Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แบบแผนสุขภาพ (Functional health patterns) - Coggle Diagram
แบบแผนสุขภาพ
(Functional health patterns)
แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน
แบบแผนการรับรู้สุขภาพและการดูแลสุขภาพ
(Health Perception-Health Management Patterns)
•เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินความคิด ความเข้าใจของ บุคคลต่อภาวะสุขภาพ โดยทั่วไปของตนเองและของผู้ที่ตนรับผิดชอบ ว่าถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ และมีความคาดหวังต่อภาวะสุขภาพหรือการรักษาอย่างไร
•ความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเอง
•พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพการป้องกันความเจ็บป่วยการดูแลรักษาและการฟื้นฟูสภาพร่างกาย
•รวบรวมโดยการซักประวัติและการตรวจร่างกาย
การซักประวัติ
การรับรู้สุขภาพ ทั้งอดีตและปัจจุบันเป็นอย่างไรถูกต้องหรือไม่
ประวัติความถี่ในการเกิดอาการเจ็บป่วยบ่อยเพียงใด
มีความรู้เกี่ยวกับโรคที่ โรคที่เป็นหรือสาเหตุของโรคถูกต้องหรือไม่ อย่างไร และวิธีการแก้และวิธีการแก้ไขเมื่อเจ็บป่วย
มีความรู้สึกและความคาดหวังเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นอย่างไร
มีความต้องการความช่วยเหลือจากทีมการพยาบาลหรือผู้รักษาอย่างไร
มีการตรวจร่างกายประจำปี
ได้ได้รับภูมิคุ้มกัน
การรับประทานยาการรับประทานยาเป็นประจำไหมเหตุผลที่รับประทานยา
การมีการมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพเช่น การดื่มเหล้า การสูบบุหรี่ การติดสารเสพติด
ประวัประวัติการแพ้สารต่างๆ
การดูการดูแลความสะอาดของร่างกายตนเอง
การดูแลการดูแลหรือความสนใจเอาใจใส่ของครอบครัวต่อสุขภาพของผู้ป่วย
การตรวจร่างกาย
ทั่วทั่วไปและความพิการ เช่นการเคลื่อนไหวแขนขาท่าทางการเดิน
ความสะอาดของร่างกาย เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย
ความร่วมมือในการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยหรือครอบครัว
สังเกตการปฏิบัติตนขณะเจ็บป่วยของผู้ป่วย
แบบแผนโภชนาการและการเผาผลาญสารอาหาร
•ประเมินพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยพิจารณาความสอดคล้องกับอาหารที่ควรได้รับและน้ำหนักตัว
•ปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการได้รับสารอาหารน้ำเกือแร่ค้นหาสิ่งที่บ่งชี้ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงของภาวะทุพโภชนาการ
• ประเมินการทำงานของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการ
การซักประวัติ
แบบแผนเกี่ยวกับบริโภคนิสัยและแบบแผนการดำเนินชีวิต (lifestyle)
มีความรู้เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการหรือไม่
ประวัติการเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
ปัญหาในการรับประทานอาหาร
ประวัติการเพิ่มหรือลดของน้ำหนักตัวจากปกติ
การตรวจร่างกาย
ตรวจลักษณะท้อง ตับ ม้าม การในท้อง ฟังเสียงการเคลื่อนไหวของลำไส้ (Bowel sound)
ประเมินภาวะโภชนาการว่าอ้วน ท้วม ปกติ หรือผอม โดยประเมินจากน้ำหนักและส่วนสูงที่สมดุลย์กันหรือประเมินจากดัชนีมวลกาย (BMI)
ค่าดัชนีมวลกาย = น้ำหนัก(ก.ก)/ส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลัง2
การตรวจทางห้องปฏิบัตการและการตรวจพิเศษ
การตรวจเลือดเพื่อประเมินปัญหาเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ
การตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องประเมินความผิดปกติเอาของอวัยวะภายใน
แบบแผนการขับถ่าย(Elimination)
เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินกระบวนการขับถ่ายลักษณะปริมาณจำนวนครั้งของของเสียทุกประเภทที่ออกจากร่างกาย ทั้งอุจจาร ปัสสาวะ น้ำและอีเล็กโตไลท์ ปัจจัยส่งเสริม ปัจจัยเสี่ยงและอุปสรรคต่อการขับถ่าย ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงกระบวนการขับถ่าย
การซักประวัติ
•ประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับ ระบบทางเดินปัสสาวะหรือไต
•ประวัติการใช้ยาต่างๆ
•ปัจจัยส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อแบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะปกติเช่นความสะดวกหรือลำบากในการไปห้องน้ำ
•ปัญหาการขับถ่ายปัสสาวะและวิธีการแก้ไขเช่นปัสสาวะแสบขัดปัสสาวะลำบาก
• แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะเช่นปัสสาวะวันละกี่ครั้งจำนวนมากน้อยเท่าใด
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
• ตรวจปัสสาวะเพื่อประเมินความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ
• ตรวจเลือดเพื่อดูระดับของยูเรียไนโตรเจนและครีอะตินีนในเลือดวงบอกการทำงานของไต
•เอกซเรย์อัลตราซาวด์ดูความผิดปกติของไต
• การตรวจอุจจาระเพื่อประเมินว่าอุจจาระมีเม็ดเลือดแดงเม็ดเลือดขาวพยาธิหรือมีเลือดปนในอุจจาระหรือไม่
• การสองกล้องเข้าทางทวารหนักเพื่อตรวจหาก็ผิดปกติของลำไส้ใหญ่
แบบแผนกิจกรรมและการออกกำลังกาย (activity and exercise)
เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินระดับความสามารถในการประกอบกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน
การซักประวัติ
ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง
กิจกรรมในงานอาชีพหนักเบาอย่างไร
ประวัติเกี่ยวกับนันทนาการ
ประวัติการเป็นโรคที่อุปสรรคต่อการปฎิบัติกิจวัตรประจำวัน
ปัจจัยที่ทำให้ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรจำวันเปลี่ยนแปลง
การได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุต่อกระดูก
การตรวจร่างกาย
สังเกตความสามารถในการทำกิจกรรมต่าง
ประเมินความสามารถในการเคลื่อนไหวของแขนขา
ตรวจวัดสัญญาณชีพประเมินอาการความดันโลหิต
ตรวจอาการขาดออกซิเจน
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
การตรวจเลือดและตรวจเอกซเรย์ปอดเพื่อประเมินความผิดปกติ
แบบแผนการพักผ่อนนอนหลับ (Sleep and Rest)
เป็นแบบแผนเกี่ยวกับการนอนหลับ การพักผ่อน ปัญหาเกี่ยวกับการนอน ปัจจัย
ส่งเสริม ปัจจัยเสี่ยง และอุปสรรคต่อแบบแผนการนอน กิจกรรมที่บุคคลปฏิบัติ
เพื่อให้ผ่อนคลาย รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแบบแผนอันเนื่องมาจากความ
เจ็บป่วย
การซักประวัติ
พฤติกรรมการนอน ประวัติเกี่ยวกับดอุปนิสัยการนอน
พฤติกรรมหรือสิ่งที่ช่วยทำให้นอนหลับได้ง่าย
การตรวจร่างกาย
สังเกตหน้าตาว่านอนหลับพักผ่อนเพียงพอหรือไม่ม
แบบแผนสติปัญญาและการรับรู้ (Cognition and Perceptlon)
การรับรู้ความรู้สึกและการตอบสนอง
ความสามารถทางสติปัญญา
การซักประวัติ
ความรู้สึกทั่วไป สุขสบายหรือไม่สุขสบาย
ปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้ความรู้สึกทางผิวหนัง เช่น อาการชา คัน ความเจ็บปวด
ประวัติความเจ็บป่วยหรือโรคประจำตัวที่มีผลต่อการรับรู้ความรู้สึก
พัฒนาการด้านสติปัญญา โดยการซักถามเกี่ยวกับความสามารถในการเรียน ความสามารถในการ
ทำงาน การคิด การจำ การตัดสินใจ แก้ปัญหาและการสื่อสาร
ความเจ็บป่วยที่ทำให้ความสามารถทางสติปัญญาเปลี่ยนแปลง
ประวัติการได้รับยาบางชนิดซึ่งมีผลต่อความคิด ความจำ หรือทำให้มีอาการสับสน
การตรวจร่างกาย
ประเมินระดับความรู้สึกตัว
สังเกตลักษณะทั่วไป
ประเมินระดับสติปัญญา (IQ) โดยใช้แบบทดสอบ
แบบแผนการรับรู้ตนเองและอัตมโนทัศน์(Self perception and Self concept)
แบบแผนที่เกี่ยวกับความคิด ความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อตนเอง (อัตมโนทัศน์) การมองตนเอง
เกี่ยวกับรูปร่าง หน้าตา ความพิการ (ภาพลักษณ์) ความสามารถ คุณค่า เอกลักษณ์ และ ความภูมิใจในตนเอง ตลอดจนปัจจัยส่งเสริม ปัจจัยเสี่ยง และปัจจัยอุปสรรคที่มีผลต่อการรับรู้ ตนเองและอัตมโนทัศน์ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแบบแผนอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วย
การซักประวัติ
ความรู้สึกต่อตนเองเกี่ยวกับภาพลักษณ์โดยทั่วไป
ความรู้สึกต่อตนเองเกี่ยวกับความสามารถในด้านต่างๆ
ความรู้สึกต่อตนเองเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงร่างกายที่มีอุปกรณ์เพิ่มขึ้น
การตรวจร่างกาย
สังเกตความสนใจตนเองของผู้ป่วย
การแต่งกาย บุคลิกภาพ
การกล่าวถึงตนเอง
การสังเกตปฏิกิริยาตอบสนองหรือพฤติกรรมที่แสดงออกต่อการเปลี่ยนแปลงหรือสูญเสีย
แบบแผนบทบาทและสัมพันธภาพ (Role and Relationship)
แบบแผนเกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ การติดต่อสื่อสารและการมีสัมพันธภาพกับ
บุคคลทั้งภายในครอบครัวและสังคม รวมทั้งปัจจัยส่งเสริม ปัจจัยเสี่ยงหรือปัจจัยอุปสรรค ต่อ
การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่และ การสร้างสัมพันธภาพ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงบทบาทอัน
เนื่องมาจากความเจ็บป่วย
การซักประวัติ
โครงสร้างครอบครัว
หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ป่วยและสมาชิกคนอื่นๆ
สัมพันธภาพของผู้ป่วยกับครอบครัวเพื่อนร่วมงานเพื่อนบ้าน
การตรวจร่างกาย
สังเกตพฤติกรรมต่างๆ หรือท่าทางที่แสดงออกต่อ
ครอบครัวและบุคคลในครอบครัวแสดงต่อผู้ป่วย ลักษณะ
การโต้ตอบระหว่างผู้ป่วยกับบุคคลในครอบครัว รวมทั้ง
เพื่อน ผู้ร่วมงาน การมาเยี่ยมของคนในครอบครัวด้วย
แบบแผนเพศและการเจริญพันธุ์ (Sexuality and Reproduction)
เป็นแบบแผนเกี่ยวกับพัฒนาการตามเพศซึ่งมีอิทธิพลมาจากพัฒนาการด้านร่างกาย
และอิทธิพลของสังคม สิ่งแวคล้อม การเลี้ยงดู ลักษณะการเจริญพันธุ์ พฤติกรรม ทางเพศและเพศสัมพันธ์ ปัจจัยส่งเสริม ปัจจัยเสี่ยง หรือปัจจัยอุปสรรคต่อพัฒนาการ
ตามเพศ และการเจริญพันธุ์ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแบบแผนอันเนื่องมาจาก
ความเจ็บป่วย
การซักประวัติ
การเจริญพันธุ์ และการทำงานของระบบสืบพันธ์ุ
การมีเพศสัมพันธ์ ปัญหาเพศสัมพันธ์
การมีพฤติกรรมการมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่ติดต่อ
การตรวจร่างกาย
สังเกตพฤติกรรมทางเพศจากลักษณะท่าทางที่แสดงออก
เพศหญิงตรวจ เต้านม ต่อมน้ำเหลือง อวัยวะเพศหญิง
เพศชายตรวจอวัยวะเพศชาย
แบบแผนการปรับตัวและการเผชิญความเครียด
(Coping and Stress tolerance)
เป็นแบบเผนเกี่ยวกับการรับรู้ลักษณะอารมณ์พื้นฐาน การรับรู้เกี่ยวกับความเครียด
ปฏิกิริยาของร่างกายเมื่อเกิดความเครียด วิธีการแก้ไขและการจัดการกับความเครียด ปัจจัย เสี่ยงที่ทำให้เกิดความเครียด ปัจจัยส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการปรับตัวกับ ความเครียด รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแบบแผนอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วย
การซักประวัติ
ข้อมูลทั่วไป
สัมภาษณ์เกี่ยวกับลักษณะอุปนิสัยแล้วเรื่องพื้นฐานของผู้ป่วย
ซักซักถามสิ่งที่ทำให้เกิดความเครียดไม่สบายใจวิตกกังวลกลัวเครียด คับข้องใจ
การตรวจร่างกาย
ตรวจสอบพฤติกรรมที่บ่งชี้ถึงความเครียดความเศร้าความวิตกกังวล
แบบแผนคุณค่าและความเชื่อ (Value and Belief)
เป็นแบบแผนเกี่ยวกับความเชื่อ ความศรัทธา ความมั่นคงเข้มแข็ง
ทางด้านจิตใจ สิ่งที่มีคุณค่า มีความหมายต่อชีวิต สิ่งยึดเหนี่ยว ทางด้านจิตใจ เป้าหมายในการดำเนินชีวิต ความเชื่อทางด้าน
สุขภาพ และการปฏิบัติตนตามความเชื่อ ปัจจัยส่งเสริม และปัจจัย ที่เป็นอุปสรรคต่อความมั่นคงเข้มแข็งทางด้านจิตใจ รวมทั้งการ
เปลี่ยนแปลงของแบบแผนอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วย
การซักประวัติ
ความเชื่อความผูกพันความศรัทธาที่มีต่อสิ่งต่างๆ
สิ่งสำคัญในชีวิตมีชีวิตเหนียวทางจิตใจอาจเป็นบุคคลวัตถุสิ่งของศาสนาคุณงามความดี
ค่านิยมขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม
ความหวังหรือเป้าหมายในชีวิต
การตรวจร่างกาย
สังเกตพฤติกรรมที่แสดงออกทางสีหน้ากริยาท่าทางรวมทั้งการแสดงออกทางอารมณ์
ชสังเกตคำพูดของผู้ป่วยและญาติที่แสดงถึงการให้คุณค่าและการมีความเชื่อในด้านต่างๆ
สังเกตการแสดงออกที่แสดงถึงความเชื่อต่างๆ
องค์ประกอบของแบบแผนสุขภาพแต่ละแบบแผน
พฤติกรรมภายใน คือ พฤติกรรมที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าหรือใช้เครื่องมือทาง
วิทยาศาสตร์ตรวจสอบได้โดยตรง
2.พฤติกรรมภายนอก คือการกระทำที่แสดงออกมาให้สังเกตเห็นได้ รับรู้ได้ หรือใช้เครื่องมือ
ตรวจสอบได้
ปัจจัยส่งเสริมพฤติกรรมและอุปสรรค
การรวบรวมข้อมูล
การประเมินทางการพยาบาลในผู้ป่วยโดยใช้กรอบแนวคิดแบบแผนสุขภาพ ของกอร์ดอน (Gordon,
1994) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สามารถทำได้โดยการซักประวัติ การสังเกต การ
ตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และ การตรวจพิเศษ
วิธีการได้มาซึ่งข้อมูล
ข้อมูลอัตนัย (Subjective data) คือ การซักประวัติจากผู้รับบริการหรือญาติ (ในกรณีที่
ผู้รับบริการไม่สามารถให้ข้อมูลได้หรือให้ข้อมูลได้ไม่ครอบคลุม)
ข้อมูลปรนัย (Objectlve data) คือ ข้อมูลที่ได้จากการสังเกต/ การตรวจร่างกาย การ
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ และ การตรวจพิเศษ
ตัวอย่างข้อมูลอัตนัย (Subjective data)
ปกติเข้านอนตั้งแต่เวลา 22.00-06.00 น. หลับสนิททั้งคืน ไม่เคยนอนกลางวัน
"ปวดศีรษะข้างเดียว ปวดตุ๊บๆ"
ผู้รับบริการชอบกินข้าวเหนียววันละ 3 มื้อ ชอบกินอาหารรสจัดโดยเฉพาะส้มตำ
ตัวอย่างข้อมูลปรนัย (Objective data)
ท่าทางเหนื่อยอ่อนเพลีย ขอบตาดำคล้ำ หาวนอนบ่อยๆ
สีหน้าไม่ค่อยสดชื่น
คลำพบก้อนบริเวณหน้าท้อง