Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Acute Lymphoblastic Leukemia – ALL โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน -…
Acute Lymphoblastic Leukemia – ALL
โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน
มะเร็งเม็ดเลือดขาว Leukemia
ภาวะที่มีการแบ่งตัวของเม็ดเลือดขาวผิดปกติ ทำให้เกิดมีจำนวนเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วร่างกายอย่างควบคุมไม่ได้ ส่งผลให้การสวร้างเม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดลดลง และลักษณะของเม็ดเลือดขาวที่เพิ่มขึ้นนั้นส่วนใหญ่เป็นเม็ดเลือดขาวตัวอ่อนซึ่งไม่เจริญเต็มที่ ทำให้หน้าที่ของเม็ดเลือดขาวเสียไป
สาเหตุ
ยาเคมีบำบัดบางชนิดที่สามารถก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ได้แก่ กลุ่ม alkylating agents, epipodophyllotoxins และ anthracycline (สัมพันธ์กับการเกิดโรค secondary AML)
ปัจจัยทางพันธุกรรม นอกจากนี้ โรคทางพันธุกรรมบางชนิดพบว่ามีความสัมพันธ์กับ ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อการเกิดโรคเช่นกัน
สารเคมีบางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาร benzene (สัมพันธ์กับการเกิดโรคAML)
การได้รับหรือสัมผัสกับรังสี
การวินิจฉัยโรค
ตรวจร่างกายพบอาการและอาการแสดงของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เช่น ซีด เลือดออกที่ผิวหนัง เป็นต้น
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจ CBC อาจพบปริมาณเม็ดเลือดแดง และเกล็ดเลือดต่ำ ส่วนเม็ดเลือดขาวที่ พบมักเป็นตัวอ่อน > 100,000 เซลล์/ลบ.มม
การตรวจไขกระดูก (bone marrow aspiration) โดยมีเกณฑ์ คือ ต้องพบเซลล์ เม็ดเลือดขาวที่เป็นตัวอ่อน (Bast) > 5% ของเซลล์ในไขกระดูก จึงวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว
ซักประวัติถึงสาเหตุหรือความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว การเป็นโรคของคน ในครอบครัว เช่น ประวัติน้ำหนักลด มีไข้ ติดเชื้อบ่อยๆ การได้รับยา การเลี้ยงดู เป็นต้น
พยาธิสรีรวิทยา
เกิดจากการที่เม็ดเลือดขาวชนิด Lymphoblast เพิ่มจำนวนอย่าง รวดเร็วและควบคุมไม่ได้ในไขกระดูก ส่งผลให้ไขกระดูกทำงานผิดปกติ การสร้างเม็ดเลือดชนิดอื่นๆ เช่น เม็ดเลือดแดง และเกร็ดเลือดลดลง ส่งผลให้เกิดภาวะซีดจากเม็ดเลือดแดงต่ำ และเลือดออกง่ายเนื่องจาก เกร็ดเลือดลดลง และติดเชื้อจากเม็ดเลือดขาวปกติต่ำ เนื่องจากเม็ดเลือดขาวที่เพิ่มมากขึ้นเป็นเม็ดเลือด ขาวที่เป็นตัวอ่อนทำหน้าที่ไม่ได้ ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย นอกจากนี้เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวจะไปอยู่ใน อวัยวะต่างๆ เช่น ม้าม ตับ ต่อมน้ำเหลือง จึงทำให้เกิดภาวะตับ ม้าม และต่อมน้ำเหลืองโตได้
อาการและอาการแสดง
มีไข้ต่ำ ๆ หรือภาวะติดเชื้อซ้ำ ๆ บ่อย ๆ
ตับโต ม้ามโต และปวดกระดูกจากการที่เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวไปแทรกอยู่ตาม อวัยวะต่างๆ
มีจุดเลือด จ้ำเลือดบริเวณผิวหนัง เลือดกำเดาไหล ปวดท้อง ถ่ายสีดำ เนื่องจากไข กระดูกสร้างเกร็ดเลือดลดลง
มีอาการทางระบบประสาท เช่น ปวดศีรษะ อาเจียนพุ่ง เป็นต้น
ซีด จากการที่ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงน้อย ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย หัวใจเต้น เร็ว หายใจเร็ว
น้ำหนักลด เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน Acute Lymphoblastic Leukemia
ภาวะที่มีการเพิ่มของจำนวนเม็ดเลือดขาวอย่าง รวดเร็วทั่วร่างกายอย่างควบคุมไม่ได้ ทำให้การสร้างเม็ดเลือดแดง และเกล็ดเลือดลดลง ส่งผลให้เกิดอาการติดเชื้อ ซีด เลือดออก อาการจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
พบได้ร้อยละ 80-90 ของผู้ป่วยเด็ก พบได้ บ่อยสุดในเด็ก เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดที่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยยาเคมีบำบัด
การรักษา
ให้ยาเคมีบำบัด
Methotrexate, 6-PM, Cyclophosphamide, Vincristine, Adriamycin เป็นต้น
รูปแบบยาฉีด หรือหยดเข้าทางหลอดเลือดดำ รับประทาน และฉีดเข้าทางช่องไขสันหลัง (Intrathecal)
ใช้รังสีรักษาบริเวณกะโหลกศีรษะร่วมกับ การฉีดยา Methotrexate เข้าทางไขสันหลัง
การกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
การปลูกถ่ายไขกระดูก
การรักษาแบบประคับประคอง
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีโอกาสเกิดการติดเชื้อได้ง่าย เนื่องจากไขกระดูกถูกกด
จากยาเคมีบำบัด และรังสีรักษา
เกณฑ์การประเมินผล
สัญญาณชีพปกติตามวัย
ไม่มีภาวะติดเชื้อ เช่น ไข้ ไอ มีเสมหะ ผิวหนังอักเสบ บวมแดง ร้อน เป็นต้น
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินการติดเชื้อในร่างกาย เช่น ไข้ ไอ มีเสมหะ ผิวหนังอักเสบ บวมแดง ร้อน เป็นต้น
บันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินภาวะติดเชื้อ
ให้การพยาบาลโดยใช้หลักปราศจากเชื้อ ดูแลความสะอาดของร่างกายผู้ป่วย งดผู้ที่เป็นโรคติดต่อเข้าเยี่ยมเพื่อป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ
ดูแลให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องแยก กรณีที่ผู้ป่วยมีค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดขาวชนิดนิว
โทรฟิล (absolute neutrophil count: ANC) ในเลือดน้อยกว่า 500 เซลล์/ ลบ.มม.
ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการที่บ่งชี้ถึงการติดเชื้อในร่างกาย เช่น การตรวจนับ
เม็ดเลือดขาว เป็นต้น
ให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและญาติในการป้องกันการติดเชื้อ เช่น การจำกัดคนเยี่ยม การ
สวมหน้าผ้าปิดจมูก เป็นต้น
ดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่สะอาด ย่อยง่าย และมีคุณค่าทางโภชนาการ
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาเคมีบำบัดตามแผนการรักษา และสังเกตอาการข้างเคียงจากการ
ได้รับยา
วัตถุประสงค์
ไม่เกิดการติดเชื้อ
เสี่ยงต่อการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงการรับรส คลื่นใส้อาเจียน และแผลในปากจากภาวะแทรกซ้อนจากยาเคมีบำบัด และรังสีรักษา
วัตถุประสงค์
ได้รับสารอาหารเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
เกณฑ์การประเมินผล
น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 10 กรัมต่อวัน
แผลในปากลดลง
รับประทานอาหารได้ครบ 3 มื้อ
ไม่มีอาการคลื่นใส้อาเจียน
กิจกรรมการพยาบาล
จัดหาอาหารที่ผู้ป่วยชอบ และไม่ขัดต่อแผนการรักษา โดยกระตุ้นให้ผู้ป่วยได้รับอาหาร
ครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง เพื่อให้ได้ปริมาณอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
ดูแลทำความสะอาดช่องปากก่อนและหลังรับประทานอาหาร โดยการบ้วนปากด้วย
น้ำยาบ้วนปาก หรือน้ำมะพร้าว
ชั่งน้ำหนักทุกวัน เวลาเดียวกัน และเครื่องชั่งเดียวกัน เพื่อประเมินภาวะโภชนาการ
ปรึกษานักโภชนการเกี่ยวกับการจัดอาหาร เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่เพียงพอ
มีโอกาสเกิดภาวะเลือดออกได้ง่ายเนื่องจากเกร็ดเลือดต่ำ
หรือจากยาเคมีบำบัด และรังสีรักษา
วัตถุประสงค์
ไม่เกิดภาวะเลือดออก
เกณฑ์การประเมินผล
ไม่มีจุดจ้ำเลือดตามร่างกาย
ไม่มีอาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายดำ
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินภาวะเลือดออกในร่างกาย เช่น สังเกตอาการเลือดออกที่จมูก ไรฟัน สังเกต ลักษณะของอาเจียน อุจจาระ ปัสสาวะ เป็นต้น
ให้การพยาบาลอย่างนุ่มนวล งดกิจกรรมที่ทำให้เลือดออกได้ง่าย แนะนำให้ใช้แปรงสีฟันที่มีขนอ่อนนุ่ม แต่หากเกร็ดเลือดต่ำแนะนำให้งดการแปรงฟันเพื่อป้องกันเลือดออก
ประเมินภาวะเลือดออกหลังการทำหัตถกรรม เช่น การเจาะเลือด เป็นต้น
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับเกร็ดเลือดตามแผนการรักษา และสังเกตภาวะแทรกซ้อนจากการให้เลือด
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการตามแผนการรักษา เช่น การตรวจนับเกร็ดเลือด
ฮีโมโกลบิน ฮีมาโตคริต เป็นต้น เพื่อประเมินความรุนแรงของการเสียเลือด
เสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอเนื่องจาก
ปริมาณเม็ดเลือดแดงในร่างกายต่ำกว่าปกติ
วัตถุประสงค์
ไม่เกิดภาวะเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจน
เกณฑ์การประเมินผล
สัญญาณชีพปกติ
ไม่มีภาวะพร่องออกซิเจน เช่น ซีด หายใจหอบ ปลายมือปลายเท้าซีด เป็นต้น
ระดับออกซิเจนในเลือดมากกว่า 95%
ผลเลือด CBC อยู่ในเกณฑ์ปกติตามวัย
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินภาวะเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจน เช่น ซีด หายใจหอบ ปลายมือปลายเท้าซีด เป็นต้น
ประเมินสัญญาณชีพและค่าความเข้มข้นของออกซิเจนในกระแสเลือดทุก 2-4 ชั่วโมง
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนตามแผนการรักษา
ดูแลให้ได้รับเลือดตามแผนการรักษา และสังเกตภาวะแทรกซ้อนจากการให้เลือด
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการพักผ่อนบนเตียง เพื่อลดการใช้ออกซิเจน
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการตามแผนการรักษา เช่น การตรวจนับเกร็ดเลือด
ฮีโมโกลบิน ฮีมาโตคริต เป็นต้น เพื่อประเมินความรุนแรงของภาวะซีด