Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
HCV Cirrhosis - Coggle Diagram
HCV Cirrhosis
ข้อมูลทั่วไป
-
-
-
-
ประวัติเจ็บป่วยปัจจุบัน
1 เดือนก่อนมา ผู้ป่วยมีอาการรับประทานอาหารได้น้อย อ่อนเพลีย ไปรับการักษาที่โรงพยาบาลพัฒนานิคม แพทย์วินิจฉัยเป็น Cirrhosis พบว่ามีบวม คันตามตัว ท้องโต จึงส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช ได้รับการรักษาแล้วจึงกลับบ้าน
-
-
-
ข้อวินิจฉัยข้อที่ 3 เสี่ยงต่อการเกิดภาวะโรคสมองจากโรคตับ เนื่องจากประสิทธิภาพของตับในการขจัดของเสียลดลง
-
-
-
กิจกรรมการพยาบาล
- ประเมินอาการของโรคสมองจากโรคตับ เช่น ซึม ไม่พูด ระดับความรู้สึกตัวลดลง
-
-
-
- วัดสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง
- อาการตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม
Hepatic encephalopathy
อาการและอาการแสดง
-
-
มือสั่น (Flapping tremor) เหยียดแขนตรง กางนิ้วออก และข้อมือตั้งขึ้น นิ้วมือสั่น อัตรา 1 ครั้ง ใน 1-2 วินาที จะหายไปเมื่อนอนหลับ หรือไม่รู้สึกตัว เป็นมากขึ้นเมื่อเหยียดแขนไว้
-
การรักษา
ค้นหาสาเหตุที่ทำให้อาการโรคตับเลวลง เช่น ยาขับปัสสาวะ การเจาะท้อง การติดเชื้อ การได้รับยานอนหลับ รับประทานอาหารประเภทโปรตีนมาก ท้องผูก และการผ่าตัด ดมยาสลบ การรักษา
-
ดูแลให้ได้รับอาหาร 1,600 แคลอรี่ต่อวัน ร่วมกับปรับอาหารโปรตีน จำกัดโปรตีน
ป้องกันภาวะแทรกซ้อน รักษาสมดุลย์สารน้ำและอิเลคโตรไลต์ ป้องกันการสูญเสียเลือด ภาวะน้ำตาลต่ำ การติดเชื้อ ภาวะเลือดออกทางผิวหนัง ระวังอุบัติเหตุ การป้องกันการสำลัก ภาวะพร่องออกซิเจน การป้องกันแผลกดทับ และ ภาวะยูรีเมียคั่ง
-
-
เป็นภาวะแทรกซ้อนจากการที่ตับเสียหายจนไม่สามารถกำจัดสารพิษออกจากเลือดได้หมด ทำให้มีสารพิษสะสมในระบบไหลเวียนโลหิตและเข้าสู่สมองจนก่อให้เกิดความเสียหาย โรคสมองจากโรคตับอาจเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันหรือเรื้อรัง ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการรุนแรงอาจเข้าสู่ภาวะโคม่าและเสียชีวิตได้
พยาธิสภาพ
พยาธิสรีรวิทยาของตับแข็ง เกิดจากมีการตายของเซลล์ตับ ทำให้เกิดเป็นพังผืด (fibrosis) และแผลเป็น (scar) อุดกั้นการไหลเวียนเลือดในตับ เซลล์ตับที่งอกใหม่มีลักษณะ เป็นปุ่ม (nodules)เป็นผลให้โครงสร้างและประสิทธิภาพของเซลล์ตับเปลี่ยนแปลง เกิดความไม่สมดุลของสารน้ำและแร่ธาตุ ไม่สามารถเผาผลาญฮอร์โมนและกำจัดของเสีย ออกจากร่างกาย รวมทั้งไม่สามารถดูดซึมไขมันและวิตามินที่ละลายในไขมันได้ ในระยะแรกจะมีอาการไม่ชัดเจน ตับแข็งที่ยังทำงานได้ดีเรียกว่าระยะ compensate cirrhosis แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงภายในเซลล์ตับมากขึ้น หลอดเลือดในตับจึงหลั่งไนตริกออกไซด์ (nitric oxide) และกลูคากอน (glucagon) ทำให้เกิดการขยายตัวทั้งหลอดเลือด ดำและหลอดเลือดแดง เป็นผลให้ความดันในหลอดเลือดพอร์ทัลสูง จนเกิดการย้อนกลับของเลือดในระบบทางเดินอาหาร ส่งผลให้แรงดันในหลอดเลือดฝอยสูงขึ้น มีการรั่วซึม ของสารน้ำเข้าไปในช่องท้อง เกิดภาวะท้องมาน โชเดียมและสารน้ำคั่งในร่างกาย ส่งผลให้ผู้รับบริการมีระดับโซเดียมในเลือดต่ำ ระยะนี้จะเรียกว่า decom-pensated cirrhosis ขณะเดียวกันเลือดไม่สามารถไหลผ่านตับเข้า Inferior vena cava เพื่อกลับเข้าสู่หัวใจได้ ส่งผลให้ cardiac output ลดลงร่างกายจึงกระตุ้นฮอร์โมน renin- Angiotensin-Aldosterone system (RAAS) เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำและโชเดียมในระบบไหลเวียนเลือด ขณะเดียวกันความสามารถของไตจะลดลง เป็นผลให้เกิดภาวะแทรก ช้อนต่างๆ ตามมา อัตราการเสียชีวิตจากภาวะแทรกช้อนจึงเพิ่มมากขึ้น
ระยะของการดำเนินโรค
Compensated cirrhosis ในระยะนี้ผู้ป่วยยังมีเนื้อตับที่ดีเหลืออยู่ ผู้ป่วยระยะนี้ส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการใดๆ ในรายที่เนื้อตับ เมื่อตรวจร่างกายอาจพบอาการแสดงของโรคตับเรื้อรัง เช่น ฝ่ามือแดงผิดปกติ (palmar erythema) หรือมีจุดแดงที่หน้าอก(spider nevi) ระยะที่ 1 ผู้ป่วยระยะ compensated เหนื่อย อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ตรวจพบตาเหลือง ตัวเหลือง ไม่พบภาวะท้องมาน และไม่พบหลอดเลือดดำในหลอดอาหารโป่งพอง ตรวจพบหลอดเลือดดำในหลอดอาหารโป่งพอง ไม่มีเลือดออกจากหลอดเลือดดำโป่งพอง
ระยะที่ 2 ผู้ป่วยในระยะ decompensated ตรวจพบภาวะท้องมาน โดยมีหลอดเลือดดำในหลอดอาหารโป่งพองร่วมด้วย ซึม สับสนจากการที่ร่างกายไม่สามารถกําจัดของเสีย เช่น แอมโมเนียออกจากร่างกายได้
สาเหตุ
-
กรณีศึกษา
ตับแข็งที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีหรือซี ไวรัสตับอักเสบชนิดบีหรือซีเป็นไวรัสที่ สามารถทำลายเซลล์ตับ คนที่มีเชื้อไวรัสชนิดนี้ในร่างกายโดยไม่มีอาการผิดปกติใด พาหะ เป็นเวลา 30-40 ปีขึ้นไป มีโอกาสที่จะกลายเป็นโรคตับแข็งได้ ถ้าดื่มเหล้าจัด มีโอกาสเป็นโรคตับแข็งและมะเร็งตับ มากยิ่งขึ้น ดังนั้นผู้ที่ตรวจพบว่าเป็นโรคตับอักเสบชนิดบีหรือซีจึงห้ามดื่มเหล้าเด็ดขาด
ผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสเกิดโรคตับอักเสบสูงมาก และเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดปัญหาตับแข็งเหมือนกับการดื่มเหล้าแอลกอฮอล์ ในผู้ที่สูบบุหรี่ประจำทุกๆวัน ตับต้องทำงานหนักเป็นพิเศษในการกรองสารพิษเหล่านี้อยู่ตลอดเวลา ทำให้ตับอ่อนแอและเกิดปัญหาตามมาได้ง่าย จึงมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคตับอักเสบมากเป็นพิเศษ ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคตับอยู่แล้ว จึงควรหลีกเลี่ยงการดื่มเหล้าและสูบบุหรี่เป็นพิเศษ เพราะยิ่งทำให้โรคทรุดลงเร็วขึ้น และตับเป็นอวัยวะที่มักจะไม่บอกอาการล่วงหน้าจนกว่าเมื่อเรามีปัญหาสะสมรุนแรงถึงขั้นหนึ่งจึงจะแสดงอาการออกมามีผู้ป่วยจำนวนมากที่พบอีกทีว่าเป็นตับอักเสบตับแข็งหรือว่าพบว่าเป็นมะเร็งตับ โดยที่ก่อนหน้านี้ไม่แสดงอาการมาก่อน
อาการและอาการสแดง
ทฤษฎี
- Systemic symptoms เป็นอาการทางระบบของร่างกายซึ่งจะไม่จำเพาะกับโรคตับ เช่น อาการอ่อนเพลีย ผอมลง น้ำหนักลด เบื่ออาหาร มีไข้ต่ำๆ หรือบางรายอาจมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ
- ภาวะบวมทั่วร่างกาย (anasarca)
- ดีซ่าน (Jaundice) อาการตาเหลือง ตัวเหลือง มักตรวจพบได้เมื่อ serum bilirubin มากกว่า 3 mg/dL
- ท้องมาน (ascites) ผู้ป่วยจะรู้สึกท้องโตขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ร่างกายส่วนอื่นผอมลง
- หลอดเลือดบริเวณผิวหนังรอบสะดือขยายขนาด (caput medusae)
- ตับโต (hepatomegaly) มีอาการแน่นใต้ชายโครงขวา หรือคลำก้อนได้ใต้ชายโครงขวา หรือม้ามโต (splenomegaly) อาจมีอาการแน่นใต้ชายโครงซ้าย
- อาการแสดงที่เกิดจากภาวะเลือดออกผิดปกติเช่น ผื่นคัน (ecchymosis), จุดเลือดออก(petechial) หรือ ภาวะเลือดรั้งห้อเลือด (hematoma)
- Hepatic encephalopathy เป็นอาการทางสมอง ผู้ป่วยมีอาการสับสน ไม่ค่อยรู้ตัว การรับรู้เปลี่ยนแปลง
- บริเวณหน้าอก คอและแผ่นหลังส่วนบน มีเส้นเลือดฝอยแตกแขนงเป็นหย่อมๆคล้ายกับใยแมงมุม (spider nevi) บำริเวณฝ่ามือและปลายนิ้วมีสีแดงจัด (palmar erythema) เต้านมขยายใหญ่ขึ้นในผู้ชาย
-
ภาวะแทรกซ้อน
ทฤษฎี
- ดีซ่าน ผิวหนังและตาขาวของผู้ป่วยจะมีสีเหลือง เนื่องจากตับไม่สามารถขับสีน้ำดี (bilirubin) ออกจากร่างกายทางน้ำดีได้ดีพอ
- ท้องมาน ( Ascites ) เป็นภาวะที่มีน้ำในช่องท้องปริมาณมากกว่าปกติ เกิดจากการที่แรงดันของหลอดเลือดในตับสูงขึ้นจนเกิดการรั่วซึมของน้ำออกมาจากตับร่วมกับภาวะที่ผู้ป่วย ตับ แข็ง มักมีระดับโปรตีนอัลบูมินที่ต่ำลง (โปรตีน ชนิดนี้จะช่วยอุ้มน้ำให้อยู่ในหลอดเลือด) จึงเกิดการสะสมปริมาณน้ำในช่องท้องเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผู้ป่วยจะมีอาการท้องบวม ขาบวม สะดือจุ่น ภาวะนี้รักษาได้โดยการให้ยาขับปัสสาวะ นอกจากนี้ผู้ป่วยดังกล่าวอาจเกิดการติดเชื้อในช่องท้องแทรกซ้อนได้เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่ลดลง ส่งผลให้มีอาการไข้ ปวดท้อง หรือท้องเสีย แพทย์ จะวินิจฉัยโดยการเจาะน้ำในช่องท้องไปตรวจ และให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
3.โรคติดเชื้อ ผู้ป่วยโรคตับแข็งมักมี โอกาสติดเชื้อและเป็นโรคง่ายกว่าคนปกติ เพราะภูมิคุ้มกันต่ำ (โปรตีนที่เป็นองค์ประกอบของภูมิคุ้มกันบางประเกท สร้างที่ตับ) ตำแหน่งทีพบการติด เชื้อบ่อย คือ ภายในช่องท้อง
- อาการซึมจากสารพิษดั่ง ในรายที่ตับเสียหน้าที่ไปมาก ไม่สามารถจะขจัดสารพิษออกจากโลหิตตามปกติได้ ก็จะเกิดสารพิษดั่งค้างในเลือดและในสมอง ทำให้ผู้ป่วยซึมลง ความทรงจำ เสื่อมขาดสมาธิ และอาจเป็นมากจนไม่รู้สึกตัว (coma) จนถึงแก่กรรมได้
- เลือดออกผิดปกติ ตับเป็นอวัยวะทีสร้างโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด ในภาวะตับแข็งจะทำให้เกิดการลดลงของโปรตีนเหล่านี้ ร่วมกับเกล็ดเลือดที่ต่ำจากม้ามโตทำให้ผู้ป่วย ตับแข็งมีปัญหาเลือดออกง่ายกว่าปกติ
- ความผิดปกติของฮอร์โมน โดยผู้ป่วยตับแข็งจะมีความสามารถในการกำจัดฮอร์โมนบางอย่างลดลง ทำให้ฮอร์โมนเอสตราไดออลเพิ่มขึ้น ทำให้เต้านมโตขึ้น รวมถึงมีภาวะเสื่อม สมรรถภาพทางเพศ ภาวะมีบุตรยาก
กรณีศึกษา
1.ดีซ่าน ผิวหนังและตาขาวของผู้ป่วยจะมีสีเหลือง เนื่องจากตับไม่สามารถขับสีน้ำดี (bilirubin) ออกจากร่างกายทางน้ำดีได้ดีพอ
2.อาการท้องมานน้ำและบวมขา เป็นผลจากตับสูญเสียความสามารถในการสร้างโปรตีน ชนิดอัลบูมิน โปรตีนไข่ขาว ที่เรียกว่า อัลบูมิน มีหน้าที่อุ้มน้ำและเกลือไว้ในหลอดเลือด ดังนั้นเมื่อ มีระดับต่ำลงก็จะเกิดภาวะขาบวมและท้องมานน้ำ เนื่องจากมีน้ำและเกลือรั่วออกจากเส้นเลือดไป สะสมใต้ผิวหนังและในช่องท้อง
3.โรคติดเชื้อ ผู้ป่วยโรคตับแข็งมักมี โอกาสติดเชื้อและเป็นโรคง่ายกว่าคนปกติ เพราะภูมิคุ้มกัน ต่ำ (โปรตีนที่เป็นองค์ประกอบของภูมิคุ้มกันบางประเกท สร้างที่ตับ) ตำแหน่งทีพบการติดเชื้อบ่อย คือ ภายในช่องท้อง
การวินิจฉัยโรค
ทฤษฎี
-
การตรวจร่างกาย
การตรวจร่างกาย น้ำหนักตัวลด คันตามผิวหนัง ดีซ่าน ตัวเหลืองตาเหลือง
ฝ่ามือแดง เต้านมโตในผู้ชาย อัณฑะบิดตัว ท้องมาน, ภาวะซีด อาจมีตับโตหรือม้ามโตร่วมด้วย การตรวจช่องท้อง การดู การฟัง การเคาะ การค าดับ การวัดขนานหน้าท้อง, Murphy sign, Fluid thrill, การตรวจระดับการรู้สึกตัว
-
-
-
-
-
-
-