Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา, การประกันคุณภาพ ภายนอกสถานศึกษา,…
การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย
มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย พ.ศ. 2561 มีจำนวน 3 มาตรฐาน 18 ประเด็นพิจารณา ได้แก่
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
1.1 มีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้
1.2 มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้
1.3 มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
1.4 มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้
การให้ระดับคุณภาพ
กำลังพัฒนา
ปานกลาง
ดี
ดีเลิศ
ยอดเยี่ยม
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
2.1 มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น
2.2 จัดครูให้เพียงพอกับชั้นเรียน
2.3 ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์
2.4 จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัย และเพียงพอ
2.5 ให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์
2.6 มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม
ระดับคุณภาพ
กำลังพัฒนา
ปานกลาง
ดี
ดีเลิศ
ยอดเยี่ยม
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
ระดับคุณภาพ
กำลังพัฒนา
ปานกลาง
ดี
ดีเลิศ
ยอดเยี่ยม
3.1.จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ
3.2 สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่น และปฏิบัติอย่างมีความสุข
3.3 จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย
3.4 ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงและนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัด
ประสบการณ์และพัฒนาเด็ก
มาตรฐานการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2561
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
1) มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ
2) มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปราย
แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา
3) มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม
4) มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
5) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา
6) มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
1) การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด
2) ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย
3) การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย
4) สุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน
2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา
2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย
2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไป
ประยุกต์ใช้ในชีวิตได้
3.2 ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก
3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
3.5 มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุง
การจัดการเรียนรู้
ความเชื่อมโยงการประกันคุณภาพภายใน
กับการประเมินคุณภาพภายนอก
สถานศึกษา
กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของ
สถานศึกษา
ดำเนินงานตามแผนฯ
ประเมินผลและตรวจสอบ
ติดตามผลการดำเนินการ
จัดทำ/จัดส่งรายงานการประเมินฯ
หน่วยงานต้นสังกัด
ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ แนะนำ
รวบรวม และสังเคราะห์ SAR สถานศึกษา
ติดตามผลการดำเนินงาน ปรับปรุง และพัฒนา
ให้ความร่วมมือกับ สมศ.
เป้าหมายการประเมิน
ระยะที่ 1
ประเมินเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
ระยะที่ 2
ติดตามเพื่อพัฒนาโดยจัดสรรงบประมาณ
เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
คณะผู้ประเมินภายนอก สมศ. ประกอบด้วย
ผู้ทรงคุณวุฒิจาก สมศ.
ผู้แทนหน่วยงานต้นสังกัด
ผู้มีประสบการด้านการบริหาร
การเปรียบเทียบมาตรฐานการศึกษา
มาตรฐาน พ.ศ.2559
ปฐมวัย (พ.ศ. 2554)
11 มฐ. 51 ตบช.
ขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2559)
4 มฐ. 20 ประเด็นพิจารณา
มาตรฐาน พ.ศ. 2561
ปฐมวัย
3 มฐ. 14 ประเด็นพิจารณา
ขั้นพื้นฐาน
3 มฐ. 21 ประเด็นพิจารณา
การประกันคุณภาพ
ภายนอกสถานศึกษา
การประเมินคุณภาพภายนอก คือการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา การติดตาม การตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษา ซึ่งกระทำโดย สมศ. หรือผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรองจาก สมศ. เพื่อมุ่งให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น
หน้าที่ของ สมศ. คือ
พัฒนาระบบการประเมินคุณภาพภายนอก
พัฒนามาตรฐานและเกณฑ์สำหรับการประเมิน
ให้การรับรองผู้ประเมินภายนอก
กำกับดูแล กำหนดมาตรฐานและให้การรับรองมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอก
พัฒนาและฝึกอบรมผู้ประเมินภายนอก จัดทำหลักสูตรฝึกอบรมและสนับสนุนให้องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพหรือวิชาการเข้ามามีส่วนร่วม
จัดทำรายงานการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาประจำปี เสนอต่อคณะรัฐมนตรี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
จุดเน้นของ สมศ.
ภารกิจของสถาบันอุดมศึกษา
การใช้งบประมาณที่คุ้มค่า
โครงสร้างและกระบวนการ
การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องและชุมชน
ผลสัมฤทธิ์
หลักการสำคัญของการประเมินคุณภาพภายนอก
เพื่อตรวจสอบยืนยันสภาพจริงในการดำเนินงานของสถานศึกษา และ ประเมินคุณภาพ การศึกษา ตามมาตรฐานการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ตามกรอบแนวทางและวิธีการที่ สมศ. กำหนด และสอดคล้องกับระบบประกันคุณภาพภายใน
เพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งช่วยสะท้อนให้เห็นจุดแข็งจุดอ่อนของสถานศึกษา เงื่อนไขของความสำเร็จ และสาเหตุของปัญหา
เพื่อช่วยเสนอแนะแนวทางปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษา
เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาคุณภาพและประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง
เพื่อรายงานผลการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
แนวทางการประเมินคุณภาพภายนอก
เรียนรู้ร่วมกัน
ใช้เกณฑ์ของ สมศ.สถาบัน และเจ้าสังกัดของสถาบัน
คำนึงเอกลักษณ์ของสถาบัน
ใช้ฐานข้อมูล หลักฐาน ประกอบกับวิจารณญาน
เน้นการปรับปรุง พัฒนางานของสถาบัน
ประกันคุณภาพเพื่อความเป็นเลิศของสถาบันมากกว่าเพื่อการประเมิน
คำนึงถึงมาตรฐานสากล
สำนึกในความเป็นกัลยาณมิตร
ผู้ประเมินภายนอก
หมายถึงบุคคลหรือหน่วยงานที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดและได้รับการรับรอง จากสมศ.ให้ทำการประเมินคุณภาพภายนอก
ความแตกต่างของการประกันคุณภาพภายในกับการประเมินคุณภาพภายนอก
การประกันคุณภาพภายใน เป็นกระบวนการบริหารที่สถานศึกษาต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทั้งการวางแผน กำหนดเป้าหมาย และวิธีการทำ ลงมือตามแผน ประเมินผลและปรับปรุงแก้ไข เพื่อพัฒนาคุณภาพ และจัดทำรายงานการประเมินตนเองเป็นประจำทุกปี
ส่วนการประเมินคุณภาพภายนอก เป็นการประเมินที่มีความต่อเนื่องกับการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา เป็นการยืนยันผลการประเมินภายใน ว่าการจัดการศึกษามีคุณภาพอย่างไร เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานที่กำหนด การประกันคุณภาพภายในกับการประเมินคุณภาพภายนอกจึงเชื่อมโยงกันด้วยมาตรฐานการศึกษาเป็นหลัก
นางสาวศิวพร วริสาน รหัสนักศึกษา 64719005025