Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่10การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะแทรกซ้อน ในระยะหลังคลอด …
บทที่10การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะแทรกซ้อน
ในระยะหลังคลอด
การบาดเจ็บจากการคลอด(Birth injuries)
เส้นประสาทส่วนปลายบาดเจ็บจากการคลอด
เส้นประสาทที่มาเลี้ยงใบหน้าบาดเจ็บ
อัมพาตที่แขน
ความหมาย
เส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ได้รับบาดเจ็บจากการถูกกดในระหว่างที่ศีรษะผ่านหนทางคลอด/ถูกกดจากการใช้คีมช่วยคลอด (forceps extraction)
สาเหตุ
ได้รับบาดเจ็บจากการคลอดโดยเฉพาะในรายที่คลอดยาก
พยาธิสภาพ
มารดาคลอดยาก/ทารกได้รับบาดเจ็บจากการคลอด เนื้อเยื่อเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ของใบหน้าทารกถูกทำลาย กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า/รอบดวงตาทำงานผิดปกติรุนแรง อัมพาต
ภาวะแทรกซ้อน
ในรายที่มีอาการรุนแรง ไม่สามารถปิดตาได้ กระจกตาเป็นแผล (corneal ulcer) ที่ตาข้างที่กล้ามเนื้อเป็นอัมพาต
อาการและอาการแสดง
กล้ามเนื้อใบหน้าข้างที่เส้นประสาทเป็นอัมพาตจะอ่อนแรง ไม่สามารถเคลื่อนไหวหน้าผากให้ย่นได้ ปิดตาไม่ได้ มุมปากเบี้ยวเมื่อร้องไห้ ปากข้างที่เป็นเคลื่อนไหวไม่ได้
กล้ามเนื้อจมูกแบนราบ ใบหน้าสองข้างไม่สมมาตรกัน
การรักษา
ไม่มีการรักษาเฉพาะ หายไปได้เอง
ใช้น้ำตาเทียม : ป้องกันจอตาถูกทำลาย
การพยากรณ์โรค
ถ้าเส้นประสาทถูกทำลายไม่มากจะ
หายไปเอง อาจใช้เวลา 2-3 วัน/หลายเดือน
ถ้าถูกทำลายมาก ใบหน้าเป็นอัมพาตอย่างถาวร
การพยาบาล
ภาวะเสี่ยงต่อการสำลัก : กล้ามเนื้อใบหน้าเป็นอัมพาต1. การให้นมมารดา
อุ้มทารกให้ศีรษะสูงตลอดเวลาที่ให้นม
ถ้าสำลักให้จับตะแคงหน้าทันทีทำทางเดินหายใจให้โล่ง : ใช้ลูกสูบยางแดงดูดออก
ถ้าทารกดูดนมจากเต้าไม่ได้ บีบ
น้ำนมใส่ขวด
การให้นมผสม
รูจุกนมต้องมีขนาดเหมาะสมกับวัยทารก
อุ้มทารกศีรษะสูงขณะให้นม
ถ้าสำลักให้จับทารกตะแคงหน้าทันที
ทำทางเดินหายใจให้โล่ง
การให้นมผสม(ต่อ)
เตรียมอุปกรณ์ดูดเสมหะให้พร้อมใช้
ถ้าทารกดูดนมจากขวดไม่ได้ ให้ใช้
Medicine dropper/syringe หยอดบริเวณกระพุ้งแก้มข้างที่ไม่มีอาการ
ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่จอตา
หยอดตาทารกด้วยน้ำตาเทียม : ป้องกันตาแห้ง
ปิด/เปิดตาทารกเป็นระยะๆ สังเกตการแห้ง/เป็นแผล
สังเกต discharge
ภาวะก้อนโนเลือดที่ศีรษะ(cephal hematoma)
ความหมาย
ภาวะที่มีเลือดคั่งของเลือดบริเวณใต้เยื่อหุ้มกะโหลกศีรษะ มีขอบเขตชัดเจน ก้อนโนเลือดที่เกิดขึ้นจะเกิดบนกระดูกกะโหลกศีรษะเพียงชิ้นเดียวและไม่ข้ามรอยต่อกระดูกกะโหลกศีรษะ
พบมากบนกระดูก parietal
สาเหตุ
เกิดจากระยะเวลาการคลอดยาวนาน ศีรษะ ทารกถูกกดจากช่องทางคลอด หรือการใช้เครื่องสุญญากาศช่วยคลอด หลอดเลือดฝอยบริเวณเยื่อหุ้มกระดูกกะโหลกศีรษะทารกฉีกขาด เลือดซึมออกมา
นอกหลอดเลือดใต้ชั้นเยื่อกระดูกกะโหลก
ศีรษะ
การวินิจฉัย
จากการซักประวัติ : การคลอดของมารดา ก้อนบวมโนของทารกตั้งแต่แรกเกิด
การตรวจร่างกาย : ศีรษะทารกแรกเกิด
อาการและอาการแสดง
ปรากฏชัดเจนภายใน 24 ชม. หลังเกิด
เลือดจะค่อยๆซึมออกนอกหลอดเลือด
ลักษณะการบวมมีขอบเขตชัดเจนบน
กระดูกกะโหลกศีรษะชิ้นใดชิ้นหนึ่ง
รายที่มีอาการรุนแรง พบทันทีหลังเกิด / ก้อนโนเลือดมีสีผิดปกติ (ดำ/น้ำเงินคล้ำ) จากการแข็งตัวของเลือด
การรักษา
-ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อน ก้อนโนเลือดจะค่อยๆหายไปเอง
ถ้ามีภาวะตัวเหลือง/ระดับบิลิรูบินในเลือดสูง ส่องไฟ (photo therapy)
รายที่ก้อนเลือดมีขนาดใหญ่ ดูดเลือดออก
การประเมินภาวะสุขภาพ
ซักประวัติ
ตรวจร่างกาย : พบก้อนบวมโนบนกระดูกกะโหลกศีรษะชิ้นใดชิ้นหนึ่ง มีลักษณะแข็ง ไม่เคลื่อนไหว หลังเกิดหลายชั่วโมงก้อนอาจมีขนาดโตขึ้น อาจพบตัว/ตา เหลือง ร่วมด้วย
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจความเข้มข้นของเลือด
ตรวจระดับบิลิรูบิน
การพยาบาล
จัดท่าให้ทารกนอนทับข้างที่เป็นเพื่อให้เกิดแรงกดบริเวณก้อนโนเลือด เลือดที่ซึมออกมาหยุด
สังเกตภาวะตัวเหลือง -- เพิ่มมากขึ้นรายงานแพทย์
ติดตามผลของระดับบิลิรูบิน และเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์การส่องไฟ
ถ้ามีการส่องไฟ ให้การพยาบาลทารกที่มีอาการตัวเหลือง/การส่องไฟ
ป้องกันการระคายเคืองผิวหนังบริเวณรอบๆก้อนโน 6.ทำความสะอาดผิวหนังรอบๆก้อนโนด้วย
0.9% NSS
สังเกตการติดเชื้อบริเวณผิวหนังรอบๆ
ก้อนโน จากอาการ ปวด บวม แดง ร้อน
วัด T ทุก 4 ชม. รายงานแพทย์
ภาวะอัมพาตที่แขน (brachial plexus palsy)
ความหมาย
เส้นประสาทที่มาเลี้ยงแขนได้รับบาดเจ็บจากการคลอด ทำให้เกิดอัมพาตของแขนส่วนบน (upper arm) อาจไม่มี/พบร่วมกับอัมพาตของแขนส่วนปลาย (forearm) /มือ/ทั้งแขน
สาเหตุ
เกิดจากการทำคลอดไหล่ที่รุนแรง/ผิดวิธี
การทำคลอดท่าศีรษะ
เหยียดศีรษะ/คอของทารกอย่างรุนแรง
การทำคลอดท่าก้น
ทำคลอดแขนอยู่เหนือศีรษะ
พยาธิสรีรภาพ
การทำคลอดไหล่ที่รุนแรง/ผิดวิธี ทำให้เส้นประสาทที่มาเลี้ยงแขนได้รับบาดเจ็บ แบ่งเป็น 3 ชนิด
1.Erb-Duchenne paralysis
2.Klumpke’s paralysis
3.Combined/Total brachial plexus injury
อาการและอาการแสดง
แขนข้างที่ได้รับบาดเจ็บอ่อนแรงทั้งแขน ไม่สามารถขยับ/ยกแขนพ้นที่นอน ต้นแขนอยู่ในท่าชิดลำตัว บิดเข้าด้านใน ข้อศอกเหยียด แขนส่วนล่างอยู่ในท่าคว่ำ ข้อมืองอ ไม่มี moro reflex, biceps/radial reflex แต่มี grasp r.
การรักษา
ให้เริ่มทำ passive movement เมื่อเส้น ประสาทยุบบวม (รอให้ทารกอายุ 7-10 วัน)
ให้แขนอยู่นิ่ง/ยึดแขนไว้ในท่าหัวไหล่ทำมุม 90 องศากับลำตัว หมุนแขนออกด้านนอก แขนส่วนล่างอยู่ในท่าหงายและฝ่ามือหันเข้าหาใบหน้า ป้องกันหัวไหล่ติดโดยเว้นระยะช่วงที่ทารกหลับ/ระหว่างให้นม
ถ้าทารกมีอัมพาตของแขนส่วนล่าง/มือ ให้ดามแขนส่วนนั้นในท่าปกติ กำผ้านุ่มๆไว้
ถ้าเป็นอัมพาตทั้งแขนให้รักษาเช่นเดียวกัน แต่ควรนวดเบาๆ/ออกกำลังแขน
การพยากรณ์โรค
จะดี/ไม่ดี ขึ้นอยู่กับการถูกทำลายของเส้นประสาท
ถ้าอัมพาตเกิดจากการบวม/มีก้อนโนเลือดกดทับ จะหายภายใน 2-3 เดือน
ถ้าอาการไม่ดีขึ้นภายใน 6 เดือน พิการถาวร/กล้ามเนื้อแขนลีบ
การประเมินภาวะสุขภาพ
ซักประวัติ
ตรวจร่างกาย : พบทารกยกแขนได้ข้าง
เดียว ไม่มีอาการบวม แดง บริเวณไหล่ คลำแขนไม่มีกระดูกหัก และทดสอบ reflex
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ : x-ray
การพยาบาล
ป้องกันการเกิดอัมพาตอย่างถาวร
จัดให้ทารกนอนในท่าให้แขนอยู่นิ่ง ยึดแขนไว้ในท่าหัวไหล่ทำมุม 90 องศากับลำตัว หมุนแขนออกด้านนอก แขนส่วนล่างอยู่ในท่าหงาย และฝ่ามือหันเข้าหาใบหน้า
ป้องกันหัวไหล่ติด
ถ้ามีอัมพาตของแขนส่วนล่าง/มือ ดูแลแขนที่ดามไว้ กำผ้านุ่ม นวดแขนเบาๆ ออกกำลังแขนทารกด้วยความนุ่มนวล
ภาวะก้อนบวมโนที่ศีรษะ(caput succedaneum)
ความหมาย
ภาวะก้อนบวมโนที่เกิดจากการคั่งของของเหลวระหว่างชั้นหนังศีรษะกับชั้นเยื่อหุ้มกระดูกกะโหลกศีรษะ ก้อนบวมโนจะข้ามรอยต่อของกระดูก มีขอบเขตไม่แน่นอน
สาเหตุ
เกิดจากแรงดันที่กดลงบนศีรษะทารกระหว่างการคลอด ทำให้มีของเหลวซึมออกมานอกหลอดเลือดในชั้นใต้เยื่อหุ้มหนังศีรษะ หรือเกิดจากการใช้เครื่องสูญญากาศ ช่วยคลอด
การวินิจฉัย
จากการประเมินสภาพร่างกายโดยการคลำศีรษะทารกแรกเกิด พบก้อนโนลักษณะนุ่ม มีขอบเขตไม่ชัดเจนข้ามแนวรอยต่อของกระดูกกะโหลกศีรษะ พบทันทีหลังเกิด
อาการและอาการแสดง
พบที่บริเวณด้านข้างของศีรษะ ลักษณะการบวมจะมีความกว้าง/ขนาดโตประมาณไข่ห่าน ทำให้ศีรษะมีความยาวมากกว่าปกติ
การรักษา
ไม่จำเป็นต้องมีการรักษาแบบเฉพาะเจาะจง จะหายไปเองภายหลังเกิด/
ประมาณ 3 วัน ถึง 2-3 สป.
การวินิจฉัย
การประเมินภาวะสุขภาพ
1.ซักประวัติ
2.ตรวจร่างกาย
การพยาบาล
ให้การพยาบาลด้วยความนุ่มนวล
ถ้าก้อนโนมีขนาดโตขึ้น -- รายงาน
แพทย์
ภาวะเลือดออกใต้เยื่อบุนัยน์ตา(subconjunctival hemorrhage)
ความหมาย
การมีจุดเลือดออกที่ตาขาว (sclera)/
บริเวณรอบๆกระจกตา
สาเหตุ
เกิดจากการที่มารดาคลอดยาก ทำให้ศีรษะทารกถูกกด หลอดเลือดที่เยื่อบุนัยน์ตาแตก ทำให้มีเลือดซึมออกมา
การรักษา
หายไปได้เองโดยไม่ต้องรักษา
อาการจะหายภายใน 2-3 สป.
การพยาบาล
ทำความสะอาดตาทารกด้วย NSS/น้ำต้ม
สุกวันละ 2 ครั้ง
ป้องกันการกระทบกระเทือนที่นัยน์ตา
ทารก
สาธิตการเช็ดตาทารก/ให้มารดาปฏิบัติ
ตาม
นางสาวจิราภรณ์ พุทธจักร รหัส621001401466 เลขที่1