Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 1 ระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติกับการเกษตร, 91724…
หน่วยที่ 1
ระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติกับการเกษตร
แนวคิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และระบบนิเวศ
ความหมาย
สิ่งแวดล้อม
สรรพสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวสิ่งมีชีวิต ทั้งที่เป็นสิ่งมีชีวิตอื่น หรือสิ่งไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็นรูปธรรมซึ่งสามารถจับต้องและมองเห็นได้ และที่เป็นนามธรรม เช้น ต้นไม้ สัตว์ สิ่งก่อสร้าง จับต้องไม่ได้และมองไม่เห็น เช่น วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ
ทรัพยากรธรรมชาติ
สิ่งทั้งปวงที่ถือว่ามีค่า ซึ่งเกิดขึ้นเองหรือมีอยู่ตามธรรมชาติ โดยอาจเป็นวัตถุอันมีรูปร่าง หรือเป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่างก็ได้
ระบบนิเวศ
ระบบที่แสดงถึงสภาพความเป็นอยู่ร่วมกันของสิ่งทั้งหลาย ทั้งไม่มีชีวิตและมีชีวิตในถิ่นที่อยู่อาศัย ซึ่งจะมีระเบียบความสัมพันธ์และมีกลไลที่สามารถรักษาให้ระบบอยู่ในภาวะสมดุลได้เป็นอย่างดี
ประเภทของทรัพยากร
ทรัพยากรที่มนุษย์เข้าไปมีส่วนดัดแปลงหรือสร้างขึ้น
ชีวกายภาพ
เศรษฐสังคม
ทรัพยากรธรรมชาติ
ใช้แล้วหมดไป
น้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน
ใช้แล้วทดแทนได้
สิ่งมีชีวิตทุกชนิด - พืช สัตว์ ป่าไม้
ใช้แล้วไม่หมดสิ้นไป
แสงอาทิตย์ ดินฟ้าอากาศ
ประเภทของระบบนิเวศ
ระบบนิเวศบนบก
แบบทุนดรา
ป่าสนในซีกโลกเหนือ
แบบป่าผลัดใบเขตอบอุ่น
แบบทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น
แบบทะเลทราย
แบบป่าอบอุ่นชื้น
แบบป่ารัอนชื้นหรือป่าฝนเขตร้อน
แบบทุ่งหญ้าเขตร้อน
แบบป่าแคระและป่าผลัดใบเขตร้อน
ระบบนิเวศในน้ำ
น้ำจืด
น้ำกร่อย
น้ำเค็ม
องค์ประกอบของระบบนิเวศ
ส่วนที่เป็นชีวันหรือสิ่งมีชีวิต
ผู้ผลิต
ผู้บริโภค
ปฐมภูมิ
สัตว์กินพืช
ทุติยภูมิ
สัตว์กินสัตว์
ตติยภูมิ
สัตว์ที่กินทั้งพืชและสัตว์
ผู้ย่อยสลาย
ส่วนที่เป็นอชีวันหรือสิ่งไม่มีชีวิต
อนินทรียวัตถุที่หมุนเวียนในวัฎจักรของสสาร
อินทรียวัตถุ
สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
สถานการณ์และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทย
ทรัพยากรป่าไม้และความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย
สาเหตุของการลดลงของพื้นที่ป่า
การลักลอบฆ่าสัตว์ การส่งเสริมการท่องเที่ยว และการพัฒนาโครงสร้างพื้นที่
การบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อยึดครองพื้นที่เป็นกรรมสิทธิ์ และลักลอบตัดไม้ทำลายป่า
ไฟป่า
ทรัพยากรแหล่งน้ำในประเทศไทย
สถานการณ์น้ำบาดาล
แหล่งน้ำบาดาลเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่สามารถพัฒนานำมาใช้เสริมหรือทดแทนน้ำผิวดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ห่างไกลจากแหล่งน้ำผิวดินและภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการน้ำคุณภาพดี
แหล่งน้ำบาดาลในหินร่วน
แหล่งน้ำบาดาลในหินแข็ง
สถานการณ์การใช้น้ำ
ความต้องการใช้น้ำ
การใช้น้ำเพื่อการเกษตร
อุตสาหกรรม
การอุปโภคและบริโภคในครัวเรือน
สถานการณ์น้ำผิวดิน
ปริมาณน้ำท่าและปริมาณน้ำเก็บกักของเขื่อนต่างๆ
ร้อยละ 38
ปริมาณน้ำฝน
ลมมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือ
ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
ทรัพยากรประมงในประเทศไทย
การประมงน้ำจืด
แหล่งน้ำทำการประมงน้ำจืดหลัก
แม่น้ำ ทะเลสาบ และอ่างเก็บน้ำ
ชนิดสัตว์น้ำที่จับได้ส่วนใหญ่
ปลาตะเพียน ปลาช่อน ปลาดุก และปลาเบญจพรรณอื่นๆ
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด
การประมงทะเล
ทำประมงเกินศักยภาพการผลิตของทะเล ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำลดลงไปมาก
ทรัพยากรดินและที่ดินในประเทศไทย
สาเหตุของปัญหา
การเสื่อมโทรมโดยคุณสมบัติของดินเอง ทางกายภาพ ชีวภาพ และทางเคมี
การเสื่อมโทรมเนื่องจากพิบัติภัยธรรมชาติซึ่งอาจไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำ
การชะล้างพังทลายของดิน
ปัญหาการถือครองที่ดิน
การใช้ที่ดินไม่ตรงตามสมรรถนะของที่ดินหรือไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
อิทธิพลของมนุษย์และการเกษตรต่อระบบนิเวศ
ปัญหามลพิษและความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ
ปัญหามลพิษ
ปัญหามลพิษทางดิน
ปัญหามลพิษทางขยะและสิ่งปฏิกูล
ปัญหามลพิษทางเสียง
ปัญหามลพิษทางอากาศ
ปัญหามลพิษทางน้ำ หรือ “น้ำเสีย”
ปัญหามลพิษทางการเกษตรและสารเคมีปราบศัตรูพืช
ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ
ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน
ปัญหาดินเค็ม
ปัญหาดินกรดและดินเปรี้ยวจัด
ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง
ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรแหล่งน้ำ
ตื้นเขิน
คุณภาพน้ำต่ำลง
ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรป่าไม้
การผลิตทางการเกษตรกับระบบนิเวศ
ผลกระทบของการเกษตรต่อคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
เน้นการเพิ่มผลผลิตโดยการใช้พืช/สัตว์พันธุ์ดี การใช้เครื่องจักรกลแทนแรงงานคน/สัตว์ การใช้ปุ๋ยเคมี และการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืช
ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อความยั่งยืนทางการเกษตร
ความยั่งยืนของความหลากหลายทางชีวภาพหรือระบบนิเวศ
ความยั่งยืนทางคุณภาพชีวิต
ความยั่งยืนทางเศรษฐศาสตร์
ผลกระทบของการเกษตรต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม
การเสื่อมโทรมของคุณภาพดิน
การลดลงของพื้นที่ป่าไม้และความหลากหลายทางชีวภาพ
การสูญเสียพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์พื้นเมือง
การผลิตทางการเกษตรโดยอาศัยหลักนิเวศธรรมชาติ
มีความหลากหลายของชนิดพืชและสัตว์
มีความซับซ้อนของระบบ
มีความปฏิสัมพันธ์ในระบบ
มีการคัดเลือกตามธรรมชาติ
บทบาทของการส่งเสริมการเกษตรเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
. การสร้างจิตสำนึกและความตระหนัก
เผยแพร่ข่าวสาร/ประชาสัมพันธ์
สร้างจิตสำนึก
การบำบัดและฟื้นฟู
ส่งเสริมให้มีการทำการเกษตรอย่างมีความรับผิดชอบ
ส่งเสริมให้มีการนำของเหลือทิ้งจากการเกษตร รวมทั้งของเสีย มูล และสิ่งปฏิกูล
ส่งเสริมให้มีการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรมให้ฟื้นคืนสู่สภาพเดิมเป็นลำดับ
91724 การจัดการทรัพยากรเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร นางสาวธนาภรณ์ ระดมเล็ก 2649002363