Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน นศพต.ภัทระ ตันติเวชกุล เลขที่51 - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน
นศพต.ภัทระ ตันติเวชกุล เลขที่51
แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
แนวคิดทฤษฎีระบบ
กรอบช่วยในการบริหารจัดการการดูแลผู้ป่วยที่บ้านโดยมองการทํางานเป็น กระบวนการต่อเนื่องมีความเกี่ยวข้องกันตั้งแต่
ปัจจัยนําเข้า (Input) เป็นการวางแผนเตรียมทรัพยากรที่ต้องใช้ในกระบวนการทํางานแต่ละเรื่อง เพื่อให้มีความพร้อมด้านปัจจัยและทรัพยากรที่ใช้ในการทำงานเรื่องนั้น
กระบวนการ (Process) หมายถึง กระบวนการปฏิบัติการพยาบาลในการคัดกรองภาวะสุขภาพประกอบด้วยการบริการอะไรบ้าง และในแต่ละงานบริการ ประกอบด้วยกิจกรรมการพยาบาลอะไร กระบวนการปฏิบัติเป็น 3 ระยะ คือ ก่อนเยี่ยมบ้าน ระหว่างเยี่ยมบ้าน และหลังเยี่ยมบ้าน
ผลลัพธ์ (Output) เป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากการ ประเมินผลที่เกิดขึ้นหลังดำเนินการกระบวนการที่ประกอบด้วย กิจกรรมการ พยาบาล
ทฤษฎีทางการพยาบาล
องค์ความรู้เฉพาะเกี่ยวกับ หลักการพยาบาลที่นำมาใช้เป็นกรอบแนวคิดในการใช้กระบวนการพยาบาล วางแผนดูแลผู้ป่วยที่บ้าน
กระบวนการพยาบาล
กระบวนการแก้ไขปัญหา อย่างเป็นระบบ โดยอาศัยหลักการและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือ ที่พยาบาลใช้ในการดำเนินการให้การพยาบาลผู้ป่วยที่สำคัญของระบบที่นำมาสู่ การจัดการให้มีปัจจัยนำเข้าพร้อมที่จะดำเนินการตามกระบวนการ เพื่อให้เกิด ผลลัพธ์ตามที่คาดหวัง
การพยาบาลแบบองค์รวม
ดูแลบุคคลเป็นหนึ่งเดียวโดยผสมผสานระหว่างร่างกาย จิตวิญญาณ อารมณ์ สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อกัน การพยาบาลแบบองค์รวม มุ่งตอบสนองความต้องการของมนุษย์ในเรื่องภาวะสุขภาพ
ความหมายที่เกี่ยวข้องก้บการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน
Home Health Care การพยาบาลที่บ้าน คือ การดูแล สุขภาพอนามัยตนเองที่บ้านซึ่งหมายถึงบริการสาธารณสุขเชิงรุก มีทีมสาธารณสุขให้การสนับสนุน แนะนำ ช่วยเหลือให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและครอบครัวในการดูแลตนเองทางด้านสุขภาพอนามัย โดยมีเครือข่ายติดต่อกับเจ้าหน้าที่ได้ตลอดเวลา เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินหรืออันตราย
Home Visit การเยี่ยมบ้าน เป็นกิจกรรมหรือเป็นกลวิธีที่สําคัญที่สุดในการดูแลสุขภาพบุคคลและผู้ป่วยที่บ้าน
Home Ward การใช้บ้านเป็นเตียงดูแลผู้ป่วย คือการดูแลผู้ป่วยเพื่อให้ได้รับการดูแลต่อเนื่องจากโรงพยาบาล โดยใช้ บ้านแต่ละหลังเสมือนเป็นเตียงผู้ป่วยในโรงพยาบาล ผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็นผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพซับซ้อนต้องการการดูแลจากผู้ประกอบวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
หน่วยบริการปฐมภูมิ หมายถึง หน่วยบริการที่ให้บริการสาธารณสุข ระดับปฐมภูมิในการดูแลประชาชนในความรับผิดชอบ แบบองค์รวม ผสมผสานและต่อเนื่อง
การพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน หมายถึง การบริการสุขภาพสำหรับผู้ป่วย และครอบครัว โดยพยาบาลใช้ที่อยู่อาศัยบ้านของบุคคลและผู้ป่วยเป็นสถานที่ให้บริการสุขภาพ ให้การดูแลช่วยเหลือ ให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและครอบครัวให้มีความสามารถในการดูแลตนเอง ป้องกันภาวะแทรกซ้อนและฟื้นหายจากความเจ็บป่วย เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยกลับสู่ภาวะสุขภาพดีหรือใกล้เคียงกับภาวะปกติมากที่สุด
ทฤษฎีการพยาบาลที่ใช้ในการประเมินบุคคล ครอบครัว ชุมชน
ทฤษฎีการพยาบาลของ ไนติงเกล เป็นทฤษฎีที่มีความเชื่อว่า คนมี พลังที่จะฟื้นหายจากโรค และความเจ็บป่วย พยาบาลจะต้องช่วยผู้ป่วยให้อยู่ใน สภาวะส่งเสริมกระบวนการฟื้นหาย โดยการจัดการสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะ เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
เป้าหมายของการพยาบาล คือ การจัดสิ่งแวดล้อมให้ เป็นธรรมชาติ กับบริบทการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย และมีการให้คำแนะนำ เพื่อส่งเสริมให้บุคคลปรับตัวได้ดีในสภาพแวดล้อมที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง ตามสภาวะการเปลี่ยนความสามารถทางกายของผู้ป่วยแต่ละคน
ทฤษฎีการปรับตัวของรอย เชื่อว่ามนุษย์เป็นระบบที่มีการปรับตัว แบบองค์รวม โดยมนุษย์จะมีความสามารถใน การคิด พิจารณาเพื่อการปรับตัวให้เหมาะกับสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกร่างกาย โดยการนำกระบวนการพยาบาลมาประเมินพฤติกรรมและสิ่งเร้าที่มีผล ต่อการปรับตัวของผู้ป่วย รอยได้แบ่งระดับการปรับตัวเป็น 4 ลักษณะ
2.1 การปรับตัวด้านร่างกาย (Physiological Mode) เป็นความ สัมพันธ์ของกระบวนการและสารเคมีในร่างกายที่คอยควบคุมการทำงานของ อวัยวะและระบบต่าง ๆ เพื่อให้ร่างกายอยู่ในภาวะสมดุล
2.2 การปรับตัวด้านอัตมโนทัศน์ (Self Concept Mode) เป็นการรับรู้จากความเชื่อ ค่านิยมเกี่ยวกับตัวเอง และปฏิกิริยาจากคนรอบข้าง เกี่ยวกับภาพลักษณ์ของตนเอง (Body Image) ความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง
2.3 การปรับตัวตามบทบาทหน้าที่ (Role Function Mode) ได้แก่ การทําบทบาทตามความคาดหวังของสังคม หรือการแสดงบทบาทตาม นําแหน่งหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้เหมาะสม
2.4 การปรับตัวด้านการพึ่งพาระหว่างกัน (Interdependence Mode) เน้นการปรับตัวด้านการพึ่งพาผู้อื่นและพึ่งตนเองในขอบเขตที่เหมาะสม สังคมยอมรับ
ทฤษฎีการดูแลของวัตสัน เน้นการดูแลที่อาศัยการสร้างสัมพันธภาพ ระหว่างผู้ให้การดูแลกับผู้ได้รับการดูแลภายใต้ความรักในความเป็นเพื่อนมนุษย์
หลักการพยาบาลของวัตสัน ประกอบด้วย
3.1 พยาบาลต้องมีเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ ปฏิบัติการพยาบาลและ ดูแลผู้ป่วยด้วยความรักและเมตตา
3.2 พยาบาลต้องไวต่อการรับรู้ความรู้สึกของผู้ป่วย จากคำพูดหรือ การแสดงออกของผู้ป่วยกับบุคคลที่แวดล้อมตัวผู้ป่วย เป็นภาวะที่ตรงกับคำพูด คําบอกเล่าและพยายามทําความเข้าใจกับปัญหาของผู้ป่วยกับบริบทสิ่งแวดล้อม
3.3 ส่งเสริมให้ผู้ป่วยแสดงความรู้สึกออกมาทั้งทางบวกและลบเพื่อ จะได้เข้าใจถึงความต้องการของผู้ป่วย
3.4 ใช้วิธีการแก้ปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ โดยใช้ศาสตร์ และองค์ความรู้มาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการดูแล เพื่อถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ ที่ทำให้ผู้ป่วยสัมผัสได้ถึงความรักที่พยาบาลปฏิบัติการดูแลช่วยเหลืออย่างจริงใจ
3.5 ส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์ของตัวผู้ป่วยเอง จากปัญหา และวิธีปฏิบัติ เพื่อให้ผู้ป่วยพัฒนาการเรียนรู้จากสิ่งง่ายไปสู่สิ่งซับซ้อนภายในกรอบการพยาบาล
3.6 สนับสนุนแก้ไขสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ เพื่อสร้างสรรค์สภาพ แวดล้อมแห่งการบำบัด สำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม เชื่อว่าบุคคลเมื่อมีความเจ็บป่วย หรือพิการจะส่งผลกระทบทำให้บุคคลมีความพร่องในการดูแลตนเอง ซึ่งความพร่องจะนำมาสู่ความสามารถที่จํากัดในการดูแลตนเองของบุคคลอาจมีความ จํากัดที่เกิดจากรอยโรค หรือจากรอยโรคที่ทําให้มีความต้องการการดูแลตนเองเพิ่มขึ้น
หลักการพยาบาลของโอเร็ม ประกอบด้วย
4.1 บุคคลทุกคนมีศักยภาพในการกระทําเกี่ยวกับตนเองถ้าตั้งใจและ มีความสามารถในการจัดระเบียบปฏิบัติกิจกรรมเพื่อดูแลตนเองได้เปิดรับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลงตนเองอยู่เสมอ
4.2 บุคคลและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อกันไม่สามารถแยกออกจากกันได้ สิ่งแวดล้อมที่ดีจะเป็นแรงจูงใจให้บุคคลปรับพฤติกรรมและพัฒนาความ สามารถในการดูแลตนเองได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งใจ
4.3 สุขภาพดี คือ คนที่สามารถทำหน้าที่ได้ทั้งด้านสรีระ จิตใจและสังคม และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่นรอบข้างสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้ตามศักยภาพของตน
ทฤษฎีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเป็นการ ปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันเพื่อการมีสุขภาพดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจและสังคม ประกอบด้วยการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ (Health Responsibility) ด้านกิจกรรมทางกาย (Physical Activity) ด้านโภชนาการ (Nutrition) ด้านการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonal Relations) ด้านการพัฒนาจิตวิญญาณ (Spiritual Growth) และด้านการจัดการกับความเครียด (Stress Management)
ประเภทของพฤติกรรมสุขภาพ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
พฤติกรรมในการป้องกันโรค (Health Protecting Behavior) เป็นการป้องกันหรือการค้นหาความผิดปกติในระยะที่ไม่แสดงอาการเป็นการป้องกันภาวะความเจ็บป่วยเช่น การฉีดวัคซีนและการได้รับอันตรายต่างๆ
พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ (Health Promotion Behavior) เป็นกิจกรรมหรือแบบแผนการดำเนินชีวิตของบุคคลเพื่อควบคุมและส่งเสริมสุขภาพการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้านให้ดีขึ้น
การพยาบาลผู้ป่วยที่บัาน
เป็นบริการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องโดยมีการจัดกิจกรรมการดูแลตามความเหมาะสมสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของผู้ป่วย เพื่อดำรงไว้ซึ่งคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว โดยการนำกระบวนการพยาบาลมาใช้ในการประเมินปัญหา สุขภาพภายใต้ความเป็นอยู่ในสภาพแวดล้อมที่บ้าน
วัตถุประสงค์การพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน
เพื่อประเมินภาวะสุขภาพของผู้ป่วย ความพร้อมผู้ดูแล ครอบครัว สิ่งแวดล้อม และวิเคราะห์ปัญหาความต้องการด้านสุขภาพ ประเมินการวางแผนจําหน่ายต่อเนื่องจากโรงพยาบาล รวมถึงปัจจัยเกี่ยวข้องที่ช่วยให้ผู้ป่วย ดำรงชีวิตอยู่ที่บ้าน
เพื่อให้คำแนะนำ ฝึกทักษะให้ผู้ป่วยและครอบครัวยอมรับและปรับ พฤติกรรมในระยะฟื้นฟูสภาพได้เหมาะสมสามารถดูแลตนเองที่บ้านได้ถูกต้อง
เพื่อให้บริการพยาบาลในส่วนที่ผู้ป่วยและผู้ดูแลไม่สามารถให้การ ดูแลตนเองได้
เพื่อติดตามผลการรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสภาพอย่างต่อเนื่อง ลดอาการรุนแรงเฉียบพลันของภาวการณ์เจ็บป่วยและพิการ
เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจและเป็นกำลังใจแก่ผู้ป่วยและครอบครัวใน การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้ป่วยและมีส่วนร่วมดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
เป้าหมายของการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน
มุ่งจัดบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัวที่มีปัญหาสุขภาพโดยให้บริการผสมผสานเป็นองค์รวม ด้านส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสภาพให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนร่วมวางแผนและดำเนินการตามแผนการดูแล เหมาะสมกับความต้องการ สามารถดูแลตนเองให้เกิดสุขภาวะได้
ประโยชน์ของการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน
จัดบริการเพื่อเพิ่มการเข้าถึง กระจายบริการพยาบาลไปในชุมชนถึง บ้านช่วยให้มีความเสมอภาคแก่ประชาชนกลุ่มผู้ป่วยที่บ้านที่มีความต้องการการวางแผนจําหน่ายบริการ
พัฒนาศักยภาพของประชาชนในการดูแลตนเองด้านสุขภาพอนามัย
ปัจจัยนำเข้าการดำเนินงาน
ทีมเยี่ยมบ้าน
เป็นทีมพยาบาลวิชาชีพมีการประสานการ คําเนินงานในลักษณะเครือข่าย/ทีมสหสาขาวิชาชีพ ที่มีเป้าหมายการดำเนินงานร่วมกันในการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน
คุณสมบัติของพยาบาลผู้ให้การพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน มีดังนี้
มีการตัดสินใจที่ดี
มีความสุขและเต็มใจที่ได้ปฏิบัติงานใกล้ชิดอยู่กับคนในชุมชน
มีความรู้ด้านการรักษาโรคเบื้องต้น
มีความชำนาญทางคลินิกหรือมีประสบการณ์ด้านการพยาบาลอายุรกรรม และศัลยกรรม
จบการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาหรือระดับปริญญาโทสาขาการพยาบาล
มีทักษะในการสื่อสารกับคนในชุมชนได้ทุกระดับ
มีภาวะผู้นำ กล้าแสดงความคิดเห็น มีวิสัยทัศน์ เป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่ม
มีความเข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่น
สามารถใช้คอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศได้
มีทักษะการสื่อสารสาธารณะและจัดทำข้อมูลนำเสนอ/ทำสื่อเผยแพร่ได้
บทบาทของพยาบาลในการให้การพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน ดังนี้
บทบาทการเป็นผู้จัดการการดูแลสุขภาพ
บทบาทการเป็นผู้นํา
บทบาทของการดูแลเอาใจใส่
บทบาทการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
บทบาทการเป็นที่ปรึกษา
บทบาทการเป็นผู้สอนหรือให้ความรู้ด้านสุขภาพ
บทบาทของการเป็นผู้ติดต่อสื่อสารและผู้ช่วยเหลือ
บทบาทการเป็นผู้รักษาประโยชน์และสิทธิผู้ใช้บริการ
บทบาทเป็นนักวิจัย
ระบบการพยาบาลเชื่อมโยงการดูแลผู้ป่วย
พยาบาลที่ให้การดูแลผู้ป่วย เป็นทีมที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จะต้องสร้างระบบการพยาบาลเชื่อมโยงการดูแลผู้ป่วยในลักษณะเครือข่ายทีมการพยาบาล และจัดระบบการเยี่ยมบ้านให้เป็นระบบเดียวกัน มีการสร้างเครื่องมือทางการพยาบาลผู้ป่วยแต่ละกลุ่มโรคใช้ร่วมกันทั้งจังหวัด เพื่อการประสานการดูแลผู้ป่วยภายในจังหวัด
อุปกรณ์เครื่องใช้
เตรียมตัวก่อนออกเยี่ยมบ้านอุปกรณ์เครื่องมือเป็นสิ่งสำคัญซึ่งควรเตรียมให้พร้อมสําหรับการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน ประกอบด้วย
อุปกรณ์ประเภทที่ 1 สำหรับการเยี่ยมผู้ป่วยที่มีระดับความรุนแรง ระดับที่ 1-2
อุปกรณ์ประเภทที่ 2 เครื่องมือที่ต้องเตรียมเฉพาะราย สำหรับการ เยี่ยมผู้ป่วยที่มีระดับความรุนแรงระดับที่ 3
อุปกรณ์ประเภทที่ 3 เป็นอุปกรณ์อื่นๆ เช่น กล้องถ่ายภาพ
ปัจจัยสนับสนุนการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน
การเจ็บป่วยเรื้อรังมีภาวะโรคที่ยุ่งยากซับซ้อนของการรักษา และมีการเบี่ยงเบนจากปกติ พยาธิสภาพที่เกิดขึ้นไม่สามารถกลับคืนสู่ภาวะปกติ ต้องการการฟื้นฟูสภาพและต้องใช้เวลายาวนานในการดูแลและควบคุมให้อาการคงที่
กระบวนการดำเนินงาน
การแบ่งกลุ่มผู้ป่วยเพื่อให้การพยาบาลที่บ้าน
แบ่งเป็น 4 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่มีภาวะความเจ็บป่วยอยู่ในระยะที่มีอาการดีขึ้น อาการคงที่ ไม่ต้องใช้เครื่องมือเทคโนโลยีทางการแพทย์คอยควบคุมติดตาม อาการเปลี่ยนแปลงหรืออยู่ในความดูแลใกล้ชิดจากแพทย์ พยาบาล
กลุ่มที่ 2 กลุ่มที่มีอาการเจ็บป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ด้วยการคลอดบุตร การผ่าตัด หลังออกจากโรงพยาบาล เพื่อการติดตามประเมินอาการหลังได้รับการรักษาจากโรงพยาบาล
กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่มีความจำกัดในการไปใช้บริการ แต่ต้องการการประเมินเพื่อติดตามสภาวะสุขภาพ
กลุ่มที่ 4 กลุ่มที่มีการดำเนินโรคในระยะสุดท้าย
กระบวนการดำเนินงานบริการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้านแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะก่อนเยี่ยมบ้าน ระยะระหว่างเยี่ยมบ้าน ระยะหลังเยี่ยมบ้าน
การกำหนดระยะเวลาและความถี่การเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน
ระยะเวลาและความถี่ของการเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านนั้น ขึ้นอยู่กับการ วินิจฉัยอาการของผู้ป่วย ส่วนใหญ่ในสัปดาห์แรกของการดูแลจะมีความถี่ในการติดตามดูแลผู้ป่วยที่บ้านอย่างใกล้ชิดและจะห่างออกไปตามอาการของผู้ป่วยที่ดีขึ้น
ระดับความรุนแรงของผู้ป่วยและความต้องการการช่วยเหลือที่บ้าน
ความรุนแรงระดับที่ 1 หมายถึง กลุ่มผู้ป่วยที่เริ่มเจ็บป่วยระยะแรกจากการเป็นโรคเรื้อรัง มีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเล็กน้อย ยังไม่มีภาวะแทรกซ้อนหรือการเกิดภาวะโรคร่วม ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองได้ แต่ขาดความรู้ ความเข้าใจและทักษะเกี่ยวกับโรคและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม กับสภาวะของโรค
ความรุนแรงระดับที่ 2 หมายถึง กลุ่มผู้ป่วยที่มีการดำเนินของโรคส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตปกติ ไร้ความสามารถเล็กน้อย ช่วยเหลือตัวเองได้ไม่เต็มที่ศักยภาพในการดูแลตนเองไม่เพียงพอ ต้องการคนช่วยเหลือในการทํากิจกรรมบางส่วน
ความรุนแรงระดับที่ 3 หมายถึง กลุ่มผู้ป่วยที่พยาธิสภาพของโรค เกิดความพิการ จํากัดความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง หรือใส่เครื่องมือทางการแพทย์เพื่อช่วยในการดำรงชีวิต จำเป็นต้องมีผู้ดูแลช่วยเหลือการทํากิจวัตรประจําวัน
กระบวนการดำเนินงาน
ระยะก่อนการเยี่ยมบ้าน เป็นระยะของการเตรียมความพร้อม ซึ่งมี 3 ขั้นตอน
1.1 เตรียมข้อมูลสุขภาพชุมชน ข้อมูลเฉพาะตัวผู้ป่วยหรือ ครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพโดยศีกษาข้อมูลผู้ป่วยทั้งจากกรณีที่ส่งต่อ จากโรงพยาบาลและข้อมูลจากชุมชน โดยประเมินจากแบบส่งต่อหรือใน Family Folder ของผู้ป่วย
1.2 กำหนดแผนการดูแล โดยกำหนดวัตถุประสงค์ของการเยี่ยมเพื่อ เป็นแนวทางการกำหนดกิจกรรมปฏิบัติงาน กำหนดประเภทของการเยี่ยมตามระดับความรุนแรง
1.3 อุปกรณ์ / เครื่องใช้สําหรับให้การพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน สำหรับการเยี่ยมบ้านอุปกรณ์เครื่องใช้เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งควรเตรียม ให้พร้อมสำหรับการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้านแต่ละราย
ระยะระหว่างการเยี่ยมบ้าน พยาบาลควรประเมินสัมพันธภาพของผู้ป่วยกับสมาชิกในบ้านและสิ่งแวดล้อมเพื่อนำมาใช้ประกอบการวางแผนการพยาบาล นำกระบวนการพยาบาลมาใช้เป็นเครื่องมือประเมินและให้การพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน โดยการระบุปัญหาและความต้องการด้านสุขภาพของผู้ป่วยกำหนดแผนการพยาบาลให้ทีมสุขภาพ
ใช้เครื่องมือแนวทางเวช ปฏิบัติครอบครัว
INHOMESSS
ดังนี้
I = Immobility เป็นการประเมินว่าผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองได้หรือ ต้องอาศัยผู้อื่นดูแลในการทำกิจวัตรประจำวัน การใช้โทรศัพท์ การจัดยากินเอง
N = Nutrition เพื่อดูภาวะโภชนาการของผู้ป่วยในส่วนที่สัมพันธ์กับ ภาวะโรค การเตรียมปรุงอาหาร วิธีเก็บอาหาร นิสัยการกินและอาหารโปรด เช่น ผู้สูงอายุทานอะไร เด็กทานสารอาหารอะไร ผู้ป่วยเบาหวานคุมอาหาร อย่างไร ประเมินเพื่อดูความเหมาะสมภาวะโภชนาการกับโรคที่เป็น รวมถึงวิธี การจัดเก็บอาหารที่ปรุงเสร็จแล้ว
H = Home Environment สภาพสิ่งแวดล้อมในบ้านและรอบบ้าน เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพผู้ป่วยและครอบครัว เช่น สภาพบ้าน แออัด มีโรงงานอุตสาหกรรมใกล้บ้าน การถ่ายเทอากาศ ใกล้ไกลชุมชน เพื่อน บ้านมีความสัมพันธ์กันอย่างไร ช่วยเหลือพึ่งพากันได้หรือไม่
O = Other People สมาชิกในครอบครัวมีความสัมพันธ์กันอย่างไร บทบาทของสมาชิกในครอบครัวต่อผู้ป่วย บุคคลที่เป็นผู้รับผิดชอบ ตัดสินใจแทน ผู้ป่วย
M = Medications การซักประวัติเรื่องยารวมถึงการใช้สมุนไพร ยาพื้นบ้าน ของผู้ป่วย
E = Examination การตรวจร่างกายขณะเยี่ยมบ้าน เช่น การวัดความดันโลหิต การดูแลแผล การตรวจมารดาและทารกหลังคลอด เพื่อประเมินผู้ป่วยในขณะนั้นเพื่อนำมาปรับแผนการดูแล
S = Spiritual Health ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม วัฒนธรรม และประเพณีต่าง ๆ การค้นหาปัจจัยทางด้านจิตวิทยาสังคมที่มีต่อผู้ป่วยและ ครอบครัว ทำให้รู้จักและเข้าใจผู้ป่วยถึงพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยและ ครอบครัว การประเมินความหมายของการดำรงชีวิตอยู่ คุณค่าการ
S = Service ประเมินความเข้าใจของครอบครัว ญาติ ให้ตรงกัน ความรู้สึกที่มีต่อระบบในการวางแผนดูแลผู้ป่วย และต้องรู้การดูแลที่เชื่อมโยง ระหว่างบ้านและโรงพยาบาลว่าต้องการการดูแลอย่างไร แผนการรักษาเป็น อย่างไร จะติดต่อใครได้อย่างไร บริการใกล้เคียงบ้านพักมีอะไรที่ไหนบ้าง
S = Safety การประเมินสภาพแวดล้อมของผู้ป่วยตั้งแต่โครงสร้างของบ้าน บันไดมีความชัน เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์อำนวยความสะดวก พื้นห้องน้ำ ว่ามีความปลอดภัยเพียงพอหรือไม่
ระยะหลังการเยี่ยมบ้าน ภายหลังการเยี่ยมบ้านต้องมีการนำข้อมูลที่ได้จากการเยี่ยมบ้านมา ประชุมร่วมกันในทีมว่าใครคุยกับญาติ เพื่อนบ้านได้ข้อมูลมาประกอบและหาข้อ สรุปเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาอย่างครอบคลุมเป็นองค์รวมมากขึ้น ภายหลังการเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านต้องมีการทบทวน สรุปประเด็นให้ผู้ป่วยเข้าใจโดยมีการบันทึกและวางแผนการปฏิบัติตัว และการติดตามประเมิน ของทีมเยี่ยมบ้านครั้งต่อไปร่วมกัน และเมื่อเสร็จจากการเยี่ยมบ้านพยาบาล ต้องมีการสรุป วิเคราะห์ บันทึกข้อมูล ทำความสะอาดเครื่องมือ กระเป๋าเยี่ยม และวางแผนการดูแลในครั้งต่อไป
กระบวนการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน
การประเมินภาวะสุขภาพ (Health Assessment)
เป็นขั้นตอนของการเก็บรวบรวมข้อมูล พยาบาลจะต้องพยายามรวบรวมข้อมูลอาการ อาการแสดงที่เป็นผลจากพยาธิ สภาพและส่งผลให้เกิดปัญหาทั้งทางกาย จิตสังคมและจิตวิญญาณอย่างครบ ถ้วน โดยคำนึงถึงความแตกต่างทางสังคมวัฒนธรรม แบบแผนการดาเนิน ชีวิต และบริบทของชุมชน
การวินิจฉัยทางการพยาบาล ( Nursing Diagnosis)
กำหนดข้อวินิจฉัยทางการ พยาบาล ต้องกำหนดภายใต้ข้อมูลสนับสนุนเชิงประจักษ์ที่มีความชัดเจนว่าเป็น สภาพปัญหา การเขียนข้อวินิจฉัยที่ดีจะต้องช่วยชี้นำการปฏิบัติการพยาบาล และจะต้องมีข้อมูลสนับสนุนทั้งที่เป็นคำบอกเล่า และจากการสังเกตพฤติกรรม ต่างๆ ที่ผู้รับบริการแสดงออกและส่งผลกระทบต่อสุขภาพที่สามารถแก้ไข ช่วยเหลือได้โดยใช้หลักการพยาบาล
การวางแผนการพยาบาล (Nursing Care Plan)
วางแผนการพยาบาลเป็นการนํา ปัญหาทั้งหมดที่ประเมินได้มาวางแผนการพยาบาล ซึ่งต้องตัดสินใจเลือกวิธีการ ปฏิบัติให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลและต้องตอบสนองความต้องการสำคัญของ ผู้ป่วยโดยคำนึงถึงข้อมูลที่ถูกต้องและครอบคลุม แผนการพยาบาล ประกอบด้วย การกำหนดวัตถุประสงค์ของการแก้ไขปัญหา การกำหนดเป้าหมายระยะสั้น ระยะยาว การระบุกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหา การกำหนดแนวทางและเกณฑ์การประเมินผล
การปฏิบัติการพยาบาล ( Nursing Intervention)
หลักการสำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือ การ ให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเอง พยาบาลต้องให้การดูแลตาม เป้าหมายที่ได้ร่วมกำหนดไว้ ดูแลผู้ป่วยตามหลักของมนุษยชนคำนึงถึงความ เชื่อมโยงโดยรวมทั้งหมดของบุคคลในทุกมิติ การรู้จักให้เวลา รู้จักฟัง ให้ความ สนใจอย่างจริงจัง รวมทั้งคำนึงถึงวัฒนธรรมของผู้ป่วย มีการนำศาสตร์อื่นๆ เข้ามาสอดแทรกในการดูแลแบบผสมผสานเพื่อสนับสนุนให้ผู้ป่วยดึงศักยภาพที่ มีอยู่ของตนเองมาใช้
การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)
เป็นขั้นตอนสุดท้าย ของกระบวนการพยาบาลซึ่งเป็นขั้นตอนการตรวจสอบผลที่เกิดจากการปฏิบัติ กิจกรรมการพยาบาล ว่าเป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ และผลของ การประเมินจะนำไปสู่การทบทวนข้อมูลที่ใช้วางแผนการพยาบาล เพื่อหาข้อมูลสนับสนุนเพิ่มเติม
กิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้านแต่ละครั้ง
การเยี่ยมครั้งที่ 1 เป็นการประเมินปัญหาแบบองค์รวมของผู้ป่วยที่ บ้านโดยใช้แบบประเมินภาวะสุขภาพครอบครัว หรือเครื่องมืออื่นที่สามารถ ประเมินการดูแลแบบองค์รวมได้ เช่น เครื่องมือแนวทางเวชปฏิบัติครอบครัว (INHOMESSS)
การเยี่ยมครั้งต่อไป เป็นการติดตามผลการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้านใน ครั้งที่ผ่านมา ประเมินปัญหาใหม่ที่เกิดขึ้นในระหว่างอยู่ที่บ้าน ประเมินการ บรรลุเป้าหมายการพยาบาลที่วางแผนไว้ในเบื้องต้น
หลักการบันทึกทางการพยาบาลที่บ้าน
ใช้ปัญหาเป็นหลัก
SOAP
Charting เป็นการดูแลแบบองค์รวมตามปัญหาที่พบทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ทำให้สามารถวิเคราะห์ปัญหาของผู้ป่วยได้ครบถ้วน
S = Subjective Data เป็นข้อมูลที่ผู้ป่วยบอกเพื่อแสดงอาการ หรือ ความรู้สึกของตนเอง เช่น อาการสำคัญ ประวัติปัจจุบัน ประวัติอดีต ประวัติ ส่วนตัว ประวัติครอบครัว ควรบันทึกเฉพาะประวัติที่สำคัญ มีความสัมพันธ์กับปัญหาความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจเป็นความสัมพันธ์ในแง่สาเหตุ อาการแทรกซ้อนหรือความรุนแรง ไม่จำเป็นต้องเขียนการค้นพบที่เป็นลบ (Negative Finding) ที่ไม่มีนัยสำคัญ ให้ถือว่าสิ่งที่ไม่เขียนคือสิ่งที่ไม่มีในประวัติ
O = Objective Data ข้อมูลส่วนที่สามารถตรวจหรือวัดได้ ได้แก่ ผลการตรวจร่างกาย ผลการตรวจเลือด X-ray ที่มีจนถึงวันที่เขียนบันทึก ต้อง เป็นข้อมูลที่สัมพันธ์กับปัญหานั้นๆ รวมถึงท่าทีอวัจนะภาษาทั้งของผู้ป่วยและ ญาติรวมทั้งข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมที่วินิจฉัยแล้วว่าเป็นสาเหตุสนับสนุนให้เกิด ปัญหาสุขภาพ
A = Assessment คือ การประเมินปัญหาผู้ป่วยและครอบครัวว่า ยังคงมีปัญหาอยู่หรือไม่ มีการเปลี่ยนแปลงของปัญหาอย่างไรบ้าง การประเมิน จะสมบูรณ์ ต้องมีข้อมูลสนับสนุนเพียงพอ
P = Plan Management คือ แผนการดูแลที่ต้องให้ครอบคลุมการ แก้ปัญหาที่เบ็ดเสร็จ ผสมผสานเป็นองค์รวมและต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การส่งเสริมการดูแลตนเองและการนำศักยภาพของครอบครัวและเครือข่ายทาง สังคมมาใช้ให้เหมาะสมด้วย หลังจากการเยี่ยมบ้านและลงบันทึกแล้วในการ ประชุมทีม หรือการประชุมวิชาการทุกครั้ง ควรนำเอาข้อมูลของผู้ป่วยและ ครอบครัวมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในที่ประชุมเป็นประจำ