Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เศรษฐกิจโลกาภิวัตน์กับการจัดการทรัพยากรเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร -…
เศรษฐกิจโลกาภิวัตน์กับการจัดการทรัพยากรเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
การเปิดเสรีการค้า และกรอบความตกลงระหว่างประเทศ กับการจัดการทรัพยากรเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
ผลกระทบจากการเปิดเสรีการค้าและการเข้าร่วมในกรอบข้อตกลงระหว่างประเทศของไทย
การเปิดเสรีการค้ามีความเชื่อมโยงกับนโยบายและทิศทางการพัฒนาภายในประเทศไม่สามารถแยกส่วนได้ การกำหนดนโยบายจึงต้องพิจารณาผลกระทบอย่างรอบคอบ
ส่วนของภาคเกษตรกรผู้ผลิตก็ต้องได้รับช้อมูลข่าวสารที่เชื่อมโยงให้เห็นตลอดห่วงโซ่การผลิต เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาด
สถานการณ์ รูปแบบ และกรอบความตกลงระหว่างประเทศ
การผลิตและการค้าระหว่างประเทศจะเกิดการแข่งขันมากขึ้้น โดยเฉพาะสินค้าเกษตรและอาหารของประเทศในภูมิภาคเดียวกัน จะไม่แตกต่างกันมากนัก ทำให้ประเทศที่มีต้นทุนการผลิตสูงไม่สามารถแข่งขันสู้ประเทศต้นทุนการผลิตต่ำได้ (ปัจจัยการผลิต ค่าแรงงาน ค่าบริหารจัดการ)
ในอนาคต จำเป็นจะต้องมีการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการผลิต อย่างเหมาะสมเพื่อทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง และจะต้องผลิตสินค้าให้ได้ สินค้าที่มีคุณภาพมีมาตรฐานเพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดต่างประเทศ และเกษตรกรจะต้องได้รับการส่งเสริมให้เข้าใจ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์
สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศ มีแนวโน้มการเปิดเสรีมากขึ้นในอนาคต มาตรการกีดกันทางการค้าโดยการเก็บภาษีศุลการกรจะลดลงเรื่อยๆ ซึ่งเป็นผลดีในแง่การเปิดตลาด การส่งออก และนำเข้าสินค้ามีความสะดวกมากขึ้น
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และผลกระทบต่อภาคการเกษตรของไทย
พันธกรณีที่ประเทศไทยจะต้องดำเนินการจากการเข้าร่วมใน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
-ประเทศสมาชิกจะต้อง "เปิดตลาด" สินค้าระหว่างกันมากขึ้น
-เปิดกว้างให้นักลงทุนอาเซียนเข้ามาลงทุน และถือหุ้นได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
-เปิดเสรีการลงทุน สามารถเคลื่อนย้ายเงินทุนและแรงงานได้อย่างเสรี
ผผลกระทบ การเตรียนมความพร้อม และการปรับตัวของภาคเกษตรไทยจากการเข้าร่วมในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
-ผลกระทบเชิงบวก ตลาดขยายตัวขึ้น ภาคการผลิตและแปรรูปอาหารสำเร็จรูปได้ประโยชน์จากแหล่งวัตถุดิบราคาถูก เกษตรกรได้ประโยชน์จากการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพมาตรฐานสินค้า เกิดการกระจายรายได้มากขึ้น เกิดการเคลื่อนย้ายการลงทุน
-ผลกระทบเชิงลบ มีการแข่งขันในตลาดมากขึ้น อาจมีการกำหนดมาตรการกีดกันทางการค้ามากขึ้น นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น เกิดการแข่งขัน และมีการเคลื่อนย้ายแรงงานไทย
ความเป็นมาของประชาคมอาเซียน (ASEAN Community: AC) และ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC)
-AEC จะทำให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน
-ให้ความสำคัญกับการลดช่องว่างการพัฒนาและส่งเสริมการรวมกลุ่มของประเทศ สมาชิกใหม่ ได้แก่ CLMV
กฎหมายและข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรทางธรรมชาติเพื่อการพัฒนาภาคการเกษตร และการดำเนินการตามพันธกรณีของ ประเทศไทย
กฎหมายและข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนาภาคเกษตร
กฎหมายและข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพยากรพันธุกรรมพืช
1.อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ (UPOV) ไทยไม่ได้เข้าร่วม
2.สนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร (ITPGRFA) ไทยไม่ได้เข้าร่วม
3.อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทาง ชีวภาพ (CBD)
กฎหมายและข้อตกลงเกี่ยวกับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS)
1.คณะกรรมาธิการโครงการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (Codex)
2.อนุสัญญาอารักชาพืชระหว่างประเทศ (IPPC)
3.องค์การโรคระบาดสัตว์ ระหว่างประเทศ (OIE)
การดำเนินการของประเทศไทยตามพันธกรณีของกฎหมาย และข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการพัฒนาภาคเกษตร
2.กฎหมายและข้อตกลงเกี่ยวกับสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช
1.กฎหมายและข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพยากรพันธุกรรมพืช