Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน นศพต.สุปรียา พงษ์สวรรค์ เลขที่ 68 - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน
นศพต.สุปรียา พงษ์สวรรค์ เลขที่ 68
วัตถุประสงค์
1.เพื่อประเมินภาวะสุขภาพของผู้ป่วย ความพร้อมผู้ดูแล ครอบครัวสิ่งแวดล้อม และวิเคราะห์ปัญหาความต้องการด้านสุขภาพ
เพื่อให้คำแนะนำ ฝึกทักษะ ให้ผู้ป่วยและครอบครัวยอมรับและปรับพฤติกรรมในระยะฟื้นฟูสภาพได้เหมาะสมสามารถดูแลตนเองที่บ้านได้ถูกต้อง
เพื่อให้บริการพยาบาลผู้ป่วยและผู้ดูแลไม่สามารถให้การดูแลตนเองได้
เพื่อติดตามผลการรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อดำรงไว้ซึ่งภาวะสุขภาพที่ดี
เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจและเป็นกำลังใจแก่ผู้ป่วยและครอบครัวในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้ป่วย
เป็นการบริการพยาบาลเชิงรุกที่ดูแลต่อ เนื่องจากโรงพยาบาลมาที่บ้านให้บุคคลที่เจ็บป่วยเรื้อรัง ผู้สูงอายุ ผู้ที่ต้องการการฟื้นฟูสภาพ ผู้ที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และผู้ป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งยังมีปัญหาสุขภาพที่ต้องได้รับการดูแลจากทีมสุขภาพอย่างเหมาะสมกับความจำเป็น ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ที่บ้านและในสังคมได้ตามศักยภาพ
Home Health Care
ให้บริการที่เป็นทางการ สม่ำเสมอโดยยบุคลากรทางด้านสุขภาพ
Home Visit
การเยี่ยมบ้าน
Home Ward
ดูแลต่อเนื่องจากโรงพยาบาล โดยใช้บ้านเสมือนเป็นเตียงผู้ป่วยในโรงพยาบาล
บทบาทหน้าที่พยาบาล
ผู้ให้คำปรึกษา(Counseler)
ปัญหาที่วิกฤตซับซ้อน มีผลต่อจิตใจ
ผู้สอน(Educator)
สอนสุขศึกษา
ผู้นำการเปลี่ยนแปลง(Change Agent)
ริเริ่มส่งเสริมสุขภาพ
ผู้ติดต่อสื่อสาร(Communicator)
ช่วยสร้างสัมพันธภาพที่ดี สร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพบุคคล ครอบครัว
การดูแลเอาใจใส่(Care Provider)
ดูแลเอาใจใส่ เยี่ยมบ้านและให้การดูแลเสมือนญาติ
ผู้พิทักษ์สิทธิ์(Client Advocate)
ส่งเสริมให้ประชาชนรู้สิทธิตนเองในด้านสุขภาพ
ผู้นำ(Leader)
ผู้นำสุขภาพ, ผู้นำแนะแนวทางในการตัดสินใจทำโครงการ
นักวิจัย(Researcher)
ค้นคว้าหาความรู้อย่างเป็นระบบมาปรับใช้ในการดูแลสุขภาพ
ผู้จัดการดูแล (Manager)
จัดบริการดูแลสุขภาพครอบคลุมบุคคล ให้มีคุณภาพ
บทบาทของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (Home Health Care Nurse) เป็น 2 บทบาทหลัก คือ 1. บทบาทการดูแลโดยตรง เป็นการให้บริการพยาบาลตามปัญหา เช่น การทำแผล การฉีดยา การใส่สายสวนปัสสาวะ การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ เป็นต้น รวมถึงการสอน การให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้ป่วยและครอบครัวให้สามารถปฏิบัติการพยาบาลบางอย่างได้และมีการติดตามประเมินผลการให้บริการ 2. บทบาทการดูแลโดยอ้อม เป็นบทบาทการสนับสนุนการดูแลโดยตรงซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์สิทธิของบุคคลและครอบครัว การคุ้มครองผู้บริโภค การส่งต่อให้ได้รับการดูแลต่อเนื่องตามความจำเป็น
คุณสมบัติของพยาบาลผู้ป่วยเยี่ยมบ้าน
เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถใช้ทักษะทางการพยาบาลและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มีความละเอียดอ่อน ช่างสังเกต ตัดสินใจได้รวดเร็วเกี่ยวกับการส่งผู้ป่วยไปรับการรักษา
ได้ทันเวลา แก้ปัญหาในเชิงสร้างสรรค์ และรับผิดชอบอย่างสูงจะช่วยให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้านมีคุณภาพ เพิ่มมากขึ้น
เป้าหมายของการพยาบาล
มุ่งจัดบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัวที่มีปัญหาสุขภาพโดยให้บริการผสมผสานเป็นองค์รวมด้านส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาและการฟื้นฟูสภาพตามสภาพปัญหา และครอบครัวมีส่วนร่วมวางแผนและดำเนินการตามแผนการดูแลเหมาะสมกับความต้องการ สามารถดูแลตนเองให้เกิดสุขภาวะได้
ประโยชน์
จัดบริการเพื่อเพิ่มการเข้าถึง กระจายบริการพยาบาลไปในชุมชนถึงบ้านช่วยใประชาชนกลุ่มผู้ป่วยที่บ้านที่มีความต้องการการวางแผนจำหน่าย ด้อยโอกาสในการไปรับบริการ
พัฒนาศักยภาพของประชาชนในการดูแลตนเองด้านสุขภาพอนามัย
กรอบแนวคิด
แนวคิดเชิงระบบ ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้าการดำเนินงาน (Input) กระบวนการดำเนินงาน (Process) และผลลัพธ์การดำเนินงาน (Output and Outcome)
ปัจจัยนำเข้าการดำเนินงาน (Input) ประกอบด้วย
ทีมเยี่ยมบ้าน
ระบบการพยาบาลเชื่อมโยงการดูแลผู้ป่วย
อุปกรณ์ / เครื่องใช้
ปัจจัยสนับสนุนการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน
1.ศักยภาพของชุมชน
2.ผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน
3.แหล่งประโยชน์ในชุมชน
2.กระบวนการดำเนินงาน
2.1 ระยะก่อนเยี่ยมบ้าน
เตรียมข้อมูลสุขภาพ
กำหนดแผนและวัตถุประสงค์การเยี่ยม
เตรียมอุปกรณ์/เครื่องใช้
2.2 ระยะระหว่างเยี่ยมบ้าน
ประเมินภาวะสุขภาพ สิ่งแวดล้อม /ชุมชน/ครอบครัว/
วินิจฉัยทางการพยาบาล
วางแผนการพยาบาล
ปฏิบัติการพยาบาล
ประเมินผลการพยาบาล
บันทึกการพยาบาล
2.3 ระยะหลังเยี่ยมบ้าน
ประเมินผลตามวัตถุประสงค์และแผนการเยี่ยม
กำหนดแผนการพยาบาลต่อเนื่อง
การจำหน่าย
การส่งต่อ
บันทึกการพยาบาล
ผลลัพธ์การดำเนินงาน (Output) ใช้เป็นเครื่องชี้วัดคุณภาพการ
พยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน วัดทั้งด้านโครงสร้าง (Structural Indicators)กระบวนการ (Process Indicators) และผลลัพธ์ (Outcome Indicators) ของบริการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน ในมิติของคุณภาพการให้การดูแลทางคลีนิก(Clinical Quality Indicators) และคุณภาพการบริการพยาบาล (Nursing Service Quality Indicators) โดยเลือกมาเพียง 4 ด้าน คือ ด้านประสิทธิผล
(Effectiveness) ความต่อเนื่อง (Continuity) ประสิทธิภาพ (Efficiency) และทันต่อเวลา (Timeliness)
ปัจจัยสนับสนุนการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน
ชุมชน เป็นคนส่งข่าวความต้องการความช่วยเหลือในช่วงที่ว่างเว้นการเยี่ยมบ้าน
ผู้ดูแล จำเป็นต้องได้รับการสอน ฝึกทักษะ เข้าใจแผนการรักษาและวิธีปฏิบัติดูแลตามสภาพปัญหาผู้ป่วย เพื่อให้การดูแลช่วยเหลืออย่างถูกต้อง
การปฏิบัติขณะเยี่ยมบ้านเมื่อไปถึงบ้านผู้ป่วยควรเริ่มด้วยการสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยและครอบครัว ให้เกิดความไว้วางใจจะช่วยให้สามารถค้นหาปัญหาที่แท้จริงของผู้ป่วยและครอบครัว ทักษะในการสื่อสารเพื่อสร้างสัมพันธภาพ ค้นหาปัญหา ร่วมแก้ปัญหาของผู้ป่วยและครอบครัวโดยมองความสัมพันธ์แบบองค์รวม นอกจากนี้ ยังต้องมีทักษะการให้บริการด้านจิตวิทยาสังคม และทักษะการใช้เครื่องมือทางด้านมานุษยวิทยา ได้แก่ ชีวประวัติ (Explanatory Model Illness Episode Record) ผังครอบครัว
(Family Tree หรือ Genogram) และการเยี่ยมจะต้องประเมินสภาพครอบครัวในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้ป่วยและครอบครัว โดยใช้เครื่องมือแนวทางเวช
ปฏิบัติครอบครัว INHOMESSS ดังนี้
I = Immobility เป็นการประเมินว่าผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองได้หรือต้องอาศัยผู้อื่นดูแลในการทำกิจวัตรประจำวัน การใช้โทรศัพท์ การจัดยากินเอง
N = Nutrition เพื่อดูภาวะโภชนาการของผู้ป่วยในส่วนที่สัมพันธ์กับภาวะโรค การเตรียมปรุงอาหาร วิธีเก็บอาหาร นิสัยการกินและอาหารโปรด เพื่อดูความเหมาะสมภาวะโภชนาการกับโรคที่เป็น
H = Home Environment สภาพสิ่งแวดล้อมในบ้านและรอบบ้านเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพผู้ป่วยและครอบครัว
O = Other People สมาชิกในครอบครัวมีความสัมพันธ์กันอย่างไร บทบาทของสมาชิกในครอบครัวต่อผู้ป่วย บุคคลที่เป็นผู้รับผิดชอบตัดสินใจแทนผู้ป่วย
M = Medications การซักประวัติเรื่องยารวมถึงการใช้สมุนไพรยาพื้นบ้าน เพื่อประเมินเรื่องการใช้ยา การดูแลตนเองและรักษาอยู่กับแพทย์หลายแห่งหรือไม่ ความร่วมมือปฏิบัติตามแผนการรักษา การกินยาตรงตามแผนการรักษาหรือไม่ ความสามารถในการจัดยากินเอง
E = Examination การตรวจร่างกายขณะเยี่ยมบ้าน เพื่อประเมินผู้ป่วยในขณะนั้นเพื่อนำมาปรับแผนการดูแล
S = Spiritual Health ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม วัฒนธรรมและประเพณีต่าง ๆ ทำให้รู้จักและเข้าใจผู้ป่วยถึงพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยและครอบครัว การประเมินความหมายของการดำรงชีวิตอยู่ คุณค่าการใช้ชีวิต สิ่งที่ใช้ยึดเหนี่ยวทางใจ
S = Service ประเมินความเข้าใจของครอบครัว ญาติ ให้ตรงกัน ในการวางแผนดูแลผู้ป่วย ว่าต้องการการดูแลอย่างไร แผนการรักษาเป็นอย่างไร จะติดต่อใครได้อย่างไร บริการใกล้เคียงบ้านพักมีอะไรที่ไหนบ้าง
1 more item...
การบันทึกทางการพยาบาลที่บ้าน
การบันทึกการพยาบาลแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก (SOAP Charting) เป็นการดูแลแบบองค์รวมตามปัญหาที่พบทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม
S = Subjective Data เป็นข้อมูลที่ผู้ป่วยบอกเพื่อแสดง อาการ หรือความรู้สึกของตนเอง
O = Objective Data ข้อมูลส่วนที่สามารถตรวจหรือวัดได้ ได้แก่ ผลการตรวจร่างกาย ผลการตรวจเลือด X-ray ต้องเป็นข้อมูลที่สัมพันธ์กับปัญหานั้นๆ
A = Assessment คือ การประเมินปัญหาผู้ป่วยและครอบครัวว่ายังคงมีปัญหาอยู่หรือไม่ มีการเปลี่ยนแปลงของปัญหาอย่างไรบ้าง การประเมินจะสมบูรณ์ ต้องมีข้อมูลสนับสนุนเพียงพอ
P = Plan Management คือ แผนการดูแลที่ต้องให้ครอบคลุมการแก้ปัญหา ผสมผสานเป็นองค์รวมและต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมการดูแลตนเองและการนำศักยภาพของครอบครัวและเครือข่ายทาง
สังคมมาใช้ให้เหมาะสมด้วย
แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
แนวคิดทฤษฎีระบบ
ทฤษฎีทางการพยาบาล
กระบวนการพยาบาล
การพยาบาลแบบองค์รวม
การดูแลต่อเนื่อง
เป็นการดูแลเพื่อตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของบุคคลโดยความร่วมมือของสหวิชาชีพ ไม่ว่าบุคคลจะอยู่ที่ใด
ดูแลบุคคลแบบ 4 ด้าน ร่างกาย จิตวิญญาณ อารมณ์ สังคมและสิ่งแวดล้อม
ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ
1) การประเมินปัญหาและความต้องการ 2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล 3) การวางแผนการพยาบาล 4) การปฏิบัติการพยาบาล 5) การประเมินผลการปฏิบัติการพยาบาล
วัตสัน
ารดูแล สมารถแสดงออกได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถปฏิบัติได้ระหว่างบุคคล
การดูแลประกอบด้วย ปัจจัยการดูแลที่ช่วยให้บุคคลได้รับการตอบสนองความต้องการ
การดูแล ที่มีประสิทธิภาพย่อมส่งเสริมสุขภาพและให้ความเจริญงอกงามแก่บุคคลและครอบครัว
เมื่อมีการตอบสนองการดูแล จะมีการยอมรับบุดคลเท่ากันหรือเกินกว่าที่บุคคลนั้น(กลาย)เป็น
สิ่งแวดล้อมเพื่อการดูแลจะเสริมพัฒนาการในด้านศักยภาพและยอมให้บุคคลเลือกกระทำสิ่งที่ดีที่สุดในช่วงเวลาที่กำหนด
การดูแล จะให้การเสริมสร้งสุขภาพได้ดีกว่ากรรักษา การปฏิบัติการดูแลต้องผสมผสานความรู้ทางชีวภาพกับความรู้ด้นพฤติกรรมของบุคคล เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและช่วยคนที่เจ็บป่วย ศาสตร์การดูแลจึงเสริมศาสตร์การรักษา
การปฏิบัติการดูแลป็นแกนกลางของการพยาบาล ช่วยให้พยาบาลได้ตอบสนองต่อปัญหาของผู้ป่วยและพยาบาลร่วมกันหาทางช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมตนเอง มีความรู้และมีสุขภาพดี
รอย
บุคคลเป็นระบบการปรับตัว บุคคลป็นระบบปิดมีหน่วยงานย่อยทำงานประสานกันอย่างเป็นระบบทำให้สามารถปรับตัวได้ดี เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมในการปรับตัวของบุคคล
พฤติกรรมการปรับตัว เป็นพฤติกรรมเพื่อบอกผลลัธ์ของการปรับตัวของบุคคล มี4 ด้าน ดังนี้ 1.ด้านร่างกาย
เป็นการตอบสนองด้านร่างกายต่อสิ่งเร้า 2.ด้านอัตม โนทัศน์ เป็นการปรับตัวเพื่อให้ได้มาซิ่งความมั่นคงทางจิตใจ 3.ด้านบทบาทหน้าที่ เป็นการตอบสมองด้านสังคมเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางสังคม
ด้านการพึ่งพาระหว่างกัน เป็นการตอบสนองความต้องการของบุคคลที่ต้องการสร้างสัมพันธภาพระหว่าง
สิ่งเร้า เป็นทุกสถานการณ์หรือทุกภาวะการณ์ที่อยู่รอบตัวบุคคลและมีอิทธิพลต่อพัฒนาการและพฤติกรรมบุคคล สิ่งเร้าเป็นทั้งภายในและภายนอกซึ่งกระตุ้นให้บุคคลมีการปรับตัวบุคคล
โอเร็ม
บุคคล เป็นผู้มีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง
บุคคลเป็นผู้ที่มีความสามารถและเต็มใจที่จะดูแลตนเองหรือผู้ที่อยู่ในความปกครองของตนเอง
การดูแลตนเองเป็นสิ่งสำคัญ และเป็นความจำเป็น ในชีวิตของบุคคลเพื่อดำรงรักษาสุขภาพชีวิตการพัฒนาการ และความเป็นปกติสุขของชีวิต (Well bing)
การดูแลตนเองเป็นกิจกรรมที่เรียนรู้และจดจำไว้ได้จากสังคม สิ่งแวดล้อมและการติดต่อสื่อสารที่ช้ำกันและกัน
การศึกษาและวัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อบุคคล
การดูแลตนเองหรือการดูแลผู้อยู่ในความปกครองหรือผู้อื่นเป็นสิ่งที่มีค่าควรแก่การยกย่อง
เพนเดอร์
1.ลักษณะจำเพาะและประสบการณ์
พฤติกรรมที่เกี่ยวข้อง - ปัจจัยส่วนบุคคล
อารมณ์และความคิดต่อพฤติกรรม การรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติ การรับรู้ประโยชน์ในการปฏิบัติ การรับรู้ความสามารถในการปฏิบัติ
พฤติกรรมผลลัพธ์ มุ่งมั่นที่จะปฏิบัติทางเลือกอื่นๆตามความจำเป็นพฤติกรรมต่างๆที่ส่งเสริมสุขภาพ
ไนติงเกล
ไนติงเกลให้ความสำคัญแก่สภาพแวดล้อม กระตุ้นให้พยาบาลสนใจปฏิกิริยาระหว่างบุคคลต่อสิ่งแวดล้อม และตระหนักถึงความสำคัญของการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม มุ่งความสะอาดสุขาภิบาลและสุขอนามัย โดยสิ่งแวดล้อมที่เป็นหลักสำคัญในการจัดการพยาบาล คือ1.การระบายอากาศ 2.การรักษาอุณหภูมิ 3.การควบคุมเสียง 4.แสงสว่าง 5.การกำจัดกลิ่น 6.สุขลักษณะที่อยู่อาศัย