Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เทคนิควิธีการการจัดการความรู้ภายในโรงเรียน, เครื่องมือ Knowledge…
เทคนิควิธีการการจัดการความรู้ภายในโรงเรียน
การจัดการความรู้ Knowledge Management
เป็นกระบวนการของการสร้างคุณค่าจากทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ขององค์กร คือ ทุนทางปัญญา รวมทั้งทุนมนุษย์ ทุนทางโครงสร้าง และทุนความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
การรวบรวมความรู้สู่การปฏิบัติ (Tacit Knowledge) ซึ่งเป็นความรู้ที่เกิดจาก การเรียนรู้ เจตคติในงาน ประสบการณ์การทำงาน และพฤติกรรมการทำงานของแต่ละบุคคล ซึ่งปฏิบัติงานเรื่องเดียวกันหรือคนละเรื่องแล้วประชุมหรือสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์
การนำความรู้ที่ได้มาสังเคราะห์ วิเคราะห์ (Analysis) หรือจัดระบบใหม่ เพื่อสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ ยอมรับข้อดีและจุดที่เป็นปัญหาของกันและกัน มีการจัดเก็บข้อสรุปทั้งมวลอย่างเป็นระบบเพื่อนำไปสู่การยอมรับในกฎกติกาขององค์กรที่ทุกคนยอมรับ แล้วนำมาเผยแพร่ความรู้เพื่อให้เกิดการต่อยอดความรู้
บทบาทในการจัดการความรู้ของครู
การจัดการความรู้ของตนเอง เป็นการจัดการความรู้ในระดับบุคคล
การจัดการความรู้ในชั้นเรียน เป็นการจัดการความรู้ร่วมกับผู้เรียนในชั้นเรียน
การจัดการความรู้ของโรงเรียน เป็นการจัดการความรู้ระดับองค์กร โดยร่วมมือกับผู้บริหารโรงเรียน คณะครู และนักเรียน
การจัดการความรู้ในชุมชน เนื่องจากโรงเรียนเป็นส่วนสำคัญของชุมชนมีบทบาทหน้าที่จัดการศึกษาเพื่อสนองความต้องการของชุมชน
5.ครูจะต้องพัฒนาตนเองให้มีความสามารถและทักษะในการจัดการความรู้สูงขึ้น
ขั้นตอนการจัดการความรู้
การวิเคราะห์ การพิจารณาว่าโรงเรียนขาดความรู้ในเรื่องใด และต้องการความรู้ประเภทใด
การจัดหาความรู้ ทางหนึ่งเป็นการเก็บรวบรวมความรู้ทั้งจากแหล่งความรู้ภายในและภายนอก ททางที่สองคือการสร้างสรรค์ความรู้ในโรงเรียน
การเก็บรักษา เป้าหมายคือ ทำความรู้ให้คงอยู่ เข้าถึงได้สะดวก
การนำไปใช้ เป็นไปเพื่อสร้างสรรค์ผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกัยบการจัดการความรู้ในสถานศึกษา
การดึงความรู้ออกมาจาก “ครูต้นแบบ” และกระจายความรู้ให้แก่ครูคนอื่น
จัดให้มีการประชุม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน/คุณภาพการศึกษา
จัดกระบวนการกลุ่มให้ครูผู้สอนในวิชาเดียวกันได้ระดมสมองแก้ปัญหาการเรียนการสอนรวมกัน
ค้นหา และส่งเสริมครูผู้สอนผู้ที่มีความสามารถพิเศษในด้านความรู้และทักษะการสอนนักเรียน
พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม และกิจกรรม เพื่อพัฒนาครูในรูปแบบต่างๆ
5.จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกในการค้นคว้าความรู้
7.การแลกเปลี่ยนความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) โดยใช้วิธีการผู้ฝึกสอน(Coaching)
8.การแลกเปลี่ยนความรู้ที่ฝังในตัวคน (Tacit Knowledge) โดยนำความรู้ Tacit Knowledge ในครูต้นแบบออกมานำเสนอในรูปแบบของการเล่าเรื่อง การเปรียบเทียบ
เครื่องมือ Knowledge Management
ระบบฐานข้อมูล (Knowledge Bases)
เก็บวิธีปฏิบัติที่ประสบผลสำเร็จ (Best Practice)
ใช้เทคนิคการเล่าเรื่องเป็นวิธีการเผยแพร่
การทบทวนหลังการปฏิบัติงาน (AAR: After Action Reviews)
ระบบพี่เลี้ยง (Mentoring System)
การจัดตั้งทีมข้ามสายงาน (Cross–Functional Team)
การประชุมระดมสมอง (Workshop/Brainstorming)
ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of practice : CoP)
การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ (Action Learning)
ปัจจัยการจัดการความรู้ ในโรงเรียน
ครูและบุคลากรภายในโรงเรียน จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในความสามารถและมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการจัดการความรู้ โดยเฉพาะผู้บริหารโรงเรียนจะต้องเป็นผู้นำ
กระบวนการจัดการความรู้ โดยมีขั้นตอนดำเนินงานอย่างเหมาะสม บุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียนมีความเข้าใจและสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง
เทคโนโลยีสารสนเทศ โรงเรียนต้องให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีคุณภาพรองรับการจัดการ ความรู้ได้อย่างเหมาะสม และเปิดโอกาสให้ครูทุกคนได้ใช้ระบบสารสนเทศอย่างทั่วถึง
การบริหารจัดการโรงเรียน ต้องจัดระบบบริหารจัดการที่เอื้ออำนวยโดยมีการกระจายอำนาจและให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม รวมทั้ง มีการจูงใจที่เหมาะสม
นายชลัช เฉียดแหลม 63221288051 แผน ข. ห้อง 2