Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Advance Cholangiocarcinoma - Coggle Diagram
Advance Cholangiocarcinoma
การพยาบาล
1.เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจน
2.ผู้ป่วยมีภาวะซีด
3.ผู้ป่วยมีภาวะติดเชื้อ เนื่องจากมีการอักเสบที่ท่อน้ำดีที่ตับ
4.ผู้ป่วยเสียสมดุลของสารน้ำและอิเล็คโตรไลต์ในร่างกาย
5.เกิดการคั่งของ bilirubin ในร่างกาย
6.ผู้ป่วยเสี่ยงอันตรายต่อภาวะแทรกซ้อนจากการตรวจ ERCP ได้แก่ เกิดภาวะเลือดออกในลำไส้เล็กส่วนต้น และ ทางเดินอาหารส่วนต้นทะลุ
7.ผู้ป่วยมีภาวะโพแทสเชียมในเลือดต่ำ
8.แบบแผนการปรับตัวและความทนทานต่อความเครียดเปลี่ยนแปลงเนื่องจากวิตกกังวลเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วย
9.ผู้ป่วยไม่สุขสบาย เนื่องจากท้องผูก
Advance Cholangiocarcinoma
อาการ
มีอาการแน่นท้อง ตัวเหลือง ตาเหลือง อุจจาระซีด คันตามร่างกาย
สาเหตุ
ผู้ป่วยรับประทานเนื้อวัวดิบ อาทิตย์ละ 1-2 ครั้ง ซึ่งในเนื้อวัวมีพยาธิมากมาย เช่น พยาธิตัวตืด พยาธิใบไม้ในตับ พยาธิแส้ม้า เป็นต้น
ความหมาย
มะเร็งท่อน้ำดีระยะสุดท้าย
ภาวะแทรกซ้อน
การแพร่กระจายของเซลล์มะเร็วไปยังอวัยวะอื่น
การรักษา
Percutaneous Transhepatic Biliary Drainage(PTBD) เป็นการระบายน้ำดี การใส่สายระบายน้ำดีจะทำการระบายน้ำดีผ่านสายยางขนาดเล็กที่ ผิวหนังที่บริเวณหน้าท้องผู้ป่วยยผ่านเนื้อตับไปยังท่อน้าดีในตับ น้ำดีที่ระบายออกจะออกมาเก็บในถุงที่อยู่นอกตัวผู้ป่วย
การใช้ยา
Losec
กลไกการออกฤทธิ์ : โดยตัวยาจะไปยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ Hydrogen/Potassium Adenosine Triphosphatase หรือ H+/K+ ATPase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีส่วนในการสร้างกรดในกระเพาะอาหารจึงทำให้กรดมีปริมาณลดลง ผลข้างเคียง :อาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องผูก ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน เหตุผลที่ใช้ยากับผู้ป่วย :เพื่อป้องกันการเกิดแผลและเลือดออกซ้ำ
Amoxicillin
กลไกการออกฤทธิ์ : การไปทำลายผนังเซลล์ของเชื้อโรคและทำให้เชื้อโรคตาย
ผลข้างเคียง : มีรอยด่างขาว แผลเปื่อยภายในปาก หรือบนริมฝีปาก เป็นไข้ ผื่นคัน ข้อต่อบวม ลมพิษ มีปัญหาในการหายใจ เป็นต้น
เหตุผลที่ใช้ยากับผู้ป่วย : ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
Lasix
กลไกการออกฤทธิ์ : ออกฤทธิ์ยับยั้งการดูดกลับของโซเดียมและคลอไรด์ที่บริเวณลูปออฟเฮนเล (Loop of Henle) ส่วนขาขึ้น (Loop of henle เป็นท่อยาวที่เป็นทางผ่านของปัสสาวะในหน่วยไต มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเกิดการดูดกลับและขับออกของสารในปัสสาวะ ผลข้างเคียง : ปัสสาวะหรืออุจจาระเป็นเลือด ท้องเสีย ปากแห้ง มีไข้ หนาวสั่น เจ็บคอ การได้ยินลดลง หรือมีเสียงกริ่งในหู กระหายน้ำมากขึ้น เป็นต้น
เหตุผลที่ใช้ยากับผู้ป่วย :ป้องกันอาการบวม
Clindamycin
กลไกการออกฤทธิ์ : เข้าไปยับยั้งกระบวนการสังเคราะห์โปรตีนของเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เชื้อเจริญเติบโตไม่ได้หรือตายไปในที่สุด
ผลข้างเคียง :ท้องร่วง ถ่ายเหลว หรืออุจจาระมีเลือดปะปน วิงเวียนศรีษะ มึนงง กล้ามเนื้อไม่มีแรง เป็นดีซ่าน ปวดท้อง คลื่นไส้ และอาเจียน มีไข้ เจ็บคอ แสบตา
เหตุผลที่ใช้ยากับผู้ป่วย : ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
Caftriaxone
กลไกการออกฤทธิ์ : เข้าจับกับ penicillin-binding protein (PBPs) ที่จะยับยั้งกระบวนการทรานส์เปปทิเดชันในขั้นตอนสุดท้ายของการสังเคราะห์เปปทิโดไกลแคนของผนังเซลล์ของแบคทีเรีย เป็นผลให้ยับยั้งสารชีวสังเคราะห์ของผนังเซลล์แบคทีเรียและหยุดการประกอบโครงสร้างของผนังเซลล์
ผลข้างเคียง :ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ไข้ หนาวสั่น เม็ดเลือดขาวสูง การเพิ่มขึ้นของระดับ AST, ALT และ BUN ในกระแสเลือด ปวดบริเวณที่ฉีด โลหิตจาง ผื่นแดง
เหตุผลที่ใช้ยากับผู้ป่วย : ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
KCl
กลไกการออกฤทธิ์ : รักษาสมดุลของเหลวและอิเล็กโทรไลท์ภายในเซลล์
ผลข้างเคียง : ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องอืด อ่อนเพลีย อ่อนแรง หายใจลำบาก
เหตุผลที่ใช้ยากับผู้ป่วย : โพแทสเซียมในร่างกายต่ำ
Nss 0.9%
กลไกการออกฤทธิ์ :รักษาสภาพแรงตึงออสโมติคของเลือดและเนื้อเยื่อ การเปลี่ยนแปลง ปริมาณโซเดียมและคลอไรด์จะทำให้แรงตึงออสโมติคเปลี่ยนแปลง ดังนั้นจึงมีผลต่อการเคลื่อนที่ของของเหลวและ การแพร่กระจายของเกลือชนิดต่าง ๆ ในเซลล์เนื้อเยื่อ
ผลข้างเคียง :ปวดบวมบริเวณที่ถูกฉีดน้ำเกลือเข้าไปมากขึ้นเรื่อย ๆ หรืออาการปวดบวมนั้นไม่หายไป
5% Dextrose in Water
เป็นสารน้าที่มีความเข้มข้น (osmolarity) เท่ากับสารน้าในร่างกาย ให้เพื่อทดแทนสารน้าที่ร่างกายสูญเสีย เป็นการทดแทนน้าที่อยู่นอกเซลล์ (extracellular volume)
ผลข้างเคียง :ปวดบวมบริเวณที่ถูกฉีดน้ำเกลือเข้าไปมากขึ้นเรื่อย ๆ หรืออาการปวดบวมนั้นไม่หายไป
Cholestyramine
กลไกการออกฤทธิ์ : ออกฤทธิ์จับกับน้ำดีในลำไส้เพื่อลดการดูดซึมไขมันในร่างกาย ผลข้างเคียง : ท้องผูก ปวดท้อง แน่นท้อง คลื่นไส้อาเจียน เลือดออกง่าย จ้ำเลือด ลมพิษ หอบหืด ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ปัสสาวะเป็นเลือด
เหตุผลที่ใช้ยากับผู้ป่วย : เพื่อลดการดูดซึมไขมันในร่างกาย
Acetar
เป็นสารน้าที่มีความเข้มข้น (osmolarity) เท่ากับสารน้าในร่างกาย ให้เพื่อทดแทนสารน้าที่ร่างกายสูญเสีย เป็นการทดแทนน้าที่อยู่นอกเซลล์ (extracellular volume)
ผลข้างเคียง :ปวดบวมบริเวณที่ถูกฉีดน้ำเกลือเข้าไปมากขึ้นเรื่อย ๆ หรืออาการปวดบวมนั้นไม่หายไป
ได้รับการตรวจ Endoscopic retrograde cholangiopancreatography (ERCP) การกล้องส่องเข้าไปทางปาก ผ่านหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้นจนถึงท่อเปิดของน้ำดีในลำไส้เล็ก
ประวัติการเจ็บป่วย
PH
เคยผ่าตัดต้อกระจกตา ไม่มีโรคประจำตัว ปฏิเสธการแพ้ยา ปฏิเสธการแพ้อาหาร
FH
ปฏิเสธโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรม
PI
2 เดือนก่อนมาโรงพยาบาล มีอาการแน่นท้อง ตาเหลืองขึ้น คันตามตัว จึงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสิรินธร อยู่รักษาจำนวน 1 วันและได้จำหน่าย วันที่ 8 พฤษภาคม 2565 นัดมาตรวจ ERCP ที่โรงพยาบาลขอนแก่น
CC
มาตามนัดเพื่อตรวจ Endoscopic retrograde cholangiopancreatography (ERCP)
การตรวจร่างกาย
Skin : jaundice, no cyanosis, normal skin turgor, capillary refill time 2 sec.
Abdomen : No abdominal mass, soft, not tender, no mass,Liver and spleen can’t be palpated,Bowel sound 6 / min
Neurological : Normal gait and posture, E4V5M6, Motor power grade 5 all, well co-ordination.
แบบแผนการดำเนินชิวิต
แบบแผนการขับถ่ายเปลี่ยนไปเนื่องจากผู้ป่วยงดน้ำงดอาหาร
แบบแผนการปรับตัวและความทนทานต่อความเครียดเปลี่ยนแปลงเนื่องจากวิตกกังวลเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วย
ข้อมูลส่วนบุคคล
ชายไทย อายุ 66 ปี สถานภาพ คู่ เชื้อชาติ ไทย สัญชาติ ไทย ศาสนา พุทธ ระดับการศึกษา ประถมศึกษา อาชีพ เจ้าหน้าที่รักษาควมปลอดภัย(รปภ.) รายได้ 10,000 บาทต่อเดือน สิทธิทางการรักษา บัตรทอง 30 บาท
แผนการจำหน่าย ตามหลัก D-METHOD
H:สามารถทำกิจวัตรประจำวัน ทำงาน และออกกำลังกายได้เบาๆ เช่น ทำงานบ้าน เดินรอบบ้าน
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง
D:แนะนำผู้ป่วยเกี่ยวกับการรับประทานอาหารให้ลดอาหารประเภทไขมันลง ผู้ป่วยมักมีค่าโปรตีนในเลือดต่ำ จึงควรเพิ่มอาหารประเภท โปรตีน แป้งผักและผลไม้ และอาหารเสริมทางการแพทย์ เพื่อเพิ่มระดับโปรตีนแลเพิ่มภูมิต้านทาน ควรรับประทานอาหารให้เพียงพอ ถ้ามีอาการท้องอืด ให้รับประทานอาหาร แต่ละมื้อให้น้อยแต่รับประทานให้บ่อยขึ้น ควรดื่มน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว ถ้าหากปริมาณน้ำดีที่ไหลออกมาต่อวันมีปริมาณมาก ให้เพิ่มปริมาณน้ำดื่มให้มากกว่าปกติโดยเพิ่มปริมาณให้มากขึ้นตามปริมาณน้ำดีที่สูญเสียไปในแต่ละวัน เช่น น้ำดีไหลออกมาปริมาณ 500 ซีซี. ให้ดื่มน้ำเพิ่มมากกว่าเดิมประมาณ 500 ซีซี. ถ้ามีอาการท้องอึดให้ดื่ม/จิบน้ำครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยๆ งดสูบบุหรี่ และงดดื่มเครื่องดื่มที่มแอลกอฮอล์
E:แนะนําผู้ป่วยและญาติเรื่องสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้าน ให้ผู้ป่วยนอนอยู่ชั้นล่างของบ้านเพื่อสะดวกต่อการทํากิจวัตรประจําวัน จัดวาง สิ่งของให้สะดวกต่อการหยิบใช้ ทําความสะอาด จัดสิ่งแวดล้อมบริเวณรอบๆบ้านและจัดวางสิ่งของภายในบ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่มีสิ่งกีดขวางบริเวณทางเดิน มี แสงสว่างเพียงพอ และมีอากาศถ่ายเทสะดวก
T:ป่วยจะได้รับการรักษาโดยการทำ Percutaneous Transhepatic Biliary Drainage(PTBD) เป็นการระบายน้ำดี การใส่สายระบายน้ำดีจะทำการระบายน้ำดีผ่านสายยางขนาดเล็กที่ ผิวหนังที่บริเวณหน้าท้องผู้ป่วยยผ่านเนื้อตับไปยังท่อน้าดีในตับ น้ำดีที่ระบายออกจะออกมาเก็บในถุงที่อยู่นอกตัวผู้ป่วย หลังจากที่ทำ PTBD แนะนำให้ผู้ป่วยควรอาบน้ำทุกวัน เพื่อสุขอนามัยที่ดี เพิ่มภูมิต้านทาน ป้องกันการติดเชือ ก่อนอาบน้า ควรป้องกันแผลไม่ให้โดนน้ำ โดยวางถุงพลาสติกให้คลุมแผล และใช้พลาสเตอร์ ปิดรอบแผ่นพลาสติก และไม่ควรอาบน้าที่อุ่นจัด เพราะจะทำให้ผิวแห้งและคัน หากกรณีไม่สามารถอาบน้าได้ทุกวันควรอาบน้าในวันที่ไปทำแผลโดยให้อาบน้ำก่อนไปทำแผล
M:แนะนำให้ผู้ป่วยเกี่ยวกับยาที่ได้รับกลับบ้านคือ ยา Losec เป็นยาลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร รับประทานก่อนอาหาร วันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 เม็ด หากมีอาการปวดศรีษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง มีแก๊สในกระเพาะอาหารแจ้งให้ผู้ป่วยทราบว่าเป็นผลเคียงข้างของยา และยา Cholestyramine เป็นยาลดการดูดซึมไขมันในร่างกาย รับประทานหลังอาหาร วันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 เม็ด หากมีอาการท้องผูก ท้องเสีย ปวดท้อง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ท้องอืด ระคายเคืองลิ้น คันหรือระคายเคืองบริเวณทวารหนัก แจ้งให้ผู้ป่วยทราบว่าเป็นผลข้างเคียงจากยา
O:การมาตรวจตามนัด การติดต่อขอความช่วยเหลือจากสถานพยาบาลใกล้บ้าน ในกรณีเกิดภาวะฉุกเฉินตลอดจนการส่งต่อผู้ป่วยให้ได้รับการ
D: แจ้งให้ผู้ป่วยทราบว่า โรคที่ผู้ป่วยเป็นเกิดจากการอักเสบของท่อน้ำดี การการบาดเจ็บๆซ้ำ จนเกิดเป็นเนื้อร้าย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดแน่นท้อง อุจจาระสีซีด ตัวเหลือง ตาเหลือง คันตามตัว
ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
Globulin 4.1 g/dL
สูงกว่าปกติเนื่องจากมีภาวะติดเชื้อจากการอักเสบบริเวณท่อน้ำดี
Bilirubin Total 24.00 mg/dL
สูงกว่าปกติเนื่องจากเกิดจากท่อน้ำดีอักเสบและติดเชื้อ
Bilirubin Direct 21.90 mg/dL
สูงกว่าปกติเนื่องจากเกิดจากท่อน้ำดีภายนอกตับปิดกั้น
Bilirubin Indirect 2.10 mg/dL
สูงกว่าปกติเนื่องจากเกิดการสลายตัวของเม็ดเลือดแดง
Alkaline phosphatase 669 U/L
สูงกว่าปกติเนื่องจาก เกิดจากมีภาวะอุดตันของท่อทางเดินน้ำดีภายนอกตับ
AST 197 U/L
สูงกว่าปกติเนื่องจาก 65 เกิดจากมีการอักเสบบริเวณท่อน้ำดี
ALT 60 U/L
สูงกว่าปกติเนื่องจากเกิดจากตับอักเสบ และเนื่องจากผู้ป่วยเป็น Advance CCA เซลล์มะเร็งอาจแพร่กระจายมายังตับ
Hemoglobin 8.8 g/dL
ต่ำกว่าปกติเนื่องจากมีภาวะซีดเกิดจากการสูญเสียเลือดบริเวณท่อน้ำดี
RBC 2.68 10^6/uL
ต่ำกว่าปกติเนื่องจากมีภาวะซีดเกิดจากการสูญเสียเลือดบริเวณท่อน้ำดี
Hematocrit 24.5 %
ต่ำกว่าปกติเนื่องจากมีภาวะซีดเกิดจากการสูญเสียเลือดบริเวณท่อน้ำดี
Neutrophil 77.5 %
สูงกว่าปกติเนื่องจาก มีภาวะติดเชื้อจากการอับเสบบริเวณท่อน้ำดี
Lymphocyte 9.0 %
ต่ำกว่าปกติเนื่องจากผู้ป่วยเป็น Advance CCA
Potassium 2.78 mmol/L
ต่ำกว่าปกติเนื่องจากมีภาวะโพแทสเซียมในร่างกายต่ำ
Prothombin Time 19.9 sec
สูงกว่าปกติเนื่องจาก มีภาวะเลือดแข็งตัวช้า เกิดจากสูญเสียเลือดบริเวณท่อน้ำดี
INR 1.79
สูงกว่าปกติเนื่องจาก มีภาวะเลือดแข็งตัวช้า เกิดจากสูญเสียเลือดบริเวณท่อน้ำดี
Partial Thomboplastin time 35.7 sec
สูงกว่าปกติเนื่องจาก มีภาวะเลือดแข็งตัวช้า เกิดจากสูญเสียเลือดบริเวณท่อน้ำดี
RDW 25.5 %
สูงกว่าปกติเนื่องจากภาวะซีดเกิดจากการสูญเสียเลือด บริเวณท่อน้ำดี
Albumin 2.6 g/dL
ต่ำกว่าปกติเนื่องจากผู้ป่วยได้รับสารน้ำจำนวนมาก