Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แบบแผนสุขภาพ (Functional health patterns) - Coggle Diagram
แบบแผนสุขภาพ
(Functional health patterns)
1 แบบแผนการรับรู้สุขภาพและการดูแลสุขภาพ
(Health Perception-Health Management Patterns)
รวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินความคิด ความเข้าใจของบุคคลต่อภาวะสุขภาพ
โดยทั่วไปของตนเองและของผู้ที่ตนรับผิดชอบ
ความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเอง
พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันความเจ็บป่วย การดูแลรักษา และการฟื้นฟู
สภาพร่างกาย
รวบรวมโดยการซักประวัติและการตรวจร่างกาย
การซักประวัติ
การตรวจร่างกายประจำปี
การได้รับภูมิคุ้มกัน
การรับประทานยาเป็นประจำและเหตุผลที่รับประทานยา
การมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพ เช่น การดื่มเหล้า การสูบบุหรี่ การติดสาร
เสพติด
ประวัติการแพ้สารต่างๆ เช่น การแพ้ยา อาหาร สารเคมี หรือสารอื่นๆ รวมทั้งอาการแพ้
และการแก้ไขเมื่อเกิดอาการแพ้
การดูแลความสะอาดของร่างกายตนเอง
การดูแลหรือความสนใจเอาใจใส่ของครอบครัวต่อสุขภาพของผู้ป่วย
การตรวจร่างกาย
ลักษณะทั่วไปและความพิการ เช่น ท่าทางการเดิน การลุกนั่ง การ
เคลื่อนไหวแขนขา การพูดคุย การแสดงสีหน้า
ความสะอาดของร่างกาย เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย
ความร่วมมือในการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยหรือครอบครัว
สังเกตการปฏิบัติตนขณะเจ็บป่วยของผู้ป่วย หรือการได้รับการดูแล
จากครอบครัว
แบบแผนด้านโภชนาการและการเผาผลาญอาหาร
(Nutritional-Metabolism Patterns)
ประเมินพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยพิจารณาความสอดคล้อง
กับอาหารที่ควรได้รับและน้ำหนักตัว
ปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการได้รับสารอาหาร น้ำเกลือแร่ ค้นหาสิ่งที่
บ่งชี้ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงของภาวะทุพโภชนาการ
ประเมินการทำงานของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการ
แบบแผนเกี่ยวกับบริโภคนิสัยและแบบแผนการดำเนินชีวิต (life style)
การซักประวัติ
แบบแผนเกี่ยวกับบริโภคนิสัยและแบบแผนการดำเนินชีวิต (life style)
มีความรู้เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการหรือไม่
ประวัติการเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร
ปัญหาในการรับประทานอาหาร เช่น รับประทานอาหารแล้วมีอาการแน่นท้อง ท้องอืด
ประวัติการเพิ่มหรือลดของน้ำหนักตัวจากปกติ
ประวัติการเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญสารอาหารที่ผิดปกติทั้งของผู้ป่วยและครอบครัว
การรับประทานยาที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญสารอาหาร
การตรวจร่างกาย
สังเกตพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ปริมาณและลักษณะอาหารที่รับประทาน
ตรวจสภาพของผิวหนังและเยื่อบุว่าซีดหรือไม่ โดยสังเกตสีของผิวหนัง ริมฝีปาก เยื่อบุตา
(Conjunctiva) ตาขาว ฝ่ามือ ฝ่าเท้า
สังเกตอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการมีปัญหาการรับประทานอาหาร
ตรวจดูท่าทางว่ามีอาการอ่อนเพลีย กล้ามเนื้อแขนขาลีบหรือไม
ตรวจลักษณะท้อง ตับ ม้าม ก้อนในท้อง ฟังเสียงการเคลื่อนไหวของลำไส้ (Bowel sound)
ประเมินภาวะโภชนาการว่าอ้วน ท้วม ปกติ หรือผอม
ค่าดัชนีมวลกาย เท่ากับ น้ำหนัก(ก.ก.)
ส่วนสูงเป็นเมตร2
ผิวหนัง ตรวจดูความยืดหยุ่น (skin turgor)
ตรวจริมฝีปาก เยื่อบุปาก
ตรวจ ดูจำนวนและสีของน้ำปัสสาวะ
ประเมินอาการขาดน้ า(Dehydration) จากการตรวจร่างกาย
ตรวจดูอาการบวม (Edema)
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
การตรวจเลือดเพื่อประเมินปัญหาเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ ความสมดุลของสารน้ าและเกลือ
แร่ต่างๆ ในร่างกาย
การตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง (Ultrasound) ประเมินความผิดปกติของอวัยวะภายในช่องท้อง
และทางเดินอาหาร
แบบแผนการขับถ่ายของเสีย(Elimination Patterns)
รวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินกระบวนการขับถ่าย
ลักษณะ ปริมาณจำนวนครั้งของของเสียทุกประเภทที่ออก
จากร่างกายทั้งอุจจาระ ปัสสาวะ น้ำและอิเลคโตรไลท
การซักประวัติ
การขับถ่ายปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะวันละกี่ครั้ง จำนวนมากน้อยเท่าใด ชอบกลั้นปัสสาวะ
หรือไม่ ปัสสาวะตอนกลางคืนหรือไม่ จำนวนกี่ครั้ง
ปัญหาการขับถ่ายปัสสาวะและวิธีการแก้ไข เช่น ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะลำบาก กระปริดกระ
ปรอย
ปัจจัยส่งเสริม และปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อแบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะปกติ เช่น ความสะดวก
หรือลำบากในการไปห้องน้ำ
ประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินปัสสาวะหรือไต
ประวัติการใช้ยาต่างๆ เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาลดความดันโลหิต
การตรวจร่างกาย
สังเกตสี ปริมาณ ลักษณะปัสสาวะที่ขับออกมาจากผู้ป่วย และปัญหาการขับถ่ายปัสสาวะว่ามีความ
ผิดปกติหรือไม่ สอดคล้องกับการซักประวัติหรือไม่
สังเกตการมีกระเพาะปัสสาวะเต็ม (Full Bladder)
ตรวจร่างกายทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของระบบทางเดินปัสสาวะ
ตรวจร่างกายทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของระบบทางเดินปัสสาวะ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
ตรวจปัสสาวะ เพื่อประเมินความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ
ตรวจเลือดเพื่อดูระดับของยูเรีย ไนโตรเจน และครีเอตินินในเลือดบ่งบอกการท างานของไต
เอกซเรย์Ultrasound ดูความผิดปกติของไต ท่อไต และการอุดตันทางเดินปัสสาวะ
การตรวจอุจจาระเพื่อประเมินว่าอุจจาระมีเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว พยาธิ หรือมีเลือดปนใน
อุจจาระหรือไม่
การส่องกล้องเข้าทางทวารหนักเพื่อตรวจหาความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ หรือ เพื่อการถ่ายภาพรังสี
ทางทวารหนัก
แบบแผนด้านการมีกิจกรรมและการออกกำลังกาย
(Activity-Exercise Patterns)
รวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินระดับความสามารถในการประกอบกิจกรรมต่างๆใน
ชีวิตประจำวันการทำกิจวัตรประจำวัน การดูแลบ้าน การประกอบอาชีพ การใช้เวลาว่าง
และนันทนาการ
ผลกระทบที่เกิดจากการเจ็บป่วยต่อการประกอบกิจกรรมและการออกก าลังกาย
ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อไม่สามารถท ากิจกรรมที่ตนเองต้องการ
การซักประวัติ
ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง
กิจกรรมในงานอาชีพหนักเบาอย่างไร เช่น อาชีพครู ค้าขาย ชาวนา จะมีกิจกรรมที่
แตกต่างกัน
การออกกำลังกาย ชนิดของการออกกำลังกาย ระยะเวลาในการออกกำลังกายสัปดาห์ละ
กี่ครั้ง แต่ละครั้งใช้เวลานานเท่าไร
ประวัติเกี่ยวกับนันทนาการ งานอดิเรกหรือการใช้เวลาว่าง
ประวัติการเป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจ าวัน
ปัจจัยที่ทำให้ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจ ำวันเปลี่ยนแปลง / ลดลง
ปัจจัยเสริมที่ท าให้มีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจ าวันได้ตามปกต
การได้รับบาดเจ็บหรือเกิดอุบัติเหตุต่อกระดูก ข้อ และกล้ามเนื้อ
การเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับกระดูก ข้อ กล้ามเนื้อ
ความเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ
การมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาระบบทางเดินหายใจ
การได้รับบาดเจ็บที่ทำให้เกิดปัญหาระบบทางเดินหายใจ
การใช้ยาต่างๆ ที่มีผลต่อการหายใจ
ประวัติการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
ประวัติการมีปัจจัยเสี่ยงต่อการมีปัญหาระบบหัวใจและการไหลเวียนโลหิต
ประวัติการใช้ยาที่มีผลต่อการทำงานของหัวใจและการไหลเวียนโลหิต
ประวัติการเกิดอาการผิดปกติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของหัวใจและการ
ไหลเวียนโลหิต
ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัวด้วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอด
เลือดและหัวใจ ไขมันในเลือดสู
การตรวจร่างกาย
สังเกตความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ
ประเมินความสามารถในการเคลื่อนไหวของแขนขา
(Range of motion : ROM)
ตรวจร่างกายระบบต่างๆ เพื่อประเมินความสามารถในการท ากิจกรรมต่างๆ
สังเกตการท ากิจกรรมต่างๆ ของผู้ป่วย ตรวจดูขนาด รูปร่าง
ลักษณะของกระดูกว่ามีความผิดปกติหรือไม
ตรวจวัดสัญญาณชีพ ประเมินอาการของความดัน
โลหิตสูง
ตรวจอาการขาดออกซิเจน เช่น สังเกตผิวหนัง ริม
ฝีปาก เล็บมือ เล็บเท้า
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
การตรวจเลือดและตรวจเอกซเรย์ปอด เพื่อประเมินภาวะผิดปกติที่เป็นอุปสรรคต่อการ
ปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ หรือไม่
แบบแผนการนอนหลับพักผ่อน (Sleep-rest Pattern)
แบบแผนเกี่ยวกับการนอนหลับ การพักผ่อน ปัญหาเกี่ยวกับการนอน ปัจจัย
ส่งเสริม ปัจจัยเสี่ยง และอุปสรรคต่อแบบแผนการนอน
การซักประวัติ
พฤติกรรมการนอน ประวัติเกี่ยวกับอุปนิสัยการนอน
พฤติกรรมหรือสิ่งที่ช่วยทำให้นอนหลับได้ง่าย
ปัญหาเกี่ยวกับการนอน
พฤติกรรมการผ่อนคลาย ชนิดและความถี่ของกิจกรรมที่ท าเพื่อให้ผ่อนคลาย
มีการใช้ยานอนหลับหรือไม่ ถ้ามีใช้ยาอะไร ตั้งแต่เมื่อไร ความถี่ในการใช้ยา
การตรวจร่างกาย
สังเกตหน้าตาว่านอนหลับพักผ่อนเพียงพอหรือไม่
แบบแผนสติปัญญาและการรับรู้ (Cognitive-perceptual Pattern)
การรับรู้ความรู้สึกและการตอบสนอง
แบบแผนเกี่ยวกับความสามารถของบุคคลในการรับรู้สิ่งเร้าและการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
ด้านการรับรู้ความรู้สึก (sensation) ทั้ง 5 ทาง ได้แก่ การมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น
การรับรส การรับรู้สึกทางผิวหนัง และการการรับรู้เกี่ยวกับความเจ็บปวด
ความสามารถทางสติปัญญา
แบบแผนเกี่ยวกับความสามารถและพัฒนาการทางสติปัญญาเกี่ยวกับความคิด
ความจำ ความสามารถในการตัดสินใจ การแก้ปัญหาและการสื่อภาษาต่างๆ รวมทั้งปัจจัย
ส่งเสริม
การซักประวัติ
ความรู้สึกทั่วไป สุขสบายหรือไม่สุขสบาย
ปัญหาเกี่ยวกับความรู้สึกตัว
ปัญหาเกี่ยวกับการได้กลิ่น
ปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น
ปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน
ปัญหาเกี่ยวกับการรับรส
ปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้ความรู้สึกทางผิวหนัง
ประวัติความเจ็บป่วยหรือโรคประจ าตัวที่มีผลต่อการรับรู้ความรู้สึกดังกล่าว เช่น โรคเบาหวาน
ความดันโลหิตสูง การได้รับอุบัติเหตุต่างๆ
พัฒนาการด้านสติปัญญา โดยการซักถามเกี่ยวกับความสามารถในการเรียน ความสามารถในการ
ท างาน การคิด การจ า การตัดสินใจ แก้ปัญหาและการสื่อสาร
ความเจ็บป่วยที่ทำให้ความสามารถทางสติปัญญาเปลี่ยนแปลง
ประวัติการได้รับยาบางชนิดซึ่งมีผลต่อความคิด ความจ า หรือท าให้มีอาการสับสน
การตรวจร่างกาย
ประเมินระดับความรู้สึกตัว
สังเกตลักษณะทั่วไป เช่น รูปร่าง ลักษณะ หน้าตา ท่าทาง การแต่งกาย การดูแลสุขอนามัย
ทั่วๆ ไป
ประเมินระดับสติปัญญา (IQ) โดยใช้แบบทดสอบ
แบบแผนการรับรู้ตนเองและอัตมโนทัศน์(Self perception–Self concept Pattern)
แบบแผนที่เกี่ยวกับความคิด ความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อตนเอง (อัตมโนทัศน์) การมองตนเอง
เกี่ยวกับรูปร่าง หน้าตา ความพิการ (ภาพลักษณ์) ความสามารถ คุณค่า เอกลักษณ์ และ
ความภูมิใจในตนเอง ตลอดจนปัจจัยส่งเสริม ปัจจัยเสี่ยง
การซักประวัติ
ความรู้สึกต่อตนเองเกี่ยวกับภาพลักษณ์โดยทั่วไป รู้สึกว่าอ้วน ผอม สูงหรือเตี้ยเกินไป
ความรู้สึกต่อตนเองเกี่ยวกับความสามารถในด้านต่างๆ
ความรู้สึกต่อตนเองเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงร่างกายที่มีอุปกรณ์เพิ่มขึ้น
ความรู้สึกต่อตนเองเกี่ยวกับการสูญเสียอวัยวะจากการเป็นโรค การผ่าตัด หรือการเกิดอุบัติเหตุ
ความรู้สึกต่อตนเองเกี่ยวกับความภาคภูมิใจในตนเอง ความพอใจในตนเอง ความรู้สึกสูญเสียความ
มั่นคงปลอดภัย ท้อแท้ สิ้นหวัง
การตรวจร่างกาย
สังเกตความสนใจตนเองของผู้ป่วย
การแต่งกาย บุคลิกภาพ
การกล่าวถึงตนเอง
การสังเกตปฏิกิริยาตอบสนองหรือพฤติกรรมที่แสดงออกต่อการเปลี่ยนแปลงหรือสูญเสีย
แบบแผนบทบาทและสัมพันธภาพ (Role-relationship Pattern)
แบบแผนเกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ การติดต่อสื่อสารและการมีสัมพันธภาพกับ
บุคคลทั้งภายในครอบครัวและสังคม รวมทั้งปัจจัยส่งเสริม
การซักประวัติ
โครงสร้างครอบครัว เช่น จำนวนสมาชิกในครอบครัวมีใครบ้าง หรืออยู่คนเดียว
หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ป่วยและสมาชิกคนอื่นๆ ต่อครอบครัว
การแสดงบทบาทในครอบครัวทั้งในขณะที่มีสุขภาพดีและการเปลี่ยนแปลงบทบาทในขณะเจ็บป่วยมี
ผลกระทบต่อครอบครัวหรือไม่
สัมพันธภาพของผู้ป่วยกับครอบครัว เพื่อนร่วมงาน เพื่อนบ้าน
ตำแหน่งความรับผิดชอบต่อหน้าที่ การงาน อาชีพ
สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการสร้างสัมพันธภาพที่ดี
การตรวจร่างกาย
สังเกตพฤติกรรมต่างๆ หรือท่าทางที่แสดงออกต่อ
ครอบครัวและบุคคลในครอบครัวแสดงต่อผู้ป่วยลักษณะ
การโต้ตอบระหว่างผู้ป่วยกับบุคคลในครอบครัวรวมทั้ง
เพื่อน ผู้ร่วมงาน การมาเยี่ยมของคนในครอบครัว
แบบแผนเพศสัมพันธุ์และการเจริญพันธุ์ (Sexuality- reproductive Pattern)
แบบแผนเกี่ยวกับพัฒนาการตามเพศซึ่งมีอิทธิพลมาจากพัฒนาการด้านร่างกาย
และอิทธิพลของสังคม สิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดูลักษณะการเจริญพันธุ์ พฤติกรรม
ทางเพศและเพศสัมพันธ์ ปัจจัยส่งเสริม ปัจจัยเสี่ยง
การซักประวัติ
การเจริญพันธ์ และการทำงานของระบบสืบพันธุ์
การมีเพศสัมพันธ์ ปัญหาเพศสัมพันธ์ ความเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับการมีเพศสัมพันธ์
และการป้องกันโรคติดต่อกันได้ทางเพศสัมพันธ์
การมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่ติดต่อกันได้ทางเพศสัมพันธ์ การมีพฤติกรรม
ทางเพศที่ไม่เหมาะสม
เพศหญิงควรซักประวัติเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การแท้ง การมีบุตร การคุมกำเนิด การ
ติดเชื้อของอวัยวะสืบพันธุ์
การตรวจร่างกาย
สังเกตพฤติกรรมทางเพศจากลักษณะท่าทางที่แสดงออก ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น การใช้ภาษา
และคำพูด รวมทั้งการแต่งกายว่าเหมาะสมกับเพศหรือไม่
เพศหญิง ตรวจเต้านม ต่อมน้้ำเหลือง อวัยวะเพศหญิง เพศชาย ตรวจอวัยวะเพศชาย ตรวจ
อาการและอาการแสดงของการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
แบบแผนการเผชิญความเครียดและความทนต่อความเครียด
(Coping –stress tolerance Pattern)
แบบแผนเกี่ยวกับการรับรู้ลักษณะอารมณ์พื้นฐาน การรับรู้เกี่ยวกับความเครียด
ปฏิกิริยาของร่างกายเมื่อเกิดความเครียด วิธีการแก้ไขและการจัดการกับความเครียด ปัจจัย
เสี่ยงที่ทำให้เกิดความเครียดปัจจัยส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการปรับตัวกับ
ความเครียด
การซักประวัติ
ข้อมูลทั่วไป เช่น อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ สถานภาพสมรส ความสัมพันธ์ในครอบครัว
สัมภาษณ์เกี่ยวกับลักษณะอุปนิสัยหรืออารมณ์พื้นฐานของผู้ป่วย
ซักถามสิ่งที่ทำให้เกิดความเครียด ไม่สบายใจ วิตกกังวล กลัว เครียด คับข้องใจ
อาการต่างๆ เมื่อเกิดความเครียด นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร เหนื่อยหอบ
วิธีการจัดการความเครียด
ซักถามความต้องการการช่วยเหลือและบุคคลที่สนับสนุนให้ก าลังใจช่วยแก้ปัญหา
การตรวจร่างกาย
ตรวจสอบพฤติกรรมที่บ่งชี้ถึงความเครียด ความ
เศร้า ความวิตกกังวล
สีหน้าหมกมุ่น ขมวดคิ้ว กระวนกระวาย ซึม
เงียบเฉย ร้องไห้ นอนไม่หลับ
สังเกตอาการต่างๆ เช่น เหงื่อออกมาก หน้า
ซีดหรือหน้าแดง มือสั่น หายใจเร็ว
แบบแผนค่านิยมและความเชื่อ (Value – belief Pattern)
แบบแผนเกี่ยวกับความเชื่อ ความศรัทธา ความมั่นคงเข้มแข็ง
ทางด้านจิตใจ สิ่งที่มีคุณค่ามีความหมายต่อชีวิต สิ่งยึดเหนี่ยว
ทางด้านจิตใจ เป้าหมายในการดำเนินชีวิต ความเชื่อทางด้าน
สุขภาพ และการปฏิบัติตนตามความเชื่อ ปัจจัยส่งเสริม
การซักประวัติ
ความเชื่อ ความผูกพัน ความศรัทธาที่มีต่อสิ่งต่างๆ
สิ่งส าคัญในชีวิต หรือสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ อาจเป็นบุคคล วัตถุ สิ่งของ ศาสนา คุณงามความดี
ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม
ความหวังหรือเป้าหมายในชีวิต
การปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ความเชื่อทางศาสนา ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม
ความเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพ
การตรวจร่างกาย
สังเกตพฤติกรรมที่แสดงออกทางสีหน้า กริยาท่าทาง รวมทั้งการแสดงออกทางอารมณ์
สังเกตค าพูดของผู้ป่วยและญาติที่แสดงถึงการให้คุณค่าและการมีความเชื่อในด้านต่างๆ
สังเกตการแสดงออกที่แสดงถึงความเชื่อต่างๆ
ตัวอย่างการบันทึกข้อมูลการประเมินภาวะสุขภาพตามแบบแผนสุขภาพ(Functional health patterns)
แบบแผนการรับรู้ภาวะสุขภาพและการดูแลสุขภาพ
ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
▪ ภาวะสุขภาพของตนเองก่อนการเจ็บป่วยครั้งนี้เป็นอย่างไร : สุขภาพร่างกายแข็งแรงดีสามารถเดินไปทำกิจวัตรประจำวันได้ปกติ
▪ ขณะนี้สุขภาพของคุณเป็นอย่างไร : การทำกิจวัตรประจำวันไม่สะดวก เดินไม่สะดวกปวดขาทั้งสองข้าง
▪ เหตุผลที่มารับการรักษา ความคาดหวังต่อการรักษา : อยากหายจากโรคที่เป็นอยู่
▪ การดูแลรักษาสุขภาพด้านร่างกาย : ตรวจร่างกายประจำปีทุกปี
▪ เมื่อเจ็บป่วยคุณดูแลสุขภาพตนเองอย่างไร
• การปฏิบัติตัวเมื่อเจ็บป่วยขณะอยู่โรงพยาบาล: ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาลและบุคลากรในทีมสุขภาพของโรงพยาบาล
• การดูแลความสะอาดของร่างกาย : เช็ดตัว อาบน้ำและ แปรงฟันทุกเช้าและเย็น และบ้วนปากหลังรับประทานอาหารทุกครั้ง แต่สระผมไม่ได้
• การได้รับการดูแลจากผู้อื่น : ญาติต้องพยุงเวลาลุกเดินไปเข้าห้องน้ำ แต่ไม่สะดวก
• พฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแล : ญาติของผู้ป่วยดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี ยิ้มแย้
พฤติกรรมเสี่ยงและปัจจัยเสี่ยง
• สูบบุหรี่ : ผู้ป่วยปฏิเสธการสูบบุหรี่
• ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ : ผู้ป่วยปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
• สิ่งเสพติด : ผู้ป่วยปฏิเสธการติดสารเสพติด
• การรับประทานอาหารสุกๆดิบๆ : ไม่รับประทาน
การแพ้สารต่างๆ
• อาหาร/ยา/ สารที่แพ้ : ผู้ป่วยปฏิเสธการแพ้ยาแพ้อาหารและสารอื่นๆ
ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
▪ สภาพร่างกาย อารมณ์ และจิตใจโดยทั่วไป : ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี ท่าทางอ่อนเพลีย เป็นคนอารมณ์ดีจิตใจดี ชอบช่วยเหลือผู้อื่น
▪ ลักษณะทั่วไปและความพิการหรือภาวะทุพพลภาพ : ผู้ป่วยไม่มีความพิการและทุพพลภาพ การดูแลตนเองและพึ่งพา : ช่วยเหลือตนเองได้บนเตียง ยังเดินไปเข้าห้องน้ำเองไม่ได้ รับประทานอาหารเอง
ได้ ทำกิจวัตรประจำวันได้บนเตียง
▪ ความร่วมมือในการรักษา : ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการรักษาดี
▪ ความสะอาดของร่างกาย เครื่องแต่งกาย : เสื้อผ้าสะอาด เล็บยาว ผมมัน
▪ การดูแลของผู้ดูแล : ผู้ดูแลเอาใจใส่ ยิ้มแย้มดี
สรุปข้อมูลที่เป็นปัญหา
o ท่าทางอ่อนเพลีย
o ปวดขาทั้ง 2 ข้าง
o ลุกเดินไปเข้าห้องน้ าเองไม่ได้
o มีเล็บยาว ผมมันเนื่องจากไม่ได้สระผม
แบบแผนโภชนาการและการเผาผลาญสารอาหาร
ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
• ตามปกติรับประทานอาหารวันละ : 3 มื้อ ตรงเวลา ปริมาณ 1 ทัพพีต่อครั้ง
• ดื่มน้ำ/เครื่องดื่มวันละ : 1,200 ml /วัน
• อาหารที่รับประทานเป็นประจำ : ข้าว อาหารอีสาน เช่น น้ าพริก ปลา ผักต่างๆ
• อาหารที่ไม่รับประทานและเหตุผล : ของหมักดอง
• เครื่องดื่มที่ชอบ / ไม่ชอบรับประทาน : ดื่มกาแฟร้อนและปาท่องโก๋ทุกวันตอนเช้า
• ตามปกติคุณมีปัญหาในการรับประทานอาหารหรือไม่ อย่างไร : ไม่มีปัญหาในการรับประทาน อาหาร
ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
• การได้รับสารอาหาร : ผู้ป่วยรับประทานอาหารเอง ทางปา
การตรวจร่างกาย
น้ าหนัก 68 กิโลกรัม ส่วนสูง 160 เซนติเมตร BMI = 26.56 กก/ มม.
อุณหภูมิร่างกายในระหว่าง 24 ชม. ที่ผ่านมาอยู่ในช่วง : 36.8-37.3 องศาเซลเซียส
แบบแผนการขับถ่าย
ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะ ก่อนการเจ็บป่วยครั้งนี้
• ความถี่ : กลางวัน 4 ครั้ง กลางคืน 3 ครั้ง
• ลักษณะปัสสาวะในแต่ละครั้ง : 250 cc.
• อาการผิดปกติของการขับถ่ายปัสสาวะ เช่น กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะไม่สะดุด/คั่ง หรือ
เจ็บปวดเวลาปัสสาวะ : เมื่ออยู่บ้าน ปัสสาวะแสบขัด กลั้นปัสสาวะไม่ค่อยได้
• วิธีแก้ไข : ถ้ารู้สึกปวดปัสสาวะต้องรีบไปเข้าห้องน้ำทันที
• วิถีทาง : ปัสสาวะเอง
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะ ขณะอยู่โรงพยาบาล
• วิถีทาง : ปัสสาวะเอง
• ความถี่ : กลางวัน 3 ครั้ง กลางคืน 2 ครั้ง
• ลักษณะปัสสาวะ : สีเหลืองใส
• ปริมาณปัสสาวะในแต่ละครั้ง : 200 cc.
• อาการผิดปกติของการขับถ่ายปัสสาวะ เช่น กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะไม่สุด/คั่ง หรือ
เจ็บปวดเวลาปัสสาวะ : กลั้นปัสสาวะไม่ค่อยได้
• วิธีแก้ไข : เอาหม้อนอนมาวางไว้ใกล้ตัว
แบบแผนการขับถ่ายอุจจาระ ก่อนการเจ็บป่วยครั้งนี้
• วิถีทาง : ถ่ายอุจจาระเอง
• ความถี่ : 1-2 วันถ่ายครั้ง
• ลักษณะอุจจาระ : แข็ง สีค่อนข้างดำ
• อาการผิดปกติของการขับถ่ายอุจจาระ เช่น ท้องผูก ท้องเสีย ท้องเสียเรื้อรังและวิธีการแก้ไข : ไม่มีปัญหา
• วิธีการแก้ไข : -
แบบแผนการขับถ่ายอุจจาระ ขณะอยู่โรงพยาบาล
• วิถีทาง : ถ่ายอุจจาระเอง
• ความถี่ : ยังไม่ถ่ายอุจจาระ
• ลักษณะอุจจาระ : -
• อาการผิดปกติของการขับถ่ายอุจจาระ และวิธีการแก้ไข : ไม่มีปัญหา
• วิธีการแก้ไข : -
ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
• จำนวนปัสสาวะใน 24 ชม. : ปัสสาวะประมาณ 900 cc . /วัน
• ลักษณะปัสสาวะ : สีเหลือง ใส
• จำนวนและลักษณะอุจจาระ : -
• จำนวนและลักษณะของอาเจียน : ไม่มีอาเจียน
แบบแผนกิจกรรมและการออกกำลังกาย
ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
▪ ความทนต่อการทำกิจกรรม (กิจกรรมที่ทำ/ความเหนื่อยเมื่อทำกิจกรรม)
• ก่อนการเจ็บป่วยครั้งนี้ : ทำกิจกรรมต่างๆ เล็กๆน้อยๆ จะรู้สึกเหนื่อยง่าย
• ขณะอยู่ในโรงพยาบาล : ทำกิจกรรมต่างๆไม่ได้ รู้สึกเหนื่อย
▪ ลักษณะงานที่ทำในปัจจุบัน : เกษียณอายุราชการ ไม่ได้ทำงาน อยู่บ้านเลี้ยงหลาน
▪ ความสามารถในการช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจ าวันตามปกต
• การรับประทานอาหาร : รับประทานอาหารได้เอง
• การทำความสะอาดปากและฟัน : ทำได้เอง
• การอาบน้ำและการแต่งตัว : ทำได้เอง
ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
▪ การออกกำลังกายขณะอยู่โรงพยาบาล : ออกกำลังกายบนเตียงโดยกายบริหารทุกเช้า
▪ ความสามารถช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
• การรับประทานอาหาร :รับประทานอาหารได้เอง
• การทำความสะอาดปากฟัน : ทำความสะอาดได้เอง
• การอาบน้ำและการแต่งตัว : ทำได้เอง
• การขับถ่าย :
• การเคลื่อนไหวบนเตียง/การเดิน : ลุกนั่งบนเตียงได้เอง แต่เวลาเดินต้องมีคนพยุงเนื่องจากปวดขาทั้ง 2 ข้าง
▪ การตรวจร่างกาย
▪ ท่าทาง การทรงตัว การเดิน การเคลื่อนไหวของร่างกาย การทำงานประสานกันของ
กล้ามเนื้อ : ท่าทางการเดินการทรงตัวไม่ดี
▪ สัญญาณชีพ : อัตราการเต้นของชีพจร 82 ครั้ง/นาที จังหวะการเต้นของชีพจร สม่ าเสมออัตราการหายใจ : 24 ครั้ง/นาที จังหวะ สม่ าเสมอ ความดันโลหิต : 138/76 มม.ปรอท ในท่านอน
สรุปข้อมูลที่เป็นปัญหา
▪ อ่อนเพลียง่าย ทำกิจกรรมได้ลดลง
▪ การทรงตัวไม่ดี
▪ ปวดขาทั้ง 2 ข้าง
▪ ให้ประวัติเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
แบบแผนการพักผ่อนนอนหลับ
ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
▪ การนอนหลับ
• ตามปกตินอนหลับกลางวัน : วันละ 3 ชั่วโมง นอนกลางคืน วันละ 8 ชั่วโมง
• กิจกรรมที่ปฏิบัติเป็นประจ าก่อนนอน : ดูทีวี
• ปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ : บางครั้งรู้สึกนอนไม่หลับ
• วิธีการแก้ไข : พยายามไม่ดูทีวีก่อนนอน นั่งสมาธิก่อนนอน
• ขณะอยู่โรงพยาบาลนอนหลับกลางวัน วันละ 2 ชั่วโมง นอนกลางคืน วันละ 4 ชั่วโมง
• ปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ : นอนไม่หลับ เสียงดัง
• วิธีการแก้ไข : พยายามนอนให้หลับและไม่สนใจเสียงรอบข้าง
▪ การพักผ่อนหย่อนใจและงานอดิเรกที่มักปฏิบัติ : ท าอาหาร เลี้ยงสัตว์ ทำสวน ทุกๆวัน
ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
▪ อาการแสดงของการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ (อ่อนเพลีย หน้าตาอิดโรย ขอบตาคล า หาวนอน
บ่อย หงุดหงิด : ผู้ป่วยมีท่าทางอ่อนเพลีย หน้าตาไม่สดชื่น หาว
สรุปข้อมูลที่เป็นปัญหา
▪ ขณะอยู่โรงพยาบาลผู้ป่วยมีปัญหานอนไม่หลับนอนไม่พียงพอ
▪ มีท่าทางอ่อนเพลีย
แบบแผนสติปัญญาและการรับรู้
ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
▪ หน้าที่ในการรับสัมผัสและการรับรู้
▪ คุณมีความผิดปกติเกี่ยวกับการรับรู้หรือไม่ อย่างไร
• การสัมผัส : ผู้ป่วยรับรู้ถึงการรับสัมผัสได้ดี
• การมองเห็น : ผู้ป่วยมีตา 2 ข้างมัว ความสามารถในการมองเห็นไม่ชัดเจน
• การได้ยิน : หู 2 ข้างได้ยินดี
• การได้กลิ่น: สามารถรับรู้ถึงกลิ่นต่างๆได้ดี
• การรับรส : สามารถรับรู้ถึงรสชาติต่างๆได้ดี เช่น เปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด
▪ ความเจ็บปวด ความไม่สุขสบายของผู้ป่วย (ความเจ็บปวด ร้อน หนาว คัน ระคายเคือง) : ผู้ป่วยมี
อาการปวดขาทั้ง 2 ข้าง
ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
▪ การตรวจร่างกาย
• ระดับความรู้สึกตัว การรับรู้วัน เวลา สถานที่ บุคคล : ผู้ป่วยสามารถบอกวัน เวลา วันที่สถานที่ และบุคคลได้
• ลักษณะการโต้ตอบ/การใช้ภาษา/การอ่าน/การพูด : ผู้ป่วยสามารถพูดโต้ตอบได้ ใช้ภาษาได้ดีอ่านหนังสือออกและเขียนหนังสือได้ดี
• ความจำ : ผู้ป่วยมีความจำดี และจำเรื่องราวที่ผ่านมาได้ดี
• ลักษณะสีหน้า และการแสดงออกถึงความไม่สุขสบาย : สีหน้าที่แสดงออกถึงความเจ็บปวด
สรุปข้อมูลที่เป็นปัญหา
• มีปัญหาปวดขาทั้ง 2 ข้าง และมีปัญหา ตาทั้ง 2 ข้างมัว
แบบแผนแผนการรับรู้ตนเองและอัตมโนทัศน์
ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
▪ คุณรู้สึกต่อรูปร่างหน้าตาตนเองอย่างไร
• ก่อนการเจ็บป่วย : รู้สึกว่าหน้าตาตนเองสดใส มีน้ ามีนวล
• ขณะเจ็บป่วย : รู้สึกว่าหน้าตาเศร้าหมอง ไม่มีชีวิตชีวา ผมไม่ได้หวี เหนื่อย อ่อนเพลีย
▪ คุณรู้สึกเกี่ยวกับความสามารถของตนเองอย่างไร
• ก่อนการเจ็บป่วย : ท างานเองได้ทุกอย่าง เช่น ให้อาหารปลา ขุดดินปลูกผัก
• ขณะเจ็บป่วย : ท างานหนักไม่ได้เลย รู้สึกเหนื่อยง่าย
▪ คุณรู้สึกอย่างไรที่ต้องพึ่งพาผู้อื่นขณะเจ็บป่วย : กลัวญาติลำบากเวลาเดินทางมาดูแล
ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
▪ พฤติกรรมแสดงความสนใจในรูปร่าง หน้าตาต่อตนเอง : ผู้ป่วยไม่ได้มีพฤติกรรมที่แสดงความสนใจในรูปร่างหน้าตา
▪ ลักษณะพฤติกรรมที่แสดงออกขณะสนทนา : ผู้ป่วยให้ความสนใจขณะซักถามดี มีการสบตาและพูดด้วยน้ำเสียงที่ดี
สรุปข้อมูลที่เป็นปัญหา
• ขณะเจ็บป่วย รู้สึกว่าหน้าตาเศร้าหมอง ไม่มีชีวิตชีวา ผมไม่ได้หวี
• เหนื่อย อ่อนเพลีย ทำงานหนักไม่ได้เลย รู้สึกเหนื่อยง่าย
แบบแผนบทบาทและสัมพันธภาพ
ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
▪ บทบาทและสัมพันธภาพในครอบครัว
• จำนวนสมาชิกในครอบครัว : 5 คน
• ประกอบด้วยใครบ้าง : ตัวผู้ป่วยเอง, สามี, ลูกสะใภ้, หลาน 2 คน
• บทบาทและความรับผิดชอบต่อครอบครัว : ทำอาหาร เลี้ยงสัตว์ ทำสวน
• ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวเป็นอย่างไร : ความสัมพันธ์ในครอบครัวดี
• ใครท าหน้าที่แทนขณะเจ็บป่วย : ลูกสะใภ้และสามี
• ขณะเจ็บป่วยมีใครมาเยี่ยมบ้าง : สามี, ลูกสะใภ้, น้องสาว, หลาน
▪ บทบาทและความรับผิดชอบในงาน/อาชีพ/การศึกษา : เกษียณอายุราชการแล้ว
▪ ความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน : มีความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานดี
▪ ความเจ็บป่วยครั้งนี้มีผลต่อครอบครัว/การงาน/การศึกษาหรือไม่ อย่างไร : ไม่มี
▪ ปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการเจ็บป่วยครั้งนี้ : ไม่มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย
▪ ทัศนคติของผู้ดูแลต่อความเจ็บป่วย และการยอมรับบทบาทผู้ดูแล : ผู้ดูแลมีทัศนคติที่ดี ดูแลผู้ป่วยเป็นอย่างดี และยอมรับในบทบาทผู้ดูแล
ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
▪ สัมพันธภาพของผู้ใช้บริการกับครอบครัว/เพื่อน/ผู้ร่วมงาน : มีสัมพันธภาพดี
▪ สัมพันธภาพของผู้ใช้บริการกับบุคลากรในทีมสุขภาพ : มีสัมพันธภาพดี
▪ พฤติกรรมในการดูแลของครอบครัวและผู้ดูแล : คนในครอบครัวดูแลเอาใจใส่ดี
▪ อุปสรรคของการสื่อสาร : ไม่มีอุปสรรคในการสื่อสาร
สรุปข้อมูลที่เป็นปัญหา
• ผู้ป่วยไม่มีปัญหาในแบบแผนนี้
แบบแผนเพศและการเจริญพันธุ์
ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
▪ มีประจำเดือนครั้งแรก 13 ปี ระยะห่างของการมีประจ าเดือน 20 วัน
▪ ปริมาณประจำเดือน : 2 แผ่น/วัน
▪ อาการผิดปกติขณะมีประจำเดือน : ปวดท้อง
▪ อาการผิดปกติหลังหมดประจำเดือน : ไม่มีอาการผิดปกติ
▪ การตรวจเต้านมด้วยตนเอง : 1-2 เดือน/ครั้ง
▪ คุณมีความผิดปกติของอวัยวะเพศหรือไม่ อย่างไร : ไม่มีความผิดปกติ
▪ วิธีคุมกำเนิดที่ใช้ : กินยาคุม
ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
▪ ตรวจร่างกาย
• ลักษณะทางเพศ ชาย : ลูกกระเดือก หนวด ขนตามร่างกาย
หญิง : เต้านม สะโพก : มีเต้านม มีสะโพกผาย
• ลักษณะอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก : ไม่มีความผิดปกติ สะอาด ไม่มีกลิ่นอับชื้น
• สิ่งที่ขับออกทางอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก : ปัสสาวะ 1,000 ml.
สรุปข้อมูลที่เป็นปัญหา
▪ ผู้ป่วยไม่มีปัญหาในแบบแผนนี้
แบบแผนการปรับตัวและการเผชิญความเครียด
ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
▪ ตามปกติมีอุปนิสัย และอารมณ์อย่างไร : เป็นคนชอบพูด ร่าเริง อารมณ์ดี
▪ เหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ส าคัญในชีวิต ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา : ผู้ป่วยปฏิเสธ
▪ การแสดงออกเมื่อมีเหตุการณ์ที่ท าให้ไม่พอใจ และวิธีการแก้ไข : เงียบ ไม่พูดกับใคร ชอบเก็บไว้คนเดียว
▪ ขณะนี้มีความเครียด ไม่สบายใจ หรือกังวลใจในเรื่องใด : คิดถึงหลานที่บ้าน
▪ ผลที่ได้รับ : สบายใจขึ้น
▪ บุคคลที่ให้ความช่วยเหลือเมื่อมีความเครียด/ไม่สบายใจ (อดีต/ปัจจุบัน) : สามีคอยให้ก าลังใจ
ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
▪ ลักษณะพฤติกรรมการแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง การแต่งกาย ที่บ่งชี้ถึงความเครียด วิตกกังวล ไม่สบายใจ เช่น สีหน้าหมกมุ่น กระวนกระวาย ร้องไห้ ซึม นอนไม่หลับ รับประทานอาหาไม่ได้ :ป่วยมีสีหน้าวิตกกังวลไม่สบายใจ
สรุปข้อมูลที่เป็นปัญหา
▪ ผู้ป่วยวิตกกังวลและไม่สบายใจคิดถึงหลานที่บ้าน
แบบแผนคุณค่าและความเชื่อ
ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
▪ ความเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพและความเจ็บป่วย (อาหารแสลง/การปฏิบัติตน) : เชื่อว่าถ้ารับประทานกาแฟเยอะๆจะทำให้นอนไม่หลับ
▪ สิ่งที่มีค่าหรือมีความสำคัญในชีวิต : สามี ลูกหลาน
▪ สิ่งที่คุณยึดเป็นที่พึ่งทางใจ ทั้งในขณะปกติและเจ็บป่วยคืออะไร : พระพุทธศาสนา
▪ ขณะอยู่โรงพยาบาลคุณต้องการปฏิบัติความเชื่อหรือไม่ : ต้องการทำตามความเชื่อ สวด
มนต์ก่อนนอนและขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้หายจากอาการป่วย
ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
▪ การน าสิ่งที่นับถือบูชามาโรงพยาบาล ( ห้อยพระ ใส่เครื่องรางของขลัง ฯลฯ ) : ผู้ป่วยไม่ได้น าสิ่งที่บูชานับถือมาโรงพยาบาลด้วย
▪ การปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาและไสยศาสตร์( สวดมนต์,อธิษฐาน, ละหมาด, รดน้ ามนต์ ) :สวดมนต์
สรุปข้อมูลที่เป็นปัญหา
▪ ผู้ป่วยไม่มีปัญหาในแบบแผนนี้