Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สารบัญทฤษฎีจิตปรึกษา, การปรึกษาแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม …
สารบัญทฤษฎีจิตปรึกษา
การปรึกษาและจิตบำบัดแบบจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis)
ซิกมันด์ ฟรอยด์ 1900
ปัญหามาจากจิตไร้สำนึก แรงขับที่ไม่มีเหตุผล สัญชาตญาณ เพื่อลดความเครียดทางกาย ความขัดแย้งในจิตไร้สำนึกที่ไม่ได้รับการยอมรับ จะเกิดความวิตก ความรู้สึกผิด กลไกป้องกันตัวเอง
ผู้ให้คำปรึกษาจะพยายามเอาสิ่งที่อยู่ในจิตไร้สำนึกให้ขึ้นมาสู่สำนึก "ถ้าผู้ป่วยเข้าใจและยอมรับสาเหตุของพฤติกรรมก็จะเปลี่ยนบุคลิก และพฤติกรรมได้ ลดปัญหาทางใจและกลไกการป้องกันตัวเอง พึ่งพาตัวเองและแก้ไขปัญหาได้เองในท้ายที่สุด
ข้อดี
ไม่ใช่การอบรมสั่งสอน
ใช้กับผู้มีปัญหาทางอารมณ์ลึกซึ้งได้ เพื่อปรับโครงสร้างบุคลิกภาพใหม่
อธิบายกระบวนการทางจิตอย่างละเอียด นำไปประยุกต์ใช้ได้หลายแขนง เช่น ศิลปะ มนุษยวิทยา
ข้อจำกัด
มนุษย์เป็นทาสของความต้องการของตนเอง (ควบคุมตัวเองไม่ได้)
มนุษย์เป็นทาสของประสบการณ์ที่ได้รับสั่งสมมาตั้งแต่วัยเด็ก ไม่มีศักดิ์ศรี ไม่มีเสรีภาพ
คิดว่าผู้ป่วยบกพร่องเรื่องการใช้เหตุผลและวิจารณญาณ
ใช้เวลานาน
มีการชี้นำ อาจวิเคราะห์ผิด และทำให้ทุกอย่างแย่ลง
"ถ้าเข้าใจพื้นเพ ก็จะเข้าใจปัญหา"
การปรึกษาแบบบุคคลเป็นศูนย์กลาง
(Person-Centered/Non-Directive)
Carl R Rogers 1975
บุคคลที่สมบูรณ์แบบ มีบุคลิกภาพดี บรรลุศักยภาพของตน มีสุขภาพจิตดี
เปิดรับประสบการณ์ ยอมรับความจริง พัฒนาตนอย่างมีเป้าหมาย เชื่อมั่นในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น
"อยู่ในหมวดมนุษยนิยม"
มนุษย์มีศักดิ์ศรีและพึ่งพาตัวเองได้ มีเหตุผล มีอิสระในการเลือกสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง ผู้รับการปรึกษารับผิดชอบตัวเองได้ ผู้ให้คำปรึกษาเป็นผู้ให้กำลังใจและส่งเสริมการแก้ปัญหา มุ่งเน้นที่ตัวบุคคลไม่ใช่ปัญหาที่เจออยู่ โดยพัฒนาคนให้เข้าใจตัวตนที่เป็น ที่คิดว่าตนเองเป็น และที่คาดหวังให้สอดคล้องกัน เติมความสามารถในการปรับตัว สร้างวุฒิภาพและบุคลิกภาพที่เหมาะสม
หาอัตตาในจิตสำนึก เพื่อ
รับรู้ว่าตนมีความสามารถด้านใด
มีความสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างไร
รับรู้คุณค่าของตนอย่างไร
"ถ้ามนุษย์รู้สึกว่าได้รับการยอมรับและไว้วางใจ ก็จะไม่มีปัญหา"
ต้องพัฒนาตนเองไปให้ถึงขั้นนั้น
ความขัดแย้งระหว่าง Real Self, Perceived, Ideal Self
Real Self ห่างกับ Ideal Self มากเกินไป เกิดความขัดแย้ง ก่อบุคลิกภาพที่ไม่เหมาะสม
แก้ไขอัตมโนทัศน์ทางลบ ว่า ตนไม่สามารถทำได้ ไม่ลงมือทำ ไร้จุดมุ่งหมาย
ข้อดี
พัฒนาบุคคล ให้แก้ปัญหาที่เจออยู่ได้และที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต รู้จักตนเอง ความต้องการของตนเอง และจัดการกับปัญหาที่เกิดในชีวิตตัวเองได้
ปลอดภัยทั้งกับผู้ให้และรับการปรึกษา
ให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์
ใช้ได้ในหลายวงการ เอาไปใช้ทำความเข้าใจผู้อื่น ใช้ในวงการศึกษา ธุรกิจ อุตสาหกรรม
ทฤษฎีมีการวิจัยและได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง
ข้อจำกัด
ทฤษฎีมีความลึกซึ้งเข้าถึงยาก อาศัยความแยบคายในการตะล่อมผู้รับการปรึกษาให้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่พึงประสงค์ ภายใต้บรรยากาศที่ผู้รับการปรึกษาให้การยอมรับผู้ให้การปรึกษา และพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง
ยึดกับตัวผู้รับการปรึกษาเป็นสำคัญ ผู้ให้คำปรึกษามีบทบาทน้อย
ใช้เวลาในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้และรับการปรึกษา
ไม่มีการชี้นำก็ไม่อันตราย แต่ทำให้ผู้ให้การปรึกษาวางตัวลำบาก
ในระยะการรักษา การสลับจากการไม่นำทางมาเป็นยึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง ทำให้บทบาทของผู้ให้การปรึกษาเปลี่ยนไป อาจมีผลต่อความสัมพันธ์ ความเข้าใจ การวางตัวระหว่างผู้ให้และรับการปรึกษา
ผู้ให้การปรึกษาให้ผู้รับการปรึกษาเปิดเผยตัวเอง ผ่านความสัมพันธ์อันดี เพื่อยืนยันว่าตัวบุคคลไม่ใช่ปัญหา ขอแค่พัฒนาตัวเองไปสู่ Ideal Self
การปรึกษาแบบแอดเลอร์/ จิตวิทยาปัจเจกบุคคล
(Individual Psychology)
อัลเฟรด แอดเลอร์ 1907
"อยู่ในหมวดจิตวิเคราะห์"
บุคคลแสวงหาความสมบูรณ์แบบ โดยพยายามจัดการกับความรู้สึกด้อย เอาชนะอุปสรรคทั้งหลายที่ตนเผชิญ หากจัดการไม่ได้จะเกิดปัญหา บุคคลต้องรับรู้ปมด้อยนั้นและมีแรงมานะที่จะเอาชนะมัน "นิสัยของเราเกิดจากการเลือกของเราเอง เพื่อที่จะไปสู่เป้าหมาย" ปมด้อยอาจเกิดจากการเห็นสวัสดิภาพของตนเองหรือสังคมก็ได้ เพราะคนเราอยากพัฒนาตัวเองและมีตวามหมายทางสังคม ทั้งนี้ การมีปมด้อยอาจเกิดจากการเข้าใจผิด การปฏิเสธคุณค่าของตัวเอง การไม่ยอมรับก็ได้ :
"ถ้าเข้าใจปมที่คิดว่าตัวเองด้อย ก็จะเข้าใจปัญหา"
ข้อจำกัด
ยังโยงอยู่กับประสบการณ์จากวัยเด็กมาก หากผู้ป่วยไม่เปิดใจเล่าเรื่องวัยเด็กก็จะรักษาไม่ได้
มีความท้าทายกับคนที่ไม่เห็นคุณค่าของสังคมหรือภาพใหญ่กว่านั้นคือความหมายของชีวิต
วัดค่าไม่ได้ ไม่รู้ว่าประสบความสำเร็จแค่ไหน เปลี่ยนแปลงอะไรได้บ้าง เห็นแต่ภาพกว้างของบุคคลแต่แก้ปัญหาเฉพาะเจาะจงไม่ได้
ข้อดี
การเปลี่ยนบุคลิกภาพและแนวคิดการรับรู้เพื่อกลับมาเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม โดยให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของตัวเองที่มีต่อสังคม
ให้กำลังใจและจูงใจในการเป็นบุคคลที่มีประสิทธิภาพช่วยเหลือสังคมและเติมเต็มตัวเองไปพร้อมกัน
ประยุกต์ง่าย สังเกตความกังวลและปมด้อยจากกิจกรรมได้หลากหลายแบบ เอาไปใช้ในคนกลุ่มไหน ช่วงอายุไหนก็ได้
ใช้สร้างความมั่นใจและคุณค่าในตัวเองได้ตลอดชีวิต นำไปสู่การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับสังคม
การปรึกษาแบบเกสตัลท์
(Gestalt Therapy)
Fritz and Laura Perls 1946
อย่าจำสลับกับ Gestalt Psychology โดย Max Wertherimer, Kurt Koffka, Wolfgang Kohler 1910 ซึ่งบ้างว่ามันไม่ได้เกี่ยวกันเลย
“จงอยู่กับปัจจุบัน อย่าอยู่กับอดีต และอย่าเลื่อยลอยไปกับอนาคต”
เน้นความเข้าใจในปัจจุบัน Here and Now อยู่อย่างมีคุณภาพและยอมรับสภาพความเป็นจริง ไม่เสียพลังงาน และไม่หนีไปจากปัจจุบันโดยการคิดถึงอดีตและอนาคต
"เน้นใช้การกระทำในปัจจุบันเพื่อแก้ไขอดีต"
การพึ่งพาตัวเองได้ มีวุฒิภาวะ ใ้ช้ศักยภาพของตัวเองได้เต็มที่ในปัจจุบัน โดยเข้าใจค่านิยมและกฎเกณฑ์ทางสังคมทำให้ชีวิตดี
ข้อดี
สร้างแนวคิดใหม่และเพิ่มแง่บวกให้ชีวิต ผ่านการตระหนักรู้ตน เข้าใจความคิด อารมณ์ พฤติกรรมตัวเอง
แก้โรควิตกกังวล พฤติกรรมเลวร้าย ซึมเศร้า ปัญหาความสัมพันธ์ และความมั่นใจในตัวเองได้
รู้ว่าอะไรทำให้ตนต้องประสบปัญหาและหาอะไรที่ทำที่ทำให้ชีวิตเปลี่ยนไป รู้จักรับผิดชอบชีวิตตัวเอง อยู่กับปัจจุบัน
ลดความเครียด เพิ่มการยอมรับ ไม่โทษคนอื่น
ข้อจำกัด
แก้ไขได้เฉพาะปัญหาที่เกิดจากความคิดของบุคคล การเสพติด และอาการจิตเภทบางอย่าง แต่แก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้นโดยกรรมพันธ์หรือปัญหาภายนอกไม่ได้
ต้องใช้ผู้ให้การปรึกษาที่เชื่อมั่นในการให้โอกาสตัวเองสูงมากและสามารถแยกแยกสิ่งที่เป็นปัจจุบันได้อย่างดี
ผู้ให้บริการเป็นผู้ชี้นำ
ผู้ที่มีอารมณ์เปราะบาง อาจเกิดความเครียดทางอารมณ์เพราะจัดการตัวเองไม่ได้
คนที่ไม่เข้าใจตัวเอง ลังเล คิดเยอะ ไม่มีจินตนาการ ใช้ไม่ได้หรือไม่เข้าใจวิธีนี้
การปรึกษาแบบอัตถิภาวนิยม
(Existential Therapy)
Arbuckle 1975
การมองเห็นสถานการณ์ยุ่งยากในตัวบุคคล ช่วยผู้รับการบำบัดในการค้นหาความหมายของชีวิต แท้จริงแล้วมนุษย์อยากคงอยู่ตลอดไป แต่ต้องอยู่กับความจริงที่ว่าเราจะมีชีวิตอยู่เพียงชั่วเวลาหนึ่ง แล้วก็ติดอยู่กับข้อจำกัดเล็ก ๆ น้อย ๆ ของตนเอง มีความทุกข์และหวาดกลัวกับผลกระทบที่จะตามมา ซึ่งเราควรจะต้องเผชิญกับภาวะที่ไม่น่าปรารถนานี้ที่มาจากภาระของการเป็นมนุษย์ ความกล้าหาญ กล้าอภิปราย กล้าที่จะแพ้ นำมาซึ่งการใช้ชีวิตอยู่อย่างมีพลัง และดำรงอยู่โดยไม่หวาดกลัวความตาย
ความตั้งใจรับผิดชอบคือทางออกของปัญหา
ข้อดี
เจาะลึกการมีตัวตนของบุคคล ความหมายของชีวิต ทุกข์ทรมานไปเพื่ออะไร อยู่ไปทำไม มีชีวิตอยู่อย่างไร
ทำให้คนเห็นว่าตัวเองมีอิสรภาพ มีทางเลือก และตัดสินใจได้ว่าตนอยากได้ผลลัพธ์แบบไหน คล้ายว่าตนเป็นผู้เขียนชีวิตของตนเอง ผู้ถือหางเสือเรือของชีวิต
สำรวจ อารมณ์ ความเชื่อ และความสามารถของบุคคล เพื่อสร้างความหมายและความจริงอันเป็นเรื่องเฉพาะตัว
สอนคนในแต่ละช่วงอายุว่าจะยึดอะไรเป็นเสา เมื่อต้องเผชิญกับความกังวลที่รุ้สำนึกและไร้สำนึก ซึ่งทำให้คุณค่าและเป้าหมายของชีวิตเป็นภาพเลือนลาง
ทำให้บุคคลมีความชัดเจนและเลือกได้ว่าจะใช้ชีวิตอย่างไร นำไปสู่การใช้ชีวิตที่สมบูรณ์และมีความหมายยิ่งขึ้น
ข้อจำกัด
ไม่เหมาะกับผู้รับการปรึกษาที่สื่อสารได้ไม่ชัดเจน หรือสภาพจิตใจอ่อนแอ
ผู้ให้การปรึกษารู้แต่ทฤษฎีไม่ได้ต้องมีประสบการณ์และความเข้าใจในชีวิต เพราะหลักการนั้นกว้างและไม่แน่นอน
ไม่สามารถจัดการกับปัญหาแบบเป็นการเฉพาะได้ ทำได้แค่คุยภาพรวม
ใช้เวลาปรึกษานาน
เอาไปประยุกต์กับศาสตร์อื่นได้ยาก เหมือนเป็นศาสนาของตัวเอง
การปรึกษาแบบพฤติกรรมนิยม
(Behavioral Therapy)
พฤติกรรมและบุคลิกถูกกำหนดโดยเหตุการณ์ในอดีตและปัจจุบัน ผ่านการเรียนรู้ มีเงื่อนไข และความถี่ ความกลัว วิตกกังวลมาจากการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดประสบการณ์ไม่ดีซ้ำ ๆ หาพฤติกรรมที่ก่อปัญหาและทำการแทรกแซงช่วยเหลือ หรือเสริมแรงให้ไปทำพฤติกรรมอื่น ๆ ที่ดี
ในเมื่อพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมถูก "เรียนรู้" มา จากสิ่งแวดล้อมหรือการรับรู้ที่ไม่เหมาะสม
"พฤติกรรมบำบัด" จึงลดหรือขจัดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ด้วยการเรียนรู้ใหม่ให้ถูกต้อง
ข้อดี
เน้นพฤติกรรม จัดการพฤติกรรมที่ต้องการเปลี่ยน ผู้รับการปรึกษามีความเข้าใจดีว่าจะได้อะไรจากการรักษา
ใช้เวลาไม่นาน
สะดวกในการปฏิบัติ ใช้การฝึกฝนเข้าสู้
วิเคราะห์เจาะลึกว่าบุคคลมีพฤติกรรมอย่างไรต่อเหตุการณ์ในชีวิต
เป็นวิทยาศาสตร์ มีการวิจัยเยอะ นำไปใช้ได้กับหลายปัญหา
ปฏิบัติการปรึกษาได้อย่างเป็นระบบ
ข้อจำกัด
มนุษย์จะถุกเปรียบเหมือนสัตว์หรือหุ่นยนต์ที่ถูกควบคุมโดยพฤติกรรม ไม่ได้แก้ปัญหาที่ตัวตนของเขา
ไม่คำนึงถึงอารมณ์ของผู้รับการปรึกษา ไม่สนใจเรื่องตัวตน การรู้สำนึก คุณค่า หรือจินตนาการ
ใช้ได้กับการแก้พฤติกรรมที่เห็นได้ชัดเจน แก้ปัญหาซับซ้อนไม่ได้
ไม่มีประโยชน์กับผู้รับบริการที่แสวงหาความหมายของชีวิต รู้สึกว่าไม่มีค่า ท้อแท้สิ้นหวังในชีวิต
อาศัยวินัยและการทำซ้ำอย่างหนัก ซึ่งอาจรวมถึงการเผชิญกับสิ่งเลวร้ายหรือที่ไม่ถูกใจซ้ำ ๆ
B F Skinner 1970
การปรึกษาแบบการรู้คิด-พฤติกรรม
(Cognitive-Behavioral Therapy)
จัดการสภาวะอารมณ์และกระบวนการคิดที่เป็นปัญหา
เจาะรู้แบบการคิดและพฤติกรรมของบุคคล ทำความเข้าใจรูปแบบการคิดของคน หาความคิดการตั้งสมมติฐานที่บกพร่อง การเปลี่ยนแปลงวิธีการคิดและพฤติกรรมนำไปสู่ความรู้สึกที่เปลี่ยนไป
ให้วิธีแก้ปัญหาเมื่อเกิดปัญหาต่าง ๆ ขึ้น บอกคนไข้ว่าต้องบอกตัวเองว่าอะไร เมื่อเจอกับปัญหาต่าง ๆ
ข้อดี
ใช้แก้ความวิตกกังวลและซึมเศร้าได้ดี
ให้ความรู้และทักษะแก่บุคคล เอาไปใช้ได้กับตัวเองและสอนผู้อื่นเมื่อมีปัญหา เป็นการเรียนรู้เพื่อติดเกราะไว้ป้องกันตัวเมื่อปัญหากลับมาอีกครั้ง
วิธีการและทฤษฎีวัดผลได้ ทำการบ้าน มีการจดบันทึกว่าคนไข้เจออะไรและคิดอะไร ทำให้เห็นได้ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง
ใช้กับปัญหาได้อย่างเป็นการเฉพาะและให้ผลลัพธ์รวดเร็ว
เอาแนวคิดไปปรับใช้ได้กับอื่น ๆ ในชีวิต
ข้อจำกัด
ความคิด เป็นแค่ส่วนหนึ่งของการเป็นมนุษย์ ถ้าปัญหาเกิดจากปัจจัยอื่นก็แก้ไม่ได้ เช่น ประสบการณ์ขมขื่นในวัยเด็ก สภาพความสัมพันธ์
ผู้รับการปรึกษาต้องเข้าใจและเชื่อมั่นในวิธีการนี้เช่นกัน
ไม่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาทางจิตซับซ้อน ต้องเผชิญกับอารมณ์อย่างรุนแรง
ไม่เหมาะกับคนเรียนรู้ช้า เพราะเอาความรู้มาใช้ลำบาก
เป็นการชี้นำ ต้องการท้าทาย อาจไปถึงบังคับ เพื่อท้ายที่สุดนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงความคิด ความเชื่อของบุคคล
ต้องทำการบ้านและมีวินัย
"ความคิด ความเชื่อ" ของเรามีผลต่อการกระทำและเกี่ยวเนื่องไปถึงสิ่งรอบตัวในที่สุด
"การตามหา Core Belief และดัดแปลงแก้ไขมันเพื่อ สร้างระบบความคิด การรับรู้ที่มีความยืดหยุ่นขึ้น"
การปรึกษาทฤษฎีวิเคราะห์ความสัมพันธ์ (Transactional Analysis)
Eric Bernes
Ego State บุคลิกภาพมีส่วนประกอบ 3 ส่วน
ความเป็นพ่อแม่ Parentlike / ความเคยชิน
ความเป็นผู้ใหญ่ Adultlike / การคิดเป็นเหตุเป็นผล
ความเป็นเด็ก Childlike / สัญชาตญาณ ความรู้สึก
ข้อดี
ทำบุคลิกภาพให้เข้าใจง่าย นักบำบัดรู้ได้เลยว่าควรพัฒนาตรงไหน
ดูมีเหตุมีผลในหลากหลายวัฒนธรรม
ข้อจำกัด
เพราะทำบุคลิกภาพให้เข้าใจง่าย จึงอาจทำให้เกิดการด่วนสรุป
อาจจะเป็นเรื่องยากกับผู้รับการบำบัดบางคนที่จะสลับให้บุคลิกด้านใดด้านหนึ่งขึ้นมามีอิทธิพลแทน เพราะมันไม่ใช่ตัวเขาเอง
เป็นการตีกรอบให้กับรูปแบบการคิด
เราบอกได้ว่าชีวิตเราเป็นอย่างไร จากวิธีที่เราคิดและปฏิบัติต่อผู้อื่น
การปรึกษาแบบพิจารณาความเป็นจริง
(Reality Therapy)
วิลเลียม กราซเซอร์ 2000
"เน้นการปฏิบัติตามทางเลือกที่ตั้งอยู่บนความเป็นจริง"
จงรับผิดชอบและควบคุมวิถีชีวิตของท่าน เผชิญกับทุกสิ่งที่เกิดขึ้นจากการกระทำของท่าน และรู้จักมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย
"ความล้มเหลวที่จะแสดงความ
รับผิดชอบชีวิตของตนเอง"
นำปัญหาสุขภาพจิตมาให้และนำไปสู่การแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
คนที่มีเอกลักษณ์ของความสำเร็จและล้มเหลว Winner and Loser
เราควรจะแก้ปัจจัยที่ทำให้เราเป็น Loser ออกไป โดยเข้าใจความต้องการของตัวเอง อาทิ อำนาจ อิสระ การอยุ่รอด ความสนุก และประเมินตัวเองตามจริง อะไรดีเก็บไว้ อะไรไม่ดีก็แก้ไขเปลี่ยนแปลง
อะไรที่ทำเพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเองแต่ไม่สอดคล้องกับสังคมย่อมมีผลกระทบตามมา มนุษย์อยากได้รับความรัก ความนับถือและรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า ถ้าได้รับการเติมเต็มแล้วพฤติกรรมที่แย่อื่น ๆ จะลดลง
ข้อดี
จัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นอันเป็นปัจจุบัน คิดถึงผลลัพธ์มากกว่าสาเหตุ
เพิ่มความมั่นใจ การละทิ้ง คนที่ไม่ผูกใจเจ็บสามารถรุดหน้าได้อย่างรวดเร็ว
สร้างความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างผู้ให้คำปรึกษากับผู้รับคำปรึกษา เกิดความมีส่วนร่วมและกำลังใจที่ดี
ข้อจำกัด
อาจทำให้ผู้รับการปรึกษารู้สึกว่าตนเป็นต้นตอของปัญหาของตัวเอง และปัญหานั้นจะฝังใจไปตลอด
การปรึกษาและจิตบำบัดแนวพุทธ
(Mindfulness Therapy)
ฝึกการพิจารณาตนเอง เข้าใจการดำเนินไปของชีวิต อริยสัจ 4 ไตรลักษณ์ อิทัปปัจจยตา
ข้อจำกัด
เป็นการปล่อยวาง และไม่ต่อสู้ ให้ผลเลวร้ายกับกลุ่มอาการเสพติด
การรู้อารมณ์ตัวเองอยู่ตลอด อาจทำให้ความรู้สึกเล็กน้อย ๆ ดูใหญ่ขึ้นมากกว่าที่ควร
ข้อดี
รู้ทันอารมณ์ ของตัวเอง พัฒนาจิตใจ
แยกแยะโชคดี โชคร้าย ปัญหา และความรื่นรมย์ ทำให้ดื่มด่ำกับประสบการณ์ได้ลึกซึ้ง
การลอยตัวอยู่เหนือปัญหา อารมณ์ ความคิด
การปรึกษาทางสังคม
Sociocultural Therapy
เหตุทางสังคมและวัฒนธรรมที่ทำให้เกิดพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์
หากสิ่งแวดล้อมเป็นเหตุของปัญหาก็ต้องแก้ด้วยสิ่งแวดล้อม
การปรึกษาแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม
(Rational Emotive Behaviour Therapy)
อัลเบิร์ท เอลลิส 2000
ให้ความสำคัญกับความคิด เพราะมองว่ามนุษย์คิดเป็น เพียงแต่การคิดบางอย่างอาจไร้เหตุผลหรือตรรกะบกพร่อง
ความเชื่อผิด ๆ สร้างความคิดที่ก่ออารมณ์ทางลบ
การเปลี่ยนความเชื่อสร้างทัศนะใหม่ทำให้พฤติกรรมและอารมณ์เปลี่ยนไป เราควรแก้ไชความเชื่อว่าตัวเองไม่มีคุณค่า ลบล้างข้อห้ามและความเชื่อผิด ๆ ที่สั่งสมมาจากอดีตออกไป ผ่านกระบวนการ ABCDE
"เน้นการเปลี่ยนความคิด"
ความรู้สึกลบทั้งหลายที่รบกวนใจไม่ใช่เพราะปัจจัยภายนอกหรือใคร แต่เป็นเพราะความคิดของตัวเอง
ข้อดี
เปลี่ยนแปลงความเชื่อที่บกพร่อง นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ลดอารมณ์ด้านลบ เห็นคุณภาพชีวิตในทางที่ดีขึ้น มีแนวโน้มจะใช้ชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ
มีลักษณะของประชาธิปไตย
บุคคลสามารถเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงได้ด้วยตัวเอง
ข้อจำกัด
ผู้รับการปรึกษาจะถูกข่มขวัญหรือท้าทายอยู่ตลอด มีการโต้แย้งทางความเชื่อเกิดขึ้น ที่อาจนำไปสุ่ความรุนแรงหรือการสูญเสียตัวตน การฉีกทึ้งทางบุคลิกภาพจากการพยายามปล่อยวางความเชื่อที่มีมานาน
อาจต้องใช้เวลาอย่างมาก และการทำงานงานอย่างหนัก ละทิ้งความคุ้นเคยเพื่อให้การปรึกษานี้มีแนวโน้มจะก่อผล
เน้นการทำงานเพื่อเปลี่ยนแปลงความเชื่อและพฤติกรรมที่ส่งผลร้ายต่อตนเอง โดยการทำให้ผู้รับการบำบัดเข้าใจความไม่สมเหตุสมผลและความจำกัดของความเชื่อและพฤติกรรมดังกล่าว
Ellis & Harper 1975
"ความเชื่อไร้เหตุผล 15 ประการ"
จะโฟกัสที่ความคิด ความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผลเท่านั้น และจะทดแทนสิ่งเหล่านั้นด้วยสิ่งที่สมเหตุสมผล