Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
upper gastrointestinal bleeding - Coggle Diagram
upper gastrointestinal bleeding
แผนการจำหน่าย
H : Health แนะนำให้ผู้ป่วยไม่ซื้อยาชุดมารับประทานเอง แนะนำให้ผู้ป่วยออกกำลังกายกิจกรรมที่แนะนำ เช่น การเดินเร็ว ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน หรือ เต้นแอโรบิค ซึ่งจะเป็นการออกกำลังกายแบบต่อเนื่อง ควรเน้นกิจกรรมที่มีการใช้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ในการเคลื่อนไหว และ เป็นกิจกรรมที่ไม่หนักจนเกินไป เพราะอาจส่งผลทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้ การออกกำลังกายที่ควรจะอยู่ในระดับที่เบา ถึงระดับปานกลาง ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอทำต่อเนื่องครั้งละ 10 นาที วันละ 30 นาที อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์หากท่านไม่เคยออกกำลังมาก่อน หรือรู้สึกไม่มั่นใจ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่ม
และส่งเสริมฟื้นฟูสภาพทางด้านร่างกายและจิตใจ ให้กําลังใจเพื่อลดความวิตกกังวล ให้ระบายความรู้สึกให้คนรอบข้างฟัง หมั่นสังเกตความผิดปกติ และให้หากิจกรรมที่ชอบทําเพื่อความสุขทางใจ
T : Treatment สังเกตอาการวิงเวียนศรีษะ อาเจียนเป็นเลือด ขับถ่ายอุจจาระเป็นเลือดสด หรือสีดำ ให้รีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
E : Environment แนะนําผู้ป่วยและญาติเรื่องสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้าน ให้ผู้ป่วยนอนอยู่ชั้นล่างของบ้านเพื่อสะดวกต่อการทํากิจวัตรประจําวัน จัดวาง สิ่งของให้สะดวกต่อการหยิบใช้ ทําความสะอาด จัดสิ่งแวดล้อมบริเวณรอบๆบ้านและจัดวางสิ่งของภายในบ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่มีสิ่งกีดขวางบริเวณทางเดิน มี แสงสว่างเพียงพอ และมีอากาศถ่ายเทสะดวก
O : Out patient แนะนำให้ผู้ป่วยมาตามตรวจตามนัดทุกครั้ง ดูวันเวลาสถานที่ให้แน่ชัดและการติดต่อขอความช่วยเหลือจากสถานพยาบาลใกล้บ้านในกรณีเกิดภาวะฉุกเฉิน
M : Medication นะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยาให้ถูกเวลา ถูกขนาด ตามคำสั่งของแพทย์ หากมีอาการอาการอาเจียนเป็นเลือด ขับถ่ายอุจจาระเป็นเลือดสด หรือสีดำ ให้ผู้ป่วยติดต่อสถานพยาบาลใกล้บ้าน หรือไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
D : Diet แนะนำให้ผู้รับให้ผู้ป่วยรับประทานข้าวสายพันธุ์ 313 และข้าวหอมนิลเนื่องจากมีคาร์โบไฮเดรตสูง มีธาตุเหล็ก กรดโฟลิก และคลอโรฟิลล์ ซึ่งเป็นสารที่มีโมเลกุลคล้ายกับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง และธัญพืชต่างๆ เช่น ถั่วแดง ถั่วดำ อัลมอนด์ ลูกเดือย เม็ดฟักทอง เป็นต้น พืชผักใบสีเขียวเข้มทุกชนิด เช่น ผักบุ้ง หน่อไม้ฝรั่ง ผักโขม คะน้า บร็อกโคลี่ และเลือดสัตว์ ตับสัตว์ เนื้อสัตว์ต่างๆอาหารเหล่านี้จะมีธาตุเหล็กอยู่มาก ซึ่งธาตุเหล็กจะช่วยบำรุงโลหิต และธาตุเหล็กที่มาจากสัตว์ ลำไส้จะดูดซึมไปใช้ได้มากกว่าธาตุเหล็กที่มาจากพืช และเนื่องจากผู้ป่วยมีโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จึงแนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงอาหารดังนี้ ได้แก่ อาหารที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ เช่น เค้ก คุกกี้ ไอศกรีม ขนมหวาน และช็อกโกแลต เป็นต้น เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น น้ำหวาน น้ำอัดลม นมเปรี้ยว นมปรุงแต่งรส น้ำผลไม้ เครื่องดื่มชูกำลัง และน้ำเกลือแร่ ผลไม้เชื่อม ผลไม้ตากแห้ง น้ำผึ้ง และลูกอม ถ้าต้องการบริโภคอาหารที่มีรสหวาน สามารถใช้น้ำตาลเทียมได้ และ อาหารที่รับประทานได้ กำหนดปริมาณ เช่น ข้าว ขนมปัง เผือก มัน ข้าวโพด ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ วุ้นเส้น ขนมจีน และถั่วต่างๆ อาหารกลุ่มนี้เมื่อรับประทานเข้าไป จะถูกย่อยสลายเป็นน้ำตาล และอาหารประเภทโปรตีน ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่างๆ ไข่ นม ผลิตภัณฑ์จากนม (เนย ชีส) เต้าหู้ และถั่วเมล็ดแห้ง ร่างกายจำเป็นต้องใช้โปรตีน ในการเจริญเติบโต และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ แต่ถ้ารับประทานโปรตีนมากเกินไป ไตต้องทำงานหนักเพิ่มมากขึ้นในการขับของเสียจากการย่อยสลายโปรตีน ทำให้ไตทำงานบกพร่องได้ และเนื้อสัตว์หลายชนิดมีไขมัน และมีคอเลสเตอรอลสูง ดังนั้นจึงควรรับประทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไม่ติดหนัง อาหารที่มีโซเดียมสูง หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม ควรงดการเติมเครื่องปรุงรส เช่น ผงชูรส ผงฟู อาหารหมักดอง เช่น เต้าเจี้ยว กะปิ ปลาเค็ม อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก เบคอน หมูแฮม ไขมันจากสัตว์และพืชบางชนิด เช่น น้ำมันมะพร้าวน้ำมันปาล์ม น้ำมันหมู งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่
D : Diagnosis แจ้งให้ผู้ป่วยทราบว่าผู้ป่วยเป็นภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น เกิดจากทางเดินอาหารอักเสบหรือเป็นแผล ตามปกติทางเดินอาหารจะมี mucosal barrier เพื่อป้องกันการย่อยตัวเอง(acid autodigestion) เมื่อมีการหลั่งกรด โดยมีprostaglandin เป็นตัวช่วยป้องกัน แต่ถ้ากลไกการป้องกันล้มเหลวหรือขาคความสมดุล จะทำให้ทางเดินอาหารอักเสบ มีการทำลายของ mucosa ทำให้เกิดอันตรายต่อเส้นเลือดเล็กๆ(small vessels) ทำให้เกิดการบวม เลือดออก และรอยถลอก เลือดที่ออกมาจะทำปฏิกิริยากับน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร จึงทำให้เลือดเป็นสีดำ ผู้ป่วยมักมาด้วยอาการอาเจียนเป็นเลือดสดหรือเลือดเก่า และถ่ายดำ
การตรวจร่างกาย
ระบบหมุนเวียนโลหิต : PR 84 ครั้ง/นาที
BP 128/86 mmHg
ระบบทางเดินหายใจ :BT 36.9 องศาเซลเซียล
RR 19 ครั้ง/นาที
ศีรษะ : สมมาตรกันทั้งสองข้าง
ตา : มองเห็นดี ไม่มีตาแดง ตาไม่เหล่
หู : หันตามเสียงเรียก ตกใจเวลาได้ยินเสียงดัง ไม่มีหนองไหลจากรูหู
จมูก : ไม่มีเลือดกำเดา ไม่มีน้ำมูกไหล
คอ : เคลื่อนไหวได้ตามปกติ ไม่มีคอเอียง
ต่อมน้ำเหลือง : ไม่เคยเห็นก้อนผิดปกติที่คอ
ระบบเดินปัสสาวะ : ถ่ายปัสสาวะได้ สีเหลืองใส ไม่ขุ่น ไม่ปวด ไม่แสบ
Motor power : แขนขวาเกรด 5 ,แขนซ้ายเกรด 5,ขาซ้ายเกรด 5,ขาขวาเกรด 5
การรักษา
การใช้ยา
NSS 0.9 %
กลไกการออกฤทธิ์ :รักษาสภาพแรงตึงออสโมติคของเลือดและเนื้อเยื่อ การเปลี่ยนแปลง ปริมาณโซเดียมและคลอไรด์จะทำให้แรงตึงออสโมติคเปลี่ยนแปลง ดังนั้นจึงมีผลต่อการเคลื่อนที่ของของเหลวและ การแพร่กระจายของเกลือชนิดต่าง ๆ ในเซลล์เนื้อเยื่อ ผลข้างเคียง :ปวดบวมบริเวณที่ถูกฉีดน้ำเกลือเข้าไปมากขึ้นเรื่อย ๆ หรืออาการปวดบวมนั้นไม่หายไป
Acetar
เป็นสารน้าที่มีความเข้มข้น (osmolarity) เท่ากับสารน้าในร่างกาย ให้เพื่อทดแทนสารน้าที่ร่างกายสูญเสีย เป็นการทดแทนน้าที่อยู่นอกเซลล์ (extracellular volume)
ผลข้างเคียง :ปวดบวมบริเวณที่ถูกฉีดน้ำเกลือเข้าไปมากขึ้นเรื่อย ๆ หรืออาการปวดบวมนั้นไม่หายไป
Losec
กลไกการออกฤทธิ์ : โดยตัวยาจะไปยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ Hydrogen/Potassium Adenosine Triphosphatase หรือ H+/K+ ATPase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีส่วนในการสร้างกรดในกระเพาะอาหารจึงทำให้กรดมีปริมาณลดลง ผลข้างเคียง :อาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องผูก ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียนเหตุผลที่ใช้ยากับผู้ป่วย :เพื่อป้องกันการเกิดแผลและเลือดออกซ้ำ
5%DW
เป็นสารน้าที่มีความเข้มข้น (osmolarity) เท่ากับสารน้าในร่างกาย ให้เพื่อทดแทนสารน้าที่ร่างกายสูญเสีย เป็นการทดแทนน้าที่อยู่นอกเซลล์ (extracellular volume)ผลข้างเคียง :ปวดบวมบริเวณที่ถูกฉีดน้ำเกลือเข้าไปมากขึ้นเรื่อย ๆ หรืออาการปวดบวมนั้นไม่หายไป
transamin
กลไกการออกฤทธิ์ : ออกฤทธิ์ยับยั้งการสลายตัวของไฟบริน (antifibrinolytic) โดยยาจะเข้าจับที่ fibrin biding site บน plasminogen แบบผันกลับได้ ทำให้โครงสร้างของไฟบรินคงตัว
ผลข้างเคียง : คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เวียนศีรษะ ภาวะความดันโลหิตต่ำ ภาวะที่มีลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือด
เหตุผลที่ใช้ยากับผู้ป่วย : เพื่อห้ามเลือด
ceftriaxone
กลไกการออกฤทธิ์ : เข้าจับกับ penicillin-binding protein (PBPs) ที่จะยับยั้งกระบวนการทรานส์เปปทิเดชันในขั้นตอนสุดท้ายของการสังเคราะห์เปปทิโดไกลแคนของผนังเซลล์ของแบคทีเรีย เป็นผลให้ยับยั้งสารชีวสังเคราะห์ของผนังเซลล์แบคทีเรียและหยุดการประกอบโครงสร้างของผนังเซลล์ผลข้างเคียง :ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ไข้ หนาวสั่น เม็ดเลือดขาวสูง การเพิ่มขึ้นของระดับ AST, ALT และ BUN ในกระแสเลือด ปวดบริเวณที่ฉีด โลหิตจาง ผื่นแดงเหตุผลที่ใช้ยากับผู้ป่วย : ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
pantoprazole
กลไกการออกฤทธิ์ : ออกฤทธิ์ลดการผลิตกรดจากกระเพาะอาหาร ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนยอดอก (Heartburn) อาการกลืนลำบาก และอาการไอเรื้อรังได้ ยายังช่วยในการหายของแผลในกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดแผลใหม่
ผลข้างเคียง :มีความเปลี่ยนแปลงทางน้ำหนัก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วงระดับเบา มีแก๊ส ปวดท้อง วิงเวียน ง่วงซึม รู้สึกเหนื่อยล้า ปวดข้อต่อ นอนไม่หลับ
เหตุผลที่ใช้ยากับผู้ป่วย :ป้องการการเกิดแผลและเลือดออกซ้ำ รักษาแผลที่กระเพาะอาหาร
Esophagogastroduodenoscopy:EGD
คือ การตรวจหาจุดเลือดออก โดยการส่องกล้องตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น
การให้เลือด
ได้รับเลือด Packed Red Cells 1 unit
เหตุผลที่ให้ : Hct 19 %
ประวัติการเจ็บป่วย
PH
มีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูงมา 10 ปี ดูแลรักษาที่โรงพยาบาลพล ปฏิเสธการแพ้ยา ปฏิเสธการแพ้อาหาร ปฏิเสธการผ่าตัด
FH
ปฏิเสธโรคถ่ายถ่ายทอดทางพันธุกรรม
PI
3 เดือนก่อนมาโรงพยาบาล มีอาการปวดขา จึงไปซื้อยาชุดที่ร้านขายยามากินตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา 8 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล มีอาการอาเจียนเป็นเลือด 1 ครั้ง มีอาการวินเวียนศีรษะ อาการไม่ดี จึงนำส่งโโรงพยาบาลพล
CC
refer จากโรงพยาบาลพลด้วยอาการอาเจียนเป็นเลือด 1 ครั้ง 8 hr ก่อนมาโรงพยาบาล
การพยาบาล
1.ผู้ป่วยเสี่งเกิดภาวะ re-bleeding หรือ เลือดออกซ้ำ
2.ผู้ป่วยเสี่ยงอันตรายต่อภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
3.ผู้ป่วยเสี่ยงอันตรายต่อภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
4.ผู้ป่วยเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง เช่น อาจเกิดการฉีกขาดของผนังหลอดเลือดแดงใหญ่
5.แบบแผนการพักผ่อนไม่เพียงพอเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
6.ผู้ป่วยมีโอกาสกลับเป็นซ้ำเมื่อกลับไปอยู่บ้าน เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
upper gastrointestinal bleeding or nonbleeding visible vesse (nbvv) at bulb of duodenum
สาเหตุ
รับประทานยาชุดเป็นประจำ 3 เดือนก่อนมาโรงพยาบาล
อาการและอาการแสดง
อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ มีอาการวิงเวียนศรีษะ
หมายถึง
คือ ภาวะเลือดออกที่ทางเดินอาหารส่วนต้น
ภาวะแทรกซ้อน
จากการส่องกล้องอาจทำให้ปอดอัดเสบจากการสำลัก หรืออวัยวะภายในทะลุ
แบบแผนการดำเนินชิวิต
แบบแผนการพักผ่อนเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากสภาพแวดล้อม
ข้อมูลส่วนบุคคล
ผู้ป่วยชายไทย อายุ 70 ปี สถานภาพ คู่ เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย ศาสนาพุทธ ระดับการศึกษาประถมศึกษา อาชีพเกษตรกร รายได้ - บาทต่อเดือน สิทธิทางการรักษา หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
Hematocrit
19%
ต่ำกว่าปกติเนื่องจากสูญเสียเลือดบริเวณทางเดินอาหารส่วนต้น