Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคจิตเภท (Schizophrenia) - Coggle Diagram
โรคจิตเภท (Schizophrenia)
ความหมายของโรค
โรคจิตเภท (Schizophrenia) คือ กลุ่มอาการของโรคที่มีความผิดปกติ ของความคิด ทำให้ผู้ป่วยมีความคิดและการรับรู้ไม่ตรงกับความเป็นจริง ทำให้มีผลเสียต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การดูแลตัวเอง การใช้ชีวิตในสังคม ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะเริ่มเป็นเมื่ออายุประมาณ 14-16 ปี หรือช่วงปลายวัยรุ่น โรคนี้พบได้ ประมาณร้อยละ 1 ของประชากร
เกณฑ์การวินิจฉัยของโรคตาม DSM - 5
A. มีอาการต่อไปนี้ตั้งแต่2 อาการขึ้นไปนาน 1 เดือน โดยอย่างน้อยต้องมีอาการในข้อ 1-3 อยู่1 อาการ
อาการหลงผิด
อาการประสาทหลอน
การพูดอย่างไม่มีระเบียบแบบแผน (การพูดในลักษณะที่หัวข้อ วลีหรือประโยคที่กล่าวออกมา
ไม่สัมพันธ์กัน)
อาการด้านลบ เช่น สีหน้าทื่อ เฉยเมย แยกตัวจากคนอื่น
B. ระดับความสามารถในด้านสำคัญๆ เช่น ด้านการทำงาน การมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น หรือการดูแลตนเอง
ลดลงไปจากเดิมอย่างชัดเจนอย่างน้อยหนึ่งด้าน
C.มีอาการต่อเนื่องกันนาน 6 เดือนขึ้นไป โดยต้องมีactive phase (ตามข้อ A) อย่างน้อยนาน 1 เดือน (อาจน้อยกว่านี้หากรักษาได้ผล) และรวมช่วงเวลาที่มีอาการในระยะ prodromal หรือ residual phase โดยในช่วง prodromal หรือresidual phaseอาการที่พบอาจเป็นเพียงอาการด้านลบ หรืออาการตามข้อ A ตั้งแต่2อาการขึ้นไป แต่แสดงออกแบบเล็กน้อย (เช่น คิดแปลกๆ หรือมีอาการรับรู้ที่ไม่ปกติแต่ไม่ถึงขั้นประสาทหลอน)
D. ต้องแยก โรคจิตอารมณ์โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้วออก
E. ต้องแยกอาการโรคจิตที่เกิดจากโรคทางกายและสารเสพติดออก
F. ผู้ป่วยที่มีประวัติกลุ่มโรคออทิสติก หรือโรคเกี่ยวกับการสื่อสารตั้งแต่วัยเด็ก จะวินิจฉัยโรคจิตเภท
ก็ต่อเมื่อมีอาการหลงผิดหรืออาการประสาทหลอนที่เด่นชัดเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน ร่วมด้วย
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีพฤติกรรมแยกตัวเนื่องจากหวาดระแวง
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมแยกตัวลดลง
เกณฑ์การประเมิน
ระยะสั้น
มีพฤติกรรมแยกตัวลดลง
มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นมากขึ้น
สบตานิสิตขณะสนทนามากขึ้น
ระยะยาว
1.ไม่มีพฤติแยกตัว
2.สามารถเข้าร่วมกิจกรรมกับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
SD:ผู้ป่วยบอกว่า “ชอบอยู่คนเดียวมากกว่า อยากทำอะไรก็ทำ ไม่ต้องสนใจความคิดของผู้อื่น” และ “เวลาอยู่ใกล้คนอื่น รู้สึกไม่มั่นใจ” “คนสมัยนี้รู้หน้า ไม่รู้ใจ”
OD:จากการสังเกตผู้ป่วยพบว่า มีพฤติกรรมแยกตัว ขณะสนทนาไม่สบตากับนิสิต ผู้ป่วยมีอาการหวาดระแวง
แพทย์วินิจฉัย Schizophrenia โรคจิตเภทชนิดหวาดระแวง
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินอาการภาวะหวาดระแวง โดยสังเกตจากสีหน้า ท่าทาง คำพูดและพฤติกรรมของผู้ป่วยเพื่อให้ทราบระดับความรุนแรงของภาวะหวาดระแวง
กระตุ้นให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกที่คับข้องใจ ที่อาจเป็นสาเหตุของการเกิดพฤติกรรมแยกตัว เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายใจและเป็นใช้ข้อมูลที่ได้รับเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้กับผู้ป่วย
ติดตามและประเมินซ้ำเกี่ยวกับพฤติกรรมแยกตัวของผู้ป่วย เช่น ประเมินพฤติกรรมการ เก็บตัว แยกตัว เป็นต้น เพื่อให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการแยกตัวของผู้ป่วย ทั้งนี้ถ้าพบว่าผู้ป่วยยังคงมีพฤติกรรมแยกตัวไม่ดีขึ้น พิจารณาปรึกษากับหัวหน้าเวร เพื่อหาวิธีการแก้ไขต่อไป
กระตุ้นและส่งเสริมให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มบำบัดที่เหมาะสม เพื่อส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ของผู้ป่วยร่วมกับผู้อื่น รวมถึงรู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทั้งนี้ในขณะเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มบำบัด หากพบว่าผู้ป่วยปฏิบัติพฤติกรรมที่เหมาะสมก็ให้การชื่นชมผู้ป่วย เพื่อส่งเสริมความมั่นใจให้ผู้ป่วยรู้สึกภาคภูมิใจตัวเองและมั่นใจในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นมากยิ่งขึ้น
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์โดยให้ Clozapine 100 mg 1x1 oral pc เพื่อใช้รักษาอาการของโรค Schizoprenia ที่ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหวาดระแวงจึงทำให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมแยกตัว
อาการของโรค
ความคิดหลงผิด (Delusion) ที่พบบ่อย เช่น คิดว่ามีคนปองร้าย คิดว่าตนเองถูกควบคุมจากอำนาจภายนอก คิดว่าตนเองยิ่งใหญ่ มีอำนาจ หรือความสามารถพิเศษ
การรับรู้ อาการประสาทหลอนทางด้านต่าง ๆ ที่พบบ่อย คือ หูแว่ว ได้ยินเสียงคนพูดว่า หรือให้ทำตาม หรือไม่มีความหมาย
การสื่อสาร พูดสับสน ไม่ปะติดปะต่อ เปลี่ยนเรื่องพูดเร็ว ไม่เชื่อมโยง หรือบางรายพูดน้อย ไม่ค่อยตอบคำถาม
พฤติกรรมผิดจากเดิมเคยเป็น เช่น สกปรก แปลก วุ่นวาย ตะโกน โดยไม่มีอะไรกระตุ้น พลุ่งพล่าน กระวนกระวาย บางรายขาดความกระตือรือร้น เฉื่อยชา เก็บตัว นั่งเฉย ๆ นาน ๆ ไม่สนุกสนาน
อารมณ์ แสดงอารมณ์ลดลงมาก หน้าตาเฉยเมย ไม่สบตา