Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หญิงหลังคลอด G3P2 Normal delivery with abrasion - Coggle Diagram
หญิงหลังคลอด G3P2
Normal delivery with abrasion
ข้อมูลทั้วไป
หญิงไทย อายุ 34 ปี เชื้อชาติ ไทยใหญ่ การศึกษา ปริญญาตรี
สถานภาพ สมรส ศาสนา อิสลาม อาชีพ แม่บ้าน
รายได้ประมาณ 50,000-60,000 บาทต่อเดือน
ที่อยู่ปัจจุบัน ตำบลสันผีเสื้อ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
วันที่รับไว้ในโรงพยาบาล 26 เมษายน 2565 เวลา 07.50 น.
ปฏิเสธการมีโรคประจำตัว
,มารดามีประวัติเป็นโรคเบาหวาน
ปี 2562ผ่าตัด Appendicitis โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
แพ้ยา Dicloxacillin มีผื่นแดงขึ้นทั้งตัว
การวินิจฉัยโรค
Normal delivery with abrasion (คลอดปกติร่วมกับมีแผลถลอก)
อาการสำคัญที่มาโรงพยาบาล
เจ็บครรภ์ ไม่มีน้ำเดิน 2 ชั่วโมง ก่อนมาโรงพยาบาล
ประวัติการตั้งครรภ์และการคลอด
อดีต
G1 2551 GA.38+6 wks N/D ทารก 3,200 gm เพศชาย ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ปัจจุบันอายุ 14 ปี สุขภาพแข็งแรง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่
G2 2557 GA.38+6 wks N/D ทารก 3,400 gm เพศชาย ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ปัจจุบันอายุ 8 ปี สุขภาพแข็งแรง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่
ปัจจุบัน
G3P2002 Last 8 ปี GA 37+5wks. By U/S ฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ จำนวน 8 ครั้ง(ครบคุณภาพการฝากครรภ์)
วันที่ 26 เมษายน 2565
เวลา 07.05 น. 2 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล เจ็บครรภ์คลอด PV แรกรับ Cx. Dilate =4 cms.. Effacement 50%, Station=0 ,MI, HF=36 cms. เด็กท่า LOA/HE FHS=138-144bpm Vital signs แรกรับ T=36.7 c, P=98/min, BP=124/78mmHg, RR=20/min Pain score 5 คะแนน
เวลา 13.39 น. คลอด normal delivery ทารกเป็นเพศหญิง APGAR 1 นาที 9 คะแนน, APGAR 5 นาที 9 คะแนน, APGAR 10 นาที 9 คะแนน รอบศีรษะ 32 cms. รอบอก 32 cms ลำตัวยาว 47 cms. น้ำหนัก 2,775 gm. เวลา 13.51 น. รกคลอดครบ O2 sat 95 % HR = 146 /min EBL= 150 ml.
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
มารดา ผลเลือด 2 ครั้ง Hb=13g/dL;12 g/dL ,Hct=39%;38%,MCV=89 d/dL
สามี ผลเลือดปกติ Hb=15.2 g/dL, MCV=88 g/dL
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1.เสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด 24 ชั่วโมงแรก
วัตถุประสงค์
เพื่อป้องกันการตกเลือดของหญิงหลังคลอด
เกณฑ์การประเมินผล
2.มดลูกหดรัดตัวตลอดเวลา
3.มารดาสามารถนอนหลับพักผ่อนได้ 6-8 ชั่วโมง และมีการนอนพักกลางวันละ 1-2 ชั่วโมง
1.ไม่มีอาการและอาการแสดงของการตกเลือดหลังคลอด เช่น ชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิตตํ่า เหงื่อออกใจสั่น ตัวเย็น กระหายนํ้า ระยะแรกจะหายใจเร็ว ต่อมาจะหายใจช้าลง มีอาการหาวเนื่องจากเลือดไปเลี้ยงสมองน้อย อาการรุนแรงอาจเกิดการช็อก ไม่รู้สึกตัว
4.ประเมินสัญญาณชีพในเกณฑ์ปกติ
ข้อมูลสนับสนุน
Subjective data
หญิงหลังคลอดบอกว่า “เพลีย ง่วงนอน”
Objective data :
จากการสังเกต หญิงหลังคลอดมี ท่าทางอ่อนเพลีย พักหลับอยู่บนเตียง
สรุประยะคลอด
ระยะที่ 1 : 6 ชั่วโมง 25 นาที ระยะที่ 2 : 4 นาที ระยะที่ 3 : 11 นาที รวมระยะการคลอดทั้งหมด : 6 ชั่วโมง 40 นาที
G 3 P2002 คลอดด้วยวิธี Normal delivery
สูญเสียภายหลังการคลอดบุตร 150 cc
vital sings เวลา 10.00 น.
Temperature 36.7 oC
Pulse rate 98 /min
Respiratory rate 20 /min
Blood pressure 124/78 mmHg
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินกระเพาะปัสสาวะเต็มและกระตุ้นให้มารดาปัสสาวะเองภายใน 4-6 ชั่วโมง นับจากการปัสสาวะครั้งสุดท้ายของมารดา หากพบว่ามีกระเพาะปัสสาวะเต็มและมารดาไม่สามารถปัสสาวะเองได้ ให้ทำการสวนปัสสาวะทิ้ง
ประเมินสัญญาณชีพในเกณฑ์ปกติ
Pulse Rate 60 - 100 bpm.Respiratory Rate 16 - 20 bpm.
Blood pressure 140-90 / 90-60 mmHg.
ดูแลให้นอนหลับพักได้ โดยการ จัดสิ่งแวดล้อม ให้เอื้ออำนวยต่อการพักผ่อนของหญิงหลังคลอด เช่น แนะนำให้นอนหลับพร้อมกับบุตร หาผ้าปิดตาเพื่อให้นอนหลับได้สนิทยิ่งขึ้น และควรแนะนำให้นอนตะแคงซ้ายเนื่องจากหญิงรายนี้มีแผลฝีเย็บบริเวณ ด้านขวา
ดูแลให้ได้รับสารน้ำที่มียากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกและสารอาหารอย่างเพียงต่อความต้องการของร่างกาย โดยเน้นอาหารที่มีประโยชน์ต่อตนเอง หรือควรเพิ่มมื้ออาหารหากรับประทานอาหารในมื้อหลักได้น้อย
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก ทุก 15 นาที มดลูกจะมีการหดรัดตัวเพื่อป้องกันการเสียเลือดและลดขนาดลงเหลือต่ำกว่าระดับสะดือเล็กน้อยโดยทันทีและหลังจากนั้นจะมีการลดระดับลงอย่างช้าๆ
แนะนำการดูแลทำความสะอาดร่างกาย
ควรจะอาบน้ำอย่างน้อยวันละ 1 ครั้งไม่ควรอาบน้ำโดยการแช่ลงในอ่างเพราะจะติดเชื้อเข้าไปทางช่องคลอดสู่โพรงมดลูกได้ง่าย
การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ต้องแนะนำให้มารดาทำความสะอาดโดยใช้สบู่และน้ำสะอาดซับให้แห้งอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งและภายหลังการขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะทุกครั้งวิธีปฏิบัติให้ทำความสะอาดจากด้านหน้าไปด้านหลังซับจากบนลงล่างไม่ย้อนขึ้นลงและไม่ให้ถูกทวารหนัก
เปลี่ยนผ้าอนามัยทุกๆ 2-4 ชั่วโมง หรือเมื่อรู้สึกเปียกชุ่ม
1.ประเมินอาการและอาการแสดงของการตกเลือดหลังคลอด เช่น ชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิตตํ่า เหงื่อออกใจสั่น ตัวเย็น กระหายนํ้า ระยะแรกจะหายใจเร็ว ต่อมาจะหายใจช้าลง มีอาการหาวเนื่องจากเลือดไปเลี้ยงสมองน้อย อาการรุนแรงอาจเกิดการช็อก ไม่รู้สึกตัว
หากพบว่ามีเลือดออกทางช่องคลอดอย่างต่อเนื่อง (Active bleeding per vagina) ให้เฝ้าระวังอาการแสดงของภาวะช็อกจากการเสียเลือด(Hypovolemic shock) เช่น เวียนศีรษะ หน้ามืด ใจสั่น เหงื่อแตก มือ-เท้าเย็น หากพบความผิดปกติดังกล่าวให้รายงานแพทย์
หากพบว่ามีอาการแสดงของ hypovolemic shock ให้จัดท่านอนราบศีรษะต่ำ และให้ออกซิเจน Mask with bag 8-10 ลิตร/นาที
2.ไม่สุขสบายจากปวด จากการหดรัดตัวของมดลูกไม่ดี
ข้อมูลสนับสนุน
Subjective data
มารดาบอกว่า “เมื่อลูกดูดนม จะปวดมากตรงบริเวณมดลูก”
Objective data
จากการสังเกต มารดามีสีหน้าไม่สุขสบาย หน้านิ่วคิ้วขมวด
เมื่อมีการให้นมลูก
จากการประเมิน pain score = 4 คะแนน
จากการประเมินเมินปารหดรัดตัวของมดลูก คลำพบขอบเขตไม่ขัดเจน มีลักษณะนุ่ม ไม่มีการแข็งตัว
วัตถุประสงค์
เพื่อบรรเทาความเจ็บปวดให้มารดาหลังคลอดรู้สึกสุขบายมากขึ้น
เพื่อให้มดลูกมีการหดรัดตัวได้ดี
เกณฑ์การประเมินผล
มารดาหลังคลอดไม่มีสีหน้านิ่ว คิ้วขมวด ไม่มีสีหน้าท่าทางที่บ่งบอกถึงความเจ็บปวด
ระดับ pain score น้อยกว่า 4 คะแนน หรือไม่เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม
การหดรัดตัวของมดลูกดีขึ้น คลำพบก้อนแข็ง มีขอบเขตชัดเจน
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกทุก 8 ชั่วโมงโดยคลำยอดมดลูกบริเวณหน้าท้องถ้ามดลูกหดรัดดตัวดีจะคลำได้เป็นก้อนแข็งอยู่ตรงกลางและต่ำกว่าระดับสะตือ แต่ถ้ามดลูกใหญ่ นุ่มและคลำชอบเขตไม่ชัดเจนแสดงว่ามดลูกหดรัดตัวไม่ดี ให้การพยาบาลโดยคลึงมดลูกและกดไล่ก้อนเลือดออก และประเมินกระเพาะปัสสาวะว่าเต็มหรือไม่ ถ้ากระเพาะปัสสาวะเต็มต้องกระตุ้นให้มารดาถ่ายปัสสาวะ ถ้ามารดาหลังคลอดไม่สามารถถ่ายปัสสาวะเองได้อาจจำเป็นต้องสวนปัสสาวะ ถ้ามดลูกหดรัดดตัวไม่ดีอาจต้องรายงานแพทย์เพื่อให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
2.ประเมินระดับยอดมดลูก โดยจะทำในมารดาที่คลอดทางช่องคลอดครบ 24 ชั่วโมงแล้วเพื่อประเมิน involution process วิธีการประเมินจะวัดจากขอบบนด้านนอกของกระดูกหัวหน่าวไปยังยอดมดลูก โดยประเมินวันละครั้ง และเวลาที่ประเมินควรเป็นเวลาเดียวกันในทุกวัน ก่อนประเมินระดับยอดมดลูกควรให้มารดาไปถ่ายปัสสาวะ ซึ่งในระยะหลังคลอดยอดมดลูกจะลดระดับลงวันละประมาณ 1-2 เชนติเมตร และประมาณ 10 วันหลังคลอดจะไม่สามารถคลำมดลูกทางหน้าท้องได้
อธิบายสาเหตุพร้อมทั้งให้ความมั่นใจกับมารดาว่าความไม่สุขสบายที่เกิดขึ้นเกิอาการปกติที่พบได้ใน 2-3 วันแรกหลังคลอด และจะค่อย ๆ หายไปในวันที่ 3-7 หลังคลอด แต่ถ้าปวดมากอาจให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
4.แนะนำให้นอนคว่ำใช้หมอนรองใต้ท้องน้อยซึ่งทำให้มดลูกถูกกดเป็นการกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก และน้ำคาวปลาไหลออกได้สะดวก
5.มารดาที่เลี้ยงบุตรตัวยนมมารดา และมีอาการปวดมดลูกมากขณะที่ให้บุตรดูดนม อาจให้มารดารับประทานยาแก้ปวดก่อนให้นมบุตรอย่างน้อย 30 นาที ตามแผนการรักษาของแพทย์ แต่ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง
6.หากมีอาการปวดมดลูกนานเกินว่า 72 ชั่วโมง หรือมีอาการปวดรุนแรง อาจเกิดจากมีเศษรกและก้อนเลือตค้างในโพรงมดลูกซึ่งควรส่งต่อแพทย์เพื่อให้ได้รับการรักษาต่อ
7.ประเมิน pain score
3.ขาดความรู้ในการปฏิบัติตัวและดูแลบุตรหลังคลอดเนื่องจากเว้นระยะการมีบุตรมานาน
เกณฑ์การประเมินผลทางการพยาบาล
1.หญิงหลังคลอดสามารถบอกวิธีการดูแลตนเองหลังคลอดได้ ได้แก่ การดูแลตนเอง การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการคุมกำเนิดได้
2.สามารถบอกวิธีและทำการสาธิตย้อนกลับในการดูแลบุตรหลังคลอดได้ถูกต้อง ได้แก่ การให้นมบุตรได้อย่างถูกวิธี การอาบน้ำ และการห่อตัวบุตร
กิจกรรมการพยาบาล
มารดา
1.อธิบายการดูแลอวัยวะเพศหลังการขับถ่ายและการดูแลฝีเย็บ
การดูแลแผลที่เย็บ โดหากคลำเจอปม ห้ามดึงเด็ดขาด เพราะจะทำให้แผลแยกหรือฉีกขาดได้ หมั่นทำความสะอาดอวัยวะเพศหลังการขับถ่ายทุกครั้ง เปลี่ยนผ้าอนามัยทุกสามถึงสี่ชั่วโมง เพื่อป้องกันการติดเชื้อ บริเวณแผลฝีเย็บ
ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 4 ชั่วโมง หรือเมื่อรู้สึกว่ามีน้ำคาวปลามาก เปลี่ยนโดยการถอดเหมือนกางเกง และสังเกตลักษณะของน้ำคาวปลา สีกลิ่น ปริมาณ
การทำความสะอาดอวัยวะเพศหลังการขับถ่าย โดย ล้างด้วยน้ำสะอาดธรรมดา ใช้กระดาษทิชชู่ซับให้แห้ง บริเวณอวัยวะเพศจากด้านหน้าไปด้านหลัง หรือ จากอวัยวะเพศไปทวารหนัก ห้ามเช็ดย้อน เด็ดขาด
2.ให้คำแนะนำเรื่องการมีเพศสัมพันธ์และการวางแผนครอบครัว
เริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้ตั้งแต่ 3 – 4 สัปดาห์หลังคลอด
แนะนำการใช้สารหล่อลื่นและถุงยางอนามัยร่วม
ควรคุมกำเนิดสัปดาห์ 3-6 หลังคลอด เพราะการขาดประจำเดือนยังมีการผลิตและตกไข่
3.แนะนำวิธีการคุมกำเนิดในหญิงหลังคลอด
การทำหมัน
การฝังยาคุมกำเนิด
การฉีดยาคุมกำเนิด
การรับประทานยาคุมกำเนิด
4.แนะนำวิธีการผ่อนคลายความเจ็บปวดโดยเอามือวางไว้ที่หน้าท้องการหายใจเข้ากลั้นลมหายใจ นับ1-10 แล้วค่อยๆผ่อนลมหายใจออก ทำซ้ำประมาณ 5-10ครั้ง
5.แนะนำท่านอนในท่าที่สบาย บรรเทาความเจ็บปวด
ปวดแผลฝีเย็บแนะนำ ให้นอนตะแคงด้านตรงข้ามกับที่มี แผลฝีเย็บ
ปวดมดลูกจัดให้นอนคว่ำ โดยเอาหมอนหนุนบริเวณท้องน้อย
แนะนำเรื่องการเคลื่อนไหว ร่างกาย ซึ่งควรขยับช้า ๆ หลีกเลี่ยง กิจกรรมที่ ทำให้แผลแยก เช่น ก้าวขากว้างๆ ยกขาสูง เป็นต้น
แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมู ถั่ว ไข่ และนม เป็นต้น
8.สอนวิธีการออกกำลังที่ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับ หญิงหลังคลอด
หลังคลอด 3 วันแรก ท่าฝึกการหายใจ และบริหารปอด ท่าบริหารไหล่และแขน ท่าบริหารเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้อง ก้นย้อย ฝีเย็บ
หลังคลอด 4 วันถัดมา ท่าบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องและอุ้งเชิงกรานพร้อมกัน ท่าบริการกล้ามเนื้อหน้าอกและเต้านม
ทารก
2.ประเมิน LACTH Score
A=Audible
T= Type of nipples
C=Comfort
H=Hold
L= Latch
3.ให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องของน้ำนม เพื่อให้หญิงหลังคลอดเห็นคุณค่าและความสำคัญของน้ำนม
น้ำนมใส 7-10 วัน หลังคลอด 2 สัปดาห์ มีลักษณะสีขาวใส มีน้ำตาลแลคโทส ไขมัน วิตามินที่ละลายในน้ำและพลังงานรวมเพิ่มมากขึ้น
น้ำนมขาว มีลักษณะขาวข้น มีส่วนประกอบของน้ำร้อยละ 87 ควรกระตุ้นให้มารดาดื่มน้ำให้มากๆ วันละ 2-3 ลิตร/วัน
น้ำนมเหลือง 2-3 วันแรกหลังคลอด มีลักษณะเป็นสีเหลืองข้น มีภูมิคุ้มกันสูง กระตุ้นการทำงานของลำไส้ มีฤทธิ์ช่วยระบาย ช่วยในการถ่ายขี้เทาได้อีกด้วย
1.ประเมินลักษณะหัวนม ลานนม เต้านมและลักษณะการไหลของน้ำนม
0 คะแนน น้ำนมไม่ไหล
1 คะแนน น้ำนมไหล 1-2 หยด
2 คะแนน น้ำนมไหล >3 หยด
3 คะแนน น้ำนมไหลพุ่ง
4.ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูดนมที่ควรใช้ในทารก 4 ด.
ดูดถูกวิธี ครอบลานนม คางชนเต้า ใบหู ขากรรไกร ขยับตอนดูด
ดูดเกลี้ยงเต้า น้ำนมมีส่วนหน้าและหลัง ต้องดูดให้ได้ทั้งหมด
ดูดบ่อย ให้ดูดเสมอเมื่อลูกหิวเพื่อช่วยให้น้ำนมไหล
ดูดเร็ว ให้นมแม่ทันทีในช่วง 1 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
5.สอนและฝึกปฏิบัติการให้นมบุตรในท่าที่ถูกต้อง
ท่าอุ้มประคองศีรษะบนข้อพับแม่
ท่านอนควรหัดท่านอน เพื่อให้มารดาจะได้พักผ่อนมากขึ้น
ท่าอุ้มมือประคองศีรษะตรงข้ามที่ลูกดูด
ท่าอุ้มลูกฟุตบอล
6.สอนมารดากระตุ้นการไหลของน้ำนม
การประคบน้ำอุ่น
การนวดนม
7.ทบทวนการอาบน้ำให้ทารก
วัตถุประสงค์
เพื่อให้หญิงหลังคลอด มีความรู้ความสามารถในการดูแลตนเองและดูแลบุตรหลังคลอด
ข้อมูลสนับสนุน
Subjective data
มารดาบอกว่า “ลูกคนล่าสุดอายุ 8 ปีแล้ว”
Objective data
ก่อนคลอด G3 P2002 Last 8 ปี
จากการสังเกตการดูแลตนเองหลังคลอด ยังไม่ทราบเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง ได้แก่ การดูแลฝีเย็บ การบริหารท่าออกกำลังกายหลังคลอด การอุ้มท่าทารก 4 ท่า การให้นมบุตร และการอาบน้ำให้บุตร
ประเมิน LATCH Score = 7 คะแนน
สภาพเมื่อเริ่มดูแล
มารดาหลังคลอด
หญิงหลังคลอด อายุ 34 ปี G3P2002 Last 8 ปี GA 37+5wks. By U/S คลอดด้วยวิธี Normal delivery นอนพักบนเตียง ไม่มีอาการหน้ามืด เวียนศีรษะ รู้สึกตัวดีถามตอบรู้เรื่อง ช่วยเหลือตนเองได้ conjunctiva ไม่ซีด มีอาการคัดตึงเต้านม เต้านมสมมาตรกันทั้ง 2 ข้าง หัวนมข้างขวาแตก ไม่สั้น ไม่บอด ไม่บุ๋ม น้ำนม +1 ถึง+2 มดลูกหดรัดตัวไม่ดี Hight of fundus อยู่ระดับสะดือ Pain score = 7 คะแนน ฝีเย็บเป็นรอยถลอกไม่ได้เย็บ น้ำคาวปลาเป็นแบบ Lochia Rubra มีสีแดงสด ไม่มีก้อนเลือดปนออกมา ไม่มี foul lochia เปลี่ยน pad ทุก4ชั่วโมง ไม่ชุมpat ถ่ายปัสสาวะ 10 ครั้ง ไม่มีปัสสาวะแสบขัด ลักษณะสีเหลืองใส ไม่มีตะกอน ไม่มี bladder full ยังไม่ถ่ายอุจจาระ สัญญาณชีพ T=36.7 c, P=98/min, BP=124/78mmHg, RR=20/min
มารดาหลังคลอด
ทารกเพศหญิง น้ำหนักแรกเกิด 2,775 g. น้ำหนักปัจจุบัน 2,745 g.. รอบศีรษะ 32 cms. รอบอก 32 cms ลำตัวยาว 47 cms. ศีรษะทารก : ไม่มี Caput succedaneum และ Cephal hematoma เส้นผมสีดำกระจายทั่วศีรษะ พบ Anterior Fontanelle และ Posterior Fontanelle ใบหน้าสมมาตร ไม่มีผื่นแดง ไม่มีจ้ำเลือด หนังตาไม่บวมแดง ไม่มี Discharge หางตาไม่ชี้ จมูก septum ตั้งตรง หายใจไม่มีปีกจมูกบาน ไม่พบปากแหว่งเพดานโหว่ มี tongue tie ไม่มีฝ้าขาวบริเวณลิ้น ใบหูทั้งสองข้างสมมาตร ไม่มี Low set ear ไม่มี Discharge Elastic Recoil คืนกลับทันที ไม่มีอาการหายใจเร็ว ทารกดูดนมยังไม่ค่อยดี ปัสสาวะ 2 ครั้ง เป็นสีเหลืองใส มีการขับถ่ายอุจจาระ 1 ครั้ง เป็นสีเหลือง สัญญาณชีพ T= 36.5 °C, P= 136ครั้ง/นาที, RR = 56 ครั้ง/นาที
การประเมิน 13B
Background
1.2 ประวัติการตั้งครรภ์ในอดีต : G3P2002
1.3 ประวัติการตั้งครรภ์และการคลอดในปัจจุบัน : G3P2002 GA 37+5 Wks. By U/S LMP 5 สิงหาคม 2564 EDC 22 พฤษภาคม 2565 ไม่มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ วันที่ 25 เมษายน 2565 เวลา 05.30 น. มีอาการเจ็บครรภ์คลอด ปากมดลูกเปิดหมดเวลา 13.35 น. คลอดด้วยวิธี Normal delivery เวลา 13.39 น. คลอดทารกเพศหญิง น้ำหนัก 2,775 gm. ESL = 150 ml. รวมระยะเวลาการคลอดทั้งหมด 8 ชั่วโมง 51 นาที
1.1 ประวัติส่วนบุคคล : หญิงหลังคลอด อายุ 34 ปี สัญชาติไทย ระดับการศึกษา ปริญญาตรี สถานภาพ โสด ศาสนา อิสลาม อาชีพ แม่บ้าน รายได้ 40,000-60,000 บาทต่อเดือน น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ 62 กิโลกรัม ส่วนสูง158 cm. BMI 24.84 kg/m2 น้ำหนักวันที่คลอด 74 กิโลกรัม
1.4 ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว : มารดาของหญิงตั้งครรภ์หลังคลอดเป็นเบาหวาน
1.5 สังคม / เศรษฐกิจ : สภาพครอบครัวอาศัยอยู่บ้านของตนเอง ลักษณะเป็นบ้านจัดสรร 2 ชั้น 3 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ สมาชิกในบ้านมี 4 คน ประกอบด้วย สามี ภรรยา บุตรชาย 2 คน
Belief
มารดาหลังคลอดมีความเชื่อตามศาสนาที่ตนเองนับถือ คือ ไม่รับประทานเนื้อหมู ไม่ใส่เครื่องปรุงรส ไม่รับประทานอาหารหมักดอง ของเปรี้ยว และรสจัด ไม่ดื่มน้ำเย็น เน้นการรับประทานผลไม้
Body Condition
3.4 ความต้องการด้านอาหารและน้ำ : รับประทานอาหารอ่อนของทางโรงพยาบาลและดื่มน้ำวันละ 9-10 แก้ว
3.3 การนอนหลับพักผ่อนน : หญิงหลังคลอด ไม่มีอาการอ่อนเพลียหรือง่วงนอน แต่ไม่ค่อยได้หลับดีในช่วงกลางดึกเนื่องจากทารกร้องไห้ และต้องคอยให้นมทารกทุก 2 ชั่วโมง
3.5 ความสะอาดของร่างกายหญิงหลังคลอด : เสื้อผ้าของหญิงหลังคลอด ผ้าถุงสะอาดไม่เปื้อนเลือด ไม่มีกลิ่นน้ำปลาคาว ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ได้ถูกต้อง โดยเช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลัง เปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 4 ชั่วโมง
3.6 น้ำหนัก : หญิงหลังคลอดยังไม่ได้ชั่งน้ำหนัก
3.2 ภาวะซีด : ไม่พบภาวะซีด Conjunctiva ไม่ซีด ปลายมือปลายเท้าไม่ซีด Capillary filling time 2 sec. ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการก่อนคลอด HCTครั้งที่1 39% ครั้งที่ 2 = 38%
3.1 ลักษณะทั่วไป : หญิงหลังคลอดแต่งกายด้วยชุดโรงพยาบาลรู้สึกตัวดีถามตอบรู้เรื่อง สามารถ เคลื่อนไหวร่างกายได้ดี ลุกจากเตียงได้เอง ไม่มีอาการอ่อนเพลีย หรือง่วงนอน
Body temperature and blood pressure
สัญญาณชีพหญิงหลังคลอด เวลา 10.00 น
Respiratory rate = 22 bpm.
Temperature = 36.8 °CPulse = 84 bpm.
Temperature = 36.8 °C
Blood pressure = 122/82 mmHg
Breast and location
5.1 หัวนมและลานนม : หัวนมทั้งสองข้างไม่บอด ไม่บุ๋ม ไม่แบน หัวนมมีรอยแดงเล็กน้อย หัวนมขวาแตกเล็กน้อย ไม่มีเลือดออก ลานนมนิ่มคลำไม่พบก้อน มีความกว้างขนาด 2 นิ้ว เมื่อทดสอบโดย waller’s test สามารถจับหัวนมได้
5.2 เต้านม : เต้านมทั้งสองข้างสมมาตรกัน เต้านมแข็ง มีอาการคัดตึงเต้านม คลำไม่พบก้อน ไม่มีการอักเสบของเต้านม
5.3 น้ำนม : น้ำนมแม่เป็นชนิด colostrums การไหลของน้ำนมได้ 1 ถึง +2 คะแนน LACTH Score 7 คะแนน
Latch = การอมหัวนม 1 คะแนน
Audible = การดูดนมของทารก 1 คะแนน
Type of Nipple = ลักษณะของหัวนมมารดา 2 คะแนน
Comfort = ความสะดวกสบาย 2 คะแนน
Hold = การอุ้มทารก 1 คะแนน
Belly and uterus
6.1 หน้าท้อง ผิวหนังบริเวณหน้าท้องพบ Striae gravidarum และ linea nigra
6.2 มดลูก มดลูกหดรัดตัวไม่ดี Hight of fundus อยู่ระดับสะดือ มีอาการปวดมดลูก pain score = 7 คะแนน
Bladder
หญิงหลังคลอดถ่ายปัสสาวะ 10 ครั้ง มีลักษณะเหลืองใส ไม่มีตะกอน ไม่มีปัสสาวะแสบขัด ไม่มี full bladder
8.Bleeding and Lochia
Lochia Rubra ลักษณะสีแดงสด คล้ายประจำเดือน ไม่มีก้อนเลือดปนออกมา ไม่มี foul lochia ปริมาณ 2/4 ของ pad เปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 4 ชั่วโมง วันละ 4-5 ครั้ง หรือเมื่อรู้สึกว่าไม่สบายตัว
Bottom : หญิงหลังคลอดไม่มีแผลผีเย็บ
Bowel movement : ยังไม่มีการถ่ายอุจจาระ
Blue
การปรับตัวทางด้านจิตสังคมของมารดาอยู่ในระยะ Taking - in phase คือ ไม่สุขสบายจากการปวดมดลูก และคัดตึงเต้านม และช่วยเหลือตนเองได้น้อย มีความต้องการพึ่งพาผู้อื่น
Bonding and attachment
มีสัมพันธภาพที่ดีกับคนในครอบครัว มีสามีคอยอยู่ดูแล
Baby