Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระบวนทัศน์หลักทางการพยาบาล - Coggle Diagram
กระบวนทัศน์หลักทางการพยาบาล
มโนมติของสุขภาพ (Health)
-ทำให้คนที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ดำเนินชีวิตได้ตามวัตถุประสงค์ ซึ่งความหมายดังกล่าวนี้ คือ ความหมายของสุขภาพดี หรือสุขภาพสมบูรณ์
-สุขภาพของคนจะประกอบด้วย2 ภาวะ คือ
สุขภาพ (Health)
ไนติงเกล (Nightingale,1860)
หมายถึง สภาวะที่ปราศจากและสามารถใช้พละกำลังของตนเองได้เต็มความสามารถ
องค์การอนามัยโรค (WHO,1947)
หมายถึง สภาวะที่มีความสมบูรณ์ของร่างกาย จิตใจ และสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขมิใช่เพียงแต่ปราศจากโรคและความพิการเท่านั้น
สุขภาพดี หมายถึง สภาวะที่ร่างกายมีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม จิตวิญญาณ ปราศจากโรคและความพิการใดๆ
ความเจ็บป่วย (illness)
หมายถึง สภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงหน้าที่ปกติทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
ซึ่งอาจจะเปลี่ยนด้านใดด้านหนึ่ง หรือหลายๆ ก้านรวมกัน
ทำให้บุคคลทำหน้าที่บกพร่องหรือทำหน้าที่ได้น้อยลงกว่าปกติ
ความหมาย
กระบวนการทัศน์ (Paradigm)
หมายถึง กรอบการมองหรือกรอบเค้าโครงแนวคิด หรือแบบอุดมคติหรือปรัชญาที่เป็นที่ยอมรับในกลุ่มวิชาชีพซึ่งจะให้ข้อตกลงเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ วิจัย และสร้างความเข้าใจในศาสตร์นั้นเป็นแนวเดียวกัน
METAPARADIGM
หมายถึง กรอบ ขอบเขต หรือโครงสร้างทางความคิดหรือมโนมติในภาพรวมกว้างๆของศาสตร์สาขาต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย มโนทัศน์ของศาสตร์สาขานั้นๆรวมทั้งมีการกำหนดลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์เหล่านั้นด้วย
กระบวนทัศน์ทางการพยาบาล ประกอบด้วยมโนทัศน์หลักเกี่ยวกับ
: Person
: Health
: Environment
: Nursing
ทฤษฎีทางการพยาบาล (Nursing Theory)
หมายถึง แก่นสาระความรู้ของวิชาชีพพยาบาล ซึ่งมุ่งอธิบายธรรมชาติของคน สิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อบุคคล ภาวะสุขภาพ ความเจ็บป่วยของบุคคลโดยมีเป้าหมายของการพยาบาลและกิจกรรมการพยาบาล
กรอบแนวคิด (CONCEPTUAL FRAMEWORK/MODEL
หมายถึง กลุ่มของมโนทัศน์ที่สัมพันธ์กันเป็นภาพรวมของปรากฎการณ์หรือความจริงที่ช่วยให้เห็นจึดเน้นของความคิด เปรียบเสมือนร่มโดยภายใต้ร่มประกอบด้วยทฤษฎีต่างๆ และครอบคุมกับปรากฏการณ์อย่างกว้างขวาง และมีความเแ็นนามธรรมสูง
มโนทัศน์พื้นฐานทางการพยาบาล
หมายถึง ความรู้ ความคิด ความเชื่อ ในสิ่งที่เป็นพื้นฐานของการพยาบาล
ประกอบด้วยความรู้พื้นฐานในมโนมติของคนสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และการพยาบาล
พยาบาลจะต้องศึกษาเพื่อที่จะเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติการพยาบาลของตน
กระบวนทัศน์หลักทางการพยาบาล
การพยาบาลมีความสัมพันธ์กับสุขภาพของคน
มีจุดหมายเพื่อช่วยเหลือคนให้สามารถดำรงภาวะสมดุลหรือภาวะสุขภาพดีได้ และช่วยเหลือคนเจ็บป่วยให้ปรับตัวกลับสู่ภาวะสมดุล
การพยาบาลมีความครอบคลุมในทุกภาวะสุขภาพของคน จะใช้กระบวนการพยาบาลเป็นกลวิธีในการช่วยเหลือ
ในการช่วยเหลือคนนั้นจะช่วยโดยใช้บทบาทในการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การดูแลรักษาและการฟื้นฟูสุขภาพ
กลไกการปรับสมดุลคนอาจอยู่ในภาวะที่ปรับตัวได้ สามารถที่จะดำรงความสมดุลไว้ได้ ซึ่งเรียกภาวะนี้ว่าสุขภาพดี หรือสมบูรณ์ ซึ่งมีระดับต่างๆ กัน
บางครั้งจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนและสิ่งแวดล้อมคนอาจไม่สามารถปรับตัวให้อยู่ในภาวะสมดุลได้ จึงเกิดภาวะเจ็บป่วยขึ้น ภาวะเจ็บป่วยที่เกิดอาจเป็นการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อย จนถึงภาวะวิกฤตหรือป่วยหนักซึ่งอาจถึงแก่ชีวิตได้
มโนมติพื้นฐานของคน สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และการพยาบาล จะมีความสัมพันธ์กัน คือ
คน จะอยู่ในสิ่งแวดล้อม โดยคนจะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา และพยายามดำรงตนให้อยู่ตลอดเวลา และพยายามดำรงตนให้อยู่ในภาวะสมดุล โดยใช้กลไกการปรับสมดุล
ความสำคัญของมโนมติพื้นฐานทางการพยาบาล
เป็นพื้นฐานของการพัฒนาศาสตร์ทางการพยาบาล
เป็นพื้นฐานการวิจัยทางการพยาบาล
เป็นพื้นฐานของการปฏิบัติการพยาบาล
พื้นฐานของการจัดการศึกษาพยาบาล
มโนมติของการพยาบาล (Nursing)
การพยาบาลเป็นการช่วยเหลือคน
เพื่อให้คนสามารถดำรงภาวะสุขภาพไว้/ช่วยให้คนกลับสู่ภาวะสุขภาพดีเมื่อเจ็บป่วย
คำว่ารักษาทางการพยาบาล คือ กิจกรรมที่พยาบาลปฏิบัติในขอบเขตหน้าที่ของตน ในการช่วยเหลือด้านพฤติกรรมของบุคคลที่เปลี่ยนไปจากเดิม อันเนื่องมาจากผลกระทวยจากปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้น หรือจากพฤติกรรมเสี่ยงต่อเกิดปัญหาสุขภาพ
การพยาบาลที่จะช่วยเหลือให้คนมีภาวะสุขภาพดี หรือปรับสู่ภาวะสุขภาพดี
2.2 การป้องกันโรค
การช่วยเหลือให้คนไม่เจ็บป่วยด้วยโรคหรือความเจ็บป่วยที่ป้องกันได้
เพื่อให้คนดำรงความมีสุขภาพดีไว้ได้
—การป้องกันโรคแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ซึ่งครอบคลุมการป้องกันทั้งด้าน ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม
2.3 การดูแลรักษา
การที่บุคคลคนหนึ่งต้องเปลี่ยนสถานภาพจากที่สุขภาพดีหรือสุขภาพปกติมาสู่การเป็นผู้ป่วย ตัดสินใจอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และพยาบาล และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามคำแนะนำ
2.1 การส่งเสริมสุขภาพ
การช่วยเหลือที่ช่วยให้คนมีสุขภาพดีกว่าที่เป็นอยู่ เช่น การให้คำแนะนำเพื่อให้คนรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับตนเอง การสอนให้คนออกกำลังกายให้ถูกวิธี
-ส่วนใหญ่เป็นการช่วยในการสร้างพฤติกรรมสุขภาพหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
2.4 การฟื้นฟูสภาพร่างกาย
เป็นระยะที่บุคคลออกจากภาวะของการเป็นผู้ป่วยกำลังกลับไปอยู่ในบทบาทของคนปกติทั่วไป
เป็นระยะที่จะกลับบ้านเพื่อไปดูแลตนเองต่อที่บ้าน มีการฟื้นฟูสภาพร่างหลังการเจ็บป่วยให้ดีขึ้น รวมทั้งการรักษาและดำรงไว้ในส่วนที่เสื่อมหรือเสียไปแล้วให้คงอยู่ในสภาพเดิม โดยไม่เสื่อมเพิ่มขึ้น
การพยาบาลเป็นบริการที่จำเป็นต่อสังคม
จากบทบาทและวิธีการปฏิบัติของพยาบาลที่มีลักษณะเฉพาะ
ในการช่วยเหลือผู้รับบริการทั้งที่เป็นรายบุคคล ครอบครัวและชุมชน ทำให้การพยาบาลเป็นบริการที่จำเป็นต่อสังคม
ถ้าขาดการพยาบาลที่มีคุณภาพ อาจส่วผลให้คนไม่สามารถดำรงภาวะสุขภาพดีไว้ได้หรือการปรับตัวสู่ความมีสุขภาพดี อาจจะทำด้วยความยากลำบาก
การพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาลในการช่วยเหลือผู้รับบริการประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆดังนี้ คือ
การประเมินสภาพ
-การวินิจฉัยการพยาบาล
-การวางแผนการพยาบาล
-การปฏิบัติการพยาบาล
-การประเมินผลการพยาบาล
การพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาลในการช่วยเหลือผู้รับบริการ
กระบวนการพยาบาลเป็นกระบวนการที่เป็นพลวัตรต่อเนื่องสัมพันธ์กันอยู่ตลอดเวลา
กระบวนการพยาบาลจะสิ้นสุดก็ต่อเมื่อความต้องการของผู้รับบริการได้รับการตอบสนองหรือปัญหาได้รับการแก้ไข/ปัจจัยเสี่ยงได้รับการจัดการให้หมดสิ้นไป
มโนมติของสิ่งแวดล้อม (Environment)
สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ
สิ่งมีชีวิตต่างๆ ทั้งพืช และสัตว์ ที่มีขนาดเล็กจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นจนถึงพืชและสัตว์ที่มีขนาดใหญ่โตกว่าคน
ตัวอย่างสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต ต้นพืชชนิดต่างๆ วัว ควาย สุนัข
สิ่งแวดล้อมทางเคมี
สารเคมีทุกชนิด รวมทั้งอาหาร ยา
ซึ่งอาจมาจากสิ่งมีชีวิตหรือสิ่งไม่มีชีวิต
สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
หมายถึง สิ่งแวดล้อมภายนอกที่ไม่มีชีวิต เช่น
ความร้อน แสง เสียง รังสี อากาศ ดิน น้ำ ลม ที่พักอาศัย สิ่งก่อสร้างต่างๆ
สิ่งแวดล้อมเหล่านี้จะมีผลเบื้องต้นต่อร่างกายคน
สิ่งแวดล้อมทางสังคม เศรษฐกิจ
ประกอบด้วย สิ่งแวดล้อมเป็นรูปธรรมและนามธรรม
สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่เป็นรูปธรรมที่สำคัญคือบุคคลที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน มีบทบาทหน้าที่ต่อกัน
หน่วยของสังคมที่สำคัญที่สุด คือ ครอบครัว
บุคคลในครอบครัวต่างก็เป็นสิ่งแวดล้อมซึ่งกันและกัน อาจก่อให้เกิดผลดีหรือผลเสียต่อกันก็ได้
สังคมที่ใหญ่กว่าครอบครัว ได้แก่ ชุมชนระดับต่างๆ ที่อาศัยตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ประเทศ
คนในชุมชนก็เป็นสิ่งแวดล้อมของบุคคลอื่นในชุมชนนั่นๆ
สิ่งแวดล้อมที่เป็นนามธรรม ไม่สามารถจะสัมผัสได้ แต่มีผลต่อพฤติกรรมของบุคคลที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมนั่นๆ เช่น
ความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรม ประเพณี กฎหมาย ศาสนา
คนไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยวแต่จะต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมซึ่งอาจเป็นสิ่งมีชีวิต หรือสิ่งไม่มีชีวิต
สิ่งแวดล้อมสามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่
แนวคิดภาวะสุขภาพ การเจ็บป่วยและการพยาบาล
ภาวะสุขภาพของบุคคลขึ้นอยู่กับความสามารถของบุคคลที่มีปฏิสัมพันธ์อย่างเหมาะสมต่อสิ่งแวดล้อม ความสามารถอันนั้นได้แก่ ปฏิกิริยาตอบสนอง (human response) และการปรับตัวของบุคคล (Human adaptation)
ภาวะสุขภาพจึงเป็นความต้องการสูงสุดของบุคคล สุขภาพดีจะช่วยให้กระบวนการเจริญเติบโต พัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมเป็นไปได้ด้วยดี
บุคคลจึงต้องมีการเรียนรู้และดูแลตนเองเพื่อให้เกิดสุขภาพดีอยู่ตลอดเวลาโดยการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมและสร้างศักยภาพของบุคคลในการดูแลตนเอง
ส่วนความเจ็บป่วยเป็นสภาวะที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงหน้าที่ปกติทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมเป็นภาวะที่บุคคลรู้สึกว่ามีสุขภาพไม่ดี
มโนมติของคน (Man)
คนมีพัฒนาการ
การมีพัฒนาการเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงด้านคุณภาพหรือคุณลักษณะของบุคคลแต่ละคนในด้านต่างๆ
การพัฒนาการจะเป็นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เกิดจนถึงชรา
การพัฒนาการของคนอาจแบ่งออกได้เป็น
ด้านร่างกาย ด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์ สังคม ด้านคุณธรรม
คนมีความต้องการภาวะสมดุล หรือภาวะปกติ
-คนจะมีความต้องการอยู่ในภาวะสมดุลอยู่ตลอดเวลา โดยในภาวะที่สมดุลแล้วก็จะพยายามดำรงภาวะนั้นไว้
กระบวนการที่ดำรงภาวะสมดุลหรือปรับสมดุลเรียกว่า กระบวนการปรับตัว หรือกลไกลต่อสู้เพื่อสมดุล ประกอบด้วย กระบวนการหรือกลไกทางด้านร่างกาย และจิตสังคม
5.1 ความต้องการดำรงภาวะสมดุล (Homeostasis) ประกอบด้วยความต้องการในระดับที่ไม่รู้ตัวเป็นไปโดยอัตโนมัติ และในระดับที่รู้ตัว
5.2 ความต้องการปรับสู่ภาวะสมดุล
เมื่อคนอยู่ในภาวะที่เสียสมดุลหรือต่างจากปกติ คนจะพยายามปรับสู่สภาวะสมดุลให้เร็วที่สุด โดยกลไกการปรับสู่ภาวะสมดุลอาจจะเป็นทั้งระบบอัตโนมัติหรือรู้ตัว
3.คนมีความต้องการพื้นฐาน
-ในแต่ละบุคคลจะมีความต้องการทั้งร่างกาย จิตใจและสังคม
ความต้องการของคนแบ่งออกได้เป็น 5 ระดับ ตามทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์
3.1 ความต้องการทางด้านร่างกายหรือสรีระ (Physical needs)
3.2 ความต้องการความปลอดภัย (Safety and security)
3.3 ความต้องการความรัก ความผูกพัน (Affiliation)
3.4 ความต้องการความภาคภูมิใจและความมีศักดิ์ศรี
3.5 ความต้องการความพอใจตนเอง (Self-actualization)
คนมีลักษณะพื้นฐานร่วมกันแต่มีความเป็นปัจเจกบุคคล
คนแต่ละคนมีลักษณะพื้นฐานร่วมกันทุกคน
คนแต่ละคนก็มีลักษณะเฉพาะของตนเองเรียกว่า ความเป็นปัจเจกบุคคล
ปัจจัยที่ทำให้แต่ละคนเป็นปัจเจกบุคคล คือ พันธุกรรม ระดับการพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย จิตสังคม และประสบการณ์ในชีวิต
คนเป็นระบบเปิด
-คนเป็นหน่วยมีชีวิตที่จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมตลอดเวลา
-การรับและการให้เกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมโดยมีความสัมพันธ์กัน
-มีการรับจากสิ่งแวดล้อม และมีการให้/ ตอบสนองแก่สิ่งแวดล้อม
คนมีสิทธิของตน
แต่ละบุคคล ไม่ว่าในภาวะที่เป็นเด็ก/ ผู้ใหญ่ในบทบาท/ ตำแหน่งใดก็ตามจะมีสิทธิแห่งตนตามภาวะที่ดำรงอยู่ เช่น
: สิทในการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเอง
: สิทธิในการได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย
: สิทธิในการได้รับการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย
คน
1.2 จิตหรือจิตใจ จิตใจของคนประกอบด้วย 3 ส่วนย่อยคือ
1.2.1 อารมณ์และความรู้สึก
1.2.2 จิตวิญญาณ (Spirit)
1.2.3 สติปัญญา หรือความคิด
1.3 สังคม
คือ ส่วนของคนที่เกี่ยวข้องกับบุคคลอื่นๆ รอบตัว
คนจะเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่นด้วย บทบาท หน้าที่ ของตนที่มีต่อบุคคลอื่น แต่ละบุคคลจะปฏิบัติต่อบุคคลอื่นอย่างไรนั่นขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่ในขณะนั้นเป็นสำคัญ
-สัมพันธภาพแต่ละบุคคลบทบาทและสัมพันธภาพมีส่วนสัมพันธ์กัน
1.1 กายหรือร่างกาย ประกอบด้วยส่วนของโครงสร้างและหน้าที่การทำงานของร่างกายของบุคคล
คนมีศักยภาพในการช่วยเหลือตนเอง
คนทุกคนมีความสามารถที่จะช่วยเหลือตนเองในด้านต่างๆ เช่น
: การช่วยตนเองในกิจวัตรประจำวัน
: การแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง