Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Ca Invasive Ductal Carcinoma Lt breast - Coggle Diagram
Ca Invasive Ductal Carcinoma Lt breast
กรณีศึกษา
อาการสำคัญ
เป็นก้อนที่เต้านมด้านซ้าย-เดือน
ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน
มีก้อนที่เต้านมซ้าย เดือน มีนาคม2565 มาพบแพทย์ตัดก้อนไปตรวจ พบเป็น Invasive Ductal carcinoma แพทย์แนะนำให้ผ่าตัดและรักษาต่อ
Lt CA breast
อาการและอาการแสดงของมะเร็งเต้านม
ได้เเก่
1.คลำได้ก้อนแข็งในเต้านม
2.มีความเปลี่ยนแปลงของลักษณะผิวเต้านม มีก้อนขรุขระ ผิวหนังแข็ง
3.ลักษณะของผิวเต้านมเห็นรอยรูขุมขนชัดขึ้น ซึ่งทำให้ดูคล้ายลักษณะของผิวส้มซึ่งเกิดจากมีเซลล์มะเร็งอยู่ใต้ชั้นผิวหนังในบริเวณหลอดนํ้าเหลือง
4.มีรอยบุ๋มของผิวหนังบริเวณเต้านม
5.หัวนมบุ๋ม
6.มีรอยเย็บจากการส่งชิ้นเนื้อตรวจที่หัวนมด้านซ้าย
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยมะเร็งเต้านม
การวินิจฉัยเบื้องต้น
การตรวจทางรังสีวิทยาและการเจาะชิ้นเนื้อส่งตรวจ เดือนมีนาคม 65 ตรวจพบก้อนที่เต้านมด้านซ้าย Lf CA breast ระยะที่1
การรักษา
ผ่าตัดเต้านมเอาก้อนมะเร็งออก
หลังจากทราบผลชิ้นเนื้อแล้ว แพทย์จะวางแผนรักษาร่วมกับผู้ป่วยเพื่อให้เกิดความเข้าใจในแผนการรักษา ร่วมกันตัดสินใจเลือกแผนการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยต่อไป ซึ่งแนวทางการรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบันได้เเก่การผ่าตัด
การพยาบาล
ก่อนเเละหลังผ่าตัด
การเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
1เยี่ยมผู้ป่วยก่อนทำการผ่าตัด1วัน เเนะนำการเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
-เตรียมพร้อมด้านจิตใจของผู้ป่วย
-งดน้ำงดอาหารหลัง00.00น
-ทำความสะอาดร่างกาย
-โกนขนรักเเร้ข้างที่ผ่าตัดเต้านม
-ไม่ทาโคโลน
-ถอดฟันปลอม เเละเครื่องประดับทุกชนิดหรือของมีค่าก่อนผ่าตัด
การดูเเลผู้ป่วยหลังผ่าตัด
นอนศีรษะสูง 45องศา
2.ห้ามผ้าปิดแผลเปียกน้ำ หากมีเลือดซึมต้องแจ้งพยาบาล
เมื่อปวดเเผลจะให้ยาฉีดแก้ปวดทางIV หรือยาแก้ปวดรับประทานทุก 4-6 ชม ตามคำสั่งเเพทย์
4.แผลผ่าตัดจะมีสายท่อระบายน้ำออกจากแผล ต้องดูแลไม่ให้หักพับ งอ หรือเลื่อนหลุดจากตำแหน่งเดิม และดูการทำงานของสายหรือท่อระบายให้ทำงานอยู่เสมอ วางขวดระบายให้ต่ำกว่าแผล
สังเกตภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดเช่นแผลบวมแดง ปวดมากขึ้นมีไข้ แขนบวมข้อไหล่ติด
บริหารร่างกายตามคำแนะนำของพยาบาลเพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกายและป้องกันข้อไหล่ติด
รับประทานอาหารให้ครบ5หมู่ ได้แก่ ข้าว เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ และน้ำเป็นหัวใจสำคัญช่วยในการหายของแผล
พยาธิสรีรภาพ
มะเร็งเต้านมมักเกิดที่เนื้อเยื่อของท่อต่อมน้ำนม ที่พบมากจะเป็นชนิด
Adenocarcinoma หากก้อนมะเร็งที่เต้านมมีขนาดใหญ่กว่า 5 มิลลิเมตร ซึ่ง
จะมีการลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองและกระแสเลือด มักพบก้อนมะเร็งบริเวณด้านบน
ส่วนนอก (Upper outer quadrant) ซึ่งมักจะแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณ
รักแร้ หากเป็นบริเวณด้านในของเต้านมมักแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองใน
ทรวงอก ปอด กระดูก ตับ นอกจากนี้อาจพบบริเวณใต้หัวนมและรอบหัวนม พบที่
เต้านมด้านช้ายมากกว่าด้านขวา เมื่อมีการแพร่กระจายไปที่อื่นจะทำให้การ
พยากรณ์โรคไม่ดี หากพบเซลล์มะเร็งในต่อมน้ำเหลืองมากพยากรณ์โรคจะเลวลง
สาเหตุของมะเร็งเต้านม
1.ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ คือ มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม ยิ่งถ้ามีญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านมก็ยิ่งเสี่ยงเพิ่มขึ้น ผู้หญิงที่มีแม่ น้องสาว พี่สาว หรือบุตรเป็นมะเร็งเต้านมก่อนอายุ 50 ควรต้องได้รับการตรวจเช็คมะเร็งเต้านม
2.อายุ เมื่ออายุเพิ่มขึ้นก็มีโอกาสที่จะมีความผิดปกติของยีนในเซลล์เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดมะเร็งได้
3.มีประจำเดือนอายุน้อย (น้อยกว่า 12 ปี) หรือหมดประจำเดือนช้า (มากกว่าอายุ 50 ปี) ทำให้ร่างกายสัมผัสกับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนนานกว่าผู้หญิงปกติ
4.เพศ ผู้ชายอาจเป็นมะเร็งเต้านมได้แต่น้อยกว่าผู้หญิงมาก ผู้หญิงมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้ชายถึง 100 เท่า
5.เต้านมมีเนื้อเยื่อแน่น หมายถึง มีต่อมนํ้านมมากกว่าผู้หญิงทั่วไปทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น และอีกนัยหนึ่ง คือ ทำให้แพทย์พบความผิดปกติได้ยากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการตรวจเต้านมหรือการใช้เครื่องมือช่วยวินิจฉัย
6.ประวัติดื่มเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ เหล้าเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งเต้านม ผู้หญิงที่ดื่มมากกว่า2-5 แก้วต่อวัน มีความเสี่ยงสูงกว่าผู้หญิงที่ไม่ดื่ม 1.5 เท่า
7.อ้วน ความอ้วนนอกจากจะทำให้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ เบาหวานเท่านั้น ยังทำให้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น
อาการ
:
ระยะแรกจะไม่มีอาการ อาจพบว่ามีก้อนที่เต้านมซึ่งมีลักษณะแข็ง กลม เคลื่อนไหว
ได้น้อย บริเวณรอบๆ ก้อนอาจมีลักษณะนุ่มคล้ายฟองน้ำ แต่มีขอบเขตชัดเจนหรือ
มีลักษณะขรุขระ อาจตรวจพบด้วยตนเอง อาจมีผื่นบริเวณผิวหนังหรือมีการอักเสบ
อาจเป็นแผลถลอกบริเวณหัวนมและรอบหัวนม อาจมีอาการบวมอักเสบแดงของ
ผิวหนังหรือมีผิวหนังหยาบคล้ายผิวสัมและผิวหนังบุ๋ม หากมีอาการมากขึ้นบริเวณ
ผิวหนังเต้านมจะมีรอยบุ๋ม หัวนมหด รูปร่างเต้านมผิดปกติ มีเลือดซึมออกมา
จากหัวนม อาจมีอาการแสบ เสี่ยว ปวด์ กดเจ็บ เต้านม 2 ข้างไม่เท่ากัน
โดยข้างที่เป็นมะเร็งมักจะสูงกว่า อาจพบก้อนที่รักแร้ หากมีการแพร่กระจายไปยัง
อวัยวะอื่นจะมีอาการผิดปกติตามอวัยวะนั้นๆ เช่น หากไปที่ปอดจะมีอาการหายใจ
ลำบาก หากไปที่กระดูกจะมีอาการปวดกระดูก เป็นต้น
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งเต้านม
จากประวัติเกี่ยวกับความผิดปกติของรูปร่างและผิวหนังของเต้านม จากปัจจัย
เสี่ยงและอาการดังกลำว จากการคลำเต้านมของตนเอง หรือ Self breast
examination (SBE) พบก้อนที่เคลื่อนไหวไม่ได้หรือติดแน่นกับทรวงอก ตรวจ
เลือดหา CA 15-3 จะพบมีค่าสูงขึ้น จากการตรวจแมมโมแกรม (Mammogram)
หรือการถ่ายภาพวังสีของเต้านม (Mammography) การทำอัลตราชาวนด์ และตัด
ชิ้นเนื้อไปตรวจ โดยเจาะตูดด้วยเข็มเล็ก (Fine needle) การเจาะดูด (Aspiration
incision) การตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ (Excision biopsy) อาจใช้เทคโนโลยีสนาม
แม่เหล็กไฟฟ้าถ่ายเต้านม (MRI)
การรักษา
การรักษา
รักษาโดยการตัดเฉพาะก้อนออกและดามด้วยการฉายรังสีเฉพาะที่บริเวณเต้านม
ส่วนที่เหลือและวักแวั ตัดเนื้อบริเวณที่มีก้อนโดยเฉพาะเนื้อเยื่อใกล้เคียงออกและ
ฉายรังสีร่วมด้วย หากก้อนมีขนาดใหญ่และมีการลุกลามอาจต้องตัดเต้า
ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ และกล้ามเนื้อ Pectoris major เรียกว่า Modified radi
ctomy หากตัดกล้ามเนื้อ Pectoris minor เรียก Radical mast
หากตรวจพบก้อนที่เต้านมตั้งแต่มีขนาดเล็ก อาจตัดเฉพาะก้อนและเนื้อเยื่อข้าง
ออกบ้างโดยที่เต้านม ยังคงรูปเดิม (Lumpectomy) โดยต้องฉายรังสีตาม หรือ
ตัดแต่เพียงเต้านมข้างนั้นออก (Total หรือ Simple mastectomy) บางราย
อาจให้ยาต้านเอสโตรเจน และตัดรังไข่ ต่อมหมวกไต รวมทั้งต่อมใต้สมะอง
รายอาจให้ยาเคมีบำบัดเป็นยาต้านเซลล์มะเร็งหรืออาจให้รังสีรักษาร่วมด้วย
การพยาบาล
การพยาบาล ดูแลความสะอาดของผิวหนังบริเวณเต้านมด้วยการล้างน้ำสบู่ ซับเบาๆ ให้แห้ง
หากมีอาการปวดให้ยาแก้ปวด แนะนำผู้ป่วยไม่ให้แตะต้องผิวหนังบริเวณเต้านม
บ่อยๆ และดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเต้านมโดยดูแลก่อนผ่าตัด ดูแลความสะอาด
บริเวณผิวหนัง บริเวณหน้าอกและรักแร้ อาจโกนขนด้วยหากมีขนมาก ให้คำแนะนำ
เกี่ยวกับการบริหารแขนหลังผ่าตัด การตรวจเต้านมด้วยตนเองหลังผ่าตัด สังเกต
และบันทึกสัญญาณชีพ ความปวด ลักษณะแผล สี ปริมาณสิ่งขับหลั่งและเลือด
จากแผลผ่าตัด จัดท่าให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สุขสบาย กระตุ้นให้ใช้แขนข้างที่ทำผ่าตัด
เช่น หวีผม เป็นต้น ทำแผล ให้ยาแก้ปวด สังเกตความผิดปกติของแผล ดูแล
ท่อระบายทรวงอกให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ในรายที่ได้รับรังสีรักษา ดูแลการ
จัดท่าขณะฉายรังสีและติดตามดูความผิดปกติของผิวหนังที่ได้รับรังสี ดูแลผู้ป่วย
ที่ได้รับเคมีบำบัด โดยฉีดยาช้าๆ ระวังการรั่วของยาออกจากหลอดเลือดดำ สังเกต
และแก้ไขอาการข้างเคียงของยา ให้การพยาบาลเพื่อลดความวิตกกังวล และ
เกี่ยวกับการสูญเสียภาพลักษณ์ โดยแนะนำแหล่งบริการการทำผ่าตัดเสริมเต้านม
การใช้อุปกรณ์เสริม เช่น เสื้อยกทรงที่มีเต้านมเทียม วิกผมหากมีผมร่วง เป็นต้น
และฟื้นฟูสมรรถภาพโดยใช้แขนข้างที่ทำผ่าตัดในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น
หวีผม ติดกระดุมเสื้อ รับประทานอาหาร แปรงฟัน เป็นต้น หลังผ่าตัด 24 ชั่วโมง
งดการใช้แขนข้างที่ผ่าตัดยกของหนัก งดวัดความดันเลือด ควรยกแขนข้างที่
ทำผ่าตัดให้สูงอยู่เสมอใส่เสื้อยกทรงเสริมหรือใส่เต้านมเทียม หลังจากแผลผ่าตัด
หายดีแล้วประมาณ 6-10 สัปดาห์ แนะนำให้ผู้ป่วยตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน
ลดความไม่สุขสบาย ความวิตกกังวล ความเศร้าเสียใจ ป้องกันความพิการของแขน
และการติดเชื้อ