Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แบบแผนสุขภาพกอร์ดอน - Coggle Diagram
แบบแผนสุขภาพกอร์ดอน
1.แบบแผนการรับรู้สุขภาพและการดูแลสุขภาพ
(Health Perception-Health Management Patterns)
การซักประวัติ
• การรับรู้สุขภาพของตนเองหรือบุคคลที่รับผิดชอบทั้งอดีตและปัจจุบันเป็นอย่างไร
• ประวัติ ความถี่ในการเกิดอาการเจ็บป่วย บ่อยเพียงใด
• มีความรู้เกี่ยวกับโรคที่เป็นหรือสาเหตุของโรคถูกต้องหรือไม่
• มีความรู้สึกและความคาดหวังเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นอย่างไร
• มีความต้องการความช่วยเหลือจากทีมการพยาบาลหรือผู้รักษาอย่างไร
• การตรววจร่างกายประจำปี
• การได้รับภูมิคุ้มกัน
• การรับประทานยาเป็นประจำและเหตุผลที่รับประทานยา
• การมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพ
• ประวัติการแพ้สารต่างๆ
• การดูแลความสะอาดของร่างกายตนเอง
• การดูแลหรือความสนใจเอาใจใส่ของครอบครัวต่อสุขภาพของผู้ป่วย
การตรวจร่างกาย
• ลักษณะทั่วไปและความพิการ
• เคลื่อนไหวแขนขา การพูดคุย การแสดงสีหน้า
• ความสะอาดของร่างกาย เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย
• ความร่วมมือในการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยหรือครอบครัว
• สังเกตการปฏิบัติตนขณะเจ็บป่วยของผู้ป่วย หรือการได้รับการดูแลจากครอบครัว
ตัวอย่างคำถาม
• ทราบไหมว่าเป็นโรคอะไร ทราบวิธีการดูแลตนเองหรือไม่ ถ้าทราบดูแลตนเองอย่างไร
• เมื่อเจ็บป่วย/บาดเจ็บ ผู้ป่วยปฏิบัติอย่างไร
• เคยรักษาแบบพื้นบ้านหรือไม่ เคยรักษาด้วยวิธีการใดบ้าง
• รับรู้ผลกระทบของภาวะเจ็บป่วยต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตเป็นอย่างไร
• เคยสูบบุหรี่หรือไม่ ถ้าเคยให้ซักถามรายละเอียดเกี่ยวกับชนิด จำนวน ระยะเวลาที่สูบ
• เคยใช้ยาหรือสารเสพติดอะไรเป็นประจำ
2.แบบแผนด้านโภชนาการและการเผาผลาญอาหาร (Nutritional-Metabolism Patterns)
• ประเมินการทำงานของร่างกายทเกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการได้แก่ การเคี้ยว การกลืน การย่อย การดูดซึม และการเผาผลาญ
• ประเมินพฤติกรรมการรับประทานอาหารโดยพิจารณาความสอดคล้องกับอาหารที่ควรได้รับและน้ำหนักตัว
• ปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการได้รับสารอาหาร น้ำ เกลือเเร่ ค้นหาสิ่งที่บ่งชี้ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงของภาวะทุพโภชนาการ เช่น ความอยากอาหารลดลง
การตรวจร่างกาย
• สังเกตพฤติกรรมการรับประทาอาหาร
• ตรวจสอบของผิวหนังและเยื่อบุว่าซีดหรือไม่
• เยื่อบุปากและแผลในช่องปาก คอ ฟันผุ เหงือกอักเสบ ทอนซิลแดงโตหรือไม่
• ตรวจดูท่าทางว่ามีอาการอ่อนเพลีย กล้ามเนื้อแขนขาลีบหรือไม่
• ตรวจลักษณะท้อง ตับ ม้าม ก้อนในท้อง ฟังเสียงการเคลื่อนไหวของลำไส้ (Bowel sound)
• ประเมินภาวะโภชนาการว่า อ้วน ท้วม ปกติ หรือผอม ประเมินจากน้ำหนักและส่วนสูงที่สมดุลกัน
ตัวอย่างคำถาม
• ปกติอาหารที่รับประทานคืออะไร
• มีเบื่ออาหารไหม
• ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมามีน้ำหนักตัวเปลี่ยนแปลงไหม
• มีปัญหาการกลืน การเคี้ยว หรือถูกจำกัดอาหารไหม
• การเป็นแผล หายช้าหรือปกติ
• มีผิวแห้ง มีรอยโรคบ้างไหม
• มีปัญหาปาก เหงือกอักเสบ ฟันผุไหม
4.แบบแผนด้านการมีกิจกรรมและการออกกำลังกาย (Activity-Exercise Patterns)
• เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินระดับความสามารถในการประกอบกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน การดูแลบ้าน การประกอบอาชีพ
• ผลกระทบที่เกิดจากการเจ็บป่วยต่อการประกอบกิจกรรมและออกกำลังกาย
• ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อไม่สามารถทำกิจกรรมที่ตนเองต้องการ
การตรวจร่างกาย
• สังเกตความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ
• ประเมินความสามารถในการเคลื่อนไหวของแขนขา
• ตรวจร่างกายระบบต่างๆ เพื่อประเมินความสามารถในการทำกิจกรรม
• ตรวจวัดสัญญาณชีพ ประเมินอาการของความดันโลหิตสูง
• ตรวจอาการขาดออกซิเจน
ตัวอย่างคำถาม
• มีโรคประจำตัวที่ขัดขวางการทำกิจกรรมไหม
• ในเเต่ละวัน ตั้งเเต่ตื่นนอน ท่านทำอะไรบ้าง
• ปัญหาในการทำกิจกรรมนั้นๆหรือไม่
• แต่ละกิจกรรมที่ทำใช้เวลานานเท่าใด
6.แบบแผนสติปัญญาและการรับรู้
(Cognitive-perceptual Pattern)
การรับรู้ความรู้สึกและการตอบสนอง : แบบแผนเกี่ยวกับความสามารถของบุคคลในการรับรู้สิ่งเร้าและการตอบสนองต่อสิ่งเร้าด้านการรับรู้ความรู้สึกทั้ง 5 ทาง
ความสามารถทางสติปัญญา : แบบแผนเกี่ยวกับความสามารถและพัฒนาการทางสติปัญญาเกี่ยวกับความคิดความจำ ความสามารถในการตัดสินใจ
ตรวจร่างกาย
• ประเมินระดับความรู้สึกตัว
• สังเกตลักษณะทั่วไป เช่น รูปร่าง ลักษณะ หน้าตา
• ประเมินระดับสติปัญญาโดยใช้แบบทดสอบ
ตัวอย่างคำถาม
• ผู้ป่วยสามารถบอกวัน เวลา สถานที่ บุคคลได้
• ตอบคำถามได้ตรงประเด็นที่ถาม
• สามารถพูดโต้ตอบได้ ใช้ภาษาได้ดี
• มีความจำดี จำเรื่องราวที่ผ่านมาได้ดี
• การรับรู้ทางการสัมผัสได้ดี
5.แบบแผนการนอนหลับพักผ่อน
(Sleep-rest Pattern)
เป็นแบบแผนเกี่ยวกับการนอนหลับ การพักผ่อน ปัญหาเกี่ยวกับการนอน ปัจจัยส่งเสริม ปัจจัยเสี่ยง และอุปสรรคต่อแบบแผนการนอน กิจกรรมที่บุคคลปฏิบัติเพื่อให้ผ่อนคลาย รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแบบแผนอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วย
ตรวจร่างกาย
• สังเกตหน้าตาว่านอนหลับพักผ่อนเพียงพอหรือไม่
-ความสดชื่นแจ่มใส
-ง่วงนอน หาวนอนบ่อย
-ใต้ตาเป็นรอยเขียวคล้ำ
-นอนหลับเวลากลางวันตื่นเวลากลางคืน
ตัวอย่างคำถาม
• นอนวันละกี่ชั่วโมง นอนกลางวันไหม
• หลับสนิท หรือหลับๆตื่นๆ
• เมื่อตื่นนอนรู้สึกอย่างไร
• มีปัญหาการนอนไม่หลับไหม จัดการอย่างไร
3.แบบแผนการขับถ่ายของเสีย
(Elimination Patterns)
เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินกระบวนการขับถ่าย ลักษณะ ปริมาณ จำนวนครั้งของของเสียทุกประเภทที่ออกจากร่างกายทั้งอุจจาระ ปัสสาวะ น้ำและอิเลคโตรไลท์ ปัจจัยส่งเสริม ปัจจัยเสี่ยงและอุปสรรคต่อการขับถ่าย ตลอดจนกาเปลี่ยนแปลงกระบวนการขับถ่ายอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วยและการปรับตัวเพื่อแก้ไขปัญหา
การตรวจร่างกาย
• สังเกตสี ปริมาณ ลักษณะปัสสาวะที่ขับออกมาจากผู้ป่วยว่าปกติหรือไม่
• สังเกตการมีกระเพาะปัสสาวะเต็ม
• ตรวจร่างกายทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของระบบทางเดินปัสสาวะ
• ตรวจดูลักษณะท้อง ลักษณะอุจจาระว่ามีลักษณะผิดปกติหรือไม่
• ตรวจเลือดเพื่อดูระดับของยูเรีย ไนโตรเจน และครีเอตินินในเลือดบ่งบอกการทำงานของไต
• เอกซเรย์ Ultrasound ดูความผิดปกติของไต ท่อไต การอุดตันทางเดินอาหาร
ตัวอย่างคำถาม
• ถ่ายอุจจาระบ่อยแค่ไหน วันละกี่ครั้งหรือ สัปดาห์ละกี่ครั้ง
• ลักษณะของอุจจาระปกติ เป็นก้อนหรือเป็นน้ำ ลักษณะสีเป็นอย่างไร
• เหงื่ออกมากตอนไหน
• มีปัญหาการกลั้นไม่ได้ไหม
9.แบบแผนเพศสัมพันธุ์และการเจริญพันธุ์
(Sexuality-reproductive Pattern)
เป็นแบบแผนเกี่ยวกับพัฒนาการตามเพศซึ่งมีอิทธิพลมาจากพัฒนาการด้านร่างกายและอิทธิพลของสังคม สิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดู ลักษณะการเจริญพันธุ์ พฤติกรรมทางเพศและเพศสัมพันธ์ ปัจจัยส่งเสริม ปัจจัยเสี่ยง หรือปัจจัยอุปสรรคต่อพัฒนาการตามเพศ และการเจริญพันธ์ุ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแบบแผนอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วย
การตรวจร่างกาย
• สังเกตพฤติกรรมทางเพศจากลักษณะท่าทางที่แสดงออก ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น การใช้ภาษาและคำพูด
• เพศหญิง ตรวจเต้านม ต่อมน้ำเหลือง เพศชาย ตรวจอวัยวะเพศชาย
ตัวอย่างคำถาม
• ประวัติการมีประจำเดือน
• มีบุตรกี่คน
• คุมกำเนิดหรือไม่ ใช้วิธีใด
• ปัญหาเพศสัมพันธ์หรือไม่
11.แบบแผนค่านิยมและความเชื่อ
(Value–belief Pattern)
เป็นแบบแผนเกี่ยวกับความเชื่อ ความศรัทธา ความมั่นคงเข้มแข็งทางด้านจิตใจ สิ่งที่มีคุณค่า มีความหมายต่อชีวิต สิ่งยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ เป้าหมายในการดำเนินชีวิต ความเชื่อทางด้านสุขภาพ และการปฏิบัติตนตามความเชื่อ ปัจจัยส่งเสริม และปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความมั่นคงเข้มเเข็งทางด้านจิตใจ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแบบแผนอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วย
การตรวจร่างกาย
• สังเกตพฤติกรรมที่แสดงออกทางสีหน้า กริยาท่าทาง รวมทั้งการแสดงออกทางอารมณ์
• สังเกตคำพูดของผู้ป่วยและยาติที่แสดงถึงการให้คุณค่า
• สังเกตการแสดงออกที่แสดงถึงความเชื่อต่างๆ
ตัวอย่างคำถาม
• มีจุดมุ่งหมายในชีวิตอย่างไร
• มีสิ่งยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจคืออะไร
• สิ่งที่มีความหมายต่อผู้รับบริการมากที่สุดคืออะไร
• ความเชื่อเกี่ยวกับการเจ็บป่วยครั้งนี้เป็นอย่างไร
10.แบบแผนการเผชิญความเครียดและความทนต่อความเครียด
(Coping –stress tolerance Pattern)
เป็นแบบแผนเกี่ยวกับการรับรู้ลักษณะอารมณ์พื้นฐาน การรับรู้เกี่ยวกับความเครียด ปฏิกิริยาของร่างกายเมื่อเกิดความเครียด วิธีการแก้ไขและการจัดการกับความเครียด ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดความเครียด ปัจจัยส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการปรับตัวกับความเครียด รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแบบแผนอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วย
การตรวจร่างกาย
ตรวจสอบพฤติกรรมที่บ่งชี้ถึงความเครียด ความเศร้า ความวิตกกังวล
ตัวอย่างคำถาม
• ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในชีวิตไหม
• มีเรื่องไม่สบายใจ เครียดหรือไม่ แก้ไขอย่างไร
7.แบบแผนการรับรู้ตนเองและอัตมโนทัศน์
(Selfperception–Selfconcept Pattern)
แบบแผนที่เกี่ยวกับความคิด ความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อตนเอง การมองตนเองเกี่ยวกับรูปร่าง หน้าตา ความพิการ ความสามารถ คุณค่า เอกลักษณ์ และความภูมิในตนเอง ตลอดจนปัจจัยส่งเสริม ปัจจัยเสี่ยง และปัจจัยอุปสรรคที่มีผลต่อการรับรู้ตนเองและ
อัตมโนทัศน์ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแบบแผนอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วย
การตรวจร่างกาย
• สังเกตความสนใจตนเองของผู้ป่วย
• การแต่งกาย บุคลิกภาพ
• การกล่าวถึงตนเอง
• การสังเกตปฏิกิริยาตอบสนองหรือพฤติกรรมที่แสดงออกต่อการเปลี่ยนแปลงหรือสูญเสีย
ตัวอย่างคำถาม
• ท่านคิดว่าตัวเองเป็นคนมีนิสัยอย่างไร
• รู้สึกอย่างไรต่อสภาพตนเองตอนที่เจ็บป่วย
• คิดว่าตัวเองมีจุดเด่น จุดด้อยอะไรบ้าง
• คนอื่นมองคุณอย่างไร
• พื้นฐานอารมณ์เป็นอย่างไร
8.แบบแผนบทบาทและสัมพันธภาพ
(Role-relationship Pattern)
แบบแผนเกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ การติดต่อสื่อสารและการมีสัมพันธภาพกับบุคคลทั้งภายในครอบครัวและสังคม รวมทั้งปัจจัยส่งเสริม ปัจจัยเสี่ยงหรือปัจจุบันอุปสรรคต่อการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่และการสร้างสัมพันธภาพ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงบทบาทอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วย
การตรวจร่างกาย
• สังเกตพฤติกรรมต่างๆ หรือท่าทางที่แสดงออกต่อครอบครัวและบุคคลในครอบครัวแสดงต่อผู้ป่วย ลักษณะการโต้ตอบระหว่างผู้ป่วยกับบุคคลในครอบครัว รวมทั้งเพื่อน ผู้ร่วมงาน การมาเยี่ยมของคนในครอบครัวด้วย
ตัวอย่างคำถาม
• คุณอยู่กับใคร ครอบครัวมีใครบ้าง
• มีปัญหาในครอบครัวไหม
• ครอบครัวคิดอย่างไรกับการเจ็บป่วยของคุณ
• รู้สึกโดดเดี่ยวไหม
• ในที่ทำงานมีปัญหาไหม มีเพื่อนสนิทไหม