Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วัยเด็กตอนกลาง ( 6 – 12 ) - Coggle Diagram
วัยเด็กตอนกลาง ( 6 – 12 )
พัฒนาการเเละการส่งเสริม
ด้านร่างกาย
เด็กในช่วงวัยนี้เจริญเติบโตในอัตราที่ช้ากว่าช่วงวัยเด็กตอนต้น
น้ำหนักเพิ่มขึ้น 3–3.5 กิโลกรัมต่อปี
ส่วนสูงเพิ่มขึ้น 6–7 เซนติเมตรต่อปี
รอบศีรษะเพิ่มขึ้น 2–3 เซนติเมตรตลอดทั้งช่วงอายุ 6–10 ปี
ฟันน้ำนมเริ่มหลุดเมื่ออายุประมาณ 6 ปี
การเคลื่อนไหวโดยใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่
การทรงตัว การใช้สายตา และมือประสานกันทำกิจกรรมต่างๆ มีความคล่องแคล่ว แม่นยำมากขึ้น
เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางเพศ โดยเฉพาะเพศหญิงอาจมีการเข้าสู่วัยสาวที่อายุ 7–8 ปี
เมื่อเข้าช่วงปลายของวัยเรียนเข้าใกล้วัยรุ่นในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ร่างกายจะเปลี่ยนแปลงมาก เด็กหญิงจะมีการเติบโตเร็วกว่าเด็กชาย
การส่งเสริมให้ร่างกายหลายส่วนทำอย่างคล่องแคล่ว ประสานกัน ต้องอาศัยการฝึกฝนผ่านการทำกิจกรรมทั้งงานบ้านและการเล่นกีฬาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
ด้านอารมณ์และจิตใจ
ฝึกให้เด็กรู้จักและเข้าใจอารมณ์ของตนเอง หัดควบคุมอารมณ์ หัดให้แสดงอารมณ์อย่างเหมาะสม เพื่อเป็นพื้นฐานการแก้ปัญหา
ชมเมื่อทำได้และให้กำลังใจเมื่อเด็กยังทำไม่ได้ ซึ่งจะเป็นทักษะสำคัญในการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข
ชี้ให้เด็กเห็นความแตกต่างของแต่ละบุคคล หัดมองข้ามความไม่ถูกใจ หัดมองข้อดี – ข้อเสียของตนเองและของคนอื่น
เรียนรู้จักการแสดงออกที่เหมาะสมเมื่อได้รับชัยชนะ และก็เรียนรู้จักการพ่ายแพ้
การฝึกเด็กให้ปรับตัวได้ทันการเปลี่ยนแปลงนั้น
พ่อแม่และครูต้องหมั่นทบทวนวิธีการที่ตนเองใช้ว่าเหมาะสม ทันต่อเวลา ปัญหา และทันต่อความเปลี่ยนแปลงในสังคมหรือไม่+เป็นต้นแบบที่ดีในการปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลง
ด้านสังคม
มีความอยากรู้อยากเห็น เสาะแสวงหาสิ่งใหม่ๆ รอบตัว เด็กในวัยนี้ต้องการแสดงความคิดเห็นและแก้ปัญหาต่างๆ เพื่อแสดงความเป็นผู้ใหญ่
ในช่วงอายุนี้บุคคลรอบข้างควรช่วยชี้แนะแนวทางในการดำเนินชีวิตเพราะเป็นระยะที่พวกเขาเริ่มไตร่ตรองถึงอนาคต การที่ได้พิสูจน์ว่ามีความสามารถกระทำสิ่งต่างๆ ในขอบเขตของเขาได้อย่างเหมาะสมทำให้เด็กในวัยนี้มีความเชื่อมั่นว่าเขาจะประสบความสำเร็จในอนาคต
ด้านจริยธรรม
ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากคนทั้งในและนอกบ้าน โดยส่วนหนึ่งลอกเลียนแบบมากจากพ่อแม่ คุณครู ความเชื่อเรื่องผิดถูกจะได้รับการปรับเปลี่ยนขัดเกลาจนมีลักษณะที่ยืดหยุ่นมากขึ้น เด็กจะรู้จักตนเอง รู้จักและเข้าใจมุมมองของผู้อื่น รวมทั้งสามารถเข้าใจบริบทของเหตุการณ์ได้
กติกาของการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันทั้งที่บ้านและโรงเรียนเรียนรู้ว่าควรเล่นอย่างไรและจะทำอย่างไรจึงจะเข้ากับคนอื่นได้
วิกฤตที่พบ
เด็กวัยนี้เริ่มขยายสังคมจากบ้านไปสู่โรงเรียนทำให้มีการคบบุคคลอื่นๆมาขึ้น
มีอาจารย์เป็นต้นเเบบในการเลียนเเบบ
การคบเพื่อนมีการเข้ากลุ่มโดยเเบ่งเเยกตามเพศ
เริ่มกำหนดกติกากำหนดบทบาทของสมาชิก
เด็กบางคนเข้ากลุ่มเเต่บางคนเเยกตัวอยู่ต่างหาก ตามความพอใจของตนเองหรือกลุ่มไม่ยอมรับเข้าเป็นสมาชิก
ผลกระทบโควิด-19
ด้านร่างกาย
จากมาตรการให้เรียนออนไลน์ที่บ้าน เด็กวัยเรียนจำเป็นต้องนั่งอยู่หน้าจอ
ส่งผลให้มีโอกาสเล่นเกมและเข้าถึงเนื้อหาสื่อออนไลน์ที่นอกเหนือจากบทเรียนมากขึ้น
อยู่หน้าจอเป็นเวลานาน ผลที่ตามมาคือ ทำให้มีการเคลื่อนไหวร่างกายหรือมีกิจกรรมทางกายน้อยลง
ปวดเมื่อย ปวดตา ปวดหลัง นอนหลับพักผ่อนน้อยลง มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เป็นเวลาและไม่เหมาะสมกับวัย
กับวัย การเจริญเติบโตไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ
ด้านจิตใจ
ขาดปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง ส่งผลให้เกิดความตึงเครียด วิตกกังวล โดดเดี่ยว และเบื่อหน่ายเพิ่มขึ้น ทั้งเรื่องการเรียนและการสอบ การศึกษาต่อ จิตใจอ่อนไหวง่าย หวาดระแวง
ขาดความมั่นใจ ความใส่ใจและสนใจตนเองน้อยลง
ด้านการศึกษา
เด็กจะต้องนั่งเรียนออนไลน์ที่บ้าน ทำให้เด็กมีปัญหาทั้งการขาดเรียนบ่อยครั้ง การเรียนที่หยุดชะงัก เกิดสภาวะการเรียนรู้ถดถอยที่ยากจะแก้ไข จึงมีโอกาสเสี่ยงที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษาได้ง่ายขึ้น ผลที่ตามมาคือเกิดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษามากขึ้น