Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Learning disorder - Coggle Diagram
Learning disorder
-
การรักษา
การศึกษา
การศึกษา แผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Plan: IEP) คือเทคนิคการสอนและการใช้สื่อการสอนที่เน้นพัฒนาทักษะด้านที่บกพร่องของผู้ป่วยแต่ละคน เช่น การนำหนังสือเสียงมาใช้กับเด็กที่ขาดทักษะทางการอ่าน การจัดกิจกรรมการสอนที่สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก เป็นต้น
ครอบครัว
ควรศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของเด็ก LD ว่าบุตรหลานบกพร่องทักษะชนิดใดและมีอาการผิดปกติอย่างไร เพื่อให้การดูแลได้อย่างเหมาะสม รวมถึงส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง เช่น กระตุ้นให้ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และนอนหลับให้เพียงพอ นอกจากนั้น คนในครอบครัวควรสนับสนุนให้เด็กมีความภูมิใจและมั่นใจในตนเอง หมั่นชื่นชมเมื่อเด็กทำได้ดีแม้เรื่องเล็กน้อย เปลี่ยนจากการตำหนิหรือลงโทษเป็นการอธิบายให้เข้าใจถึงผลเสียของการกระทำที่ไม่ถูกต้อง รวมทั้งคอยสังเกตว่าเด็กมีภาวะซึมเศร้าจากความรู้สึกแปลกแยกหรือไม่มั่นใจในตนเองหรือไม่
การแพทย์
แพทย์อาจแนะนำให้เด็ก LD บางรายรับประทานยาช่วยเพิ่มสมาธิ ทำให้เด็กจดจ่อกับสิ่งที่ทำอยู่ได้นานขึ้น รวมถึงแนะนำยาแก้โรคซึมเศร้าให้เด็กที่มีภาวะซึมเศร้าหรือวิตกกังวล
-
การวินิจฉัยเด็ก LD
พ่อแม่หรือคนใกล้ชิดมักพบสัญญาณของความบกพร่องทางการเรียนรู้เมื่อเด็กเริ่มเข้าสู่วัยเรียน หากคาดว่าเด็กมีความผิดปกติควรพาไปพบแพทย์
ตรวจดูประวัติการเรียนและพัฒนาการด้านการเรียนรู้แต่ละด้าน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายงานจากครูประจำชั้น และตรวจวัดระดับสติปัญญาเพื่อประกอบการวินิจฉัย
-
ใช้การทดสอบเฉพาะ เช่น คู่มือทดสอบการตอบสนองต่อการให้ความช่วยเหลือ (Response To Intervention: RTI) ซึ่งเป็นการเฝ้าดูพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของเด็กอย่างใกล้ชิด เพื่อระบุชนิดของความผิดปกติและเสนอแนวทางการรักษาที่เหมาะสม
-
ปัญหาการเรียน
-
-
ผลกระทบต่อการเรียน
ถูกคาดหวัง รู้สึกกดดันท่ีบ้าน เนื่องจากพ่อแมไมีมีความรู้ และไม่เข้าใจข้อจำกัดของเด็กในด้านการเรียน พ่อแม่ครู ไม่เข้าใจ ไปดุ ว่า ตาหนิ เคี่ยวเข็ญ ทำให้น้อยใจ เสียใจ มี พฤตกิรรมดื้อต่อต้าน ก้าวร้าว หนีเรียนตามมา
มีความสามารถด้านอื่นต่ำเพราะผลการเรียนไม่ดี พาอแม่จะเคี่ยวเข็ญในเรื่องการเรียนพิเศษเพิ่มขึ้น ขาดโอกาสทำกิจกรรมและเล่น
สัมพันธภาพกับครูไม่ดี คุณครูไม่เข้าใจหรือไม่ยอมรับ ความบกพร่องของเด็กจึงสอนและจัดสอบด้วยวิธีการ ปกติเมื่อผลงานการเรียนรู้ความเข้าใจผลสอบไม่ เป็นไปตามท่ีคาดหวัง ทำใหคุณครู ดุ ว่า ตาหนิ เคี่ยวเข็ญหรือไม่ให้ความสนใจปล่อยปละละเลย
-
-
-
-
ความหมาย
LD ย่อมาจากคำว่า learning disorder หรือในภาษาไทยใช้ชื่อว่า โรคการเรียนรู้บกพร่อง เป็นความผิดปกติของกระบวนการเรียนรู้ที่แสดงออกทางด้านการอ่าน การเขียนสะกดคำ การคำนวณและเหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ทำให้ผลการเรียนของเด็กต่ำกว่าศักยภาพที่แท้จริง โดยที่เด็กมีสติปัญญาอยู่ในระดับปกติและมีความสามารถด้านอื่นๆปกติดี
อาการและอาการแสดง
กลุ่มอาการบกพร่องทางการเรียนรู้แบ่งเป็นหลายชนิดตามความบกพร่องทางทักษะด้านต่าง ๆ ส่งผลให้เด็ก LD แสดงอาการผิดปกติแตกต่างกันไป ดังนี้
ความบกพร่องด้านการเคลื่อนไหว (Dyspraxia) คือความบกพร่องของทักษะการเคลื่อนไหวและการประสานงานระหว่างสมองกับอวัยวะเป้าหมาย เด็กอาจใช้งานช้อนส้อมหรือดินสอลำบาก ผูกเชือกรองเท้าด้วยตนเองไม่ได้ พูดติดขัด เคลื่อนไหวลูกตาลำบาก ร่างกายไวต่อแสง การสัมผัส รสชาติ หรือกลิ่น เป็นต้น
ความบกพร่องด้านการคำนวน (Dyscalculia) คือความบกพร่องของทักษะทางคณิตศาสตร์ เด็กอาจจดจำตัวเลข ตารางสูตรคูณ นับเลข หรือแก้โจทย์ปัญหาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ได้ช้าหรือทำไม่ได้เลย
ความบกพร่องด้านการเขียน (Dysgraphia) อาจมีปัญหาด้านการเขียนหนังสือ การสะกดคำ และไม่สามารถคิดและเขียนไปพร้อมกันได้
ความบกพร่องด้านการใช้ภาษา (Dyslexia) คือความบกพร่องของทักษะการตีความภาษา ส่งผลให้มีปัญหาในการอ่านหรือการเขียน เด็กอาจอ่านหนังสือไม่ได้หรืออ่านได้ช้า จับใจความเรื่องที่อ่านไม่ได้ หรือไม่สามารถสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจผ่านการเขียนหรือการพูด
ความบกพร่องด้านการฟัง เด็กได้ยินเสียงเป็นปกติแต่ไม่สามารถตีความได้ ส่งผลให้อาจมีปัญหาในการอ่าน แยกแยะเสียงไม่ได้ จดจำคำพูดไม่ได้ หรือไม่ปฏิบัติตามสิ่งที่ได้ยิน
: ความบกพร่องด้านการมองเห็น เด็กอาจขาดทักษะในการตีความข้อมูลภาพ ทำให้แยกแยะความแตกต่างระหว่างสิ่งของ 2 สิ่งไม่ได้หรือทำได้ช้า หรือตากับมือเคลื่อนไหวไม่สัมพันธ์กัน
-
-