Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การอนามัยโรงเรียน, นางสาวพัชราภา พลแสน 62110133 - Coggle Diagram
การอนามัยโรงเรียน
แนวคิด และหลักการ ของการอนามัยโรงเรียน
ความหมายและความสำคัญของการอนามัยโรงเรียน
หมายถึง กิจกรรมหรือการดำเนินงานที่ก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจการป้องกัน การรักษา การแก้ไขปรับปรุง และการส่งเสริมสุขภาพของบุคคลทุกคนในโรงเรียนให้มีสุขภาพดี และเป็นความร่วมมือกันระหว่างโรงเรียน บ้านและชุมชน โดยการเน้นการจัดกิจกรรมร่วมกันใน 3 ลักษณะคือ การบริการสุขภาพ การสอนสุขศึกษา และการจัดสิ่งแวดล้อม
ความสำคัญ เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการ ด ารงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ อย่างมีความสุข
ขอบเขต และเป้าหมายของการอนามัยโรงเรียน
ขอบเขตของการอนามัยโรงเรียน
1) ป้องกันการแพร่กระจายของโรคติดต่อภายในโรงเรียน
2) การจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
3) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาพ
4) การควบคุมโรคติดต่อโดยการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน
เป้าหมายของการอนามัยโรงเรียน
คือ การจัดโครงการจัดบริการสุขภาพในโรงเรียนจะครอบคลุมกิจกรรมทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การดูแลรักษา และพื้นฟู สุขภาพ
การบริการอนามัยโรงเรียน
วัตถุประสงค์ของการให้บริการอนามัยโรงเรียน
เพื่อเสริมสร้างทัศนคติที่ดี
เพื่อจัดและดำเนินการโครงการอนามัยโรงเรียนที่สอดคล้องกับนโยบายของประเทศ
เป็นการให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้น
เพื่อเป็นการป้องกันโรคติดต่อในโรงเรียนอย่างถูกต้องและเหมาะสม
เพื่อประเมินภาวะสุขภาพของนักเรียน และบุคลากรทุกคนในโรงเรียน
1.เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันการเจ็บป่วยของเด็กนักเรียน
องค์ประกอบของการให้บริการอนามัยโรงเรียน
1) บริการอนามัยโรงเรียน (School Health Service)
2) สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน (Healthful School Living)
3) สุขศึกษาในโรงเรียน (School Health Education)
4) ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนบ้านและชุมชน(School and Home Relationship)
การประยุกต์ใช้กระบวนการพยาบาลในการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน
การประเมิน (Assessment)
1.1 ส ารวจข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลประเภทของโรงเรียน
ข้อมูลบุคลากรในโรงเรียน
ข้อมูลนักเรียน
1.2 ประเมินสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และสุขาภิบาลอาหาร
1.3 การประเมินภาวะสุขภาพ
การวิเคราะห์ข้อมูล และวินิจฉัยปัญหา
การวางแผนงาน/โครงการ
การดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ
การประเมินผลงาน/โครงการ
การให้บริการอนามัยโรงเรียนในสถานการณ์ต่าง ๆ
การสร้างผู้นำนักเรียน
ประกอบด้วยผู้นำนักเรียนฝ่ายส่งเสริมอนามัยในโรงเรียนประถมศึกษา เรียกว่า “อาสาสมัครสาธารณสุขในโรงเรียน” (อสร.) และในโรงเรียนมัธยมศึกษา เรียกว่า “ผู้นำเยาวชนสาธารณสุขในโรงเรียน” (ยสร.)
การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
ปัจจุบันกระทรวงสาธารสุขได้กำหนดวัคซีนที่นักเรียนต้องได้รับเพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อโรค 10 ชนิด ซึ่งเป็นโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ได้แก่ วัณโรค (Tuberculosis) ตับอักเสบบี(Hepatitis B) คอตีบ (Diphtheria) ไอกรน(Pertussis) บาดทะยัก (Tetanus) โปลิโอ (Polio) คางทูม (Mump) หัด (Measles) หัดเยอรมัน (Rubella) และไข้สมองอักเสบ
การประเมินภาวะสุขภาพ
การประเมินภาวะการเจริญเติบโตของร่างกาย
1.การเตรียมเด็กที่จะชั่งน้ำหนัก
การอ่านค่าน้ำหนัก
เทคนิคการวัดส่วนสูง
4.การคำนวณอายุ
5.กราฟแสดงการเจริญเติบโต
การทดสอบสายตา
เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญมากและมีประโยชน์ต่อการจัดที่นั่งในห้องเรียน และช่วยเหลือนักเรียนที่มีความผิดปกติให้ได้รับการตรวจแก้ไขโดยเร็ว
การทดสอบการได้ยินอย่างง่าย
ทดสอบโดยใช้นิ้วหัวแม่มือถูกับนิ้วชี้ห่างจากหู 1 นิ้ว ถ้าไม่ได้ยินเสียงนิ้วถูกันหรือได้ยินไม่ชัด อาจมีความผิดปกติหรือ
ให้นักเรียนยืนหันหลังให้ผู้ตรวจ ให้ห่างประมาณ 3 ก้าว ให้ผู้ตรวจเรียกชื่อนักเรียน หรือให้ทำตามคำสั่งด้วยเสียง ปกติ ถ้าได้ยินหรือทำตามคำสั่งได้แสดงว่าการได้ยินปกติ แต่ต้องทดสอบในห้องเงียบ ให้นักเรียนเข้ามาทีละคน
ใช้เครื่องมือง่ายๆ เช่น กระดิ่งเล็ก ๆสั่นห่างจากหูเด็กประมาณ 1 ฟุต ทำทีละข้าง ถ้าข้างใดไม่ได้ยิน ให้สงสัยว่าเป็นความผิดปกติของการได้ยินในหูข้างนั้น นักเรียนที่ตรวจแล้วสงสัยว่ามีความผิดปกติ ควรส่งพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุต่อไป
การตรวจสุขภาพร่างกาย 10 ท่า
ท่าที่ 1 ยื่นมือไปข้างหน้าให้สุดแขนทั้งสองข้าง คว่ำมือกางนิ้วทุกนิ้ว
สิ่งที่ควรสังเกต- เล็บยาวสกปรก- ผิวหนังบวม เป็นแผล ผื่น มีขี้ไคล- มีตุ่มเล็ก ๆ มีน้ำใส ๆ ตามง่ามมือ
ท่าที่ 2 ทำท่าต่อจากท่าที่ 1 คือพลิกมือ หงายมือสิ่งผิดปกติที่ควรสังเกต
ท่าที่ 3 งอแขนพับข้อศอก ใช้นิ้วแตะเปลือกตาด้านล่างเบาๆ ดึงเปลือกตาด้านล่างพร้อมกับเหลือกตาขึ้นและลงแล้วจึงกรอกตาไปด้านข้างขวาและซ้าย
สิ่งที่ควรสังเกต- ตุ่มสากบริเวณด้านนอกของแขน- ดวงตาแดง มีขี้ตา คันตา เปลือกตาบวมเจ็บ- ขอบตาล่างแดงมากอักเสบ- เป็นเม็ดหรือเม็ดอักเสบ เป็นหนองที่เปลือกตา
ท่าที่ 4 ใช้มือทั้งสองข้าง ดึงคอเสื้อออกให้กว้างภายหลังที่ปลดกระดุมหน้าอกเสื้อแล้วหมุนตัวซ้ายขวาเล็กน้อยเพื่อจะได้เห็นรอบ ๆ บริเวณคอ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
สิ่งที่ควรสังเกต- เม็ดผื่นคันบริเวณผิวหนังใต้คอบริเวณทรวงอก- ผิวหนังเป็นวงๆ สีขาวๆ ลักษณะเรียบโดยเฉพาะบริเวณคอ- ผิวหนังเป็นวงสีแดงๆเห็นขอบชัด ผิวหนังสกปรกมีขี้ไคล- บริเวณคอด้านหน้าบวมโตผิดปกติ
ท่าที่ 5 สำหรับนักเรียนหญิง ใช้มือขวาเปิดผมไปทัดไว้ที่ด้านหลังหูขวา หันหน้าไปทางซ้าย ส่วนนักเรียนชายหันหน้าไปทางซ้ายเท่านั้น
สิ่งที่ควรสังเกต- มีไข่เหา บริเวณโคนเส้นผม- มีน้ำหรือน้ำหนองไหลออกมาจากหูข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง- มีขี้หูอุดตันข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง- มีแผล หรือต่อมน้ำเหลืองหลังหูโต
ท่าที่ 6 ในท่าเดียวกันนักเรียนหญิง ใช้มือซ้ายเปิดผมไปทัดไว้ที่ด้านหลังหูซ้าย หันหน้าไปทางขวาส่วนนักเรียนชายให้หันหน้าไปทางขวาเท่านั้น
ท่าที่ 7 ให้กัดฟันและยิ้มกว้างให้เห็นเหงือกเหนือฟันบนและเห็นฟันล่างให้เต็มที่
สิ่งที่ควรสังเกต- ริมฝีปากซีดมาก- เป็นแผลที่มุมปาก มุมปากเปื่อย- เหงือกบวมเป็นหนอง หรือมีฟันผุ- ผิวหนังบริเวณใบหน้า หน้าผาก แก้ม คาเป็นวงขาวๆเรียบ หรือเป็นวงแดงมีขอบชัด
ท่าที่ 8 ให้อ้าปากกว้างแลบลิ้นยาว พร้อมทั้งร้อง “อา”ให้ศีรษะเอนไปข้างหลังเล็กน้อย
สิ่งที่ควรสังเกต- ลิ้นแตก แดง เจ็บ หรือเป็นฝ้าขาวๆ- ฟันผุ- แผลแดงอักเสบ บริเวณเยื่อบุจมูก- มีน้ำมูกไหลบริเวณจมูก- ไอ- ต่อมทอนซิลโต
ท่าที่ 9 สำหรับนักเรียนหญิง ให้แยกเท้าทั้งสองข้างห่างกัน 1 ฟุต ใช้มือทั้ง 2 ข้างจับกระโปรงดึงขึ้นเหนือเข่าทั้งสองข้าง ส่วนนักเรียนชายเพียงแยกเท้าทั้งสองข้างให้ห่างกัน 1 ฟุต เช่นกัน
สิ่งที่ควรสังเกต- แผลบริเวณเข่า หน้าแข้ง และน่อง- เป็นตุ่ม พุพอง บริเวณหน้าแข้ง น่อง- ความผิดปกติของฝ่าเท้าความพิการของขา- ทรวดทรง รูปร่าง
ท่าที่ 10 นักเรียนหญิง ชาย อยู่ในท่าที่ 9 ให้กลับหลังหัน สังเกตด้านหลังแล้วให้เดินไปข้างหน้าประมาณ 4-5 ก้าว แล้วเดินกลับหันเข้าหาผู้ตรวจ
ปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และสุขาภิบาลอาหาร
องค์ประกอบของการอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
1) น้ำดื่ม น้ำใช้
2) ส้วมและที่ปัสสาวะ
3) การกำจัดน้ำโสโครกในโรงเรียน
4) การกำจัดขยะ
5) ห้องครัว
6) โรงอาหาร
7) ห้องพยาบาล
การให้สุขศึกษาในโรงเรียน
หมายถึง การที่โรงเรียนจัดกิจกรรมสุขศึกษาทั้งในหลักสูตรและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 ด้าน คือ ความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติ ให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์
การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในโรงเรียน
จุดมุ่งหมายในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ มีดังนี้
ป้องกันไม่ให้เกิดโรคติดต่อเกิดขึ้นในโรงเรียน
เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อไปยังเด็กคนอื่น หรือชุมชนในกรณีมีการระบาดของโรค
เพื่อให้ความรู้ในการป้องกันโรคแก่นักเรียน ครูและเจ้าหน้าที่ในโรงเรียน
โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และกลวิธีในการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
แนวคิดโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
เป็นแนวคิดที่กว้างขวางครอบคลุมด้านสุขภาพอนามัยในทุกแง่ทุกมุมของชีวิต ทั้งในโรงเรียนและชุมชน
กลวิธีในการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
การชี้แนะ (Advocacy)
การสร้างหุ้นส่วนและภาคี (Partnerships and Alliances)
การสร้างเสริมความเข้มแข็งในระดับท้องถิ่น (Strengthening local capacity)
การวิจัย ติดตาม และประเมินผล (Research, monitoring and evaluation)
ประโยชน์ของการเข้าร่วมโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
1) โรงเรียนได้รับแนวทางการส่งเสริมสุขภาพพร้อมคู่มือการด าเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
2) นักเรียนได้เรียนรู้วิถีชีวิตในการสร้างพฤติกรรมสุขภาพ ซึ้งจะปลูกฝังให้เกิดการปฏิบัติตน
3) ครู ผู้ปกครอง และสมาชิกของชุมชนจะได้รับความรู้เกี่ยวกับสุขภาพอนามัย
องค์ประกอบของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
องค์ประกอบที่ 1 นโยบายของโรงเรียน
ข้อความที่ก าหนดทิศทางการด าเนินงานด้านส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน
องค์ประกอบที่ 2 การบริหารจัดการในโรงเรียน
การจัดองค์กรและระบบบริหารงานเพื่อให้การด าเนินงานส่งเสริมสุขภาพใน
โรงเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
องค์ประกอบที่ 3 โครงการร่วมระหว่างโรงเรียนและชุมชน
โครงการหรือกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ด าเนินการร่วมกันระหว่างโรงเรียน
องค์ประกอบที่ 4 การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่เอื้อต่อสุขภาพ
การจัดการควบคุมดูแล ปรับปรุงภาวะต่าง ๆ และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้
อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเอื้อต่อการเรียนรู้ส่งเสริมสุขภาพกาย จิต และสังคม
องค์ประกอบที่ 5 บริการอนามัยโรงเรียน
การที่โรงเรียนจัดให้มีบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่ จำเป็นสำหรับนักเรียนทุกคน
องค์ประกอบที่ 6 สุขศึกษาในโรงเรียน
การที่โรงเรียนจัดกิจกรรมสุขศึกษาทั้งในหลักสูตรการศึกษาและผ่านทาง
กิจกรรม พัฒนาผู้เรียน เพื่อมุ่งให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้
องค์ประกอบที่ 7 โภชนาการและอาหารที่ปลอดภัย
การส่งเสริมให้นักเรียนมีภาวะการเจริญเติบโตสมวัย
องค์ประกอบที่ 8 การออกกำลังกาย กีฬา และนันทนาการ
การส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนและ บุคลากรในโรงเรียนมีการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
องค์ประกอบที่ 9 การให้คำปรึกษาและสนับสนุนทางสังคม
ระบบบริการให้ค าปรึกษา แนะแนว และช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหา
สุขภาพกาย สุขภาพจิต และภาวะเสี่ยง รวมทั้งพฤติกรรมเสี่ยงของนักเรียน
องค์ประกอบที่ 10 การส่งเสริมสุขภาพบุคลากรในโรงเรียน
การจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อกระตุ้น ส่งเสริมให้บุคลากรในโรงเรียนมี
พฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม
บทบาทหน้าที่พยาบาลในงานบริการอนามัยโรงเรียน
ด้านการส่งเสริมสุขภาพ
1) ตรวจสุขภาพนักเรียนเพื่อค้นหานักเรียนที่มีความบกพร่องด้านสุขภาพเพื่อให้การช่วยเหลือในระยะเริ่มแรก
2) ให้ความรู้เรื่องการตรวจสุขภาพแก่ ครู นักเรียน
3) การลงบันทึกบัตรสุขภาพ
4) การส่งเสริมการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
ด้านการป้องกันโรค
1) สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายตามระดับอายุของนักเรียน
2) การจัดอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะและถูกต้องตามหลักเกณฑ์การสุขาภิบาลโรงเรียน ย่อมส่งผลให้เด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีห่างไกลจากการเกิดโรค
ด้านการรักษาพยาบาลนักเรียนที่ป่วย
1) จัดห้องพยาบาลแยกเป็นห้องพยาบาลชาย-ห้องพยาบาลหญิง
2) จัดสถานที่เพื่อการปฐมพยาบาลและพักฟื้นสำหรับนักเรียน
3) จัดยาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นให้เพียงพอ
4) รณรงค์ให้มีการควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคติดต่อในปัจจุบัน
5) จัดให้มีเครื่องมือเครื่องใช้ วัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์การรักษาพยาบาล ให้พร้อมที่จะใช้งานได้ทันท่วงที
ด้านการฟื้นฟูสภาพนักเรียน
1) ติดตามให้การช่วยเหลือและแนะนำเด็กที่อยู่ในระยะพักฟื้นจากการเจ็บป่วย
2) สอนการดูแลตนเองในระยะพักฟื้นแก่เด็กและผู้ปกครอง
3) ฟื้นฟูสภาพนักเรียนที่มีความพิการจากการเจ็บป่วย
นางสาวพัชราภา พลแสน 62110133