Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัญหาและกิจกรรมการพยาบาล(2) - Coggle Diagram
ปัญหาและกิจกรรมการพยาบาล(2)
มีภาวะไม่สุขสบายเนื่องจากปวดเข่า :red_flag:
ข้อมูลสนับสนุน
subjective data
ผู้สูงอายุบอกว่า “เริ่มรู้สึกปวดหัวเข่า เวลายืนสักครึ่งชั่วโมงก็จะเริ่มปวดทั้ง 2 ข้าง แต่จะปวดข้างขวามากกว่า”
ผู้สูงอายุบอกว่า "ช่วงนี้ไม่ได้ออกกำลังกาย เพราะโควิดระบาด"
objective data
จากการตรวจร่างกายพบว่าขณะผู้สูงอายุเดินจะมีขาที่โก่ง โดยเฉพาะบริเวณหัวเข่าด้านขวาจะมีพิสัยการงอที่ผิดปกติ
จากการประเมินดัชนีมวลกายของผู้สูงอายุ ได้ BMI : 26.57 kg./m2 แปลผลคือ อ้วน
จากการประเมินการปวดข้อเข่า Pain score ได้ 4-5 คะแนน
จากการประเมินOxford Knee Score ได้ 39 คะแนน ผู้สูงอายุรายนี้เริ่มมีอาการของโรคข้อเข่าเสื่อม
กิจกรรมทางการพยาบาล
1.ประเมินความเจ็บปวด หรือPain Score
ประเมินความสามารถในการเคลื่อนไหว พร้อมทั้งสังเกตลักษณะของข้อ
แนะนำให้พักการใช้งานข้อ เมื่อมีอาการ ปวดหรือมีการอักเสบ บวม แดง โดยลด การยืน เดิน นานๆ
แนะนำให้ผู้สูงอายุหลีกเหลี่ยงการใช้ข้อมากเกินไปหรือท่า ที่ส่งผลต่อการปวดข้อเข่า
แนะนำวิธีลดความเจ็บปวดโดยการไม่ใช้ ยา
แนะนำวิธีลดความเจ็บปวดโดยการออกกำลังกายแบบยืดเหยียด
วัตถุประสงค์ทางการพยาบาล
เพื่อให้ผู้สูงอายุสุขสบายและบรรเทาอาการปวดข้อเข่า
เกณฑ์การประเมินผลทางการพยาบาล
ผู้สูงอายุมีสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ไม่มีสีหน้าแสดงถึงการเจ็บข้อเข่า
ผู้สูงอายุสามารถบอกการออกกำลังแบบยืดเหยียดข้อได้ 2 ใน 3 ท่า
ประเมิน pain score ได้ 1-3 คะแนน
:red_flag:เสี่ยงต่อการเกิดโรคหอบหืดกำเริบ
ข้อมูลสนับสนุน
subjective data
ผู้สูงอายุบอกว่า “เป็นโรคหอบหืด มา 4 ปี”
ผู้สูงอายุบอกว่า “เป็นโควิดพึ่งหาย เป็นประมาณเดือนมีนาคม ตอนติดเครียดกลัวเป็นอะไรไป”
ผู้สูงอายุบอกว่า “ช่วงนี้เป็นหวัดมีน้ำมูก”
objective data
จากประวัติการได้รับยาของผู้สูงอายุ ผู้สูงรายนี้ได้รับยา
ยา Budesonide 200 mcg ยาพ่นเข้าลำคอ 1 ครั้ง วันละ 2ครั้ง/เช้า-เย็น
ยาTheophyline 200 m 1 tab oral bid pc.
ยาSulbutamol 100 mc ยาพ่นเข้าลำคอ 1-2 ครั้ง ทุก 6 ชั่วโมง/เมื่อมีอาการ
กิจกรรมทางการพยาบาล
ประเมินภาวะพร่องออกซิเจนจากระดับความรู้สึกตัว ลักษณะการหายใจ อาการหอบเหนื่อย
สอบถามการใช้ยาขยายหลอดลมของผู้สูงอายุและส่งเสริมให้ผู้สูงอายุใช้ยาอย่างสม่ำเสมอ
แนะนำวิธีการป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจที่จะส่งผลทำให้อาการของโรคหอบหืดกำเริบ
แนะนำการปฏิบัติตัวเมื่อมีอาการหอบกำเริบ
วัตถุประสงค์ทางการพยาบาล
เพื่อป้องกันการเกิดโรคหอบหืดกำเริบ
เกณฑ์การประเมินผลทางการพยาบาล
ผู้สูงอายุไม่มีภาวะขาดออกซิเจน ได้แก่ ปลายมือปลายเท้าเขียว หายใจหอบเหนื่อย กระสับกระส่าย
ผู้สูงอายุไม่มีอาการหอบหืดกำเริบ
สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
อัตราการเต้นของหัวใจ 60-100 ครั้งต่อนาที
อัตราการหายใจ 16-20 ครั้งต่อนาที
ส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องหูให้แก่ผู้สูงอายุ :red_flag:
ข้อมูลสนับสนุน
subjective data
ผู้สูงอายุบอกว่า “หลังผ่าตัดไซนัสหูก็ไม่ค่อยได้ยิน ทั้งสองข้าง”
objective data
จากการตรวจหูโดยลองใช้นิ้วมือถูกันเบาๆ หน้าหูทีละข้างพบว่าผู้สูงอายุไม่ได้ยินทั้งสองข้าง และจากการทดสอบการได้ยินโดยการกระซิบข้างหูทีละข้าง พบว่าผู้สูงอายุไม่ได้ยินทั้งสองข้าง
กิจกรรมทางการพยาบาล
อธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้การได้ยินของผู้สูงอายุลดลงหรืออาการหูตึงในผู้สูงอายุ
แนะนำการสังเกตอาการหูตึงในผู้สูงอายุ
แนะนำการป้องกันและชะลออาการหูตึง
แนะนำการดูแลสุขภาพหู
วัตถุประสงค์ทางการพยาบาล
เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพช่องหูของตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
เกณฑ์การประเมินผลทางการพยาบาล
ผู้สูงอายุสามารถบอกวิธีการสังเกตอาการหูตึงได้อย่างถูกต้อง 2 ใน 4 ข้อ
ผู้สูงอายุสามารถบอกวิธีการดูแลหูได้อย่างถูกต้อง 3 ใน 5 ข้อ