Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการคลอด - Coggle Diagram
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการคลอด
ความหมายของการคลอด
การคลอด หมายถึงกระบวนการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเพื่อที่จะขัดเอาสิ่งที่อยู่ในโพรงมดคือทารก รก เยื่อหุ้มรกและน้ำคร่ำออกจากโพรงมดลูกสู่ภายนอก โดยผ่านทางช่องคลอด
การคลอดปกติ หมายถึง การคลอดทางช่องคลอด
การคลอดผิดปกติ หรือการคลอดยาก
(abnormal labor/dystocia)
ระยะการคลอด
ระยะที่ 1 ของการคลอด หรือระยะปากมดลูกเปิด
Latentphase(ระยะปากมดลูกเปิดช้า/ระยะเฉื่อย)
เริ่มเจ็บครรภ์จริง เปิดช้าๆ ถึง ปากมดลูกเปิด 2.5 ซม.
เป็นช่วงที่มีการเปิดขยาย ของปากมดลูกตั้งแต่ 1 เซนติเมตร ถึง 10 เซนติเมตร แบ่ง ระยะของการคลอดตาม การเปิดขยายของมดลูก
Active phase (ระยะปากมดลูกเปิดเร็ว / ระยะเร่ง)
ปากมดลูกเริ่มเปิดขยายอย่างรวดเร็ว 2.5ซม.จนถึง 10ซม.
ระยะที่ 2 ของการคลอด หรือระยะเบ่งคลอด
เป็นระยะที่มารดาเบ่งคลอดเริ่มตงั้แต่ปากมดลูกเปดิหมดถงึทารกเกิดออกมา ครบทั้งตัวกลไกการคลอดส่วนใหญ่เกดิขึ้นในระยะนี้
ระยะที่ 3 ของการคลอด หรือระยะคลอดรก
เริ่มตั้งแต่ ทารกคลอดครบ ถึง รกและเยื่อหุ้มทารกคลอดครบ
ช่วงรกลอกตัว (placental separation) หลังจากทารกคลอดครบ
ช่วงรกคลอด(placentalexpulsion)หลังจากรกลอกตัวจากผนังมดลูก
ระยะที่ 4 ของการคลอด หรือระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
เริ่มตั้งแต่รก และเยื่อหุ้มทารกคลอดครบ จนถึง 2 ชั่วโมงหลังคลอด เป็นระยะที่พบอุบัติการณ์การตกเลือดได้สูงกว่าระยะอื่นๆผู้คลอดควรได้รับ การดูแลอย่างใกล้ชิด
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการคลอด
1.แรงผลักดันในการคลอด (Powers) ประกอบด้วยแรง 2ส่วน
แรงจากการหดรัดตัวของมดลูก (uterine contraction or primary power
แรงเบ่งของผู้คลอด (bearing down effort or secondary power)
ช่องทางคลอด (Passages)
ช่องทางคลอด(Passages)เป็นช่องทางที่ทารกหรือสิ่งที่คลอดออกมาทั้งหมดต้อง ผ่านออกมา
ช่องเชิงกราน (bony passage / hard part)
เป็นส่วนที่แข็งและยืดขยายได้น้อย
หากมีความผิดปกติจะทาให้เกิดการ คลอดล่าช้าหรือคลอดติดขัด
2.ช่องทางคลอดที่ยือขยายได้(soft passage / soft part)
เป็นช่องทางผ่านที่เป็นกล้ามเนื้อ และ เนื้อเยื่ออ่อนสามารถยืดขยายได้ดี ได้แก่ ปากมดลูก ช่องคลอด กล้ามเนือ้ องุ้ เชิงกราน ปากชอ่ งคลอด และฝีเย็บ
สิ่งที่คลอดออกมา (Passengers)
สิ่งที่คลอดออกมา หมายถึง ทารก รก เยื่อหุ้มทารกและน้ำคร่ำส่วนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการคลอด คือ ขนาด รูปร่าง และลักษณะทารก
4.สภาวะร่างกายของผู้คลอด(Physical condition)
หมายถึง ลักษณะโครงสร้างของร่างกาย เชน่ อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง ความพิการต่างๆ และสภาวะสุขภาพของผู้คลอด เป็นต้น
สภาวะจิตใจ (Psychological condition)
ความวิตกกังวล ความกลัว ความเครียด และความเจ็บปวด มีผลต่อการทำงาน ของ sympatheti nervous system ทำให้มีการหลั่ง epinephrine และ cortisol เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิด vasoconstriction ส่งผลให้กล้ามเนื้อมดลูกทำงานไม่ ประสานกันและไม่มีประสิทธิภาพส่งผลต่อการคลอดได้
6.ท่าของผู้คลอด(Position of labor)
ผลดีต่อผู้คลอด ได้แก่ ช่วยให้ส่วนนำของทารกมีการเคลื่อนต่ำลง ช่วยเพิ่ม ขนาดช่องเชิงกราน ตามแรงโน้มถ่วงของโลก
ผลดีต่อทารกได้แก่ลดภาวะแทรกซ้อนจากเลือดไปเลี้ยงมดลูกและรก น้อยลง(uteroplacentainsufficiency)และลดภาวะแทรกซ้อนจากสายสะดือถูกกด (cord compression)
กลไกการคลอด
Engagement (การเข้าสู่ช่องเชิงกราน) หมายถึง ส่วนที่มีขนาดกว้างที่สุดของส่วนน่า ผ่านลงสู่ช่องเข้า เชิงกราน(pelvic inlet) แล้ว ในทารกที่มีศีรษะเป็นส่วนน่า ส่วนที่กว้างที่สุดของศีรษะทารก คือ biparietal diameter
Flexion (การก้ม) หมายถึง การก้มของศีรษะทารก เป็นการเปลี่ยนแปลงทรง (attitude) ของศีรษะทารก โดยศีรษะจะก้มต่ามากขึ้นเมื่อศีรษะผ่านลงมาใน
หนทางคลอด
Descent (การเคลื่อนต่ำ) หมายถึง การเคลื่อนต่ำของศีรษะทารกผ่านช่องทางคลอดออกสู่ ภายนอกร่างกายมารดา
Internal rotation (การหมุนภายใน) หมายถึง การหมุนของส่วนศีรษะทารกในครรภ์ ที่เกิดขึ้นภายในช่อง เชิงกราน เพื่อให้อยู่สภาพที่เหมาะสมกับช่องเชิงกราน
Extension (การเงย)หมายถึง การเงยของศีรษะทารกผ่านพ้น ช่องทางคลอดออกมาภายนอก
ร่างกายมารดา
Restitution (การหมุนกลับ 45 องศา)หมายถึง การ หมุนกลับ ของศีรษะทารกภายนอกช่องคลอดให้กลับไป อยู่ในสภาพที่สัมพันธ์ของศีรษะทารกกับส่วนของลาตัวที่อยู่ภายใน ช่องทางคลอดให้เป็นไปตามธรรมชาติ
External rotation (การหมุนกลับต่ออีก 45 องศา คือ การหมุนของศีรษะทารกที่เกิดขึ้นภายนอกช่องทางคลอดเกิดต่อ จาก Restitution เพื่อให้สัมพันธ์กับไหล่
Expulsion (การคลอดลำตัว)คือ การขับเคลื่อนเอาตัวทารกออกมาทั้งหมด ได้แก่ การคลอดไหล่ แขน ลาตัว สะโพก ขาและเท้า ตามลำดับ
กลไกที่เกิดขึ้นภายในช่องทางคลอด
engagement
flexion
internal rotation
extension
กลไกที่เกิดขึ้นภายนอกช่องทางคลอด
restitution
expulsion
external rotation
กลไกdescentจะเกิดตลอดเวลาและเกิดร่วมกับกลไกการคลอดทั้งหมด