟอีน น้ำเต้าหู้ นมและผลิตภัณฑ์จากนม
-
ไม่ควรซื้อวิตามิน/เกลือแร่หรือยาบำรุงเลือดมารับประทานด้วยตัวเองจนกว่าจะได้ปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะอาจเป็นวิตามินหรือยาที่มีธาตุเหล็กอยู่ด้วย ซึ่งจะเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคโลหิตจางจากภาวะขาดธาตุเหล็ก แต่จะเป็นโทษกับผู้ป่วยที่เป็นโรคธาลัสซีเมียที่มีภาวะเหล็กเกินอยู่แล้ว
ห้ามดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะอาจจะเป็นการซ้ำเติมทำให้เกิดโรคตับแข็งได้เร็วขึ้น เนื่องจากธาตุเหล็กที่สะสมอยู่ในร่างกายมีพิษต่อตับอยู่แล้ว
ห้ามสูบบุหรี่ เพราะนอกจากจะมีโทษต่อสุขภาพโดยรวมและเพิ่มปัญหาเรื่องโรคหัวใจแล้ว ยังอาจทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนได้มากขึ้น เนื่องจากมีภาวะซีดอยู่แล้วด้วย
-
ป้องกันการติดเชื้อโดยการรักษาสุขอนามัยให้ดี หลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่ที่แออัด หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นไข้หวัด ไอ เจ็บคอ และรับวัคซีนป้องกันโรคตามกำหนด รวมทั้งวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B vaccine) และ Hib (Haemophilus influenzae type b) vaccine และสำหรับผู้ที่ผ่าตัดม้ามออกควรได้รับวัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมค็อกคัสทั้งก่อนและหลังการผ่าตัดด้วย
หมั่นออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ ไม่หักโหม หรือเหนื่อยเกินไป และเลือกประเภทของการออกกำลังกายที่ไม่เสี่ยงต่อการหักของกระดูก
หลีกเลี่ยงการกระทบกระแทก ระวังอย่าให้ลื่นหรือหกล้ม เพราะผู้ป่วยจะมีกระดูกเปราะบางอยู่แล้ว ซึ่งอาจแตกหักได้ง่าย
ติดตามการรักษากับแพทย์อย่างสม่ำเสมอ แม้ว่าโรคนี้จะเป็นเรื้อรัง แต่การรักษาอย่างจริงจังและต่อเนื่องจะช่วยทำให้โรคทุเลา ช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ทำให้มีชีวิตที่ยืนยาว และมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้
ผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเมื่อรู้สึกมีไข้ ซีดลงอย่างมาก หรือมีอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ เพื่อจะได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะถ้าปล่อยไว้อาการอาจรุนแรงขึ้นในเวลาอันรวดเร็วได้
4. Plan
ผู้ที่ตรวจพบว่าเป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมีย สามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติทั่วไป โดยไม่จำเป็นต้องรับประทานยาใด ๆ
ผู้ป่วยที่เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดที่มีอาการน้อย เช่น ฮีโมโกลบินเอช (Hemoglobin H disease) ถ้าผู้ป่วยยังรู้สึกสบายดีแพทย์จะยังไม่ให้การรักษาแต่อย่างใด เพียงแต่ให้คำแนะนำและติดตามดูอาการ แต่ถ้าช่วงไหนที่ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น เช่น ซีดมากเนื่องจากเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกเฉียบพลัน (Acute hemolysis) ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อมีไข้จากการติดเชื้อ การรักษาก็จำเป็นต้องให้เลือดและรักษาไปตามอาการและสาเหตุที่พบร่วม
ผู้ป่วยที่เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดที่มีอาการรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก เช่น ซีด เหลืองเรื้อรังมาตั้งแต่เล็ก มีโรคติดเชื้อหรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ผู้ป่วยจะต้องได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการรักษาที่จำเป็น คือ การให้เลือด และยาขับธาตุเหล็ก ซึ่งจะต้องให้ต่อเนื่องไปตลอดชีวิต
แพทย์จะประเมินภาวะเหล็กเกินโดยการตรวจระดับเฟอร์ริทิน (Ferritin) ในเลือด และทำการปรับขนาดยาขับธาตุเหล็กให้เหมาะสมเป็นระยะ ๆ
-
-
1.Root cause
โรคธาลัสซีเมีย คือ
ธาลัสซีเมียเป็นโรคโลหิตจางที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เกิดจากโปรตีนโกลบินซึ่งเป็นส่วนประกอบของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงสังเคราะห์ได้น้อยลงหรือผิดปกติส่งผลให้เม็ดเลือดมีอายุสั้นและแตกง่าย
โรคธาลัสซีเมียถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบยีนด้อย (autosomal recessive) (ยีนคือหน่วยพันธุกรรมที่กำหนดลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต โดยจะทำงานร่วมกันเป็นคู่ ยีนหนึ่งได้รับถ่ายทอดจากพ่ออีกยีนหนึ่งได้รับถ่ายทอดจากแม่) ผู้มียีนธาลัสซีเมียมีได้ 2 แบบคือ
- เป็นพาหะ คือ มียีนหรือพันธุกรรมของโรคธาลัสซีเมียเพียงยีนเดียวโดยมียีนที่คู่กันปกติ ผู้ที่มียีนธาลัสซีเมียแฝงอยู่จะมีสุขภาพปกติ ไม่มีอาการซีด ต้องตรวจเลือดโดยวิธีพิเศษจึงจะบอกได้ ผู้เป็นพาหะสามารถถ่ายทอดยีนธาลัสซีเมียนี้ไปให้ลูกได้
- เป็นโรค คือ ผู้ที่รับยีนหรือพันธุรรมของโรคธาลัสซีเมียกลุ่มเดียวกันมา 2 ยีน โดยยีนหนึ่งได้รับจากบิดา อีกยีนหนึ่งได้รับจากมารดาป่วยจึงมียีนธาลัสซีเมียที่คู่กันทั้ง 2 ยีน ทำให้มีอาการของโรคได้ และสามารถถ่ายทอดยีนธาลัสซีเมียไปให้ลูกได้
สาเหตุ
เกิดจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์/พันธุกรรม 2 กลุ่ม ได้แก่ α-thalassemia และ β-thalassemia = ความผิดปกติของยีนในการควบคุมการสร้างโปรตีนโกลบินชนิดแอลฟาและเบต้า
alpha thalassemia
α-thalassemia 2 trait ( -α/αα ) : เป็นภาวะพาหะผู้ป่วยจะไม่แสดงลักษณะผิดปกติ เกิดจาก α-globin gene ขาดหายไป 1 ยีน
α-thalassemia 1trait ( --/αα ) : เป็นภาวะพาหะผู้ป่วยอาจมีซีดเล็กน้อย เกิดจากα-globin gene ขาดหายไป 2 ยีน
Hemogloinb H disease ( --/-α ) : มีภาวะโลหิตจางและเม็ดเลือดแดงแตกง่าย เกิดจาก มี α-globin gene เพียง 1 ยีนทำให้การสร้างฮีโมโกลบิน ลดลง ทำ ให้มี β-globinchain เหลือทำ ให้รวมตัวกันเป็น β4
Hemoglobin Bart’s hydrops fetalis (--/--) : ทารกเกิดภาวะบวมน้ำเป็นธาลัสซีเมียชนิดที่รุนแรงที่สุดโดยเด็กมักเสียชีวิตก่อนคลอดหรือหลังคลอดเพียงเล็กน้อยเกิดจาก ไม่มี α-globin gene
Beta thalassemia
β-thal major (Homozygous β-thal):ไม่มีการสร้างสายเบตาโกลบินเลย จึงไม่มีการสร้าง β-globin
เลยจะมีอาการซีดมากต้องได่รับการถ่ายเลือดเสมอ
-
-
-
6.Evalution
ผู้ป่วยและครอบครัวควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์เพื่อให้เข้าใจถึงธรรมชาติของโรค ความหมายของการเป็นพาหะ ความเสี่ยงต่อการมีลูกเป็นโรค แนวทางปฏิบัติในการรักษาโรคและป้องกันในครอบครัว และทำการตรวจกรองโรคในหมู่สมาชิกของครอบครัวผู้ป่วย รวมทั้งควรได้รับการสนับสนุนทางด้านจิตใจและสังคม เพื่อให้ผู้ป่วยมีกำลังใจสามารถรับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
เพื่อให้สตรีตั้งครรภ์ มีความรู้เกี่ยวกับโรค Thalassemia และพาหะ การถ่ายทอดทางพันธุกรรมสู่ทารกผลกระทบ ต่อทารกและมารดา และทางเลือกในกาตั้งครรภ์ และการ วางแผนในการตั้งครรภ์ต่อไป การปฏิบัติตนเมื่อเป็นโรคธาลัส ซีเมีย เพื่อให้มารดาดูแลสุขภาพตนและทารกในครรภ์ได้อย่างถูกต้อง
และให้ “ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย”
7.PDCA, DALI
ให้มีการประเมินผลทุกด้านของการให้การดูแลผู้ป่วยของบุคลากร เครื่องมือ ระบบ และกระบวนการ หรือแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วย ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวและพัฒนาการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
ครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการวางแผน ปฏิบัติ ตรวจสอบ และปรับปรุง เพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ตรงถามวัตถุประสงค์และพัฒนา ปรับปรุง ให้เกิดคุณภาพสูงสุด ตามเป้าประสงค์ แม่เกิดรอด ลูกปลอดภัย
-
-
-