Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบทางเดินหายใจ - Coggle Diagram
ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบทางเดินหายใจ
Antihistamine agent
anti-histamine
ยาต้านฮีสตามีนกลุ่มดั้งเดิม เป็นยาที่ใช้รักษาอาการจากภูมิแพ้ ลดอาการคัน จาม น้ำมูกไหลและบรรเทาอาการเมารถ เมาเรือ ยากลุ่มนี้กดประสาทได้จึงทำให้ผู้ใช้ยามีอาการง่วงซึม
ยาต้านฮีสตามีนกลุ่มที่ไม่ทำให้ง่วงนอน ยาต้านฮีสตามีนกลุ่มนี้สามารถใช้รักษาอาการต่างๆได้คล้ายกับกลุ่มดั้งเดิม แต่ยากลุ่มนี้ทำให้ง่วงซึมได้น้อยกว่า
อาการข้างเคียง
ง่วงซึม และอาจมีปวดศีรษะ
มีอาการ Anticholinergic effects คือ ปากแห้ง คอแห้ง ตาแห้ง รูม่านตาขยาย มึนงง ใจสั่น กระเพาะปัสสาวะไม่บีบตัว ทำให้ไม่สามารถขับปัสสาวะได้ตามปกติ
ข้อบ่งใช้
ใช้เป็นยาที่ทำให้สงบ และหลับได้
ใช้เป็นยาแก้คลื่นไส้
ใช้เป็นยาแก้แพ้ ทั้งที่มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ เยื่อบุตาอักเสบและผื่นแพ้ที่ผิวหนัง
ฤทธิ์ทางเภสัช
ยับยั้งการขยายตัวของผนังหลอดเลือด ลดอาการบวม แดง ร้อน
ลดอาการปวด
ทำให้หายใจสะดวก
ลดน้ำมูก และเสมหะ
ฤทธิ์ของ histamine เมื่อจับกับ histamine H1 receptor
ทำให้หลอดลมตีบ
มีน้ำมูก เสมหะมาก
ทำให้ความดันโลหิตสูง มีอาการบวม เกิดอาการคัดแน่นจมูก และทางเดินหายใจ
กลไกการออกฤทธิ์ แย่งจับกับ histamine H1 receptor แบบแข่งขัน
ข้อห้ามใช้
ผู้ป่วยโรคต้อหิน
ผู้ป่วยโรคต่อมลูกหมากโต
ยาขยายหลอดลม
Isoproterenol
มีฤทธิ์ต่อ เบต้า รีเซปเตอร์ มากกว่า อัลฟ่า รีเซปเตอร์
ให้ทางปากไม่ได้ ถูกทำลายโดย enzyme COMT .o9y[c]t sulfokinase ที่ลำไส้และตับ
ให้ทาง IV, พ่นผ่านเครื่อง Neubulizer, อมใต้ลิ้น
S/E : หน้าร้อนแดง, ปวดหัว, หัวใจเต้นเร็ว
Aminophylline
ใช้ขยายหลอดลม ทั้งในผู้ป่วยหอบหืดและ COPD
Theophylline มีการใช้ในเด็กทารกมาก
มีผลเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของกระบังลม ให้หดตัวได้ดีขึ้นและลดการอ่อนล้า ต่อต้านการอักเสบและลดผลต่อปฏิกิริยาภูมิคุ้มกัน
อาการไม่พึงประสงค์
กระวนกระวาย ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว
Epinephrine
ยาไม่ดูดซึมในทางเดินอาหาร จึงต้องให้ทาง Sc. หรือ IV หรือพ่นผ่านเครื่อง Neubulizer
ใช้ในกรณี หอบหืดเฉียบพลัน
ทำให้หลอดลมคลายตัวและทำให้หลอดเลือดหดตัว, ช่วยลด Lung resistance, ลดการสร้างเสมหะ และกระตุ้นการหายใจ
อาการข้างเคียง
หัวใจเต้นเร็ว กระวนกระวาย เครียด
กลไกการออกฤทธิ์ จับกับอัลฟ่าและเบต้า รีเซปเตอร์
ยาละลายเสมหะ
Bromhexine
ออกฤทธิ์โดยเพิ่ม lysosome activity ซึ่งทำให้มีการเพิ่ม secretionของ enzyme ทำให้มีความเหลวเพิ่มขึ้น
อาการไม่พึงประสงค์
ระคายเคืองทางเดินอาหาร
อาจมีการเพิ่มระดับของ serum transaminase
Acetylcysteine
ใช้ละลายเสมหะ แก้พิษ Paracetamol
ออกฤทธิ์ไปทำลาย bond ของ mucoprotein complex ของเสมหะ
ผลข้างเคียง
หลอดลมหดเกร็ง
อาเจียน
คลื่นไส้
Carbocysteine
Ambroxol
Antitussive
Narcotic antitussive
Brown mixture (ยาแก้ไอน้ำดำ)
ออกฤทธิ์กดศูนย์การไอที่ Mudulla
มีฤทธิ์ระงับการไอ ทำให้ชุ่มคอ เหมาะสำหรับการไอแบบแห้งๆหรือไอระคายคอ เช่น ไอหวัด แพ้อากาศเจ็บคอ คันคอ ไม่เหมาะที่จะใช้กับการไอแบบมีเสมหะข้นเหนียว
มีส่วนผสมที่เป็นอัลคาลอยด์ ที่ได้จากฝิ่น
ดูดซึมทาง GI ได้ดี และเปลี่ยนแปลงที่ตับ ขับออกทางไต
Codeine
ผลิตมาจากฝิ่น ซึ่งเป็นน้ำยางที่กรีดได้จากผลฝิ่น
ออกฤทธิ์กดศูนย์ควบคุมการไอในสมอง และปิดกั้นความรู้สึกเจ็บปวด
โคเดอีน จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2
ยาแก้ไอที่มีโคเดอีนเป็นส่วนผสม จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 3 ห้ามไม่ให้มีการส่งเข้าออก หรือจำหน่าย นอกจากได้รับอนุญาตจาก อย.
Non-Narcotic antitussive
Dextromethorphan
เป็นอนุพันธ์ของ Codeine
ออกฤทธิ์กดศูนย์การไอที่ Mudulla มีฤทธิ์ระงับการไอ แต่ไม่แก้ปวด
ผลข้างเคียงที่พบบ่อย
ง่วงซึม อาจทำให้เกิดความสับสน
มีผื่นแดงตามผิวหนัง
คลื่นไส้ อาเจียนและระคายเคืองกระเพาะอาหาร
มีฤทธิ์ระงับการไอ ไม่ควรใช้เมื่อมีเสมหะมาก
ห้าใช้ยาในเด็กทีมีอายุต่ำกว่า 4 ปี
Diphenhydramine
ยาขับเสมหะ
เป็นยาที่จะช่วยให้เสมหะมีความเหลวมากขึ้น กระตุ้นให้มีน้ำหลั่งจากทางเดินหายใจมากขึ้น และเมื่อมีอาการไอจะถูกขับออกมาได้ง่ายขึ้น
Ammonium carbonate
ในประเทศไทยมีรูปแบบการจัดจำหน่ายเป็นยาน้ำชนิดรับประทานที่ผสมร่วมกับยาอื่น
ยาขับเสมหะ
อาการข้างเคียง
ถ้ารับประทานยาขนาดสูงถึง 6-8 กรัม/วัน จะทำให้เกิด metabolic acidosis, mental confusion, hypokalemia
ระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้คลื่นไส้ อาเจียน
ห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคตับ และไต
Guaiphenesin
นิยมใช้ร่วมกับยาแก้ไอ เพื่อช่วยในการขับเสมหะที่เป็นสาเหตุของการไอ เช่น ยาแก้ไอน้ำดำ สูตรผสม
อาจใช้ยาร่วมกับยาขยายหลอดลม เช่น Bricanyl Expectorant
กลไกการขับเสมหะ
กระตุ้นการหลั่งของเหลว
เพิ่มการพัดโบกของ Cilia
ทำให้ไอ ขับเสมหะ
ยาบรรเทาอาการคัดจมูก
Pseudoephedrine
ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทซิมพาเธติก จึงมีฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดที่มาเลี้ยงเนื้อเยื่อในโพรงจมูกที่มีอาการบวมหดตัว และลดอาการแน่นจมูก
อาการข้างเคียง
ใจสั่น พักไม่ได้ ปวดท้อง ในเด็กพบว่า มีอาการหงุดหงิด ขี้โมโห ก้าวร้าว
จัดอยู่ในกลุ่มยาเสพติด ต้องสั่งโดยแพทย์
Desoxyephedrine
เป็นยากลุ่มเดียวกันกับ Pseudoephedrine
เป็นยาภายนอก จะรู้สึกแสบในจมูก เยื่อบุจมูกแห้ง ปวดศีรษะ
ผู้ป่วยอาจจะมีอาการคัดจมูกมากขึ้นกว่าเดิม ควรใช้ยาประเภทนี้ในระยะที่มีอาการมากและในเวลาอันสั้นเท่านั้น