Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Endometritis, image3, Ovary_Endometriotic Cyst1, ดาวน์โหลด, Adenomyosis…
Endometritis
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
การแท้งครบ (complete abortion) หมายถึง การที่ชิ้นส่วนของการตั้ง
ครรภ์หลุดออกมาทั้งหมดจากมดลูก อนอายครรภ์ 20 สัปดาห์ เมื่อตรวจ
ภายในจะพบว่าปากมดลูกปิด
-
-
- ความผิดปกติของมดลูกหรือของปากมดลูก เช่น
ปากมดลูกปิดไม่สนิท (Cervical incompetent) มดลูกเติบโตเพียงครึ่งเดียว (Unicornuate uterus)
- ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด (ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์คลอด) จึงกระตุ้นให้ร่างกายมีการหลั่งสาร Prostaglandins ออกมา ซึ่งเป็นสารที่กระตุ้นให้มดลูกบีบตัว จนเป็นสาเหตุการแท้งได้
- โรคประจำตัวของมารดาซึ่งจะมีผลต่อทารก ทำให้เลือดไปเลี้ยงทารกไม่ดีพอ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน
- ความผิดปกติของทารกด้านโครโมรโซม หรือทารกในครรภ์มีความพิการรุนแรงจนไม่สา มารถมีชีวิตต่อไปได้
- เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรกตั้งแต่อายุน้อย
- ระยะห่างแต่ละรอบเดือนสั้น
- มีประวัติเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ในครอบครัว
- รับประทานอาหารพวกไขมันและเนื้อแดง
- มีความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์
อาการและอาการแสดง
- อาการปวดประจำเดือน ซึ่งเป็นอาการส่วนใหญ่ที่มาพบแพทย์ โดยมักจะมีอาการปวดนำมาก่อน 2-3 วันก่อนที่ประจำเดือนมา อาการปวดจะมากขึ้น และจะรุนแรงมากขึ้นในรอบเดือนถัดๆ ไป
- อาการปวดท้องน้อยขณะมีเพศสัมพันธ์ โดยลักษณะอาการปวดจะปวดเจ็บลึกๆ ในช่องคลอดขณะมีเพศสัมพันธ์
- ปวดท้องน้อยเรื้อรัง (มีอาการปวดท้องน้อยนานกว่า 6 เดือน)
-
- เลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด
- เลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด
การรักษา
1.รักษาด้วยการเฝ้าสังเกต (Expectant) เป็นการเฝ้าติดตามดูอาการและการเปลี่ยนแปลงของภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ โดยไม่มีการให้ยาหรือ ผ่าตัดแต่อย่างใด ซึ่งมีประโยชน์ในรายที่ผู้ป่วยอายุน้อยที่ไม่มีอาการปวดระดูหรือปวดท้องน้อย และเป็นระยะที่ 1-2 นอกจากนี้แล้ว ยังเป็นการหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากการรักษาด้วยการผ่าตัด เช่น การเกิดพังผืดในช่องท้องหลัง การผ่าตัด ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดหรือทำให้ภาวะมีบุตรยากยิ่งรุนแรงขึ้นไปอีก
2.การรักษาด้วยยา โดยการใช้ยาแก้ปวด หรือยาฮอร์โมนเพื่อกดการทำงานของรังไข่เพื่อบรรเทาอาการปวด จึงไม่ช่วยในกรณีที่ผู้ป่วย ต้องการมีบุตร ยาที่ใช้ในการรักษาได้แก่ 2.1 ยาแก้ปวดและยาต้านการอักเสบกลุ่มเอ็นเสด (NSAIDS) 2.2 ยาคุมกำเนิด รวมถึงชนิดยาเม็ด ยาฉีด ยาฝัง แผ่นแปะคุมกำเนิด และวงแหวนคุมกำเนิดทางช่องคลอด 2.3 ยาฮอร์โมนกลุ่มโปรเจนติน สามารถบรรเทาอาการปวดได้ผลดี มักใช้ในกรณีที่อาการปวดไม่ดีขึ้น หรือมีข้อห้ามจากยาคุมกำเนิด 2.4 ยาฮอร์โมนกลุ่มแอนโดรเจน เป็นยาฮอร์โมนกระตุ้นลักษณะเพศชาย มีประสิทธิภาพดีในการรักษาโรคนี้ และลดอาการปวดประจำเดือนได้ดี 2.5 ยากลุ่ม Gonodotropin releasing hormone agonist (GnRHa) เป็นยาที่ช่วยหยุดการทำงานของรังไข่ชั่วคราว
- การรักษาด้วยการผ่าตัด
โดยการผ่าตัดจะเอารอยโรคหรือถุงน้ำช็อกโกแลตออก แต่ในรายที่เป็นมากอาจต้องทำการผ่าตัดเอามดลูกและรังไข่ออกทั้งสองข้าง
- การรักษาร่วมกันระหว่างการใช้ยาและการผ่าตัด เนื่องจากโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่เป็นโรคเรื้อรังที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และมีอัตราการเป็นซ้ำสูงหลังการรักษาดังนั้น จึงควรใช้ยารักษา
การวินิจฉัยโรค
- อาการและอาการแสดงจากประวัติและการตรวจร่างกาย อย่างไรก็ตาม ลักษณะทางคลินิกอาจทําให้การ วินิจฉัยผิดพลาดได้บ่อย จึงมักจำเป็นต้องมีการตรวจค้นเพิ่มเติมเพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง
- ส่องแลพพาโรสโคป (laparoscopy) ตรวจอุ้งเชิงกรานโดยตรง เป็นการตรวจที่มักถือว่าให้ผลวินิจฉัย endometriosis ที่แน่นอน ตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง มีประโยชน์ในรายที่เป็น endometrioma โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจด้วยคลื่น เสียงทางช่องคลอด ึ่ง endometrioma จะมีลักษณะเป็นถุงน้ำที่มี echogenic fluid อยู่ภายใน คลื่นเสียง ความถี่สูงถือว่ามีประโยชน์มากในการช่วยแยกพยาธิสภาพอื่นในอุ้งเชิงกรานด้วย
- MRI มีความไวและความจำเพาะในการตรวจวินิจฉัย endometriosis สูงพอสมควร แต่ราคาแพง และไม่ สะดวกในเชิงปฏิบัติ จึงไม่เป็นที่นิยมกัน
- การตรวจวัดระดับของ CA-125 ในเลือด เพื่อหวังว่าลดความจําเป็นในการที่ต้องเจาะสองแลพพาโรสโคป เช่น ภาวะตั้งครรภ์ อุ้งเชิงกรานอักเสบ ก้อนเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก ถือว่ามีข้อจำกัดการนำเอาวิธีการนี้ไปใช้ในการวินิจฉัย endometriosis แต่ก็อาจมี ประโยชน์บ้างในการใช้ติดตามผลการรักษาในผู้ป่วยบางรายการส่องแลมพาโรสโคป ถือเป็นการตรวจค้นที่ สำคัญที่สุดของการวินิจฉัย endometriosis แนวทางในการเลือกทำในรายต่อไปนี้ 1. มีอาการปวดระดูที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ (progressive dysmenorrhea) ไม่ตอบสนองต่อยาแก้ปวด ธรรมดาหรือสารต้านพรอสตาแกลนดิน 2. ปวดท้องน้อยเรื้อรัง (นานกว่า 6 เดือน) 3. ผู้ป่วยที่มีภาวะมีบุตรยาก
พยาธิสภาพ
- เยื่อบุโพรงมดลูกที่กระจายอยู่ตามเยื่อบุช่องเชิงกราน (Pelvic endometriosis) เกิดจากไหลย้อนของเลือดประจำเดือนออกไปตามท่อรังไข่ แล้วตกเข้าสู่อุ้งเชิงกรานแล้วมีการเจริญต่อ จึงพบเยื่อบุโพรงมดลูกกระจายอยู่ตามผิวเยื่อบุเชิงกราน บริเวณ US ligament หรือผิวรังไข่ ลักษณะที่เห็นด้วยตาเปล่ามีหลายลักษณะ เช่นจุดดำๆ กระจายตัวไป (power burn-like lesion) หรือ ตุ่มน้ำใสๆ(vesicle-like lesion) เป็นต้น
-
- ถุงน้ำรังไข่ (Endometriotic cyst หรือ endometriomas) เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกไปตกที่ผิวของรังไข่ มีการเจริญเติบโตของเซลล์ท่อบุโพรงมดลูกแล้วดันผิวรังไข่เข้าไปด้านใน เมื่อมีเลือดออกในแต่ละรอบเดือนก็จะมีการสะสมเลือดมากขึ้นเรื่อยๆ จนมีลักษณะเป็นก้อนถุงน้ำเลือดที่รังไข่เม็ดเลือดมีการแตกสลายจึงทำให้เห็นเป็นเลือดเก่าๆ สีน้ำตาลคล้ายช็อกโกเล็ต บางครั้งจึงเรียกว่า chocolate cyst
- เยื่อบุโพรงมดลูกชนิดที่ฝังลึก (Deep infiltrationendornetriosis) มักพบที่ recto-vaginal septum รอยโรคเหล่านี้ตอบสนองไม่ดีจากการรักษาด้วยยาหรือฮอร์โมนมักต้องมีการผ่าตัดร่วมด้วย
ชนิดของ Endometriosis
- Endometriosis interna หรือ adenomyosis ป็นภาวะที่เยื่อบุโพรงมดลูกแทรกอยู่ระหว่างกล้ามเนื้อ
มดลูก ทำให้มดลูกโตดูคล้ายเนื้องอกมดลูก
- Endometriosis externa พบเยื่อบุโพรงมดลูกอยู่ในตำแหน่งอื่น ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเชิงกราน ตำแหน่งที่พบ ได้บ่อยที่สุดของ endometriosis ได้แก่ รังไข่ , rectovaginal septum และเยื่อบุ ช่องท้องในอุ้งเชิงกราน
คำจำกัดความ
Endometriosis คือ ภาวะที่เยื่อบุโพรงมดลูกไปเจริญอยู่ในตำแหน่งอื่นที่นอกเหนือไปจากภายในโพรงมดลูกปกติ เช่น อยู่บริเวณเยื่อบุช่องท้อง ปอด รังไข่ เป็นต้น เยื่อบุโพรงมดลูกที่อยู่ผิดที่ดังกล่าวอาจเจริญได้เหมือนเยื่อบุโพรงมดลูกปกติ อาจมีการเจริญลุกลามหรือกระจายไปที่อื่นได้คล้ายคลึงกับเนื้อเยื่อมะเร็ง แต่ endometriosis ไม่ใช่ เนื้อร้าย (benign)
-
-
-
-
-