Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษา ผู้สูงอายุ เพศ หญิง อายุ 69 ปี - Coggle Diagram
กรณีศึกษา ผู้สูงอายุ เพศ หญิง อายุ 69 ปี
ปํญหาที่พบ
เสี่ยงต่อภาวะหกล้ม
ขาดสารอาหาร
ข้อเข่าเสื่อม
ตาพร่ามัว
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มเนื่องจากตาพร่ามัว
มีโอกาสได้รับสารอาหารได้น้อยกว่าความต้องการร่างกาย
มีอาการปวดเนื่องจากภาวะข้อเข่าเสื่อม
ปัญหาที่ผมใน 11 แบบแผน
แบบแผนที่ 2 โภชนาการ
ขาดสารอาหาร
การพยาบาล
เพิ่มปริมาณอาหารปรุงอาหารด้วยการทอด ผัด มากขึ้น โดยเลือกให้เหมาะสม ไม่ขัดต่อโรคที่เป็น
เพิ่มมื้ออาหารโดยเพิ่มอาหารว่างหรือเลือกการให้รับประทานอาหารทีละน้อย แต่บ่อยครั้ง
ดูแลให้ได้รับสารอาหารโปรตีนคุณภาพสูง เช่น ปลา ไข่ขาว และนม
เพิ่มคุณค่าของอาหารในแต่ละมื้อที่รับประทาน เช่น เพิ่มสัดส่วนของไขมันดี โดยการเติมน้ำมันมะกอกลงในเครื่องปรุงรส ผักสด ธัญพืช และรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูง
จัดเลือกอาหารที่ผู้สูงอายุชอบและเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุเลือกเอง โดยเลือกอาหารที่ไม่ขัดต่อโรคที่เป็น
เลือกภาชนะที่ใส่และจัดอาหารที่มีสีสัน ดูให้น่ารับประทานเพื่อเพิ่มความอยากอาหาร
หมั่นดูแลความสะอาดในช่องปาก ฟัน ก่อนการรับประทานอาหารเพื่อเพิ่มความอยากอาหาร และรับประทานอาหารได้มากขึ้น
หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม เพราะจะทำให้ไม่รู้สึกอยากรับประทานอาหารต่อ
รับประทานอาหารเสริมเพื่อช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารชนิดต่างๆ ในปริมาณที่เพียงพอ เช่น วิตามิน และเกลือแร่ เป็นต้น
แบบแผผนที่ 6 การรับรู้
ตาข้างขวามองไม่เห็นชัด
แนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่ช่วยในการมองร่วมกับการดัดแปลงสิ่งแวดล้อม เช่น ใช้แว่นขยายร่วมกับการเปิดไฟ หรือการลดแสงที่สว่างจ้าเกินไปเป็นต้น
การลดแสงจ้าขณะอ่านหนังสือ ควรให้แสงเข้าทางด้านซ้ายของคนถนัดขวา และให้แสงเข้าด้านขวาในคนที่ถนัดซ้าย
แนะนำวิธีการใช้แว่นขยาย โดยเริ่มจากการวางแว่นขยายไว้ใกล้ๆตัวหนังสือ ค่อยๆถอยแว่นขยายออกมาจนเห็นตัวหนังสือชัด โดยทั่วไปจุดที่เห็นตัวหนังสือชัดจะอยู่ในระยะที่แว่นขยายอยู่ห่างจากตัวหนังสือประมาณ 2 เซนติเมตร
ใช้ตัวหนังสือที่ใหญ่ขึ้น ปรับหรือติดโคมไฟให้อยู่ในบริเวณที่เหมาะสมคือติดไฟห่างจากวัตถุที่จะมองประมาณ 1-2 ฟุต เพราะผู้สูงอายุจะต้องการความสว่างมากกว่าคนอายุน้อยประมาณ 3 เท่า และแสงจะลดลง 4 เท่า เมื่อระยะห่างออกไป 1 เท่า
แนะนำให้สวมแว่นตาช่วยในการอ่านหนังสือ
ควรหลีกเลี่ยงการอ่านหนังสือที่ใช้กระดาษที่มีผิวมัน
ทฤษฎีผู้สูงอายุ theory of aging
ทฤษฎีความเสื่อมโทรม (Wear and tear theory) ทฤษฎีนี้ได้เปรียบเทียบสิ่งมีชีวิตคล้ายกับเครื่องจักร เมื่อมีการใช้งานมาก ๆ ก็จะเกิดความผิดปกติขึ้น แต่มนษย์และเครื่องจักรจะแตกต่างกันเพราะมนุษย์สามารถที่จะซ่อมแซมตัวเองและใช้งานต่อไปได้โดยกระบวนการสร้างใหม่เพื่อทดแทน
ทฤษฎีการสะสม (Accumulative theory) ความสูงอายุของเซลล์เกิดจากการคั่งค้างของของเสีย สะสมในเซลล์เป็นระยะเวลา นาน ทําให้เซลล์เปลี่ยนแปลงรูปร่างและเสียปฏิกิริยาทางเคมี ในการสร้างพลังงานและเซลล์อาจตายได้ การสะสมของเสียจากการเผาผลาญอาจจัดเป็นสวนหนึ่งของกระบวนการสูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเซลล์ที่ไม่มีการแบ่งตัวได้อีกจึงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเอง
ทฤษฎีการถดถอยจากสังคม (Disengagement theory) ทฤษฎีนี้ตั้งขึ้นโดย Cumming และ Henry เชื่อว่าบุคคลเมื่อถึงวัยสูงอายุจะสามารถยอมรับในบทบาทและหน้าที่ของตนที่ลดลง ทําให้ผู้สูงอายุสวนใหญ่ มีลักษณะแยกตัวออกจากสังคมทีละน้อย หรือต้องการปล่อยวางเป็นอิสระ ทั้งนี้อาจเนื่องจากสัมพันธภาพของผู้สูงอายุและบุคคลรอบข้างมีน้อยลง เช่น การเกษียณอายุการทำงานทำให้ การทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนร่วมงานมีน้อยลง หรือการแยกครอบครัวของบุตรหลาน ทําใหหมดสภาพของการเป็นหัวหน้าครอบครัว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุมีการแยกตัวออกจากสังคม จากการศึกษาส่วนใหญ่พบว่า ผู้สูงอายุ มีความสุขและพึงพอใจ เพราะว่าได้รับอิสระมากขึ้น ไม่ต้องอยู่ในระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในสังคม แต่ก็มีการศึกษาว่าเมื่ออายุมากขึ้นผู้สูงอายุอาจรู้สึกว่าคุณค่าในตัวเองลดลง ทําให้มีการถอนตัวออกจากการทํากิจกรรมในสังคมได้ฉะนั้น ถ้าสังคมและบุคคลรอบข้างของผู้สูงอายุยอมรับ เปิดโอกาสและเคารพในตัวผู้สูงอายุ จะทําให้ผู้สูงอายุมีความสุขมากขึ้น และทําให้พวกรู้สึกว่ายังมีคุณค่ากับสังคม และบุคคลรอบข้างต่อไป
ทฤษฎีการมีกิจกรรมร่วมกัน (The Activity theory) Havighurst อธิบายว่า การที่ผู้สูงอายุจะประสบความสําเร็จได้ (Successful aging) ผู้สูงอายุต้องมีการทํากิจกรรมอยู่เสมอ ไม่ถอนตัวออกจาสังคมและสิ่งแวดล้อม ผู้สูงอายุจะมีความพึ่งพอใจในชีวิต ถ้ายังคงมีกิจกรรมในสังคมซึ่งการทำกิจกรรมจะช่วยส่งเสริมผู้สูงอายให้มีอัตโนทัศนท์ดี ทําให้รู้สึกว่าตนเองเป็นสวนหนึ่งของสังคมและสามารถดําเนินชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขได้อย่างไรก็ตามในการจัดกิจกรรมให้กับ
ผู้สูงอายุ ควรจะเป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุแต่ละคน
ทฤษฎีความต่อเนื่อง (Continuity theory) ทฤษฎีนี้เสนอโดย Neugarten อธิบายว่า ผู้สูงอายุอาจจะมีความสุขในการทํากิจกรรมต่าง ๆ ได้ขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพและแบบแผนการดําเนินชีวิตที่มีมาในอดีตที่แต่ละคนเคยปฏิบัติมาก่อน และบุคลิกภาพเปนผลมาจากความพึงพอใจในชีวิตต่อการมีบทบาทในกิจกรรมนั้น ๆ ในบางครั้งทฤษฎีนี้ถูกเรียกว่าทฤษฎีพัฒนาการ(Developmental theory) หรือทฤษฎี บุคลิกภาพ (Personlity theory) เพราะว่าเมื่อบุคคลเข้าสู่วัยสูงอายุ แต่ละคนจะพยายามคงความต่อเนื่องในเรื่องของนิสัย ความชอบ ความเชื่อ คำนิยมและปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อบุคลิกภาพของเขาในวัยต้น ๆ ของชีวิต ฉะนั้นบุคคลรอบข้างควรเข้าใจถึงพฤติกรรมความต่อเนื่องของผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นผลมาจากบุคลิกภาพส่วนตัวว่าพฤติกรรมพวกเขามีมาตั้งแต่วัยหนุ่มสาว และควรมีการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีการตัดสินใจที่จะเลือก เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจและไม่ขัดแย่งต่อความรู้สึกภายในของผู้สูงอายุ