Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
11-แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน - Coggle Diagram
11-แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน
แบบแผนการเผชิญความเครียดและความทนต่อความเครียด
(Coping -stress tolerance Pattern)
เป็นแบบแผนเกี่ยวกับการรับรู้ลักษณะอารมณ์พื้นฐาน การรับรู้เกี่ยวกับความเครียด
ปฏิกิริยาของร่างกายเมื่อเกิดความเครียด วิธีการแก้ไขและการจัดการกับความเครียด ปัจจัย เสี่ยงที่ทำให้เกิดความเครียด ปัจจัยส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการปรับตัวกับ
ความเครียค รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแบบแผนอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วย
แนวทางการประเมินแบบแผนการปรับตัวและการเผชิญความเครียด
การซักประวัติ
ข้อมูลทั่วไป เช่น อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ สถานภาพสมรส ความสัมพันธ์ในครอบครัวสิ่งแวดล้อมที่บ้าน เพื่อประเมินสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด
สัมภาษณ์เกี่ยวกับลักษณะอุปนิสัยหรืออารมณ์พื้นฐานของผู้ป่วย
ซักถามสิ่งที่ทำให้เกิดความเครียด ไม่สบายใจ วิตกกังวล กลัว เครียด คับข้องใจ
อาการต่างๆ เมื่อเกิดความเครียด นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร เหนื่อยหอบ
วิธีการจัดการความเครียด เช่น การระบายความเครียดกับบุคคลใกล้ชิด การเก็บตัวเงียบไม่ สังสรรค์กับใคร การใช้ยา
ซักถามความต้องการการช่วยเหลือและบุคคลที่สนับสนุนให้กำลังใจช่วยแก้ปัญหา
การตรวจร่างกาย
ตรวจสอบพฤติกรรมที่บ่งขี้ถึงความเครียด ความ
เศร้า ความวิตกกังวล
ตัวอย่างคำถาม
ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในชีวิตไหม
มีเรื่องไม่สบายใจ เครียดหรือไม่ แก้ไขอย่างไร
ตัวอย่างข้อมูล
เป็นคนอารมณ์ดี ว่าเริง พูดเก่ง
ขณะนี้เครียดเรื่องใกล้สอบ
วิธีผ่อนคลายความเครียด คือ ฟังเพลง อ่านหนังสือ ทำให้สบายใจขึ้น
มีสีหน้าวิตกกังวล ไม่สบายใจ เหม่อ
ตัวอย่างการบันทึกข้อมูล
การประเมินภาวะสุขภาพตามแบบแผนสุขภาพ (Functional health patterns)
ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
ลักษณะพฤติกรรมการแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง การแต่งกาย ที่บ่งขี้ถึงความเครียด วิตกกังวล ไม่สบายใจ เช่น สีหน้าหมกมุ่น กระวนกระวาย ร้องไห้ ซึม นอนไม่หลับ รับประทานอาหาไม่ได้ : ผู้ป่วยมีสีหน้าวิตกกังวลไม่สบายใจ
สรุปข้อมูลที่เป็นปัญหา
ผู้ป่วยวิตกกังวลและไม่สบายใจคิดถึงหลานที่บ้าน
ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
ตามปกติมีอุปนิสัย และอารมณ์อย่างไร : เป็นคนชอบพูด ร่าเริง อารมณ์ดี
เหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในชีวิต ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา : ผู้ป่วยปฏิเสธ
การแสดงออกเมื่อมีเหตุการณ์ที่ทำให้ไม่พอใจ และวิธีการแก้ไข : เงียบ ไม่พูดกับใคร ชอบเก็บไว้คน
เดียว
ขณะนี้มีความเครียด ไม่สบายใจ หรือกังวลใจในเรื่องใค : คิดถึงหลานที่บ้าน
วิธีปฏิบัติเมื่อมีความเครียด ไม่สบายใจ หรือกังวลใจ : ดื่มกาแฟร้อน 1-2 แก้ว
ผลที่ได้รับ : สบายใจขึ้น
บุคคลที่ให้ความช่วยเหลือเมื่อมีความเครียด/ไม่สบายใจ (อดีต/ปัจจุบัน) : สามีคอยให้กำลังใจ
แบบแผนการขับถ่ายของเสีย
(Elimination Patterns)
เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินกระบวนการขับถ่ายลักษณะ ปริมาณ จำนวนครั้งของของเสียทุกประเภทที่ออก จากร่างกายทั้งอุจจาระ ปัสสาวะ น้ำและอิเลคโตรไลท์ ปัจจัยส่งเสริม ปัจจัยเสี่ยงและอุปสรรคต่อการขับถ่าย ตลอดจนการ เปลี่ยนแปลงกระบวนการขับถ่ายอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วยและการปรับตัวเพื่อแก้ไขปัญหา
แนวทางการประเมินแบบแผนการขับถ่าย
การซักประวัติ
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะ
ปัญหาการขับถ่ายปัสสาวะและวิธีการแก้ไข
ปัจจัยส่งเสริม และปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อแบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะปกติ
ประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินปัสสาวะหรือไต
ประวัติการใช้ยาต่างๆ เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาลดความดันโลหิต ซึ่งมีผลต่อการทำงานของไต
ซักประวัติเกี่ยวกับแบบแผนการขับถ่ายอุจจาระ
ปัญหาในการขับถ่ายอุจจาระและวิธีการแก้ไข
ปัจจัยส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อแบบแผนการขับถ่ายอุจจาระ
การตรวจร่างกาย
สังเกตสี ปริมาณ ลักษณะบัสสาวะที่ขับออกมาจากผู้ป่วย และปัญหาการขับถ่ายปัสสาวะว่ามีความ
ผิดปกติหรือไม่ สอดคล้องกับการซักประวัติหรือไม่
สังเกตการมีกระเพาะปัสสาวะเต็ม (Full Bladder)
ตรวจร่างกายทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ถ้าเป็นนิ้วทางเดินปัสสาวะ อาจจะมีอาการปวดเอวค้านหลัง ถ้ามีการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะอาจมีการขับถ่ายปัสสาวะ
ผิดปกติ มีไข้ หนาวสั่นเป็นต้น
ตรวจดูลักษณะท้อง ตรวจการเคลื่อนไหวของลำไส้ (Bowel sound) ตรวจทวารหนักเพื่อดูแผล
ตรวจปริมาณ ลักษณะของอุจจาระว่ามีลักษณะผิดปกติหรือไม่
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
ตรวจปัสสาวะ เพื่อประเมินความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ
ตรวจเลือดเพื่อดูระดับของยูเรีย ไนโตรเจน และครีเอตินินในเลือดบ่งบอกการทำงานของไต
เอกซเรย์ UI trasound ดูความผิดปกติของไต ท่อไต และการอุดตันทางเดินปัสสาวะ
การตรวจอุจจาระเพื่อประเมินว่าอุจจาระมีเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว พยาธิ หรือมีเลือดปนใน อุจจาระหรือไม่
การส่องกล้องเข้าทางทวารหนักเพื่อตรวจหาความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ หรือ เพื่อการถ่ายภาพรังสีทางทวารหนัก
ตัวอย่างคำถามแบบแผนการขับถ่าย
ถ่ายอุจจาระบ่อยแค่ไหน วันละกี่ครั้งหรือ สัปดาห์ละกี่ครั้ง
ลักษณะของอุจจาระปกติ เป็นก้อนหรือเป็นน้ำ ลักษณะสีเป็นอย่างไร
มีปัญหาในการขับถ่าย เช่น ท้องผูก ปวดท้อง กลั้นอุจจาระไม่ได้ไหม
ถ้ามีปัญหาการขับถ่ายแก้ไขอย่างไร
ถ่ายปัสสาวะกี่ครั้งในตอนกลางวัน กลางคืนกี่ครั้ง
ลักษณะสี กลิ่น ปริมาณมีการเปลี่ยนแปลงไหม
มีปัญหาการกลั้นไม่ได้ไหม ปัสสาวะลำบาก กระปริกระปรอยไหม จัดการอย่างไร
เหงื่อออกมากตอนไหน
ตัวอย่างข้อมูลแบบแผนการขับถ่าย
ปกติถ่ายอุจจาระทุกเช้า ไม่เคยมีปัญหาท้องผูก
ถ่ายอุจจาระ 2-3 วันต่อครั้ง อุจจาระเป็นก้อนแข็ง ต้องออกแรงเบ่ง มีอาการแน่นอึดอัด ท้องเล็กน้อย
ปกติปัสสาวะ 4 ครั้งต่อวัน ไม่มีแสบขัด
ขณะที่ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะค้างไว้ ปัสสาวะออก 800 C.C. สีเหลืองใส
ตัวอย่างการบันทึกข้อมูล
การประเมินภาวะสุขภาพตามแบบแผนสุขภาพ
(Functional health patterns)
ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
จำนวนปัสสาวะใน 24 ชม. : ปัสสาวะประมาณ 900 cc . /วัน
ลักษณะปัสสาวะ : สีเหลือง ใส
จำนวนและลักษณะอุจจาระ : -
จำนวนและลักษณะของอาเจียน : ไม่มีอาเจียน
สรุปข้อมูลที่เป็นปัญหา
ไม่พบปัญหาในแบบแผนนี้
ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะ ขณะอยู่โรงพยาบาล
-วิถีทาง : ปัสสาวะเอง
-ความถี่ : กลางวัน 3 ครั้ง กลางคืน 2 ครั้ง
-ลักษณะปัสสาวะ : สีเหลืองใส
-ปริมาณปัสสาวะในแต่ละครั้ง : 200 cc
-อาการผิดปกติของการขับถ่ายปัสสาวะ เช่น กลั้นปีสสาวะไม่ได้ สสาวะไม่สุด/คั่ง หรือ
เจ็บปวดเวลาปัสสาวะ : กลั้นปัสสาวะไม่ค่อยได้
-วิธีแก้ไข : เอาหม้อนอนมาวางไว้ใกล้ตัว.
แบบแผนค่านิยมและความเชื่อ
(Value - bellef Pattern)
เป็นแบบแผนเกี่ยวกับความเชื่อ ความศรัทธา ความมั่นคงเข้มแข็ง ทางด้านจิตใจ สิ่งที่มีคุณค่า มีความหมายต่อชีวิต สิ่งยึดเหนี่ยว ทางค้านจิตใจ เป้าหมายในการดำเนินชีวิต ความเชื่อทางด้านสุขภาพ และการปฏิบัติตนตามความเชื่อ ปัจจัยส่งเสริม และปัจจัย ที่เป็นอุปสรรคต่อความมั่นคงเข้มแข็งทางด้านจิตใจ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแบบแผนอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วย
แนวทางการประเมินแบบแผนคุณค่าและความเชื่อ
การซักประวัติ
ความเชื่อ ความผูกพัน ความศรัทธาที่มีต่อสิ่งต่างๆ เช่น ความดีงาม ความถูกต้อง ศาสนา พระเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ หรือสิ่งเหนือธรรมชาติ
สิ่งสำคัญในชีวิต หรือสิ่งยึดเหนียวทางจิตใจ อาจเป็นบุคคล วัตถุ สิ่งของ ศาสนา คุณงามความดี
ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม
ความหวังหรือเป้าหมายในชีวิต
การปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ความเชื่อทางศาสนา ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม
เช่น การปฏิปัติธรรมตามศาสนาที่นับถือ การทำบุญใส่บาตร การไปวัด การไปโบสถ์ เป็นต้น รวมทั้งการเจ็บป่วยมีผลกระทบต่อการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ตามความเชื่อทางศาสนาหรือไม่
ความเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพ เช่น ความเชื่อเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดโรค ความเชื่อเกี่ยวกับการ
รักษาพยาบาล ความขัดแยังระหว่างความเชื่อเกี่ยวกับโรคของผู้ป่วยกับการรักษาพยาบาลที่ผู้ป่วยได้รับ
การตรวจร่างกาย
สังเกตพฤติกรรมที่แสดงออกทางสีหน้า กริยาท่าทาง รวมทั้งการแสดงออกทางอารมณ์ เช่น
ซึมเศร้า แยกตัว ว้าเหว่ โกรธ หงุดหงิด
สังเกตคำพูดของผู้ป่วยและญาติที่แสดงถึงการให้คุณค่าและการมีความเชื่อในด้านต่างๆ
สังเกตการแสดงออกที่แสดงถึงความเชื่อต่างๆ เช่น การมีพระพุทธรูป สร้อยพระ หรือมีวัตถุ มงคลบูชา การใช้เครื่องรางของขลัง การสวดมนต์ การทำสมาธิภาวนา การทำละหมาด การอ่านหนังสือ
ตัวอย่างคำถาม
มีจุดมุ่งหมายในชีวิตอย่างไร
มีสิ่งยึดเหนียวทางด้านจิตใจคืออะไร
สิ่งที่มีความหมายต่อผู้รับบริการมากที่สุดคืออะไร
ความเชื่อเกี่ยวกับการเจ็บป่วยครั้งนี้เป็นอย่างไร ความเชื่อทางด้านสุขภาพ ของแสลง : เชื่อว่าการกินไข่ทำให้แผลหายช้า
เชื่อว่าการทำบุญเยอะๆ ตายไปจะได้ขึ้นสวรรค์
พระพุทธศาสนาเป็นที่พึ่งทางใจ
ต้องการทำตามความเชื่อ สวดมนต์ก่อนนอน และขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้หายจากอาการป่วย
ผู้ป่วยขอนำพระพุทธรูปมาไว้ที่หัวเตียง
ตัวอย่างข้อมูล
ความเชื่อทางด้านสุขภาพ ของแสลง : เชื่อว่าการกินไข่ทำให้แผลหายช้า
เชื่อว่าการทำบุญยอะๆ ตายไปจะได้ขึ้นสวรรค์
พระพุทธศาสนาเป็นที่พึ่งทางใจ
ต้องการทำตามความเชื่อ สวดมนต์ก่อนนอนและขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้หายจากอาการป่วย
ผู้ป่วยขอนำพระพุทธรูปมาไว้ที่หัวเตียง
ตัวอย่างการบันทึกข้อมูล
การประเมินภาวะสุขภาพตามแบบแผนสุขภาพ (Functional health patterns)
ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
การนำสิ่งที่นับถือบูชามาโรงพยาบาล ( ห้อยพระ ใส่เครื่องรางของขลัง ฯลฯ ) : ผู้ป่วยไม่ได้นำสิ่งที่บูชานับถือมาโรงพยาบาลด้วย
การปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาและไสยศาสตร์ ( สวดมนต์,อธิษฐาน, ละหมาด, รดน้ำมนต์ ) :
สวดมนต์
สรุปข้อมูลที่เป็นปัญหา
ㆍผู้ป่วยไม่มีปัญหาในแบบแผนนี้
ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
ความเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพและความเจ็บป่วย (อาหารแสลง/การปฏิบัติตน) : เชื่อว่าถ้า
รับประทานกาแฟยอะๆจะทำให้นอนไม่หลับ
สิ่งที่มีค่าหรือมีความสำคัญในชีวิต : สามี ลูกหลาน
สิ่งที่คุณยึดเป็นที่พึ่งทางใจ ทั้งในขณะปกติและเจ็บป่วยคืออะไร : พระพุทธศาสนา
ขณะอยู่รงพยาบาลคุณต้องการปฏิบัติความเชื่อหรือไม่ : ต้องการทำตามความเชื่อ สวด
มนต์ก่อนนอนและขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้หายจากอาการป่วย
แบบแผนการรับรู้ตนเองและอัตมโนทัศน์ (Self perceptlon-Self concept Pattern)
แบบแผนที่เกี่ยวกับความคิด ความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อตนเอง (อัตมโนทัศน์) การมองตนเองเกี่ยวกับรูปร่าง หน้าตา ความพิการ (ภาพลักษณ์) ความสามารถ คุณค่า เอกลักษณ์ และ ความภูมิใจในตนเอง ตลอดจนปัจจัยส่งเสริม ปัจจัยเสี่ยง และปัจจัยอุปสรรคที่มีผลต่อการรับรู้ตนเองและอัตมโนทัศน์ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแบบแผนอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วย
แนวทางการประเมินแบบแผนการรับรู้ตนเองและอัตมในทัศน์
การซักประวัติ
ความรู้สึกต่อตนเองเกี่ยวกับภาพลักษณ์โดยทั่วไป รู้สึกว่าอ้วน ผอม สูงหรือเตี้ยเกินไป
ความรู้สึกต่อตนเองเกี่ยวกับความสามารถในด้านต่างๆ
ความรู้สึกต่อตนเองเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงร่างกายที่มีอุปกรณ์เพิ่มขึ้น
ความรู้สึกต่อตนเองเกี่ยวกับการสูญเสียอวัยวะจากการเป็นโรค การผ่าตัด หรือการเกิดอุบัติเหตุหน้าเสียโฉม ถูกตัดขา อาจรู้สึกว่าตนเองเป็นคนพิการกลัวคนอื่นรังเกียจ
ความรู้สึกต่อตนเองเกี่ยวกับความภาคภูมิใจในตนเอง ความพอใจในตนเอง ความรู้สึกสูญเสียความ
มั่นคงปลอดภัย ท้อแท้ สิ้นหวัง เป็นต้น
การตรวจร่างกาย
สังเกตความสนใจตนเองของผู้ป่วย
การแต่งกาย บุคลิกภาพ การกล่าวถึงตนเอง
การสังเกตปฏิกิวิยาตอบสนองหรือพฤติกรรมที่แสดงออกต่อการเปลี่ยนแปลงหรือสูญเสีย
ตัวอย่างคำถาม
ท่านคิดว่าตัวเองเป็นคนมีนิสัยอย่างไร
รู้สึกอย่างไรต่อสภาพตนเองตอนที่เจ็บป่วย
คิดว่าตัวเองมีจุดเด่น จุดด้อยอะไรบ้าง
คนอื่นมองคุณอย่างไร
พื้นฐานอารมณ์เป็นอย่างไร
ตัวอย่างข้อมูล
ก่อนการเจ็บป่วยครั้งนี้รู้สึกว่าตนเองมี
ความสำคัญกับครอบครัว สามารถทำงานได้ เองทุกอย่าง
ขณะเจ็บป่วย รู้สึกว่าหน้าตาเศร้าหมอง รู้สึกเหนื่อยง่าย ต้องพึ่งพาครอบครัวทำให้ญาติลำบากเดินทางมาดูแล
ผู้ป่วยมีความสนใจขณะซักถามดี มีการ
สบตา พูดด้วยน้ำเสียงที่ดี
ตัวอย่างการบันทึกข้อมูล
การประเมินภาวะสุขภาพตามแบบแผนสุขภาพ
(Functional health patterns)
ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
พฤติกรรมแสดงความสนใจในรูปร่าง หน้าตาต่อตนเอง : ผู้ป่วยไม่ได้มีพฤติกรรมที่แสคงความสนใจในรูปร่างหน้าตา
ลักษณะพฤติกรรมที่แสดงออกขณะสนทนา : ผู้ป่วยให้ความสนใจขณะชักถามดี มีการสบตาและพูดด้วยน้ำเสียงที่ดี
สรุปข้อมูลที่เป็นปัญหา
ขณะเจ็บป่วย รู้สึกว่าหน้าตาเศร้าหมอง ไม่มีชีวิตชีวา ผมไม่ได้หวี
เหนื่อย อ่อนเพลีย ทำงานหนักไม่ได้เลย รู้สึกเหนื่อยง่าย
ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
ก่อนการเจ็บป่วย : รู้สึกว่าหน้าตาตนเองสดใส มีน้ำมีนวล
ขณะเจ็บป่วย : รู้สึกว่าหน้าตาเศร้าหมอง ไม่มีชีวิตชีวา ผมไม่ได้หวี เหนื่อย อ่อนเพลีย ก่อนการเจ็บป่วย : รู้สึกว่าหน้าตาตนเองสดใส มีน้ำมีนวล
คุณรู้สึกอย่างไรที่ต้องพึ่งพาผู้นขณะเจ็บป่วย : กลัวญาติลำบากเวลาเดินทางมาดูแล
แบบแผนเพศสัมพันธุ์และการเจริญพันธุ์ (Sexuality- reproductive Pattern)
เป็นแบบแผนเกี่ยวกับพัฒนาการตามเพศซึ่งมีอิทธิพลมาจากพัฒนาการด้านร่างกาย
และอิทธิพลของสังคม สิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดู ลักษณะการเจริญพันธุ์ พฤติกรรม ทางเพศและเพศสัมพันธ์ ปัจจัยส่งเสริม ปัจจัยเสี่ยง หรือปัจจัยอุปสรรคต่อพัฒนาการตามเพศ และการเจริญพันธุ์ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแบบแผนอันเนื่องมาจาก ความเจ็บป่วย
แนวทางการประเมินแบบแผนเพศและการเจริญพันธุ์
การซักประวัติ
การเจริญพันธ์ และการทำงานของระบบสืบพันธุ์
การมีเพศสัมพันธ์ ปัญหาเพศสัมพันธ์ ความเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับการมีเพศสัมพันธ์ และการป้องกันโรคติต่อกันได้ทางเพศสัมพันธ์
การมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่ติดต่อกันได้ทางเพศสัมพันธ์ การมีพฤติกรรม ทางเพศที่ไม่เหมาะสม เช่น รักร่วมเพศ
เพศหญิงควรซักประวัติเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การแทัง การมีบุตร การคุมกำเนิด การ ติดเชื้อของอวัยวะสืบพันธุ์ ประวัติเกี่ยวกับการตกขาว อาการคันอวัยวะสิบพันธุ์ ปัสสาวะแสบขัด วิธีการรักษาความสะอาด
การตรวจร่างกาย
สังเกตพฤติกรรมทางเพศจากลักษณะท่าทางที่แสดงออก ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น การใช้ภาษา
และคำพูด รวมทั้งการแต่งกายว่าเหมาะสมกับเพศหรือไม่
เพศหญิง ตรวจเต้านม ต่อมน้ำเหลือง อวัยวะเพศหญิง เพศชาย ตรวจอวัยวะเพศชาย ตรวจ
อาการและอาการแสดงของการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคเอดส์ จะพบลักษณะผอมมาก มีเชื้อราในปาก มีรอยโรคตามผิวหนัง ท้องเสียเรื้อรัง
ตัวอย่างคำถาม
ประวัติการมีประจำเดือน เริ่มมีเมื่ออายุกี่ปี แต่ละครั้งมีกี่วัน มีอาการร่วมขณะมี ประจำเดือนหรือไม่
มีบุตรกี่คน
คุมกำเนิดหรือไม่ ใช้วิธีใด
ปัญหาเพศสัมพันธ์หรือไม่
ตัวอย่างข้อมูล
มีประจำเดือนครั้งแรกอายุ 13 ปี ครั้งละ 3 วัน มาปกติ ไม่มีอาการปวดท้อง
ตรวจเต้านมด้วยตนเอง เดือนละ 1 ครั้ง
คุมกำเนิดโดยกินยาคุมกำเนิด
การดูแลอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก สะอาด ไม่มีกลิ่นอับ
เปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 4 ชั่วโมง
ตัวอย่างการบันทึกข้อมูล
การประเมินภาวะสุขภาพตามแบบแผนสุขภาพ
(Functional health patterns)
ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
ลักษณะทางเพศ ชาย : ลูกกระเดือก หนวด ขนตามร่างกาย
หญิง : เต้านม สะโพก : มีเต้านม มีสะโพกผาย
ลักษณะอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก : ไม่มีความผิดปกติ สะอาด ไม่มีกลิ่นอับชื้น
สิ่งที่ขับออกทางอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก : ปัสสาวะ 1,000 ml.
สรุปข้อมูลที่เป็นปัญหา
ผู้ป่วยไม่มีปัญหาในแบบแผนนี้
ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
มีประจำเดือนครั้งแรก 13 ปี ระยะห่างของการมีประจำเดือน 20 วัน
ปริมาณประจำเดือน : 2 แผ่น/วัน
อาการผิดปกติขณะมีประจำเดือน : ปวดท้อง
อาการผิดปกติหลังหมดประจำเดือน : ไม่มีอาการผิดปกติ
การตรวจเต้านมด้วยตนเอง : 1-2 เดือน/ครั้ง
คุณมีความผิดปกติของอวัยวะเพศหรือไม่ อย่างไร : ไม่มีความผิดปกติ
วิธีคุมกำเนิดที่ใช้ : กินยาคุม
แบบแผนการนอนหลับพักผ่อน (Sleep-rest Pattern)
เป็นแบบแผนเกี่ยวกับการนอนหลับ การพักผ่อน ปัญหาเกี่ยวกับการนอน ปัจจัย
ส่งเสริม ปัจจัยเสี่ยง และอุปสรรคต่อแบบแผนการนอน กิจกรรมที่บุคคลปฏิบัติ เพื่อให้ผ่อนคลาย รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแบบแผนอันเนื่องมาจากความ
เจ็บป่วย
แนวทางการประเมินแบบแผนการพักผ่อนนอนหลับ
การซักประวัติ
พฤติกรรมการนอน ประวัติเกี่ยวกับอุปนิสัยการนอน
พฤติกรรมหรือสิ่งที่ช่วยทำให้นอนหลับได้ง่าย
ปัญหาเกี่ยวกับการนอน
พฤติกรรมการผ่อนคลาย ชนิดและความถี่ของกิจกรรมที่ทำเพื่อให้ผ่อนคลาย
มีการใช้ยานอนหลับหรือไม่ ถ้ามีใช้ยาะไร ตั้งแต่เมื่อไร ความถึในการใช้ยา
การตรวจร่างกาย
สังเกตหน้าตาว่านอนหลับพักผ่อนเพียงพอหรือไม่
ตัวอย่างคำถามแบบแผนการพักผ่อนนอนหลับ
นอนวันละกี่ชั่วโมง นอนกลางวันไหม
หลับสนิท หรือหลับๆตื่นๆ
เมื่อตื่นนอนรู้สึกอย่างไร (สคชื่น ง่วง ไม่กระปรี้กระเปว่า)
มีปัญหาการนอนไม่หลับไหม จัดการอย่างไร
ตัวอย่างข้อมูลแบบแผนการพักผ่อนนอนหลับ
ปกติเข้านอนตั้งแต่เวลา 22.00-06.00 น. หลับสนิททั้งคืน ไม่เคยนอนกลางวัน
ขณะเจ็บป่วยนอนกลางคืนวันละ 4 ชั่วโมง ต้องตื่นนอนบ่อยเพราะผู้ป่วยข้างเตียงร้อง เสียงดัง
ผู้ป่วยมีท่าทางอ่อนเพลีย หน้าตาไม่สดชื่น หาวบ่อย
ตัวอย่างการบันทึกข้อมูล
การประเมินภาวะสุขภาพตามแบบแผนสุขภาพ
(Functional health patterns)
ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
การนอนหลับ
-ตามปกตินอนหลับกลางวัน : วันละ 3 ชั่วโมง นอนกลางคืน วันละ 8 ชั่วโมง
-กิจกรรมที่ปฏิบัติเป็นประจำก่อนนอน : ดูทีวี
-ปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ : บางครั้งรู้สึกนอนไม่หลับ
-วิธีการแก้ไข : พยายามไม่ดูทีวีก่อนนอน นั่งสมาธิก่อนนอน
-ขณะอยู่โรงพยาบาลนอนหลับกลางวัน วันละ 2 ชั่วโมง นอนกลางคืน วันละ 4 ชั่วโมง
-ปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ : นอนไม่หลับ เสียงดัง
-วิธีการแก้ไข : พยายามนอนให้หลับและไม่สนใจเสียงรอบข้าง
การพักผ่อนหย่อนใจและงานอคิเรกที่มักปฏิบัติ : ทำอาหาร เลี้ยงสัตว์ ทำสวน ทุกๆวัน
ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
อาการแสดงของการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ (อ่อนเพลีย หน้าตาอิดโรย ขอบตาคลำ หาวนอนบ่อย หงุดหงิด : ผู้ป่วยมีท่าทางอ่อนเพลีย หน้าตาไม่สดชื่น หาว
สรุปข้อมูลที่เป็นปัญหา
ขณะอยู่โรงพยาบาลผู้ป่วยมีปัญหานอนไม่หลับนอนไม่พียงพอ
มีท่าทางอ่อนเพลีย
แบบแผนการรับรู้สุขภาพและการดูแลสุขภาพ
(Health Perception-Health Management Patterns)
เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินความคิด ความเข้าใจของบุคคลต่อภาวะสุขภาพ โดยทั่วไปของตนเองและของผู้ที่ตนรับผิดชอบ ว่าถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ และมีความ คาดหวังต่อภาวะสุขภาพหรือการรักษาอย่างไร
ความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเอง
พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันความเจ็บป่วย การดูแลรักษา และการฟื้นฟูสภาพร่างกาย
รวบรวมโดยการซักประวัติและการตรวจร่างกาย
แนวทางการประเมินการรับรู้ภาวะสุขภาพและการดูแลสุขภาพ
การซักประวัติ
การรับรู้สุขภาพของตนเองหรือบุคคลที่รับผิดชอบทั้งอดีตและปัจจุบันเป็นอย่างไร ถูกต้องหรือไม่
ประวัติ ความถี่ในการเกิดอาการเจ็บป่วย บ่อยเพียงใด
มีความรู้เกี่ยวกับโรคที่เป็นหรือสาเหตุของโรคถูกต้องหรือไม่ อย่างไร และวิธีการแก้ไขเมื่อเจ็บป่วย
มีความรู้สึกและความคาดหวังเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นอย่างไร
มีความต้องการความช่วยเหลือจากทีมการพยาบาลหรือผู้รักษาอย่างไร
การตรวจร่างกายประจำปี
การได้รับภูมิคุ้มกัน
การรับประทานยาเป็นประจำและเหตุผลที่รับประทานยา
การมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพ เช่น การดื่มเหล้า การสูบบุหรี่ การติดสาร เสพติด
ประวัติการเพ้สารต่างๆ เช่น การแพ้ยา อาหาร สารเคมี หรือสารอื่นๆ รวมทั้งอาการแพ้ และการแก้ไขเมื่อเกิดอาการแพ้
การดูแลความสะอาดของร่างกายตนเอง เช่น การอาบน้ำ การแปรงฟัน ขณะอยู่ที่บ้าน
การดูแลหรือความสนใจเอาใจใส่ของครอบครัวต่อสุขภาพของผู้ป่วย เช่น การพามาพบ แพทย์ตามนัด การดูแลเมื่อเจ็บป่วย
การตรวจร่างกาย
ลักษณะทั่วไปและความพิการ เช่น ท่าทางการเดิน การลุกนั่ง การเคลื่อนไหวแขนขา การพูดคุย การแสดงสีหน้า
ความสะอาดของร่างกาย เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย
ความร่วมมือในการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยหรือครอบครัว
สังเกตการปฏิบัติตนขณะเจ็บป่วยของผู้ป่วย หรือการได้รับการดูแล
จากครอบครัว
ตัวอย่างคำถามแบบแผนการรับรู้ภาวะสุขภาพและการดูแลสุขภาพ
ทราบไหมว่าเป็นโรคอะไร ทราบวิธีการดูแลตนเองหรือไม่ ถ้าทราบดูแลตนเองอย่างไร
เมื่อเจ็บป่วย/บาดเจ็บ ผู้ป่วยปฏิบัติอย่างไร
เคยรักษาแบบพื้นบ้านหรือไม่ เคยรักษาด้วยวิธีการใคบ้าง
รับรู้ผลกระทบของภาวะเจ็บป่วยต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตเป็นอย่างไร
เคยดื่มสุราหรือเครื่องดื่มมึนเมาเป็นประจำหรือไม่ หากเคยดื่มหรือยังดื่มอยู่ให้ระบายละเอียดของชนิด จำนวน อะไรเป็นปัจจัยส่งเสริม/อุปสรรคในการหยุดดื่ม หรือกลับมาดื่มใหม่
เคยสูบบุหรี่หรือไม่ ถ้าเคยให้ซักถามรายละเอียดเกี่ยวกับชนิด จำนวน ระยะเวลาที่สูบ
เคยใช้ยาหรือสารเสพติดอะไรเป็นประจำ
ตัวอย่างข้อมูลแบบแผนการรับรู้ภาวะสุขภาพและการดูแลสุขภาพ
"ไม่เคยมีใครบอกว่าเป็นโรคอะไร จะหายหรือไม่"
"ไม่อยากรู้ กลัวเป็นโรคที่รักษาไม่หาย"
เมื่อเจ็บป่วยเล็กน้อยจะไปสถานีอนามัยและซื้อยากินเอง
ตอนเด็กเป็นไข้เจ็บคอบ่อย เคยมีอาการปวดข้อร่วมด้วยครั้งเดียว
"เพื่อนบ้านเคยมารักษาที่นี่แล้วหาย"
2 เดือนก่อนเคยมารับยา กินยาแล้วดีขึ้น ไม่ได้มาพบแพทย์ตามนัดเพราะแม่ติดเกี่ยวข้าว
มาโรงพยาบาลเพราะมีอาการเหนื่อยหอบ เจ้าหน้าที่อนามัยแนะนำมาโรงพยาบาล
ตัวอย่างการบันทึกข้อมูล
การประเมินภาวะสุขภาพตามแบบแผนสุขภาพ (Functional health patterns)
ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
สภาพร่างกาย อารมณ์ และจิตใจโดยทั่วไป : ผู้ป่วยรู้สึกตัวคี ท่าทางอ่อนเพลีย เป็นคนอารมณ์ดี จิตใจดี ขอบช่วยเหลือผู้อื่น
ความร่วมมือในการรักษา : ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการรักษาดี
ความสะอาดของร่างกาย เครื่องแต่งกาย : เสื้อผ้าสะอาด เล็บยาว ผมมัน
สรุปข้อมูลที่เป็นปัญหา
ท่าทางอ่อนเพลีย
ปวดขาทั้ง 2 ข้าง
ลุกเดินไปเข้าห้องน้ำเองไม่ได้
มีเล็บยาว ผมมันเนื่องจากไม่ได้สระผม
ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
ภาวะสุขภาพของตนเองก่อนการเจ็บป่วยครั้งนี้เป็นอย่างไร : สุขภาพร่างกายแข็งแรงดีสามารถเดินไปทำกิจวัตรประจำวันได้ปกติ
ขณะนี้สุขภาพของคุณเป็นอย่างไร : การทำกิจวัตรประจำวันไม่สะดวก เดินไม่สะดวกปวดขาทั้งสองข้าง
แบบแผนบทบาทและสัมพันธภาพ (Role-relationship Pattern)
แบบแผนเกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ การติดต่อสื่อสารและการมีสัมพันธภาพกับบุคคลทั้งภายในครอบครัวและสังคม รวมทั้งปัจจัยส่งเสริม ปัจจัยเสี่ยงหรือปัจจัยอุปสรรคต่อ การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่และการสร้างสัมพันธภาพ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงบทบาทอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วย
แนวทางการประเมินแบบแผนบทบาทและสัมพันธภาพ
การซักประวัติ
โครงสร้างครอบครัว เช่น จำนวนสมาชิกในครอบครัวมีใครบ้าง หรืออยู่คนเดียว
หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ป่วยและสมาชิกคนอื่นๆ ต่อครอบครัว
การแสดงบทบาทในครอบครัวทั้งในขณะที่มีสุขภาพดีและการเปลี่ยนแปลงบทบาทในขณะเจ็บป่วยมีผลกระทบต่อครอบครัวหรือไม่
สัมพันธภาพของผู้ป่วยกับครอบครัว เพื่อนร่วมงาน เพื่อนบ้าน การเปลี่ยนแปลงของสัมพันธภาพโดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หรือช่วยตนเองไม่ได้
ตำแหน่งความรับผิดชอบต่อหน้าที่ การงาน อาชีพ
สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการสร้างสัมพันธภาพที่ดี
การตรวจร่างกาย
สังเกตพฤติกรรมต่างๆ หรือท่าทางที่แสดงออกต่อครอบครัวและบุคคลในครอบครัวแสคงต่อผู้ป่วย ลักษณะ การโต้ตอบระหว่างผู้ป่วยกับบุคคลในครอบครัว รวมทั้งเพื่อน ผู้ร่วมงาน การมาเยี่ยมของคนในครอบครัวด้วย
ตัวอย่างคำถาม
คุณอยู่กับใคร ครอบครัวมีใครบ้าง
มีปัญหาในครอบครัวไหม ครอบครัวจัดการ ปัญหาอย่างไร
ครอบครัวคิดอย่างไรกับการเจ็บป่วยของคุณ
ในที่ทำงานมีปัญหาไหม มีเพื่อนสนิทไหน
รู้สึกโดดเดี่ยวไหม
ตัวอย่างข้อมูล
สมาชิกในครอบครัวมี 5 คน ตัวผู้ป่วยเองสามี ลูกชาย ลูกสะใภ้ และหลาน
มีสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว
คนในครอบครัวดูแลเอาใจใส่ดี
มีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนบ้านและเพื่อนร่วมงาน
ตัวอย่างการบันทึกข้อมูล
การประเมินภาวะสุขภาพตามแบบแผนสุขภาพ (Functional health patterns)
ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
สัมพันธภาพของผู้ใช้บริการกับครอบครัว/เพื่อน/ผู้ร่วมงาน : มีสัมพันธภาพดี
สัมพันธภาพของผู้ใช้บริการกับบุคลากรในทีมสุขภาพ : มีสัมพันธภาพดี
พฤติกรรมในการดูแลของครอบครัวและผู้ดูแล : คนในครอบครัวดูแลเอาใจใส่ดี
อุปสรรคของการสื่อสาร : ไม่มีอุปสรรคในการสื่อสาร
สรุปข้อมูลที่เป็นปัญหา
ㆍ ผู้ป่วยไม่มีปัญหาในแบบแผนนี้
ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
บทบาทและสัมพันธภาพในครอบครัว
-จำนวนสมาชิกในครอบครัว : 5 คน
-ประกอบด้วยใครบ้าง : ตัวผู้ป่วยเอง, สามี, ลูกสะใภ้, หลาน 2 คน
-บทบาทและความรับผิคชอบต่อครอบครัว : ทำอาหาร เลี้ยงสัตว์ ทำส่วน
-ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวเป็นอย่างไร : ความสัมพันธในครอบครัวดี
-ใครทำหน้าที่แทนขณะเจ็บป่วย : ลูกสะใภ้และสามี
-ขณะเจ็บป่วยมีใครมาเยียมบ้าง : สามี, ลูกสะใภ้, น้องสาว, หลาน
บทบาทและความรับผิดชอบในงาน/ อาชีพ/ การศึกษา : เกษียณอายุราชการแล้ว
ความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน : มีความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานดี
ความเจ็บป่วยครั้งนี้มีผลต่อครอบครัว/การงาน/การศึกษาหรือไม่ อย่างไร : ไม่มี
ปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการเจ็บป่วยครั้งนี้ : ไม่มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย
ทัศนคติของผู้ดูแลต่อความเจ็บป่วย และการยอมรับบทบาทผู้ดูแล : ผู้ดูแลมีทัศนคติที่ดี ดูแลผู้ป่วย
เป็นอย่างดี และยอมรับในบทบาทผู้ดูแล
ความรู้และสมรรถนะการดูแล ภาวะสุขภาพ และภาระที่ต้องรับผิดชอบ : ผู้ดูแลได้รับความรู้ในการ
ดูแลผู้ป่วยจากแพทย์และพยาบาล คอยกำชับเกี่ยวกับเรื่องอาหาร และการลุกเดิน
แบบแผนสติปัญญาและการรับรู้
(Cognitive-perceptual Pattern)
การรับรู้ความรู้สึกและการตอบสนอง
แบบแผนเกี่ยวกับความสามารถของบุคคลในการรับรู้สิ่งเร้าและการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
ด้านการรับรู้ความรู้สึก (sensation) ทั้ง 5 ทาง ได้แก่ การมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรับรส การรับรู้สึกทางผิวหนัง และการการรับรู้เกี่ยวกับความเจ็บปวด
ความสามารถทางสติปัญญา
แบบแผนเกี่ยวกับความสามารถและพัฒนาการทางสติปัญญาเกี่ยวกับความคิด ความจำ ความสามารถในการตัดสินใจ การแก้ปัญหาและการสื่อภาษาต่างๆ รวมทั้งปัจจัย
ส่งเสริม ปัจจัยเสี่ยงและอุปสรรคต่อความสามารถในการตัดสินใจ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของ แบบแผนอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วย
แนวทางการประเมินแบบแผนสติปัญญาและการรับรู้
การซักประวัติ
ความรู้สึกทั่วไป สุขสบายหรือไม่สุขสบาย
ปัญหาเกี่ยวกับความรู้สึกตัว
ปัญหาเกี่ยวกับการได้กลิ่น
ปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น
ปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน
ปัญหาเกี่ยวกับการรับรส ไม่สามารถรับรสได้ ปากชา ลิ้นชา
ปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้ความรู้สึกทางผิวหนัง เช่น อาการชา คัน ความเจ็บปวด
ประวัติความเจ็บป่วยหรือโรคประจำตัวที่มีผลต่อการรับรู้ความรู้สึกดังกล่าว
พัฒนาการด้านสติปัญญา โดยการซักถามเกี่ยวกับความสามารถในการเรียน ความสามารถในการทำงาน การคิด การจำ การตัดสินใจ แก้ปัญหาและการสื่อสาร
ความเจ็บป่วยที่ทำให้ความสามารถทางสติปัญญาเปลี่ยนแปลง
ประวัติการได้รับยาบางชนิคซึ่งมีผลต่อความคิค ความจำ หรือทำให้มีอาการสับสน
การตรวจร่างกาย
ประเมินระดับความรู้สึกตัว เช่น การลืมตา การสื่อภาษา การเคลื่อนไหวของร่างกาย และ
ตรวจดูความผิดปกติของจมูก ตา หู ลิ้น ตรวจประสาทสัมผัสทางผิวหนัง
สังเกตลักษณะทั่วไป เช่น รูปร่าง ลักษณะ หน้าตา ท่าทาง การแต่งกาย การดูแลสุขอนามัย
ทั่วๆ ไป พฤติกรรมที่แสดงออก ลักษณะคำพูด การพูดจาโต้ตอบ การใช้ภาษาที่เหมาะสม การ รับวู้บุคคล เวลา สถานที่ การคิดที่สมเหตุสมผล
ประเมินระดับสติปัญญา (IQ) โดยใช้แบบทดสอบ
ตัวอย่างข้อมูลแบบแผนสติปัญญาและการรับรู้
ผู้ป่วยสามารถบอกวัน เวลา สถานที่ และบุคคลได้
ตอบคำถามได้ตรงประเด็นที่ถาม
สามารถพูดโต้ตอบได้ ใช้ภาษาได้ดี อ่านหนังสือออกและเขียนหนังสือได้
มีความจำดี จำเรื่องราวที่ผ่านมาได้ดี
การรับรู้ทางการสัมผัสได้ดี
ตัวอย่างการบันทึกข้อมูล
การประเมินภาวะสุขภาพตามแบบแผนสุขภาพ (Functional health patterns)
ข้อมูลปรนัย (Objective Data
ระดับความรู้สึกตัว การรับรู้วัน เวลา สถานที่ บุคคล : ผู้ป่วยสามารถบอกวัน เวลา วันที่
สถานที่ และบุคคลได้
ลักษณะการโต้ตอบ/การใช้ภาษา/การอ่าน/ การพูด : ผู้ป่วยสามารถพูดโต้ตอบได้ ใช้ภาษาได้ดี
อ่านหนังสือออกและเขียนหนังสือได้ดี
ความจำ : ผู้ป่วยมีความจำดี และจำเรื่องราวที่ผ่านมาได้ดี
ลักษณะสีหน้า และการแสดงออกถึงความไม่สุขสบาย : สีหน้าที่แสคงออกถึงความเจ็บปวด
สรุปข้อมูลที่เป็นปัญหา
มีปัญหาปวดขาทั้ง 2 ข้าง และมีปัญหา ตาทั้ง 2 ข้างมัว
ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
หน้าที่ในการรับสัมผัสและการรับรู้
คุณมีความผิดปกติเกี่ยวกับการรับรู้หรือไม่ อย่างไร
-การสัมผัส : ผู้ป่วยรับรู้ถึงการรับสัมผัสได้ดี
-การมองเห็น : ผู้ป่วยมีตา 2 ข้างมัว ความสามารถในการมองเห็นไม่ชัดเจน
-การได้ยิน : หู 2 ข้างได้ยินดี
-การได้กลิ่น: สามารถรับรู้ถึงกลิ่นต่างๆได้ดี
-การรับรส : สามารถรับรู้ถึงรสชาติต่างๆได้ดี เช่น เปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด
ความเจ็บปวด ความไม่สุขสบายของผู้ป่วย (ความเจ็บปวด ร้อน หนาว คัน ระคายเคือง) : ผู้ป่วยมี อาการปวดขาทั้ง 2 ข้าง
แบบแผนด้านโภชนาการและการเผาผลาญอาหาร
(Nutritional-Metabolism Patterns)
ประเมินพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยพิจารณาความสอดคล้อง
กับอาหารที่ควรได้รับและน้ำหนักตัว
ปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการได้รับสารอาหาร น้ำ เกลือแร่ คันหาสิ่งที่
บ่งชี้ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงของภาวะทุพโภชนาการ เช่น ความอยากอาหารลดลง
ประเมินการทำงนของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการ ได้แก่ การ
เคี้ยว การกลืน การย่อย การดูดซึม และการเผาผลาญ
แนวทางการประเมินแบบแผนโภชนาการและการเผาผลาญสารอาหาร
การซักประวัติ
แบบแผนเกี่ยวกับบริโภคนิสัยและแบบแผนการดำเนินชีวิต (life style)
มีความรู้เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการหรือไม่
ประวัติการเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร
ปัญหาในการรับประทานอาหาร
ประวัติการเพิ่มหรือลดของน้ำหนักตัวจากปกติ
ประวัติการเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญสารอาหารที่ผิดปกติทั้งของผู้ป่วยและครอบครัว
การรับประทานยาที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญสารอาหาร
การซักประวัติ (น้ำและอิเล็กโทรไลต์)
ชนิด และปริมาณน้ำที่ดีมในหนึ่งวัน
โรคหรือภาวะที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดน้ำ ภาวะน้ำเกิน หรือมีปัญหาความไม่สมดุลของอิเล็กโทร ไลตั เช่น โรคเบาหวาน โรคไตวาย ตับวาย หัวใจวาย ไข้เลือดออก การออกกำลังกายในที่มี
อากาศร้อนมาก มีอาการอาเจียนมาก ท้องเสียมาก ไข้สูง เป็นตัน
ยาที่ได้รับซึ่งอาจมีผลต่อความสมดุลของน้ำและอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย เช่น ยาขับปัสสาวพLasix จะทำให้มีการขับ Ca ออกมากขึ้น เป็นต้น
การตรวจร่างกาย
สังเกตพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ปริมาณและลักษณะอาหารที่รับประทาน
ตรวจสภาพของผิวหนังและเยื่อบุว่าซีดหรือไม่ โดยสังเกตสีของผิวหนัง วิมฝีปาก เยื่อบุตา (ConJunctlva) ตาขาว ฝ่ามือ ฝ่าเท้า
เยื่อบุปากและแผลในช่องปาก คอ ฟันผุ เหงือกอักเสบ ทอนซิลแดงโตหรือไม่
ตรวจดูท่าทางว่ามีอาการอ่อนเพลีย กล้ามเนื้อแขนขาลีบหรือไม่ ลักษณะผม เล็บ ขาด
สารอาหารหรือไม่
สังเกตอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการมีปัญหาการรับประทานอาหาร เช่น อาการกลืนลำบาก
อาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ปวดท้อง เป็นต้น
ตรวจลักษณะท้อง ตับ ม้าม ก้อนในท้อง ฟังเสียงการเคลื่อนไหวของลำไส้ (Bowel sound)
ประเมินภาวะโภชนาการว่าอัวน ทัวม ปกติ หรือผอม โดยประเมินจากน้ำหนักและส่วนสูงที่ สมดุลกันหรือประเมินจากดัชนีมวลกาย (BMI)
ค่าดัชนีมวลกาย เท่ากับ
การตรวจร่างกาย (น้ำและอิเล็กโทรไลต์)
ผิวหนัง ตรวจดูความยึดหยุ่น (skin turgor) ความอุ่น ความขึ้นของผิวหนัง
ตรวจริมฝีปาก เยื่อบุปาก และลิ้นว่ามีแตก แห้งหรือไม่
ตรวจ ดูจำนวนและสีของน้ำปัสสาวะ
ประเมินอาการขาดน้ำ(Dehydratlon) จากการตรวจร่างกาย เช่น มีไข้สูง อ่อนเพลีย ริมฝีปาก และเยื่อบุปากแห้ง ตาโบ๋ ความตึงตัวของผิวหนังลดลง หรือหนังเหี่ยว (poor skin turgor) กระหายน้ำ ลิ้นเป็นฝ้าหนา ปีสสาวะออกน้อย สีเหลืองเข้ม ชีพจรเบาเร็ว
ตรวจดูอาการบวม (Edema)
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ เช่น
การตรวจเลือดเพื่อประเมินปัญหาเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ ความสมดุลของสารน้ำและเกลือแร่ต่างๆ ในร่างกาย
การตรวจอัลตรัาชาวด์ช่องท้อง (UIt rasound) ประเมินความผิดปกติของอวัยวะภายในช่องท้องและทางเดินอาหาร
ตัวอย่างคำถามแบบแผนโภชนาการและการเผาผลาญสารอาหาร
ปกติอาหารที่รับประทานคืออะไร (มื้อเช้า กลางวัน เย็น)
น้ำที่ดื่มเป็นประจำมีอะไรบ้าง ปริมาณเท่าใด
ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมามีน้ำหนักตัวเปลี่ยนแปลง(เพิ่ม-ลด) ไหม
มีเบื่ออาหารไหม
มีปัญหาการกลืน การเคี้ยว หรือถูกจำกัดอาหารไหม
การเป็นแผล หายช้าหรือปกติ
มีผิวแห้ง มีรอยโรคบ้างไหม
มีปัญหาปาก เหงือกอักเสบ ฟันปลอม ฟันผุไหม
ตัวอย่างข้อมูลแบบแผนโภชนาการและการเผาผลาญสารอาหาร
ชอบกินข้าวเหนียววันละ 3 มื้อ ชอบกินอาหารรสจัดโดยเฉพาะส้มตำ
ดื่มน้ำประมาณวันละ 6-8 แก้ว/วัน
น้ำหนักชั่งเมื่อ 3 เดือนที่แล้ว 48 กก.
2 เดือนมานี้กินได้มื้อละ 5-6 คำ เนื่องจากเบื่ออาหารและแน่นท้อง
ปกติชอบดื่มกาแฟวันละ 1 แก้ว
ค่าดัชนีมวลกาย 20 kg/m2
ท่าทางอ่อนเพลีย ซีด
อุณหภูมิของร่างกาย 38 องศาเซลเซียส
ตัวอย่างการบันทึกข้อมูล
การประเมินภาวะสุขภาพตามแบบแผนสุขภาพ (Functional health patterns)
ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
การได้รับสารอาหาร : ผู้ป่วยรับประทานอาหารเอง ทางปาก
การตรวจร่างกาย : น้ำหนัก 68 กิโลกรัม ส่วนสูง 160 เซนติมตร BMI - 26.56 กก/ มม.อุณหภูมิร่างกายในระหว่าง 24 ชม. ที่ผ่านมาอยู่ในช่วง : 36.8-37.3 องศาเซลเซียส
สรุปข้อมูลที่เป็นปัญหา
ไม่พบปัญหาในแบบแผนนี้
ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
ตามปกติรับประทานอาหารวันละ : 3 มื้อ ตรงเวลา ปริมาณ 1 ทัพพีต่อครั้ง
ดื่มน้ำ/เครื่องดื่มวันละ : 1,200 ml /วัน
อาหารที่รับประทานเป็นประจำ : ข้าว อาหารอีสาน เช่น น้ำพริก ปลา ผักต่างๆ
อาหารที่ไม่รับประทานและเหตุผล : ของหมักดอง
แบบแผนด้านการมีกิจกรรมและการออกกำลังกาย
(Activity-Exercise Patterns)
เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินระดับความสามารถในการประกอบกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน การทำกิจวัตรประจำวัน การดูแลบ้าน การประกอบอาชีพ การใช้เวลาว่าง และนันทนาการ การออกกำลังกาย หรือ การทำกิจกรรมที่มีเหงื่อออก
ข้อจำกัดหรือเงื่อนไขในการดำเนินชีวิตที่มีผลต่อการทำกิจกรรมและออกกำลังกาย เช่น หอบเหนื่อย แน่นหน้าอก ไม่มีเวลา
ผลกระทบที่เกิดจากการเจ็บป่วยต่อการประกอบกิจกรรมและการออกกำลังกาย
ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อไม่สามารถทำกิจกรรมที่ตนเองต้องการ หรือไม่สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำได้เนื่องด้วยข้อจำกัดต่างๆ
แนวทางการประเมินแบบแผนกิจกรรมและการออกกำลังกาย
การซักประวัติ
ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง
กิจกรรมในงานอาชีพหนักเบาอย่างไร
การออกกำลังกาย ชนิดของการออกกำลังกาย ระยะเวลาในการออกกำลังกายสัปดาห์ละกี่ครั้ง แต่ละครั้งใช้เวลานานเท่าไร
ประวัติเกี่ยวกับนันทนาการ งานอคิเรกหรือการใช้เวลาว่าง
ประวัติการเป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
ปัจจัยที่ทำให้ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเปลี่ยนแปลง / ลดลง
ปัจจัยเสริมที่ทำให้มีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ
การได้รับบาดเจ็บหรือเกิดอุบัติเหตุต่อกระดูก ข้อ และกล้ามเนื้อ
การเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับกระดูก ข้อ กล้ามเนื้อ
ความเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ
การมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาระบบทางเดินหายใจ
การได้รับบาเจ็บที่ทำให้เกิดปัญหาระบบทางเดินหายใจ
การใช้ยาต่างๆ ที่มีผลต่อการหายใจ
ประวัติการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
ประวัติการมีปัจจัยเสี่ยงต่อการมีปัญหาระบบหัวใจและการไหลเวียนโลหิต
ประวัติการใช้ยาที่มีผลต่อการทำงานของหัวใจและการไหลเวียนโลหิต และการเกิดฤทธิ์ข้างเคียงของยา
ประวัติการเกิดอาการผิดปกติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของหัวใจและการ
ไหลเวียนโลหิต
ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัวด้วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดและหัวใจ ไขมันในเลือดสูง
การตรวจร่างกาย
สังเกตความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ
ประเมินความสามารถในการเคลื่อนไหวของแขนขา (Range of motion : ROM)
ตรวจร่างกายระบบต่างๆ เพื่อประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ
สังเกตการทำกิจกรรมต่างๆ ของผู้ป่วย ตรวจคูขนาด รูปร่าง ลักษณะของกระดูกว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ตรวจดูขนาดของกล้ามเนื้อความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และกำลังของกล้ามเนื้อว่าปกติหรือไม่
ตรวจวัดสัญญาณชีพ ประเมินอาการของความดันโลหิตสูง เช่น ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว แขนขาอ่อนแรง
ตรวจอาการขาคออกซิเจน
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
การตรวจเลือดและตรวจเอกซเรย์ปอด เพื่อประเมินภาวะผิดปกติที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ หรือไม่
ตัวอย่างคำถามแบบแผนกิจกรรมและการออกกำลังกาย
ในแต่ละวัน ตั้งแต่ตื่นนอน ท่านทำะไรบ้าง กิจวัตรประจำวัน
ปัญหาในการทำกิจกรรมนั้นๆ หรือไม่
แต่ละกิจกรรมที่ทำใช้เวลานานเท่าใด
ประกอบอาชีพอะไร งานอดิเรก การใช้เวลาว่าง การออกกำลังกาย มีปัญหาขณะทำ กิจกรรมนั้นๆ หรือไม่
มีโรคประจำตัวที่ขัดขวางการทำกิจกรรมไหม
ตัวอย่างข้อมูลแบบแผนกิจกรรมและการออกกำลังกาย
ปกติออกกำลังกายโดยการเดินรอบหมู่บ้านตอนเช้าทุกวัน วันละ 1 ชั่วโมง
ขณะเจ็บป่วยมีภรรยาช่วยเหลือเกี่ยวกับการทำกิจวัตรประจำวัน
เวลาว่างจากการทำงานบ้านชอบอ่านหนังสือ
ผู้ป่วยให้ประวัติว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง
ขณะอยู่โรงพยาบาลลุกนั่งบนเตียงได้เอง แต่เวลาเดินต้องมีคนพยุงเนื่องจากขาข้างขวาบวม
เวลาเดินการทรงตัวไม่ดี เนื่องจากขาข้างขวาบวม กำลังกล้ามเนื้อเกรด 4
ตัวอย่างการบันทึกข้อมูล
การประเมินภาวะสุขภาพตามแบบแผนสุขภาพ (Functional health patterns)
ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
การออกกำลังกายขณะอยู่โรงพยาบาล : ออกกำลังกายบนเตียงโดยกายบริหารทุกเช้า
ความสามารถช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
-การรับประทานอาหาร :รับประทานอาหารได้เอง
-การทำความสะอาดปากฟัน : ทำความสะอาดได้เอง
-การอาบน้ำและการแต่งตัว : ทำได้เอง
การเคลื่อนไหวบนเตียง/ การเดิน : ลุกนั่งบนเตียงได้เอง แต่วลาเดินต้องมีคนพยุงเนื่องจากปวด
ขาทั้ง 2 ข้าง
สรุปข้อมูลที่เป็นปัญหา
อ่อนเพลียง่าย ทำกิจกรรมได้ลดลง
การทรงตัวไม่ดี
ปวดขาทั้ง 2 ข้าง
ให้ประวัติเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
ความทนต่อการทำกิจกรรม (กิจกรรมที่ทำ/ความเหนื่อยเมื่อทำกิจกรรม)
-ก่อนการเจ็บป่วยครั้งนี้ : ทำกิจกรรมต่างๆ เล็กๆน้อยๆ จะรู้สึกเหนื่อยง่าย
-ขณะอยู่ในโรงพยาบาล : ทำกิจกรรมต่างๆไม่ได้ รู้สึกเหนื่อย
ลักษณะงานที่ทำในปัจจุบัน : เกษียณอายุราชการ ไม่ได้ทำงาน อยู่บ้านเลี้ยงหลาน
ความสามารถในการช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันตามปกติ
-การรับประทานอาหาร : รับประทานอาหารได้เอง
-การทำความสะอาดปากและฟัน : ทำได้เอง
-การอาบน้ำและการแต่งตัว : ทำได้เอง
-การขับถ่าย : ขับถ่ายได้เองบนเตียง บางครั้งมีญาติพยุงเดินไปเข้าห้องน้ำ
-การเคลื่อนไหวบนเตียง/ การเดิน : ลุกนั่งบนเตียงได้เอง แต่เวลาเดินต้องมีคนพยุง
ตามปกติคุณออกกำลังกายเป็นประจำ หรือไม่ อย่างไร : ออกกำลังกายโดยการเดินรอบหมู่บ้านทุกวัน
ประวัติการเจ็บป่วย การรักษารคระบบหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง โรคระบบทางเดิน หายใจ โรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูก โรคระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว : ผู้ป่วยใหประวัติว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน