Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัญหาและกิจกรรมการพยาบาล - Coggle Diagram
ปัญหาและกิจกรรมการพยาบาล
:red_flag:เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคไขมันในหลอดเลือดและโรคความดันโลหิตสูง
ข้อมูลสนับสนุน
S : ผู้สูงอายุบอกว่า “เป็นโรคความดันโลหิตสูง มา 10 ปี ตอนนี้รักษาที่โรงพยาบาลเทพปัญญา ต้องรับประทานยาเป็นประจำทุกวัน”
ผู้สูงอายุบอกว่า “3-4 เดือนที่แล้ว ตรวจเจอโรคไขมันในเลือดสูง รักษาที่โรงพยาบาลเทพปัญญา ได้ยามากิน
ผู้สูงอายุบอกว่า “ตอนเป็นโควิดน้ำหนักลด 3 กิโล เพราะเครียดเรื่องสุขภาพด้วย”
จากการสอบถามผู้สูงอายุบอกว่า “ช่วงนี้ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย เพราะโควิดระบาด"
ผู้สูงอายุบอกว่า “ตนเองอายุ 72 ปี ”
จากการสอบถามผู้สูงอายุบอกว่า ตอนนี้หนัก 75 kgs. ส่วนสูง 168 cm.
O : จากการประเมินดัชนีมวลกายของผู้สูงอายุ ได้ BMI : 26.57 kg./m2 แปลผลคือ อ้วน
จากการตรวจร่างกาย พบว่าผู้สูงอายุมีภาวะอ้วนลงพุง
จากประวัติของผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง มา 10 ปี และโรคไขมันในหลอดเลือด มา 3-4 เดือน
กิจกรรมการพยาบาล
แนะนำการปฏิบัติตัวของผู้ที่มี ภาวะไขมันในเส้นเลือดสูงและโรคความดันโลหิตสูง
แนะนำอาหารสำหรับผู้ที่มีภาวะไขมัน ในเลือดสูง และโรคความดันโลหิตสูง
1.อธิบายถึงสาเหตุการเกิดโรคและอันตรายของโรค
แนะนำให้ชั่งน้ำหนัก และจดบันทึกข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนัก
5.แนะนำให้รับประทานยาตาม แผนการรักษาของแพทย์
วัตถุประสงค์ทางการพยาบาล
เพื่อให้ผู้รับบริการไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคไขมันในเลือดและโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองตีบ (โรคอัมพฤกษ์)
เกณฑ์การประเมินผลทางการพยาบาล
ผู้สูงอายุสามารถบอกวิธีป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคไขมันในเลือดได้ 4 ใน 5 ข้อ
ผู้สูงอายุสามารถบอกอาหารที่ควรรับประทานได้เมื่อเป็นโรคไขมันในหลอดเลือดและโรคความดันได้ 4 ใน 5 ข้อ
ผู้สูงอายุสามารถบอกอันตรายของภาวะไขมันในเส้นเลือดสูงได้ 3 ใน 5 ข้อ
ผู้สูงอายุสามารถควบคุมน้ำหนักของตนเองได้ หรือไม่มีภาวะน้ำหนักเกิน หรือค่า BMI อยู่ในเกณฑ์ปกติ (18.5-22.9)
:red_flag:เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม
ข้อมูลสนับสนุน
subjective data
ผู้สูงอายุบอกว่า “เริ่มรู้สึกปวดหัวเข่า เวลายืนสักครึ่งชั่วโมงก็จะเริ่มปวดทั้ง 2 ข้าง แต่จะปวดข้างขวามากกว่า”
ผู้สูงอายุบอกว่า “ที่บ้านใช้ห้องน้ำใช้ชักโครกแบบนั่งยอง”
จากการสอบถามผู้สูงอายุบอกว่า “มีโรคประจำตัวเป็นความดันสูงเวลาลุกนั่งหรือยืนไวๆก็จะมีหน้ามืดบ้างบางครั้ง”
ผู้สูงอายุบอกว่า “หลังผ่าตัดไซนัสหูก็ไม่ค่อยได้ยิน ทั้งสองข้าง”
objective data
ผู้สูงอายุได้รับยารักษาโรคความดันโลหิตสูงและโรคไขมันในหลอดเลือดได้แก่ Amlodipine และ Simvastatin ซึ่งตัวยา 2 ชนิดนี้ มีผลข้างเคียงทำให้ผู้ที่รับประทานมีอาการปวดศีรษะ มึนหัว หน้ามืด และอ่อนเพลียได้
จากการตรวจร่างกายพบว่าขณะผู้สูงอายุเดินจะมีขาที่โก่ง โดยเฉพาะบริเวณหัวเข่าด้านขวาจะมีพิสัยการงอที่ผิดปกติ
จากการประเมิน(Oxford Knee Score) ได้ 39 คะแนน เริ่มมีอาการข้อเข่าเสื่อม
จากการตรวจหูโดยลองใช้นิ้วมือถูกันเบาๆ หน้าหูทีละข้างพบว่าผู้สูงอายุไม่ได้ยินทั้งสองข้าง และจากการทดสอบการได้ยินโดยการกระซิบข้างหูทีละข้าง พบว่าผู้สูงอายุไม่ได้ยินทั้งสองข้าง
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินภาวะเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม โดยการใช้แบบประเมินที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ หรือการสังเกต
2.การปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้ม
3.แนะนำให้ผู้สูงอายุปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมภายในและรอบบ้าน
4.แนะนำการรับประทานอาหารให้ ครบ 5 หมู่
5.การส่งเสริมการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ
วัตถุประสงค์ทางการพยาบาล
เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ
เกณฑ์การประเมิน
1.ผู้สูงอายุไม่เกิดอุบัติเหตุ เช่น การพลัดตกหกล้ม การพลัดตกเตียง ไม่มีบาดแผลตามร่างกาย
:red_flag:เสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อม
ข้อมูลสนับสนุน
subjective data
ผู้สูงอายุบอกว่า “ตนเองอายุ 72 ปี”
ผู้สูงอายุบอกว่า “ตนเองจบชั้นป.3 หลังจากนั้นก็มาทำงานเป็นคนสวนที่บ้านจัดสรร”
ผู้สูงอายุบอกว่า “ตนเองเป็นคนความจำไม่ค่อยดี”
objective data
จากการประเมิน MMSE ผลการประเมินได้ 14 คะแนน พบว่าผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสมองเสื่อม
จากการสังเกต ขณะพูดคุยกับผู้สูงอายุผู้สูงอายุมักจะมีอาการขี้หลงขี้ลืมในเรื่องที่กำลังพูดคุยกันอยู่
กิจกรรมการพยาบาล
อธิบายถึงสาเหตุการเกิดภาวะ สมองเสื่อม
แนะนำวิธีการชะลอความเสื่อมของ สมอง
แนะนำการเข้าสังคม พบปะผู้คน พูดคุย โต้ตอบบท สนทนาอย่างสม่ำเสมอ
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ ควรเข้านอน เกิน 4-5 ทุ่ม และควร นอนให้ได้อย่างน้อย 7 ชั่วโมง/วัน
แนะนำให้ผู้สูงอายุหมั่นเรียนรู้สิ่งใหม่อยู่เสมอ ควบคู่ไปกับการออก กำลังสมอง
วัตถุประสงค์ทางการพยาบาล
เพื่อให้ผู้รับบริการไม่มีภาวะสมองเสื่อม หรือมีการชะลอภาวะสมองเสื่อม
เกณฑ์การประเมินผลทางการพยาบาล
ผู้รับบริการสามารถบอกวิธีการชะลอความเสื่อมได้ 4 ใน 5 ข้อ