Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตรวจประเมินสภาพจิต (Mental Status Examination) - Coggle Diagram
การตรวจประเมินสภาพจิต
(Mental Status Examination)
การตรวจสภาพจิต
คือ ตรวจสภาพการทำงานของจิตใจของผู้รับบริการ ทำการตรวจแล้วบันทึกอาการแสดงต่างๆ ซึ่งจะสะท้อนการทำงานของจิตใจในหลายๆด้าน เช่นความคิด อารมณ์ หรือความจำ
ระดับสติสัมปชัญญะความรู้สึกตัว
(Level of Consciousness)
Confusion สับสน มึนงง ไม่รับรู้บุคคล เวลา และสถานที่
Clouding of Consciousness มีการรับรู้และความคิดที่ผิดปกติอยู่ในระดับปานกลาง
Stupor ไม่มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้ารอบข้าง ไม่เคลื่อนไหว ไม่พูด แต่ยังรู้สึกตัวอยู่
Delirium ระดับความรู้สึกตัวไม่สม่ำเสมอ มีอารมณ์ การรับรู้ และความคิดผิดปกติอยู่ในระดับปานกลางถึงรุนแรง จะพบในผู้ป่วยที่ติดเชื้อ หรือ Head Trauma
Coma ไม่รู้สึกตัว
การตรวจสภาพจิตเบื้องต้น
ลักษณะทั่วไปและพฤติกรรมที่แสดงออก
(General Appearance)
ประเมินลักษณะทางร่างกายและพฤติกรรมที่แสดงออกทั่วไป
ลักษณะทั่วไป(Appearance)
เป็นการประเมินถึงสิ่งแสดงออกทั่วไปด้านร่างกายของผู้รับบริการ สามารถสังเกตได้
การแต่งกาย(Grooming and Dress)
การสบตา(Eye Contact)
สังเกตว่าสบตาหรือหลบสายตา จ้องมองอย่างไร้จุดหมาย หรือเพ่งมองสิ่งใดสิ่งหนึ่งตลอดเวลา
ท่าทาง(Posture)
สีหน้าแสดงความไม่สบายใจ
การทรงตัว(Poise)
ทรงตัวได้ดี หรือมีอาการเซ
พฤติกรรมที่แสดงออกและการเคลื่อนไหว
(Overt Behavior and Psychomotor Activity)
ประเมินถึงพฤติกรรมที่แสดงออกและเคลื่อนไหวของผู้รับบริการ โดยความผิดปกติที่พบ ได้แก่ กระสับกระส่าย อยู่ไม่สุข
ทัศนคติ(Attitude toward Examiner)
ประเมินถึงความรู้สึกของผู้รับบริการที่จะส่งผลต่อความถูกต้องของข้อมูลที่ประเมินได้
อารมณ์และความรู้สึก
(Mood&Affect)
2.1 อารมณ์(Mood)
เป็นสภาวะอารมณ์โดยรวมที่ผู้รับบริการรู้สึก และเป็นอยู่ในระยะเวลานาน
2.2 ความรู้สึก (Affect)
การแสดงออกของสภาวะอารมณ์ขณะนั้นประเมินได้จากการสังเกตและการแสดงออกทางสีหน้า การเคลื่อนไหวของร่างกาย
สิ่งที่ควรประเมินในการแสดงออกของสภาวะความรู้สึก
ขอบเขตและระดับของการแสดงออกของความรู้สึก
ความเหมาะสมของการแสดงความรู้สึก
ความมั่นคงในการแสดงความรู้สึก
การพูดและกระแสคำพูด(Speech and Stream of Talk)
3.1 อัตราการพูด (Rate)
อยู่ในเกณฑ์ปกติ เร็ว หรือ ช้า
3.2 จังหวะ (Rhythm)
การพูดราบรื่นดีหรือมีการติดขัด
3.3 ความดัง(Volume)
พูดค่อยหรือดัง เสียงดังอาจเพราะโกรธ
3.4 ความผิดปกติของคำพูด
อาจเป็นคำพูดที่แปลกใหม่ที่ผู้อื่นไม่รู้ความหมาย
3.5 กระแสคำพูด (Stream of talk)
ความผิดปกติ ได้แก่การพูดไม่ปะติปะต่อกันและไม่ได้ใจความตรงกับความเป็นจริง
3.6 การไม่เข้าใจความหมายของคำพูด และ การไม่สามารถพูดตามที่ตนต้องการ แม้จะเข้าใจคำพูดของผู้อื่น
ส่วนมากเป็นอาการของโรคสมองและระบบประสาท
3.7 การอ่านและการเขียน
ให้ผู้รับบริการอ่านบทความสั้นๆ และเขียนข้อความเพื่อจะได้ตรวจความผิดปกติของการอ่านและการเขียน
4.ความคิด(Thought)
รูปแบบความคิด
Circumstantial
ตอบหรือพูดวกวน อ้อมไปอ้อมมา
Clanging
พูดเป็นกลอนสัมผัส
Echolalia Perseveration
พูดคำ หรือประโยคเดิมซ้ำๆ
Flight of Idea
พูดฟังออกเป็นเรื่องราว แต่เปลี่ยนเรื่องราวที่พูดเร็วมาก
Loosening of Association
พูดเป็นประโยคแต่ แต่ละประโยคไม่สามารถนำมาเชื่อมกันได้
Incoherence
สิ่งที่พูดไม่สามารถเรียงเป็นประโยคได้คำไม่สัมพันธ์กัน
Tangential
ตอบหรือพูดนอกเรื่อง เฉียดไปเฉียดมาไม่ตอบประเด็นที่ถูกถาม
2.เนื้อหาความคิด
คิดฆ่าตัวตายหรือคิดฆ่าผู้อื่น
ความคิดที่เกี่ยวกับอาการทางจิต
หลงผิด
ประสาทหลอน
ความคิดที่ไม่ใช่อาการทางจิต
ความคิดกังวลกลัว
ปริมาณเนื้อหาของความคิด
ไม่ค่อยมีเนื้อหาสาระในคำพูด
การตรวจสุขภาพจิตเบื้องต้น
5.การรับรู้(Perception)
ผ่านระบบประสาททั้ง5 โดยความผิดปกติที่พบเจอบ่อยคือ
กลิ่นหลอน
รสหลอน
สัมผัสหลอน
ภาพหลอน
หูแว่วหรือเสียงแว่ว
6.การรับรู้วันเวลาสถานที่ และบุคคล
(Oriented to Time Place and Person)
เป็นความสามารถในการมีสติรับรู้
ความจำ(Memory)
ความสารถในการนึกถึงประสบการณ์ที่ผ่านมาได้อย่างถูกต้อง
ความจำในเรื่องปัจจุบัน
ความจำเฉพาะหน้า
ความจำในอดีต
ความตั้งใจและสมาธิ( Attention and Concentration)
สามารถประเมินจากการให้ลบเลข
9.ระดับเชาว์ปัญญาและความคิดเชิงนามธรรม
(General Knowledge and Abstract)
ระดับเชาว์ปัญญา
ขึ้นอยู่กับการศึกษา ประสบการณ์ และอาชีพ
ความคิดเชิงนามธรรม
ความสามารถคิดแบบต่อยอด
การตัดสินใจ(Judgment)
เป็นความสามารถที่จะประเมินสถานการณ์ต่างๆดูได้จากการตัดสินใจแก้ปัญหาต่างๆตามความเป็นจริง
การรู้จักตน(Insight)
เป็นการยอมรับอาการของตนเองว่ามีปัญหาด้านจิตใจรวมทั้งการเข้าใจสาเหตุของปัญหาและสภาพจิตใจของตนเอง
ระดับความเข้าใจตนเอง
ปฏิเสธความเจ็บป่วยโดยสิ้นเชิง
2.ตระหนักรู้ถึงปัญหาเพียงเล็กน้อยแต่ยังคงปฏิเสธความเจ็บป่วย
ตระหนักรู้หรือเข้าใว่าตนเองมีปัญหาหรือป่วยแต่โทษคนอื่นว่าเป็นเหตุ
เข้าใจว่าตนมีปัญหาหรือเจ็บป่วยเนื่องจากปัจจัยของตนเองแต่ไม่ทราบว่าคืออะไร
ยอมรับว่าปัญหาเกิดจากความคิดหรืออารมณ์ของตนเองแต่ไม่มีท่าทีที่จะปรับแก้หรือเตรียมตัวแก้ไขปัญหาในอนาคต
ยอมรับว่าปัญหาเกิดจากความคิดหรืออารมณ์ของตนเองและทำให้ได้ปรับเปลี่ยนวิธีคิดและพฤติกรรม