Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Endometriosis เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ - Coggle Diagram
Endometriosis
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
พยาธิสภาพ: ภาวะที่เยื่อบุโพรงมดลูกไปเจริญนอกโพรงมดลูก แล้วทำให้ เกิดการอักเสบเรื้อรังบริเวณนั้นๆ ส่งผลให้เกิดปัญหาต่อ สุขภาพของสตรีทั่วไป โรคนี้จะทำให้มีอาการปวดท้องน้อย เรื้อรัง ปวดประจําเดือนอย่างมาก มีบุตรยาก โรคนี้สัมพันธ์ กับฮอร์โมนเอสโตรเจน จึงพบโรคนี้มากในสตรีวัยเจริญพันธุ์ และพบมากขึ้นเรื่อยๆ ในวัยรุ่น โรคนี้พบได้ในสตรีทุกชาติ ทุกภาษา ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ อุบัติการณ์ที่แน่นอนยังไม่มีตัวเลขชัดเจน มีการประมาณว่า อุบัติการณ์ในสตรีเจริญพันธุ์พบประมาณร้อยละ 10-15 และ อุบัติการณ์จะสูงขึ้นในสตรีที่มีอาการปวดประจําเดือน คือ ร้อยละ 40-60 ส่วนในสตรีที่มีบุตรยากอุบัติการณ์ของโรคคือ ร้อยละ 20-30 การตรวจร่างกายสตรีที่เป็นโรคนี้มักไม่ค่อย พบสิ่งผิดปกติ ดังนั้นแพทย์ผู้ดูแลต้องคิดถึงโรคนี้ไว้เสมอ เมื่อผู้ป่วยมาด้วยอาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง ปวดประจําเดือน หากตรวจภายในพบลักษณะมดลูกคว่ำหลัง ติดแน่น เคลื่อนไหวได้น้อย หรือกดเจ็บบริเวณ utero-sacral ligament (US) หรือคลำได้ก้อนตะปุ่มตะป่าที่ US ligament หรือคลำได้ก้อนถุงน้ำปีกมดลูก
อาการแสดง: :
ปวดประจำเดือน
ปวดท้องน้อยเรื้อรัง
เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์
มีบุตรยาก
ประจำเดือนผิดปกติ
ปัสสาวะ หรือ อุจจาระ มีเลือดปนตามรอบประจำเดือน
ข้อมูลผู้ป่วย
ผู้ป่วยหญิงไทย วัยผู้ใหญ่ อายุ 47 ปี เตียง 11 สถานภาพสมรส เชื้อชาติไทย สัญชาติรายได้ 10,000 บาท/เดือน เข้ารับการรักษาตัววันที่ 23 เมษายน 2565
วันที่รับไว้ดูแล 4 พฤษภาคม 2565
อาการสำคัญ: ปวดท้องน้อย จนลามปวดทั่วท้อง คลื่นไส้ 1 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล
วินิจฉัยโรคแรกรับ: Ovarian cyst คือ ภาวะที่มีถุงน้ำเกิดขึ้นภายในรังไข่ หรือบริเวณรอบรังไข่ สาเหตุของการเกิดภาวะถุงน้ำในรังไข่นั้นอาจเกิดจากความผิดปกติของรังไข่ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงตกไข่ หรือเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ ภาวะถุงน้ำในรังไข่นั้นสามารถเกิดขึ้นได้ โดยที่ไม่ส่งผลกระทบใดๆต่อร่างกาย
อาการปัจจุบัน
ผู้ป่วยหญิง วัยผู้ใหญ่อายุ 47 ปี เตียง 11 รูปร่างสมส่วน รู้สึกตัวดี สามารถถามตอบรู้เรื่อง Glasgow coma scale E4V5M6 หายใจไม่หอบเหนื่อย 20 ครั้ง/นาที รับประทานอาหารได้เอง นอนหลับดี ขับถ่ายอุจจาระวันละ 1 ครั้ง นอนหลับดีวันละ 7-8 ชั่วโมง/วัน ปัสสาวะวันละ 5-6 ครั้ง/วัน สีเหลืองใส ไม่ขุ่นไม่มีตะกอน
สัญญาณชีพ อุณหภูมิ 37.7 องศาเซลเซียส ชีพจร 86 ครั้ง/นาที อัตราการหายใจ 20ครั้ง/นาที ความดันโลหิต 120/70 มิลลิเมตรปรอท
การผ่าตัด
วันที่ผ่าตัด วันที่ 23 เมษายน 2565
Exploratory Laparotomy with Rt. So
ความหมาย การผ่าตัดเปิดช่องท้องด้านขวาเพื่อนำรังไ ข่และปีกมดลูก
วินิจฉัยโรคปัจจุบัน: Endometriosis ภาวะที่เยื่อบุโพรงมดลูกไปเจริญนอกโพรงมดลูก
การรักษา:
1.การรักษาด้วยยา ได้แก่ ยาแก้ปวดและยาต้านการอักเสบกลุ่มเอ็นเสด (NSAIDS) ยาคุมกำเนิด ยาฮอร์โมนกลุ่มโปรเจนติน ยาฮอร์โมนกลุ่มแอนโดรเจน
ยากลุ่ม Gonodotropin releasing hormone agonist (GnRHa)
2.การรักษาด้วยการผ่าตัด
3.การรักษาร่วมกันระหว่างการใช้ยาและการผ่าตัด
ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ผล Lab ที่ผิดปกติ
ผลแลปที่ผิดปกติ(วันที่29/04/65): พบค่า neutrophils และค่าสูง lymphocytes ต่ำ แสดงถึงเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ช่วยในการกําจัดเชื้อโรคมีสูงเพิ่มมากขึ้น สำหรับผู้ป่วยรายนี้อาจเกิดการติดเชื้อจากการมีแผลผ่าตัดบริเวณหน้าท้อง
พบค่า Hematocrit ต่ำ แสดงถึงภาวะโลหิตจาง สำหรับผู้ป่วยรายนี้อาจมีการสูญเสียเลือดจากการผ่าตัด ส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจาง
ยาที่ได้รับ
Cefazolin (เซฟาโซลิน) เป็นยาปฏิชีวนะกลุ่มเซฟาโลสปอริน มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียในร่างกาย ใช้รักษาหรือป้องกันโรคหรือการติดเชื้อจากแบคทีเรีย เช่น การติดเชื้อที่ผิวหนัง ข้อต่อ กระดูก เลือด ลิ้นหัวใจ ระบบทางเดินหายใจ ทางเดินน้ำดี และทางเดินปัสสาวะ รวมถึงอาจใช้ป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัด
ผลข้างเคียง: คัน มีคราบสีขาวในปาก เบื่ออาหาร แสบร้อนกลางอก ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ สับสน ง่วงซึม อ่อนเพลีย ร่างกายอ่อนแอ รวมไปถึงมีอาการเจ็บ บวม แดง หรือมีเลือดออกบริเวณที่ฉีดยา
Gentamicin เป็นยาปฏิชีวนะกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
ผลข้างเคียง: อาการแพ้ยา เช่น มีผื่นคันตามผิวหนัง หายใจลำบาก มีอาการบวมที่บริเวณใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ สูญเสียการได้ยิน หรือมีเสียงดังในหู วิงเวียนศีรษะอย่างรุนแรง หายใจแผ่ว หรือหายใจหอบ รู้สึกชา หรือรู้สึกเหมือนมีเข็มทิ่มตามผิวหนัง กล้ามเนื้อกระตุก หรือหดเกร็ง ปวดท้องอย่างรุนแรง ท้องเสีย ถ่ายเหลว หรือถ่ายเป็นเลือด มีไข้ มีแผลในปาก เหงือกแดงหรือบวม กลืนลำบาก
Ceftazidime เป็นยาต้านจุลชีพกลุ่มเซฟาโลสปอริน (Cephalosporin) สำหรับรักษาการติดเชื้อจากแบคทีเรีย
ผลข้างเคียง: หลังการฉีดยา Ceftazidime อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดบริเวณที่ฉีดยา ผิวหนังบวมแดงหรือมีเลือดออก (Phlebitis) ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายปนเลือด ปวดเกร็งบริเวณท้อง มีไข้ขึ้นในระหว่างการรักษาด้วยยา หายใจหรือกลืนอาหารได้ลำบาก เสียงแหบ เจ็บคอ
Clindamycin เป็นยาปฏิชีวนะ ที่ใช้รักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรียรุนแรง
ผลข้างเคียง ท้องไส้ปั่นป่วน ท้องร่วง ถ่ายเหลวเป็นน้ำหรือเป็นเลือด รู้สึกขมปาก รู้สึกเวียนหัว มึนงง กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นดีซ่าน ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ เจ็บคอ แสบตา
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1.วางแผนจำหน่ายผู้ป่วยก่อนกลับบ้านเรื่องการดูแลตัวเองหลังผ่าตัด อาการ การปฏิบัติ ตัวที่ถูกต้องผู้ป่วยต้องดูแลทำความสะอาดบาดแผลป้องกันการติดเชื้อ อย่าแกะอย่าเกา อย่าให้แผลโดนน้ำและรับประทานอาหารประเภทโปรตีน ได้แก่ เนื้อ นม ไข่ และผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง ได้แก่ ส้ม
2.M Medicine
แนะนำการใช้ยาที่ตนเองได้รับอย่างละเอียด สรรพคุณ ของยา ขนาด วิธีใช้ ข้อควรระวังใน การใช้ยาตลอดจนการสังเกตภาวะ แทรกซ้อน ทั้งข้อห้ามการใช้ยา
3.E Environment
การจัดการสิ่ง แวดล้อมที่บ้านให้เหมาะสมกับสุขภาพ ได้แก่ การรักษาความสะอาด การถ่ายเทอากาศของห้องพัก
4.T Treatment
ทักษะที่เป็นตาม แผนการรักษา คือ แนะนำให้มีการ ทำความสะอาดแผลผ่าตัดทุกวันวันละ 1 ครั้ง ทำแผลตามแพทย์สั่งที่โรง พยาบาลหรือคลินิคใกล้บ้านและ ระมัดระวังอย่าให้แผลถูกน้ำและไม่ แกะเกาบริเวณแผล
5.H Health การส่งเสริมฟื้นฟู สุขภาพทางด้านร่างกายและจิตใจ ตลอดจนการป้องกันภาวะแทรกซ้อน ต่างๆ กรณีที่มีความผิดปกติ เช่น มีโอกาสเกิดแผลติดเชื้อ และแนะนำให้รู้จักวิธีการจัดการกับความเครียด ไม่ใช้สารเสพติด
6.O Out patient
การมาตรวจตามนัดการติดต่อขอความช่วยเหลือจาก สถานพยาบาลใกล้บ้าน ในกรณีเกิดภาวะฉุกเฉินตลอดจนการส่งต่อผู้ป่วยให้ได้รับการดูแลต่อเนื่อง
7.D Diet
การเลือกรับประทานอาหารส่งเสริมการหายของแผลหลีกเลี่ยงหรืองดอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ไข่ ถั่วต่างๆ อาหารที่มีวิตามินซีสูง และงดดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์
เหตุผลการพยาบาล
1.เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพและสามารถนำไปปรับใช้ปฎิบัติในชีวิตประจำวันได้
2.เพื่อให้ผู้ป่วยมีความเข้าใจในการได้รับยาและใบยาได้อย่างถูกต้องและทราบถึงอาการ ผลข้างเคียงหลังจากการได้รับยา
3.การจัดสิ่งแวดล้อม ถ้าจัดสิ่ง แวดล้อมไม่เหมาะสมจะพบ ปัญหาอาจทำให้เกิดอาการคัน บริเวณบาดแผลที่ใกล้หาย
4.การที่แผลมีการเปียกชื้นอาจจะทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อได้ การแกะเกาบริเวณแผลจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ ผิวหนัง อาจทำให้แผลสมานตัวช้าลง
5.เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปรับวิธี การดำเนินชีวิตประจำวันได้ให้ เหมาะสมกับปัญหาด้านสุขภาพ
6.เพื่อผู้ป่วยเข้าใจและทราบ ความสำคัญของการมาตรวจ ตามนัดทั้งวัน เวลา สถานที่ รวม ถึงการส่งต่อแผนการดูแลไปยังเจ้าหน้าที่
7.การรับประทานอาหารประเภทโปรตีน จะช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายช่วยให้ผิวหนังแข็งแรง ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดแผลติดเชื้อ วิตามินจะช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ทำให้แผลสมานตัวเร็วขึ้น
2.มีโอกาสเกิดภาวะแผลผ่าตัดติดเชื้อเนื่องจากมีไข้
ข้อมูลสนับสนุน
S: “มีแผลผ่าตัดบริเวณหน้าท้อง”
O: 23 เม.ย. 65 ได้รับการผ่าตัด Exploratory Laparotomy with Rt. So
O: อุณหภูมิ 37.7 องศาเซลเซียส
จุดมุ่งหมายและเกณฑ์การประเมินผล
จุดมุ่งหมาย
ป้องกันการติดเชื้อของแผลผ่าตัด
เกณฑ์การประเมินผล
1.แผลสมานกันดี แห้งสนิท ไม่มีอาการบวม แดง ปวดร้อน
2.แผลไม่มีกลิ่น ไม่มีเลือดหรือน้ำเหลืองไหลซึม
3.อุณหภูมิอยู่ในช่วง 36.5-37.5 องศาเซลเซียส
กิจกรรมการพยาบาล
1.ดูแลความสะอาดแผล อย่าแกะ อย่าเกา อย่าให้แผลโดนน้ำ
2.ดูแลให้ได้รับยา cefazolin 2 g. iv ทุก 8 ชม. และสังเกตอาการข้างเคียงได้แก่ ปัสสาวะออกน้อย ตัวเหลือง ท้องเสีย
3.ล้างมือก่อนและหลังให้การพยาบาลทุกครั้ง
4.ดูแลวัด v/s ทุก 4 ชม.
เหตุผลการพยาบาล
1.เพื่อให้แผลสะอาดป้องกันการติดเชื้อ
2.cefazolin เป็นยาฆ่าเชื้อ ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย
3.เพื่อชำระล้างสิ่งสกปรกและเชื้อโรคทั้งก่อนและหลังให้การพยาบาล ป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่คนไข้และเข้าสู่ตัวเรา
4.เพราะอุณหภูมิร่างกายสูงบ่งบอกถึงอาการแผลอักเสบและติดเชื้อ