Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น, นางสาวอภิชญา สับสงค์ รหัสนักศึกษา 62102301139…
โรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น
ส่วนใหญ่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 หรือชนิดพึ่งอินซูลิน พบมากช่วงอายุ 0-19 ปี สาเหตุเกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ ต้องฉีดอินซูลินตลอดชีวิต โดยวิธีเลียนแบบการหลั่งอินซูลินตามธรรมชาต
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ผู้ป่วยวัยรุ่นและผู้ดูแลมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องการฉีดยาอินซูลินการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกายไม่เพียงพอ
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินความรู้ของผู้ป่วยวัยรุ่นและผู้ดูแล
ก่อนว่ามีมากน้อยเพียงใด โดยการซักถาม เพื่อหาวิธีการที่เหมาะสม
จัดเตรียมห้อง เตรียมเอกสารคำแนะนำที่เกี่ยวข้องกับการฉีดอินซูลิน เพื่อสอนทักษะการฉีดอินซูลิน การปรับอินซูลินได้ถูกต้อง
ให้คำแนะนำการสังเกตอาการแทรกซ้อน ทั้งภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ให้เหมาะสมตามแบบแผนการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย
วัยรุ่น
สอนวิธีการฉีดอินซูลิน บริเวณที่ฉีดได้ คือ
แขนช่วงบน ด้านนอกของต้นขา สะโพก และหน้าท้องทั้ง 2 ข้าง สังเกตอาการแพ้เฉพาะที เช่น ตุ่มหรือผื่นขึ้น คัน มีรอยไหม้หรือบวมตึงบริเวณที่ฉีดยา ซึ่งเกิดภายใน
1 ชม.หลังฉีดยา
สอนการควบคุมอาหาร ควบคุมอาหารโดยควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ รับประทานอาหาร 5 หมู่ รับประทานอาหารตรงเวลา
เด็กอายุ1-10 ปี ต้องการ 1000 + (100 x
อายุเป็นปี) กิโลแคลอรี่/วัน
เด็กชายอายุ 11-15 ปี ต้องการ 1000 + (100 x
อายุเป็นปี) + 200 กิโลแคลอรี่/วัน
เด็กหญิงอายุ 11-15 ปี ต้องการ 1000 + (100 x
อายุเป็นปี) + 100 กิโลแคลอรี่/วัน
สอนการคำนวณคาร์โบไฮเดรตเป็นวิธีที่ช่วย
ให้ควบคุมโรคเบาหวานได้ดี
สอนให้จดบันทึกเมนูอาหารที่รับประทาน
ในหนึ่งสัปดาห์ เพื่อช่วยให้ฝึกปรับเปลี่ยนเมนูอาหารที่เหมาะสมได้ง่ายขึ้น
ให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย ควรมีน้ำตาลติดตัวมีการประเมินระดับน้ำตาลในเลือดก่อนและหลังออกกำลังกายทุกครั้ง ถ้าไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้หรือระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 120 หรือสูงเกิน 250 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ตรวจพบคีโตน
หรือมีอาการไม่สบาย ไม่ควรออกกำลังกาย
มีโอกาสลดความพยายามในการดูแลตนเองอย่างต่อเนื่องจากการขาดกำลังใจและขาดความมั่นใจ
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยวัยรุ่น เพื่อให้
เกิดความไว้วางใจ สำหรับผู้ป่วยวัยรุ่นต้องให้เวลาผู้ป่วยมากขึ้น ค่อยๆรับฟังความคิดเห็นและความรู้สึกของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วย
ได้ระบายความรู้สึก
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยวัยรุ่น สำรวจปัญหา
ความต้องการ และกำหนดเป้าหมายร่วมกับพยาบาล
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยวัยรุ่นซักถามเกี่ยวกับ
โรค การรักษา และการดูแลตนเอง
กระตุ้นส่งเสริมให้ผู้ดูแลคอยให้กำลังใจ
ผู้ป่วยวัยรุ่น และช่วยปรับพฤติกรรมการดูแลตนเอง ของผู้ป่วยวัยรุ่นโรคเบาหวาน ให้มีความมั่นใจในการดูแลตนเอง
พยาบาลมีความเป็นกันเอง มีท่าที
ที่เป็นมิตร ยินดีรับฟังประสบการณ์ความเจ็บป่วยของผู้ป่วยวัยรุ่น
เล่าตัวอย่างผู้ป่วยที่มีลักษณะปัญหา
คล้ายกับผู้ป่วย ซึ่งสามารถดูแลตนเองได้ดีให้ผู้ป่วยฟัง
คอยให้คำชมเชยผู้ป่วยวัยรุ่นอย่างสม่ำเสมอ
แสดงความเห็นอกเห็นใจ และเข้าใจความยากลำบากในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
เบาหวานชนิดที่ 2 ส่วนใหญ๋มักเกิดในผู้ป่วยที่เข้าวัยรุ่น มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคได้แก่ ภาวะอ้วน ปัจจัยทางพันธุกรรม อายุที่มากขึ้น เชื้อชาติ ประวัติการคลอดน้ำหนักตัวน้อยหรือมากกว่าปกติ กลไกเกิดจากที่ร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลินร่วมกับตับอ่อนบกพร่องในการหลั่งอินซูลิน
อาการแสดง
หิวบ่อย กระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อยและน้ำหนักตัวลดลง ทั้งที่กินอาหารในปริมาณมากกว่าปกติ อาจพบการติดเชื้อที่ช่องคลอด
ในกรณีที่เป็ฯรุนแรงอาจพบเลือดเป็นกรด DKA จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ซึมลง หายใจหอบลึก
นางสาวอภิชญา สับสงค์ รหัสนักศึกษา 62102301139 กลุ่ม D2 ชั้นปีที่ 3