Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แบบแผนสุขภาพ (Functional health patterns) - Coggle Diagram
แบบแผนสุขภาพ
(Functional health patterns)
องค์ประกอบของแบบแผนสุขภาพแต่ละแบบแผน
พฤติกรรมภายนอก คือการกระทำที่แสดงออกมาให้สังเกตเห็นได้ รับรู้ได้ หรือใช้เครื่องมือตรวจได้ เช่น
พฤติกรรมที่เป็นคำพูด
พฤติกรรมที่ไม่ใช่คำพูด เช่น กิริยา ท่าทาง การเดิน การหัวเราะ ร้องไห้
การตรวจโดยใช้เครื่องมือทางการแพทย์ เช่น การตรวจวัดสัญญาณชีพ การเอกซเรย์ เป็นต้น
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือด การตรวจสิ่งคัดหลั่งต่างๆ
3.ปัจจัยส่งเสริมพฤติกรรมและอุปสรรค
พฤติกรรมภายนอก และพฤติกรรมภายใน จะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน
พฤติกรรมภายในเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมภายนอก เช่น พฤติกรรมภายในมีความยินดีและพึงพอใจกับสิ่งที่ปรารถนา ก็จะแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมภายนอกให้สังเกตเห็นได้จาก สีหน้า แววตา กิริยา ท่าทาง ทางร่างกาย เป็นต้น
1.พฤติกรรมภายใน คือพฤติกรรมที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าหรือใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ตรวจสอบได้โดยตรง
กระบวนการทำงานทางกาย หรือทางชีวภาพในระบบต่างๆ เช่น ระบบหายใจ ระบบหัวใจ และหลอดเลือด
กรพบวนการคิด ความรู้ของบุคคลเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ
เจตคติ ซึ่งประกอบด้วยความรู้สึก ความคิดเห็น ค่านิยมของบุคคล
การรวบรวมข้อมูล
: การประเมินทางการพยาบาลในผู้ป่วยโดยใช้กรอบแนวคิดแบบแผนสุขภาพ ของกอร์ดอน (Gordon,1994) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลสามารถทำได้โดยการซักประวัติ การสังเกต การตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และ การตรวจพิเศษ
วิธีการได้มาซึ่งข้อมูล
ข้อมูลอัตนัย (Subjective data) คือ การซักประวัติจากผู้รับบริการหรือญาติ
ข้อมูลปรนัย (Objective data) คือ ข้อมูลที่ได้จากการสังเกต/การตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และ การตรวจพิเศษ
กรอบแนวคิดแบบแผนสุขภาพ
-พัฒนาโดย มาร์จอรีย์ กอร์ดอน (Majory Gordon) ศาสตราจารย์
ทางการพยาบาทที่มหาวิทยาลัยบอสตัส (Boston College of Nursing)
-แบบแผนสุขภาพใช้เป็นแนวคิดในการประเมินภาวะสุขภาพของบุคคลครอบครัวหรือชุมชน ทั้งในภาวะปกติและภาวะเจ็บป่วย
-ประเมินจากพฤติกรรมทั้งภายนอกและภายใน
-มนุษย์จะมีภาวะสุขภาพที่ดีหรือไม่นั่นขึ้นอยู่กับความปกติ(function)หรือผิดปกติ(dysfunction)ของแบบแผนสุขภาพ
-มี 11 แผน
ความหมายของแบบแผนสุขภาพ
แบบแผน:พฤติกรรมของบุคคลที่ต่อเนื่องกันในช่วงเวลาหนึ่ง
แบบแผนสุขภาพ:พฤติกรรมด้านสุขภาพของบุคคลซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง และมีผลต่อสุขภาพ
11-แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน
4.แบบแผนด้านมีกิจกรรมและการออกกำลังกาย
(Activity-Exercise Patterns)
เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินระดับความสามารถในการประกอบกิจการต่างๆในชีวิตประจำวัน การทำกิจวัตรประจำวัน การดูแลบ้าน การประกอบอาชีพ การใช้เวลาว่างและนันทนาการ การออกกำลังกาย หรือ การทำกิจกรรมที่มีเหงื่อออก
: การซักประวัติ
กิจกรรมในงานอาชีพเบาอย่างไร เช่น อาชีพครู ค้าขาย ชาวนา จะมีกิจกรรมที่แตกต่างกัน
การออกกำลังกาย ชนิดของการออกกำลังกาย ระยะเวลาในการออกกำลังกายสัปดาห์ละกี่ครั้ง แต่ละครั้ง ใช้เวลานานเท่าไหร่
: การตรวจร่างกาย
สังเกตความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ
ประเมินความสามารถในการเคลื่อนไหวของแขนขา
(Range of motion : ROM)
ตรวจร่างกายระบบต่างๆ เพื่อประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ
5.แบบแผนการนอนหลับพักผ่อน
(Sleep-rest pattern)
-เป็นแบบแผนเกี่ยวกับการนอนหลับ การพักผ่อน ปัญหาเกี่ยวกับการนอน ปัจจัยส่งเสริม ปัจจัยเสี่ยง แลอุปสรรคต่อแบบแผนการนอน กิจกรรมที่บุคคลปฏิบัติเพื่อให้ผ่อนคลาย รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแบบแผนอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วย
: การซักประวัติ
พฤติกรรมการนอน ประวัติเกี่ยวกับอุปนิสัยการนอน
-เป็นคนนอนดึกหรือนอนแต่หัวค่ำ ชอบหลับเวลากลางวันตื่นเวลากลางคืน ระยะเวลาที่นอนหลับ นอนวันละกี่ชั่วโมง กลางวันกี่ชั่วโมง กลางคืนกี่ชั่วโมง เพียงพอหรือไม่
: การตรวจร่างกาย
สังเกตหน้าตาว่านอนหลับพักผ่อนเพียงพอหรือไม่
. ความสดชื่นแจ่มใส ซึม อ่อนเพลีย
. ใต้ตาเป็นรอยเขียวคล้ำ
นอนหลับเวลากลางวันตื่นเวลากลางคืน
3.แบบแผนการขับถ่ายของเสีย
(Elimination Patterns)
เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินกระบวนการขับถ่ายลักษณะ ปริมาณ จำนวนครั้งของของเสียทุกประเภทที่ออกจากร่างกายทั้งอุจจาระ ปัสสาวะ น้ำและอิเลคโตรไลท์ ปัจจัยส่งเสริม ปัจจัยเสี่ยงและอุปสรรคต่อการขับถ่าย ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงกระบวนการขับถ่ายอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วยและการปรับตัวเพื่อแก้ไขปัญหา
: การชักประวัติ
ซักประวัติเกี่ยวกับแบบแผนการขับถ่ายอุจจาระ ได้แก่ ความถี่ เวลาของการขับถ่ายอุจจาระลักษณะการขับถ่าย เช่น ชอบเบ่งถ่ายอุจจาระ ชอบนั่งส้วมนานๆ ต้องใช้ยาระบาย หรือสวนอุจจาระบ่อยครั้ง
ปัจจัยในการขับถ่ายอุจจาระและวิธีการแก้ไข ได้แก่ มีปัญหาท้องผูกแก้ไขโดยการรับประทานยาระบายเป็นประจำ ท้องเสีย ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ อาการเจ็บปวด อุจจาระมีเลือดสดๆ ปน หรือ ถ่ายดำ หรืออุจจาระมีพยาธิ
: การตรวจร่างกาย
ตรวจร่างกายทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ถ้าเป็นนิ่วทางเดินปัสสาวะอาจมีอาการปวดเอวด้านหลัง ถ้ามีการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะอาจมีการขับถ่ายปัสสาวะผิดปกติ มีไข้ หนาวสั่นเป็นต้น
6.แบบแผนสติปัญญาและการรับรู้
(Cognitive-perceptual Pattern)
การรับรู้ความรู้สึกและการตอบสนอง
แบบแผนเกี่ยวกับความสามารถของบุคคลในการรับรู้สิ้งเร้าและการตอบสนองต่อสิ่งเร้าด้านการรับรู้ความรู้สึก ทั้ง 5 ทาง ได้แก่ การมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรับรส การรับรู้สึกทางผิวหนัง และการรับรู้เกี่ยวกับความเจ็บปวด
ความสามารถทางสติปัญญา
แบบแผนเกี่ยวกับความสามารถและพัฒนาการทางสติปัญญาเกี่ยวกับความคิด ความจำ ความสามารถในการตัดสินใจ การแก้ปัญหาและการสื่อภาษาต่างๆ
: การซักประวัติ
ความรู้สึกทั่วไป สุขสบายหรือไม่สุขสบาย
ปัญหาเกี่ยวกับความรู้สึกตัว เช่น มีอาการสับสน ซึม ไม่รู้สึกตัว และระยะเวลาที่มีอาการ
ปัญหาเกี่ยวกับการได้กลิ่น เช่น มีความผิดปกติของจมูก มีสิ่งคัดหลั่ง ปวดจมูก
ปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น เช่น เห็นภาพซ้อน จามัว มองไม่เห็น
ปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน เช่น หูอื้อ หูตึง ไม่ได้ยิน
ปัญหาเกี่ยวกับการรับรส ไม่สามารถรับรสได้ ปากชา ลิ้นชา
: การตรวจร่างกาย
ประเมินระดับความรู้สึกตัว เช่น การลืมตา การสื่อภาษา การเคลื่อนไหวร่างกาย และตรวจดูความผิดปกติของจมูก ตา หู ลิ้น
สังเกตลักษณะทั่วไป เช่น รูปร่าง ลักษณะ หน้าตา ท่าทาง การแต่งกาย การดูแลสุขภาพอนามัยทั่วๆไป
ประเมินระดับสติปัญญา (IQ) โดยใช้แบบทดสอบ
2.แบบแผนด้านโภชนาการและการเผาผลาญอาหาร
(Nutritional-Metabolism Patterns)
ประเมินพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยพิจารณาความสอดคล้องกับอาหารที่ควรได้รับและน้ำหนักตัว
ปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการได้รับสารอาหาร น้ำ เกลือแร่ ค้นหาสิ่งที่บ่งชี้ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงของภาวะทุพโภชนาการ เช่น ความอยากอาหารลดลง
ประเมินการทำงานของร่างกายที่เกี่ยวกับโภชนาการ ได้แก่ การเคี้ยว การกลืน การย่อย การดูดซึม และการเผาผลาญ
: การชักประวัติ
ประวัติการเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น มีแผลหรือโรคภายในช่องปาก ฟันผุ โรคกระเพาะอาหาร โรคตับ ถุงน้ำดี และโรคอื่นๆ
ประวัติการเพิ่มหรือลดลงของน้ำหนักตัวปกติ
: การตรวจร่างกาย
ตรวจลักษณะท้อง ตับ ม้าม ก้อนในท้อง ฟังเสียงการเคลื่อนไหวของลำไส้
ประเมินภาวะโภชนาการว่าอ้วน ท้วม ปกติ หรือผอม โดยประเมินจากน้ำหนักและส่วนสูงที่สมดุลหรือประเมินจากดัชนีมวลกาย (BMI)
1.แบบแผนการรับรู้สุขภาพและการดูแลสุขภาพ
(Health Perception-Health Management Patterns)
เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินความคิด ความเข้าใจของบุคคลต่อภาวะสุขภาพ โดยทั่วไปของตนเองและของผู้ที่ตนรับผิดชอบ ว่าถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ และมีความคาดหวังต่อสุขภาพหรือการรักษาอย่างไร
ความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเอง
พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันความเจ็บป่วย การดูแลรักษา และการฟื้นฟูสภาพร่างกาย
รวบรวมโดยการชักประวัติและการตรวจร่างกาย
: การชักประวัติ
การตรวจร่างกายประจำปี
การได้รับภูมิคุ้มกัน
การรับประทานยาเป็นประจำและเหตุผลที่รับประทานยา
การมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพ เช่น การดื่มเหล้า การสูบบุหรี่ การติดสารเสพติด
ประวัติการแพ้สารต่างๆ เช่น การแพ้ยา อาหาร สารเคมี หรือสารอื่นๆ รวมทั้งอาการแพ้และการแก้ไขเมื่อเกิดอาการแพ้
: การตรวจร่างกาย
ลักษณะทั่วไปและความพิการ เช่น ท่าทางการเดิน การลุกนั่ง การเคลื่อนไหวแขนขา การพูดคุย การแสดงสีหน้า
-ความสะอาดร่างกาย เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย
ความร่วมมือในการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยหรือครอบครัว
สังเกตการปฏิบัติตนขณะเจ็บป่วยของผู้ป่วย หรือการได้รับการดูแลจากครอบครัว
7.แบบแผนการรับรู้ตนเองและอัตมโนทัศน์
(Self perception-Self concept Pattern)
: แบบแผนที่เกี่ยวกับความคิด ความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อตนเอง (อัตโนทัศน์) การมองตนเองเกี่ยวกับรูปร่าง หน้าตา ความพิการ (ภาพลักษณ์) ความสามารถ คุณค่า เอกลักษณ์ และความภูมิใจในตนเอง ตลอดจนปัจจัยส่งเสริม ปัจจัยเสี่ยง และปัจจัยอุปสรรคที่มีผลต่อการรับรู้ตนเองและอัตมโนทัศน์ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแบบแผนอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วย
: ตรวจร่างกาย
สังเกตความสนใจตนเองของผู้ป่วย
การแต่งกาย บุคลิกภาพ
การกล่าวตนเอง
การสังเกตปฏิกิริยาตอบสนองหรือพฤติกรรมที่แสดงออกต่อการเปลี่ยนแปลงหรือสูญเสีย เช่น อาการอาย มีพฤติกรรมปิดบังอวัยวะของร่างกายเพราะไม่ต้องการให้ใครเห็นสภาพตนเอง ความวิตกกังวล ก้าวร้าว หรือแยกตัวจากสัคม
: การซักประวัติ
ความรู้สึกต่อตนเองเกี่ยวกับภาพลักษณ์โดยทั่วไป รู้สึกว่าอ้วน ผอม สูงหรือเตี้ยเกินไป
ความรู้สึกต่อตนเองเกี่ยวกับความสามารถในด้านต่างๆ ได้แก่ ความสามารถในการปฏิบัติงาน การเรียน การทำกิจกรรมต่างๆ
ความรู้สึกเกี่ยวกับการสูญเสียอวัยวะจากการเป็นโรค การผ่าตัด หรือการเกิดอุบัติเหตุหน้าเสียโฉม ถูกตัดขา อาจรู้สึกว่าตนเองเป็นคนพิการกลัวคนอื่นรังเกียจ
ความรู้สึกต่อตนเองเกี่ยวกับความภาคภูมิใจในตนเอง ความพอใจในตนเอง ความรู้สึกความสูญเสียความมั่นคงปลิดภัย ท้อแท้ สิ้นหวัง เป็นต้น
9.แบบแผนเพศสัมพันธุ์และการเจริญพันธุ์
(Sexuality-reproductive Pattern)
: เป็นแบบแผนเกี่ยวกับพัฒนาการตามเพศซึ่งมีอิทธิพลมาจากพัฒนาการด้านร่างกายและอิทธิพลของสังคม สิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดู ลักษณะการเจริญพันธุ์ พฤติกรรมทางเพศและเพศสัมพันธุ์ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแบบแผนอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วย
: การตรวจร่างกาย
สังเกตพฤติกรรมทางเพศจากลักษณะท่าทางที่แสดงออก ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น การใช้ภาษาและคำพูด รวมทั้งการแต่งกายว่าเหมาะสมกับเพศหรือไม่
เพศหญิง ตรวจเต้านม ต่อมน้ำเหลือง อวัยวะเพศหญิง เพศชาย ตรวจอวัยวะเพศชาย ตรวจอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคเอดส์ จะพบลักษณะผอมมาก มีเชื้อราในปาก มีรอยโรคตามผิวหนัง ท้องเสียเรื้อรัง
: การซักประวัติ
การเจริญพันธุ์ และการทำงานของระบบสืบพันธุ์
-การมีเพศสัมพันธ์ ปัญหาเพศสัมพันธ์ ความเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับการมีเพศสัมพันธ์และการป้องกันโรคติดต่อกันได้ทางเพศสัมพันธ์
เพศหญิงควรชักประวัติเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การแท้ง การมีบุตร การคุมกำเนิด การติดเชื้อของอวัยวะสืบพันธ์ ประวัติเกี่ยวกับการตกขาว อาการคันอวัยวะสืบพันธุ์ปัสสาวะแสบขัด วิธีการรักษาความสะอาด
8.แบบแผนบทบาทและสัมพันธภาพ
(Role-relationship Pattern)
แบบแผนเกี่บทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ การติดต่อสื่อสารและการมีสัมพันธภาพกับบุคคลทั้งภายในครอบครัวและสังคม รวมทั้งปัจจัยส่งเสริม ปัจจัยเสี่ยงหรือปัจจัยอุปสรรคต่อการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่และการสร้างสัมพันธภาพ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงบทบาทอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วย
: การตรวจร่างกาย
สังเกตพฤติกรรมต่างๆ หรือท่าทางที่แสดงออกต่อครอบครัวและบุคคลในครอบครัวแสดงต่อผู้ป่วย ลักษณะการโต้ตอบระหว่างผู้ป่วยกับบุคคลในครอบครัว รวมทั้งเพื่อน ผู้ร่วมงาน การมาเยี่ยมของคนในครอบครัวด้วย
: การซักประวัติ
โครงสร้างครอบครัว เช่น จำนวนสมาชิกในครอบครัวมีใครบ้าง หรืออยู่คนเดียว
หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ป่วยและสมาชิกคนอื่นไ ต่อครอบครัว
-การสร้างบทบาทในครอบครัวทั้งในขณะที่มีสุขภาพดีและการเปลี่ยนแปลงบทบาทในขณะเจ็บป่วยมีผลกระทบต่อครอบครัวหรือไม่
-สัมพันธภาพของผู้ป่วยกับครอบครัว เพื่อนร่วมงาน เพื่อนบ้าน การเปลี่ยนแปลงของสัมพันธภาพโดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หรือช่วยตนเองไม่ได้
10.แบบแผนการเผชิญความเครียดและความทนต่อความเครียด
(Coping-stress tolerance Pattern)
เป็นแบบแผนเกี่ยวกับการรับรู้ลักษณะอารมณ์พื้นฐาน การรับรู้เกี่ยวกับความเครียดปฏิกิริยาของร่างกายเมื่อเกิดความเครียด วิธีการแก้ไขและการจัดการกับความเครียด ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดความเครียด ปัจจัยส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการปรับตัวกับความเครียด รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแบบแผนอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วย
: การตรวจร่างกาย
ตรวจสอบพฤติกรรมที่บ่งชี้ถึงความเครียด ความเศร้า ความวิตกกังวล
สีหน้าหมกมุ่น ขมวดคิ้ว กระวนกระวาย ซึมเงียบเฉย ร้องไห้ นอนไม่หลับ
สังเกตอาการต่างๆ เช่น เหงื่อออกมาก หน้าซีดหรือหน้าแดง มือสั่น หายใจเร็ว
: การซักประวัติ
ข้อมูลทั่วไป เช่น อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ สถานภาพสมรส ความสัมพันธ์ในครอบครัว สิ่งแวดล้อมที่บ้าน เพื่อประเมินสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด
สัมภาษณ์เกี่ยวกับลักษณะอุปนิสัยหรืออารมณ์พื้นฐานของผู้ป่วย
ซักถามสิ่งที่ทำให้เกิดความเครียด ไม่สบายใจ วิตกกังวล กลัว เครียด คับข้องใจ
ซักถามความต้องการการช่วยเหลือและบุคคลที่สนับสนุนให้กำลังใจช่วยแก้ปัญหา
11.แบบแผนค่านิยมและความเชื่อ
(Value-belief Pattern)
: เห็นแบบแผนเกี่ยวกับความเชื่อ ความศรัทธา ความมั่นคงเข้มแข็งทางด้านจิตใจ สิ่งที่มีคุณค่า มีความหมายต่อชีวิต สิ่งยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ เป้าหมายในการดำรงชีวิต ความเชื่อทางด้านสุขภาพ และการปฏิบัติตนตามความมั่นคงเข้มแข็งทางด้านจิตใจ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแบบแผนอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วย
: การตรวจร่างกาย
สังเกตพฤติกรรมที่แสดงออกทางสีหน้า กริยาท่าทาง รวมทั้งการแสดงออกทางอารมณ์ เช่น ซึมเศร้า แยกตัว ว้าเหว่ โกรธ หงุดหงิด
สังเกตคำพูดของผู้ป่วยและญาติที่แสดงถึงการให้คุณค่าและการมีความเชื่อในด้านต่างๆ
: การซักประวัติ
ความเชื่อความผูกพัน ความศรัทธาที่มีต่อสิ่งต่างๆ เช่น ความดีงาม ความถูกต้อง ศาสนา พระเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือสิ่งเหนือธรรมชาติ
ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม
ความหวังหรือเป้าหมายในชีวิต