Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วัยผู้ใหญ่ตอนต้น - Coggle Diagram
วัยผู้ใหญ่ตอนต้น
-
ด้านร่างกาย
ระบบหัวใจและหลอดเลือด มีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่ออายุ 20-30ปี หลังจากนั้นจะเริ่มลดลง ปีละ 0.7 % ซึ่งพบว่ามีการหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจรวมทั้งหลอดเลือดจะมีความยืดหยุ่นลดลงหลังอายุ 30 ปี
-
ระบบทางเดินอาหาร ทำงานลดลงทั้งกายย่อยอาหาร การดูดซึมและการขับถ่าย เมื่ออายุเข้า 30 ปี และความต้องการแคลอรีจะลดลง หากยังคงรับประทานอาหารเช่นเดิมจะมีผลให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ง่าย
ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก กล้ามเนื้อจะมีการเจริญเติบโตสมบูรณ์ เมื่ออายุ 20-30 ปี โดยเพศชายจะมีกล้ามเนื้อโตและแข็งแรงกว่าเพศหญิง ซึ่งหลังจากนั้นกล้ามเนื้อและกำลังกล้ามเนื้อก็จะลดลงไป ในส่วนกระดูกจะเจริญเต็มที่และมีรูปร่างคงที่ เมื่ออายุ 21 ปีโดยประมาณ หลังจากนั้นกระดูกสันหลังจะเริ่มเข้าที่และทำให้ส่วนสูงลดลงเล็กน้อย
ระบบประสาท เซลล์สมองจะมีวุฒิภาวะและมีน้ำหนักสูงสุด เมื่ออายุ 25 ปี หลังจากนั้นจะเริ่มลดลง ดังนั้นวัยนี้จึงมีความสามารถในการจำ
ระบบผิวหนังและผม พบว่าผิวหนังมีความยืดหยุ่นลดน้อยลงเริ่มมีริ้วรอยย่น เมื่ออายุได้ 30 ปี โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า คอและมือ สำหรับผมหงอกเมื่ออายุได้ 30 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุกรรม อาหาร สิ่งแวดล้อมและความเจ็บป่วย
ระบบสืบพันธุ์ จะทำงานมีประสิทธิภาพสูงสุดในวัยนี้ โดยผู้หญิงจะมีไข่สุกเพิ่มขึ้น เมื่ออายุ 18-24 ปี และเพศชายจะมีการผลิตสปอร์มที่สมบูรณ์ได้ถึง 90 % เมื่ออายุ 20-30ปี
ส่งเสริมพัฒนาการ
โภชนาการ การปฏิบัติตนของวัยผู้ใหญ่ตอนต้นในการเลือกรับประทานอาหาร เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ กินอาหารครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
-
การพักผ่อนและการนอนหลับ การพักผ่อนเป็นการหยุดออกแรงหรือหยุดการทำงาน ควรนอนหลับอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงต่อวัน
การตรวจสุขภาพ ควรตรวจสุขภาพร่างกายทั่วไปปีละครั้ง การตรวจสุขภาพฟัน เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค เช่นการฉีดวัคซีนป้องกันโรค ผู้หญิง ตรวจเต้านมทุก 1-3 ปี การตรวจมะเร็งปากมดลูก
ด้านอารมณ์
-
-
-
-
-
-
มีพัฒนาการด้านอารมณ์รัก(Love) ได้ในหลายรูปแบบ เช่น รักแรกพบ (Infatuation) หรือรักแบบโรแมนติก (Romantic love)
-
-
ด้านสังคม
ทฤษฎีพัฒนาบุคลิกภาพของอิริคสัน วัยผู้ใหญ่ ตอนต้นอยู่ในขัั้นพัฒนาการขั้นที่ 6 คือความใกล้ชิดสนิทสนม หรือการแยกตัว (intimacy and solidarity vs. isolstion) สังคมของบุคคลวัยนี้ คือ เพื่อนรัก คู่ครอง บุคคลจะพัฒนาความรัก ความผูกพัน แสวงหามิตรภาพที่สนิทสนม หากสามารถสร้างมิตรภาพได้มั่นคง จะเป็นผู้ใหญ่ที่มีสัมพันธ์กันอย่างไว้เนื้อเชื่อใจและนับถือซึ่งกันและกัน ตรงข้ามกับผู้ใหญ่ที่ไม่สามารถสร้างความสนิทสนมจริงจังกับผู้หนึ่งผู้ใดได้ จะมีความรู้สึกอ้างว้างเดียวดาย (isolation) หรือเป็นคนที่หลงรักเฉพาะตนเอง (narcissism) วัยนี้จะให้ความสำคัญกับกลุ่มเพื่อนวัยร่วมลดลง จำนวนสมาชิกในกลุ่มเพื่อนจะลดลง แต่สัมพันธภาพในเพื่อนที่ใกล้ชิดหรือเพื่อนรักยังคงอยู่ และจะมีความผูกพันในลักษณะของคู่รักและพบว่ามักเป็นในเพื่อนเพศเดียวกัน การสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัวจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นวัยที่เริ่มใช้ชีวิตครอบครัวกับคู่ของตนเอง และเกิดการปรับตัวกับบทบาทใหม่
ส่งเสริมพัฒนาการ
ตรวจสอบทําความเข้าใจกับความต้องการในงานอาชีพของตนเจตคติและค่านิยมและเลือกทํางานให้ตรงกับความต้องการและทักษะความชำนาญของตนให้มากที่สุด
-
สนใจและเปิดโอกาสให้ตนเองได้รู้จักและสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดสนิทสนมกับผู้อื่นโดยเฉพาะเพื่อนต่างเพศรวมทั้งศึกษาแนวทางในการเลือกคู่ครองให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของตน
-
ด้านสติ
เพียเจท์ (Piaget’s theory) กล่าวว่าในช่วงผู้ใหญ่ตอนต้นมีความสามารถทางสติปัญญาสมบูรณ์ที่สุดคือคุณภาพของความคิดจะเป็นระบบ มีความสัมพันธ์กันเเละมีความคิดรูปเเบบนามธรรม (Abstract logic) จะมีความคิดเปิดกว้าง ยืดหยุ่นมากขึ้น เเละรู้จักจดจำประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้ ทำให้สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆได้ดี
ส่งเสริมพัฒนาการ
ส่งเสริมการฝึกฝนให้ใช้ความคิดอย่างมีเหตุผลมากกว่าการใช้อารมณ์ รู้จักการเปลี่ยนเเปลง เเบบเเผนการดำเนินชีวิต กระตุ้นให้มีการพัฒนาตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนเเปลงอยู่ตลอดเวลา
ด้านจริยธรรม
Kolberg กล่าวว่า จริยธรรมเป็นสิ่งที่สังคมกำหนดขึ้น เพื่อต้องการให้สมาชิกในสังคมมีพฤติกรรมตามนั้น ซึ่งวัยผู้ใหญ่ถือว่าพัฒนาการด้านจริยธรรมอยู่ในขั้นที่ 3 คือ ระดับเหนือกฏเกณฑ์ทางสังคม แบ่งเป็น 2 ระดับย่อย
สัญญาสังคมหรือหลักการทำตามคำมั่นสัญญา เน้นมาตรฐานที่คนส่วนใหญ่ยอมรับเป็นสิ่งที่ถูกต้องและควรปฏิบัติ เช่น การช่วยเหลือคนยากจน การแต่งงานตามประเพณี ถูกผิดขึ้นอยู่กับค่านิยมและความคิดส่วนบุคคล
คุณภาพธรรมสากล เป็นความถูกต้องที่เป็นสากล คือ ความถูกต้องที่ได้รับการยอมรับจากคนส่วนมากและทั่วโลก เช่น หลักมนุษยธรรม ความยุติธรรม สิทธิมนุษย์ชน ความเสมอภาค
ส่งเสริมพัฒนาการ
ส่งเสริมการมีเหตุผลเชิงจริยธรรมของบุคคลในแต่ละขั้นของพัฒนาการจะมากหรือน้อยขึ้นกับระดับการรู้คิดของบุคคล ค่านิยม ความคิด ความเชื่อของบุคคลนั้นๆ สิ่งสำคัญต้องมีการสร้างค่านิยมและปลูกฝังจิตสำนึก จิตสาธารณะ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน โรงเรียน สังคมที่ทำงาน และค่อยๆพัฒนา ซึ่งหากบุคคลมีพัฒนาการด้านต่างๆที่เหมาะสมในแต่ละขั้นพัฒนาการของชีวิต จะทำให้บุคคลนั้นสามารถมีพัฒนาการด้านจริยธรรมที่เหมาะสมตามช่วงวัย