Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระบวนทัศน์รักทางการพยาบาล - Coggle Diagram
กระบวนทัศน์รักทางการพยาบาล
มโนทัศน์พื้นฐานทางการพยาบาล
หมายถึง ความรู้ความคิดความเชื่อในสิ่งที่เป็นพื้นฐานของการพยาบาล
ประกอบด้วยความรู้พื้นฐานของคน สิ่งแวดล้อมสุขภาพและการพยาบาล
มโนติของคน(Man) จะประกอบด้วย
กายหรือร่างกาย
จิตหรือจิตใจ ประกอบด้วย
อารมณ์
จิตวิญญาณ
สติปัญญา
สังคม
2.) คนเป็นระบบเปิด คือ การรับและการให้เกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจและสังคมโดยมีความสัมพันธ์กัน
3.) คนมีความต้องการพื้นฐาน คือ ในแต่ละบุคคลจะมีความต้องการทางด้านร่างกายจิตใจและสังคมตามทฤษฎีของมาชโลว์
4.) คนมีการพัฒนา คือ การพัฒนาของคนอาจจะแบ่งได้เป็นทางด้านร่างกายสติปัญญา อารมณ์ สังคม เเละคุณธรรม
5.) คนมีความต้องการภาวะสมดุลหรือภาวะปกติ คือ ความต้องการภาวะสมดุลความต้องการปรับสู่ภาวะปกติกลไกการปรับสู่ภาวะสมดุล อาจเป็นทั้งระบบอัตโนมัติรู้ตัว
6.) คนมีลักษณะพื้นฐานร่วมกันแต่มีความเป็นปัจเจกบุคคลปัจเจกบุคคล คือ คนแต่ละคนจะมีลักษณะเฉพาะของตนเอง
7.) คนมีสิทธิของตนแต่ละบุคคลไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ในบทบาทใดก็ตามต้นจะมีสิทธิ์แห่งตนตามภาวะที่ดำรงอยู่
8.) คนนี้ศักยภาพในการช่วยเหลือตนเอง
มติของสิ่งแวดล้อม (Environment) ประกอบด้วย
1.) สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ หมายถึง
สิ่งแวดล้อมภายนอกที่ไม่มีชีวิต เช่น
ความร้อน แสง เสียง รังสี อากาศ ดิน น้ำลม เป็นต้น
2.) สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ เช่น แบคทีเรียไวรัส ปรสิต ต้นพืชชนิดต่างๆ รวมถึงสิ่งที่มีชีวิตต่างๆ
3.) สิ่งแวดล้อมทางเคมีได้แก่สารเคมี
ทุกชนิดรวมทั้งอาหารและยาซึ่งอาจมาจากสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้
4.) สิ่งแวดล้อมทางสังคมเศรษฐกิจประกอบด้วยสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม เช่นความเชื่อ ค่านิยมวัฒนธรรม ประเพณี กฎหมาย ศาสนา
มโนมติของสุขภาพ (Health)
ประกอบด้วย
ภาวะสุขภาพดี (Wellness)
สุขภาพขององค์การอนามัยโลก (WHO,1947) หมายถึงสภาวะที่มีความสมบูรณ์ของร่างกายจิตใจ
สุขภาพดีขององค์การอนามัยโลก (WHO,1947) หมายถึง สภาวะที่ร่างกายมีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณโดยปราศจากโรคและความพิการใดใด
เจ็บป่วย (lllness)
หมายถึงสภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลง หน้าที่ปกติทางด้าน ร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ
สุขภาพในความหมายของ ไนติงเกล (Nightingale) หมายถึง สภาวะที่ปราศจากโรคและสามารถใช้พละกำลังของตนเองได้เต็มความสามารถ
มโนมติของการพยาบาล (Nurseing) ประกอบด้วย
1.) การพยาบาลเป็นการพยาบาลเป็น
การช่วยเหลือคนเพื่อให้คนสามารถดำรงภาวะสุขภาพไว้
คำว่ารักษาทางการพยาบาล คือ กิจกรรมที่พยาบาลปฏิบัติในขอบเขตหน้าที่ของตน
2.) การพยาบาลที่จะช่วยเหลือให้คนมีภาวะสุขภาพดีหรือเปล่าสู่ภาวะสุขภาพดีประกอบด้วย
การช่วยเหลือการช่วยเหลือส่งเสริมสุขภาพ
ส่วนใหญ่เป็นการช่วยในการสร้างพฤติกรรมสุขภาพหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
การช่วยเหลือป้องกันโรค
การป้องกันโรคแบ่งออกเป็น 3 ระดับ
ระดับที่1 บุคคลที่อยู่ในกลุ่มสุขภาพดีสุขภาพปกติคนกลุ่มนี้อาจมีพฤติกรรมเสี่ยงอย่างใดอย่างหนึ่งจึงจำเป็นต้องพิจารณาพฤติกรรมการป้องกันโรค
ระดับที่ 2 ส่งเสริมการตรวจพบผู้ป่วยตั้งแต่โรคยังไม่ปรากฏอาการเพื่อให้สามารถรักษาได้ทันท่วงที เช่น ให้ความรู้ประชาชนในการตรวจมะเร็งเต้านม
ระดับที่ 3 สอนให้รู้จักป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำอีก
การช่วยเหลือดูแลรักษา
การดูแลการดูแลรักษาจะมุ่งเน้นการบำบัดพยาบาลจะต้องรู้จักใช้ศิลปะในการติดต่อสื่อสาร การแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง
การช่วยเหลือฟื้นฟูสภาพ
เป็นผู้ให้กำลังใจให้ความหวังชื่นชมและยกย่องผู้ป่วย
3.) การพยาบาลโดยใช้การพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาลในการช่วยเหลือผู้รับบริการ
4.) การพยาบาลเป็นบริการที่จำเป็นต่อสังคมจากบทบาทและวิธีการปฏิบัติของพยาบาลที่มีลักษณะเฉพาะช่วยเหลือผู้บริการทั้งที่เป็นรายบุคคลครอบครัวหรือชุมชน
ทฤษฎีทฤษฎีทางการพยาบาล (Nurseing Theory)
หมายถึง แก่นสาระความรู้ของวิชาชีพพยาบาลซึ่ง มุ่งอธิบายธรรมชาติของคนความเจ็บป่วยของบุคคลโดยมี
เป้าหมายของการพยาบาล
กระบวนทัศน์ (Paradigm) หมายถึง กรอบการมองหรือกรอบเค้าโครงแนวคิดหรือแบบอุดมคติซึ่งจะให้ข้อตกลงเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ
MEYAPARADIGM หมายถึงกรอบขอบเขตหรือโครงสร้างทางความคิดหรือมโนมติในภาพรวมกว้างของศาสตร์สาขาต่างๆ
กรอบแนวคิด หมายถึง กลุ่มมโนทัศน์ที่สัมพันธ์กันเป็นภาพรวมของปรากฏการณ์หรือความจริงที่ช่วยเห็นจุดเน้นของความคิด
โครงสร้างความสัมพันธ์
Meta paradigm
คน
สุขภาพ
สิ่งเเวดล้อม
การพยาบาล
แบบจำลองมโนทัศน์ที่แบบจำลองมโนทัศน์ทฤษฎีการพยาบาลระดับกว้าง
ทฤษฎีของโอเรม
ทฤษฎีของรอย
ทฤษฎีของวัตสัน
ทฤษฎีของนิวแมน
การจำแนกทฤษฎีตามลักษณะการนำไปใช้
1.) ทฤษฎีเชิงนิรนัย (Deductive nursing theories) เป็นการพัฒนาทฤษฎีจากการนำศาสตร์ต่างๆมาสังเคราะห์จากระบบหรือขยายให้เกิดเป็นมโนมติใหม่
2.) ทฤษฎีเชิงอุปนัย (Inductive nursing theories) เป็นการพัฒนาทฤษฎีที่เกิดจากการปฎิบัติการพยาบาลมาประมวลเพื่อสรุปเป็นทฤษฎี
การจำแนกทฤษฎีตามระดับความเป็นนาม
ทฤษฎีอภิทฤษฎี (Meta – theory)
มีเป้าหมายที่กระบวนการสร้างทฤษฎี
จะมีจุดเน้นที่การตั้งคำถามเชิงปรัชญา
ทฤษฎีระดับกว้าง(Grandtheory)กำหนดกรอบแนวคิดหรือแบบจำลองมโนมติครอบคลุมเนื้อหาสาระที่กว้างเนื่องจากมีความเป็นนามธรรมสูงแต่สามารถนำไปปรับเป็นแนวการปฏิบัติได้
ทฤษฎีทฤษฎีระดับกลาง (Middle Rang theory) มีขอบเขตเนื้อหาสาระแคบลงเกิดจากการศึกษาวิจัยสามารถนำไปใช้อ้างอิงและขยายต่อได้
ทฤษฎีระดับปฏิบัติ (Practice theory) มีความซับซ้อนน้อยที่สุดสามารถทดสอบได้ง่ายและนำไปใช้ในการปฎิบัติการพยาบาลได้โดยตรง
พัฒนาการของทฤษฎีของทางการพยาบาล
ระยะก่อนปี ค.ศ. 1960 เป็นยุคที่พัฒนาต่อเนื่องพัฒนาพื้นฐานของทฤษฎีจากแนวคิดจิตวิทยาสังคมวิทยาศาสตร์สุขภาพมนุษย์ศาสตร์และพฤติกรรม
ระยะปีค.ศ. 1960 ถึง 1970 พัฒนากลุ่มปัญหาทางการพยาบาล 21 ปัญหา
กายภาพ + ชีวภาพ + จิตสังคม
ระยะปีค.ศ. 1971 ถึง 1980 ได้มีการสร้างทฤษฎีต่างๆ เช่น
ค.ศ.1971 Dorothea E. Orem สร้างทฤษฎีชื่อ Self - care Theory
ค.ศ.1974 Sister Callista Roy สร้างทฤษฎีชื่อ Roy’s Adaptation model
ค.ศ.1978 Madeleine Leininger สร้างทฤษฎีชื่อ Transcultural nursing Theory
ค.ศ.1978 Jean Watson สร้างทฤษฎี Transpersonal Caring
ค.ศ.1980 Betty Neuman สร้างทฤษฎีชื่อ System Model
ระยะปีค.ศ. 1981 ถึงปัจจุบัน
ระยะแรก เน้นระยะแรกเน้นที่การนำเอาทฤษฎีต่างๆที่ถูกสร้างขึ้นมามาทดลองปฏิบัติ
ระยะหลัง เน้นพัฒนาทฤษฎีขึ้นมาใหม่พัฒนาระบบสาระสนเทศทางการพยาบาลเพื่อเผยแพร่ความรู้