Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Spinal stenosis โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ - Coggle Diagram
Spinal stenosis
โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ
พยาธิของโรคของผู้ป่วย
สาเหตุ
เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างกระดูกสันหลังมีการหนาตัวของเอ็นยึดข้อกระดูก และการเสื่อมของกระดูกข้อทำให้ข้อขยายใหญ่ และเยื่อบุข้อหน้าตัวช่องกระดูกสันหลังและช่องทางออกของเส้นประสาทสันหลังแคบลง เกิดการกดบริเวณตรงกลางรากประสาท (cauda equina ) หรือเกิดการกดรากประสาทด้านข้าง
ความเสี่ยงจะเป็น โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ
ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน หรือมีภาวะอ้วนลงพุง
คนที่ต้องเดินเป็นเวลานานหรือยกของเยอะ
ผู้ประสบอุบัติเหตุจนเส้นประสาทกดทับที่กระดูกสันหลัง
คนที่เป็นโรคเบาหวาน
ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
อาการ
มีอาการปวดที่เกิดจากการกดทับรวมกับการอักเสบ และเมื่อมี การกดทับเส้นประสาทจะทำให้การไหลเวียนโลหิตลดลง มีผลต่อการเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าของรากประสาทลดลงหรือเสียหาย มีอาการชา อ่อนแรง หรือปวดรุนแรง มีอาการปวดบริเวณสะโพก หรือร้าวลงไปที่ขา
การรักษา
มี 2 วิธีคือการรักษาแบบอนุรักษ์ (conservative treatment) คือการรักษาโดย ไม่ผ่าตัด เช่น การรับประทานยาการลดน้ำหนักการทำกายภาพบำบัด เป็นต้น การรักษาด้วยการผ่าตัด โดยหลักการในการผ่าตัดคือการขยายช่องทางออกของเส้นประสาทให้กว้างขึ้นเพื่อลดการกดทับ
ข้อมูลผู้ป่วยที่สัมพันธ์กับพยาธิสภาพ
ปวดหลังร้าวลง ขา ทั้ง 2 ข้าง และมีอาการชา
การวินิจฉัยโรค
จากการซักประวัติและการตรวจร่างกาย อาการและอาการแสดงมีความสัมพันธ์กับพยาธิสภาพของโรควินิจฉัย
ข้อมูลผู้ป่วย
เพศหญิง อายุ 68 ปี เตียง 19 เชื้อชาติ : ไทย สัญชาติ : ไทย ศาสนา : พุธ ประวัติการแพ้ : ปฏิเสธ
อาการสำคัญ : ปวดหลังร้าวลงขา ทั้ง 2 ข้าง และมีอาการชา มากขึ้น 2 ชั่วโมง ก่อนมาโรงพยาบาล
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน : 2 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล ปวดหลังร้าวลงขา ทั้ง 2 ข้าง และมีอาการชา เดินลำบากกระดกปลายเท้าได้ ชาก้นกบ-ปลายเท้า
diagnosis : Spinal stenosis L2-5-S1
อาการปัจจุบัน : ผู้ป่วยหญิง วัยผู้สูงอายุ ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี สามารถถามตอบรู้เรื่อง Glasgow coma scale E4V5M6 Motor power แขนซ้าย 5 แขนขวา 5 ขาซ้าย 4 ขาขวา 4 ใช้ walker ในการช่วยเดิน รับประมานอาหารได้เอง นอนไม่ค่อยหลับ
ขับถ่ายอุจาระ 1 ครั้ง/วัน ปัสสาวะวันละ 5-6 ครั้ง/วัน สีเหลืองใส ไม่ขุ่นไม่มีตะกอน นอนหลับ 5-6 ชั่วโมง/วัน อุณหภูมิ 36.0 องซาเซลเซียส ชีพจร 82 ครั้ง/นาที
อัตตราการเต้นหัวใจ 20 ครั้ง/นาที ความดันโลหิต 120/80 mmHg
การผ่าตัด
laminectomy with Fusion and PDS
วันที่ผ่าตัด วันที่ 26 เมษายน 2565
ความหมาย การผ่าตัดยกกระดูกลามิที่กดทับออก และ เชื่อมข้อกระดูกสันหลัง
ผ่าตัดยึดตรึงกระดูกสันหลังด้วยเหล็กแผลเล็ก
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ผลแลปที่ผิดปกติ วันที่ 27/ เม.ย. / 65
พบค่า Hematocrit ต่ำ แสดงถึงภาวะโลหิต
จางสำหรับผู้ป่วยรายนี้อาจมีการสูญเสียเลือดจากการผ่าตัด ส่งผลให้เกิดภาวพโลหิตจาง
พบค่า WBC.COUNT สูง สำหรับผู้ป่วยรายนี้อาจมีการอักเสบติดเชื้อในร่างกาย
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1.ผู้ป่วยปวดแผลเนื่องจากเนื้อเยื่อได้รับบาดเจ็บจากการผ่าตัด
ข้อมูลสนับสนุน
S: ผู้ป่วยบ่นปวดแผล
S: หลับๆตื่นๆเพราะปวดแผล
O: pain 5 คะแนน
จุดมุ่งหมาย
บรรเทาอาการปวดแผลผ่าตัด
เกณฑ์การประเมิน
ระดับการปวดลดลงน้อยกว่า 3 คะแนน
ไม่ต้องใช้ยาแก้ปวด
ผู้ป่วยนอนหลับได้ต่อเนื่อง 6 ชั่วโมง
ความดันโลหิต 120 - 129/80 - 84
มิลลิเมตรปรอท ชีพจร 60 -100 ครั้งต่อนาทีอัตราการหายใจ 16 - 20 ครั้งต่อนาที
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินอาการปวด โดยการสอบถามและสังเกตสีหน้าท่าทางที่แสดงอาการปวด
จัดท่านอนในท่า Lateral position, Prone position
วัด v/s ทุก 4 ชั่วโมง
4.ดูแลให้ยา Paracetamol 500 mg ตามแผนการรักษา ทุก 6 ชั่วโมง หรือเมื่อมีอาการปวด
ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เมื่อลุกนั่ง และเดินหลังผ่าตัดเนื่องจากขาดความรู้ในการฟื้นฟูตัวเองหลังผ่าตัด
ข้อมูลสนับสนุน
O: สวมใส่ที่พยุงหลังผิดวิธี
O: ลุกจาการนอนผิดวิธี
จุดมุ่งหมาย
ผู้ป่วยไม่เกิดอุบัติเหตุขณะลุกนั่ง เดิน
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตนในการฟื้นฟูได้ถูกวิธี
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินความพร้อมของผู้ป่วยก่อนลุกจากเตียง
แนะนำให้ผู้ป่วยรู้จักวิธีการใช้เครื่องช่วยพยุงหลัง
แนะนำวิธีลุกจากเตี่ยง โดยลุกช้า ๆ ค่อย ๆ เลื่อนตัวชิดขอบเตียงแล้วตะแคงตัวงอเข่าและสะโพก ใช้มือและข้อศอกยันที่นอนดันตัวลุกขึ้นพร้อมหย่อนเท้าลงแตะพื้น ถ้าไม่มีอาการหน้ามือเวียนศีรษะให้ลุกขึ้นยืนได้
ดูแลให้ผู้ป่วยยืนทรงตัวให้ดี เมื่อไม่มีอาการหน้ามืด เวียนศีรษะ ให้เริ่มเดิน โดยมีพยาบาล
ช่วยประคองเดินรอบ ๆ เตียง เพื่อให้ผู้ป่วยมั่นใจ และให้ผู้ป่วยจับขอบเตียงไว้
แนะนำให้ผู้ป่วยลุกเดินในระยะสั้นๆ ทางเดินควรเรียบไม่มีวัตถุที่พื้นหรือน้ำหกให้ลื่นล้มได้
ยาที่ได้รับ
Simvastatin 20 mg เป็นยาในกลุ่ม HMG-CoA reductase inhibitor ใช้ในการรักษาโรคไขมันในเลือดผิดปกติ ผลข้างเคียง อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ มวนท้อง
Omeprazole 20 mg คือยาในกลุ่ม PPIs หรือ Proton Pump Inhibitors ใช้ในผู้ที่มีปัญหากรดเกิน ผลข้างเคียง ปวดศีรษะ เวียนหัว ปวดท้อง คลื่นไส้
Metoclopramide 10 mg กลุ่มยาแก้คลื่นไส้อาเจียน ใช้รักษาอาการจุกแน่นท้อง อาหารไม่ย่อย ผลข้างเคียง ง่วงนอน มึนงง รู้สึกสับสน อ่อนเพลีย อิดโรย เหนื่อยล้า กระวนกระวาย กระสับกระส่าย
Cephalexin 500 mg เป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มเซฟาโลสปอริน ใช้รักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ผลข้างเคียง รู้สึกอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย ปวดตามข้อ