Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่7 กระบวนการทัศน์หลักการพยาบาล - Coggle Diagram
บทที่7 กระบวนการทัศน์หลักการพยาบาล
กระบวนทัศน์หลักทางการพยาบาล
แนวคิดเกี่ยวกับบุคคล ภาวะสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และการพยาบาล
ความหมายของมโนทัศน์พื้นฐานทางการพยาบาล
ความรู้ ความคิด ความเชื่อ ในสิ่งที่เป็นพื้นฐานของการพยาบาล
ประกอบด้วยความรู้พื้นฐานมโนมติของคน สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และการพยาบาล
คน บุคคล มนุษย์ คือคำเดียวกัน
มโนมติของคน (Man)
1.คน ประกอบด้วย
1.1กายหรือร่างกาย ส่วนของโครงสร้างหน้าที่การทำงานของร่างกายของบุคคล
1.2จิตหรือจิตใจ จิตใจของคนมีอยู่ 3 ส่วนย่อย นั่นก็คือ
1.1.1อารมณ์และความรู้สึก
อารมณ์เป็นสิ่งที่ยึดหน่วงจิตใจโดยผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ความรู้สึกจะประกอบไปด้วย ความสุข ความเศร้า รังเกียจ ความกลัว ความแปลกใจ ความโกรธ
1.2.2จิตวิญญาณ (Spirit)
ประสบการณ์ที่สูงขึ้นอีกระดับหนึ่ง มีความคิดเกี่ยวกับชีวิตและความตาย ความเชื่อ ความปราถนา
1.2.3สติปัญญา หรือความคิด
ความสามารถในการเรียนรู้ ผู้ที่มีสติปัญญาสูงเรียนรู้ได้เรียนกว่าผู้ที่มีสติปัญญาต่ำ
1.3 สังคม
คือส่วนของคนที่เกี่ยวข้องกับบุคคลอื่นๆ รอบตัว
2.คนเป็นระบบเปิด
คนเป็นหน่วยมีชีวิตมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมตลอดเวลา
การรับและการให้เกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม มีความสัมพันธ์กัน
3.คนมีความต้องการพื้นฐาน
บุคคลจะมีความต้องการทั้งทางร่างกาย จิตใจและสังคม
ความต้องการของคนแบ่งได้ 5 ระดับ ตามทฤษำีความต้องการของมาสโลว์
ความต้องการทางด้านร่างกายหรือสรีระ (Physical needs)
ความต้องการความปลอดภัย (Safety and security)
ความต้องการความรัก ความผูกพัน (Affiliation)
ความต้องการความภาคภูมิใจและความมีศักดิ์ศรี (Self-esteem)
ความต้องการความพอใจตนเอง (Self-actualization
4.คนมีพัฒนาการ
คุณลักษณะของบุคคลแต่ละคนในด้านต่างๆ
การพัฒนาการของคน แบ่งออกได้เป็น
ด้านร่างกาย
การเปลี่ยนแปลงด้านขนาด รูปร่าง ทรวดทรง
ด้านสติปัญญา
ความสามารถในการจำ การรู้จักคิด การใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญญา
ด้านอารมณ์ สังคม
ความสามารถในการแสดงพฤติกรรมและปฏิกิริยาของมนุษญืให้สอดคล้องกับแบบแผนที่สังคมนั้นยอมรับและปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม
ด้านคุณธรรม
ไม่ใชการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแต่เป็นการปลูกจิตสำนึก ให้รู้สึกผิดชั่วดี ตระหนักให้คุณงามความดี และสามารถสร้างคุณค่าให้แก่ตนเอง ผู้อื่น
5.คนมีความต้องการภาวะสมดุล หรือภาวะผิดปกติ
กระบวนการที่ดำรงภาวะสมดุลหรือปรับสมดุล เรียกว่า กระบวนการปรับตัว หรือกลไกการต่อสู้เพื่อบุคคล ประกอบด้วย กระบวนการหรือกลไกทางด้านร่างกาย และจิตสังคม
6.คนมีลักษณะพื้นฐานร่วมกันแต่มีความเป็นปัจเจกบุคคล
คนแต่ละคนก็มีลักษณะเฉพาะของตนเอง เรียกว่า ความเป็นปัจเจกบุคคล
7.คนมีสิทธิของตน
แต่ละบุคคล ไม่ว่าในภาวะที่เป็นเด็ก/ผู้ใหญ่ในบทบาท/ตำแหน่งใดก็ตามจะมีสิทธิแห่งตนตามภาวะดำรงอยู่
สิทธิในการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเอง
สิทธิในการได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย
สิทธิในการได้รับการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย
8.คนมีศักยภาพในการช่วยเหลือตนเอง
การช่วยตนเองในกิจวัตรประจำวัน
การแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง
มโนมติของสิ่งแวดล้อม (Environment)
สิ่งแวดล้อม แบ่งออกได้ 4 ประเภท
1.สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
สิ่งแวดล้อมภายนอกที่ไม่มีชีวิต
รังสี
อากาศ
น้ำ
ดิน
เสียง
แสง
ความร้อน
ลม
ที่พักอาศัย สิ่งก่อสร้างต่างๆ
สิ่งแวดล้อมเหล่านี้จะมีผลเบื้องต้นต่อร่างกายคน
2.สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ
สิ่งมีชีวิตต่างๆ ทั้งพืช และสัตว์ขนาดเล็กจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นจนถึงพืช และสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ดตกว่าคน
4.สิ่งแวดล้อมทางสังคม เศรษฐกิจ
ประกอบด้วย สิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม
หน่วยของสังคมที่สำคัญที่สุด คือ ครอบครัว
สังคมที่ใหญ่กว่าครอบครัว ได้แก่ ชุมชนระดับต่างๆที่อาศัยอยู่ตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ประเทศ
สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่เป็นรูปธรรมที่สำคัญ คือ บุคคลที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน มีบทบาทหน้าที่ต่อกัน
สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่เป็นนามธรรม ไม่สามารถจะสัมผัสได้ แต่มีผลต่อพฤติกรรมของบุคคลที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมนั้นๆ เช่น
วัฒนธรรม
ประเพณี
ค่านิยม
กฏหมาย
ตวามเชื่อ
ศาสนา
3.สิ่งแวดล้อมทางเคมี
น้ำยาล้างห้องน้ำ ทำสีผม
มโนมติของสุขภาพ (Health)
สุขภาพของคนจะประกอบด้วย 2 ภาวะ คือ
ภาวะสุขภาพดี (Wellness)
เจ็บป่วย(lllness)
สุขภาพ(Health)
ไนติเกล (Nightingale,1860)
สภาวะที่ปราศจากโรคและสามารถใช้พละกำลังของตนเองได้เต็มความสามารถ
องค์กรอนามัยโลก (WHO,1947)
สภาวะที่มีความสมบูรณ์ของร่างกาย จิตใจ และสามารอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขมิใช่เพียงปราศจากโรคและความพิการเท่านั้น
สุขภาพดี หมายถึง สภาวะที่ร่างกายมีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ปราศจากโรคและความพิการใดๆ
ความเจ็บป่วย (lllness)
หมายถึง สภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงหน้าที่ปกติทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
ในโลกนี้น้อยคนที่จะมีสุขภาพดีมาก คือ ครบทั้งกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ตลอดเวลา
คนส่วนมากมักจะมีความบกพร่องทางสุขภาพบ้างไม่มากก็น้อย
สุขภาพมีลักาณะเป็นพลวัตรและต่อเนื่อง
ในขณะหนึ่งคนอาจจะอยู่ในภาวะที่สมบูรณ์แข็งแรง แต่ก็อาจอยู่ในภาวะเจ็บป่วยได้ในเวลาไม่กี่ชั่วโมงต่อมา
บางคนอาจป่วยหนักตั้งแต่แรกเกิดและเสียชีวิต
มโนมติของการพยาบาล (Nursing)
1.การพยาบาลเป็นการช่วยเหลือคน
เพื่อให้คนสามารดำรงภาวะสุขภาพไว้/ช่วยให้คนกลับสู่ภาวะสุขภาพดีเมื่อเจ็บป่วย
คำว่ารักษาพยาบาล คือกิจกรรมที่พยาบาลปฏิบัติในขอบเขตหน้าที่ของตน ในการช่วยเหลือด้านพฤติกรรมของบุคคลที่เปลี่ยนไปจากเดิม อันเนื่องมาจากผลกระทบจากปัญหาสุขภาพ
2.การพยาบาลที่ช่วยเหลือให้คนมีภาวะสุขภาพดี หรือปรับเข้าสู่ภาวะสุขภาพดี
การส่งเสริมสุขภาพ
กระบวนการส่งเสริมให้ประชาชนเพิ่มสมรรถนะในการควบคุมและพัฒนาสุขภาพของตนเอง
การป้องกันโรค
การป้องกันไม่ให้เกิดโรคขึ้นกับบุคคลหรือชุมชน โดยการมีสุขวิทยาที่ดีทั้งบุคคลและชุมชน ปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม
การดูแลรักษา
อธิบายข้อมูลที่จำเป็นแก่ผู้ป่วยหรือญาติให้เข้าใจจะทำให้ได้รับความร่วมมือที่ดีและง่ายต่อการรักษา
การฟื้นฟูสภาพ
เป็นระยะที่ผู้ป่วยกำลังจะอยู่ในบทบาทของคนปกติสามารถใช้ชีวิตได้ง่ายมากขึ้นจากเดิม
3.การพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาลในการช่วยเหลือผู้รับบริการ มีขั้นตอนต่างๆดันนี้
การประเมินสภาพ
เป้นการค้นหาปัญหาของผู้ป่วยโดยการใช้เทคนิคต่างๆในการตรวจ หลังจาการซักประวัติผู้ป่วยแล้วหรือที่เรียกกันว่าการตรวจร่างกาย
การวินิจฉัยการพยาบาล
เป็นการประยกต์ใช้ในองค์ความรู้ทางทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติบนพื้นฐานการให้เหตุผลที่เหมาะสม โดยผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ ให้เหตุผลโดยการใช้ข้อมูลทั้งเชิงอัตนัย และปรนัยออกมาเป็น ข้อวินัจฉัยทางการพยาบาล
การประเมินผลการพยาบาล
เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการพยาบาล โดยประเมินว่าผู้ป่วยได้รับการดูแลและมีการพัฒนาไปสู่จุดมุ่งหมายที่วางไว้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือไม่
การวางแผนการพยาบาล
เป็นการพิจารณาและกำหนดกิจกรรมการช่วยเหลือหรือร่วมมือกับผู้รับบริการโดยการตั้งเป้าหมาย ลำดับความสำคัญ
การปฏิบัติการพยาบาล
ใช้ความรู้และทักษะขั้นพื้นฐานในการให้การพยาบาล โดยตรงแก่ผู้ป่วยและครอบครัวผู้ป่วย หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง โดยใช้กระบวนการพยาบาลเพื่อการวางแผนและให้การพยาบาลแบบองค์รวม มีส่วนร่วใในการใช้มาตฐานการพยาบาลเพื่อควบคุมคุณภาพ ให้ความร่วมมือในทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้องเพื่อการดูแลผู้ป่วยและครอบครัวผู้ป่วย
4.การพยาบาลเป็นบริการที่จำเป็นต่อสังคม
ถ้าขาดการพยาบาลที่มีคุณภาพ อาจส่งผลให้เกิดการมีสุขภาพที่ไม่ดีและอญยู่ด้วยความยากลำบาก
ความหมาย
ทฤษฎีทางการพยาบาล( Nursing Theory)
แก่นสาระความรู้ของวิชาชีพพยาบาล ซึ่งมุ่งอธิบายธรรมชาติของคน สิ่งแวดล้อมที่มีอิทธืพลต่อบุคคล ภาวะสุขภาพ ความเจ็บป่วยของบุคคล
กระบวนทัศน์ (Paradigm)
เป็นกรอบเค้าโครงแนวคิด หรืออุดมคติหรือปรัชญาที่เป็นที่ยอมรับในกลุ่มวิชาชีพ และสร้างความเข้าใจในศาสตร์นั้นเป็นแนวเดียวกัน
METAPARADIGM
กรอบ ขอบเขต หรือโครงสร้างทางความคิดหรือมโนมติในภาพกว้างๆของศาสตร์สาขาต่างๆ
กระบวนการทัศน์ทางการพยาบาล ประกอบด้วยมโนทัศน์หลักเกี่ยวกับ
Person
บุคคล
Environment
สิ่งแวดล้อม
Health
สุขภาพ
Nursing
การพยาบาล
กรอบแนวคิด (CONCEPTUAL FRAMEWORK/ MODEL)
กลุ่มของมโนทัศน์ที่สัมพันธ์กันเป็นภาพรวมของปรากฏการณ์หรือความจริงที่ช่วยให้เห็นจุดเน้นความคิด เปรียบเสมือนร่มโดยภายต้ร่มประกอบด้วยทฤษฎีต่างๆ
กระบวนทัศน์หลักทางการพยาบาล
มโนมติพื้นฐานของคน สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และการพยาบาล
มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยเหลือคนให้สามารถดำรงภาวะสมดุลหรือภาวะสุขภาพดีได้ และช่วยเหลือคนที่เจ็บป่วยให้ปรับตัวกลับสู่ภาวะสมดุล
ตวามสำคัญของมโนมติพื้นฐานทางการพยาบาล
เป็นพื้นฐานของการพัฒนาศาสตร์ทางการพยาบาล
เป็นพื้นฐานของการวิจัยทางการพยาบาล
เป็นพื้นฐานของการปฏิบัติการพยาบาล
เป็นพื้้นฐานของการจัดการศึกษาพยาบาล
การจำแนกทฤษฎีตามหลักการนำไปใช้
1.ทฤษฎีเชิงนิรนัย (Deductive theries) เป็นการพัฒนาทฤษฎีจาการนำศาสตร์ต่างๆมาสังเคราะห์ จัดระบบหรือขยายมโนมติเดิใให้เกิดเป็นมโนมติใหม่
2.ทฤษฎีเชิงอุปนัย (Inductive nursing theories) เป็นการพัฒนาทฤษฎีที่เกิดการปฏิบัติการพยาบาลมาประมวลเพื่อสรุปทฤษฎี
การจำแนกทฤษฎีตามระดับความเป็นธรรม
1.ทฤษฎีอภิทฤษฎี (Meta-theory) มีเป้าหมายที่กระบวนการ สร้างทฤษฎีจะมีจุดเน้นที่การตั้งคำถามเชิงปรัชญา
2.ทฤษฎีระดับกว่าง(Grand theory) กำหนดกรอบแนวคิดหรือแบบ จำลองมโนมติที่ครอบคลุมเนื้อหาสาระที่กว้าง
3.?ฤษฎีระดับกลาง (Middle Rang theory) มีขอบเขตเนื้อหาสาระแคบลงและมีจำนานมโนทัศน์น้อยกว่าทฤษฎีระดับกว้าง
4.ทฤษฎีระดับปฎิบัติ(Practice theory ) มีความซับซ้อนน้อยที่สุด เป็นชุดข้อความเชิงทฤษฎีที่เกิดจาการทดสอบสมมติฐานในปรากฎการณ์ใดปรากฎการณ์หนึ่ง