Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 7 กระบวนทัศน์หลักทางการพยาบาล - Coggle Diagram
บทที่ 7
กระบวนทัศน์หลักทางการพยาบาล
มโนทัศน์พื้นฐานทางการพยาบาล
ประกอบด้วยความรู้พื้นฐานในมโนมติของคน
สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และการพยาบาล
มโนมติของคน (Man)
คน ประกอบด้วย
กายหรือร่างกาย
จิตหรือจิตใจ อารมณ์ความรู้สึก
สังคม บทบาทและสัมพันธภาพ
มีส่วนสัมพันธ์กัน
คนเป็นระบบเปิด
มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมตลอดเวลา
การรับและการให้เกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมโดยมีความสัมพันธ์กัน
คนมีความต้องการพื้นฐาน
ความต้องการทางด้านร่างกายหรือสรีระ (Physical needs)
ความต้องการความปลอดภัย (Safety and security)
ความต้องการความรัก ความผูกพัน (Affiliation)
ความต้องการความพอใจตนเอง (Self-actualization)
ความต้องการความภาคภูมิใจและความมีศักดิ์ศรี (Self-esteem)
คนมีพัฒนาการ
การพัฒนาการของคนอาจแบ่งออกได้เป็น
1.ด้านร่างกาย
2.ด้านสติปัญญา
3.ด้านอารมณ์ สังคม
4.ด้านคุณธรรม
คนมีความต้องการภาวะสมดุล หรือภาวะปกติ
กระบวนการปรับตัว หรือกลไกการต่อสู้
เพื่อสมดุล คนจะต้องการอยู่ในภาวะสมดุลอยู่ตลอดเวลา
ความต้องการดำรงภาวะสมดุล (Homeostasis)
ความต้องการปรับสู่ภาวะสมดุล
คนมีลักษณะพื้นฐานร่วมกันแต่มีความเป็นปัจเจกบุคคล
ปัจจัยที่ทำให้แต่ละคนเป็นปัจเจกบุคคล คือ
พันธุกรรม ระดับการพัฒนาการทั้งทางด้าน
ร่างกาย จิตสังคม และประสบการณ์ในชีวิต
คนมีสิทธิของตน
ทุกคนไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่จะมีและมีสิทธิแห่งตน
1.คนมีสิทธิของตน
2.สิทธิในการได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย
3.สิทธิในการได้รับการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย
คนมีศักยภาพในการช่วยเหลือตนเอง
การช่วยตนเองในกิจวัตรประจำวัน
การแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง
มโนมติของสิ่งแวดล้อม (Environment)
สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
หมายถึง สิ่งแวดล้อมภายนอกที่ไม่มีชีวิต
ความร้อน แสง เสียง รังสี อากาศ ดิน นํ้า ลม
สิ่งแวดล้อมเหล่านี้จะมีผลเบื้องต้น
ต่อร่างกายคน
สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ
สิ่งมีชีวิตต่างๆ พืช และสัตว์ ทั้งขนาดเล็กไปถึงใหญ่กว่าคน
ตัวอย่างสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ แบคทีเรีย
ไวรัส ปรสิต ต้นพืชชนิดต่างๆ วัว ควาย สุนัข
สิ่งแวดล้อมทางเคมี
สารเคมีทุกชนิด รวมทั้งอาหาร ยา
อาจมาจากสิ่งมีชีวิตหรือสิ่งไม่มีชีวิต
สิ่งแวดล้อมทางสังคม เศรษฐกิจ
บุคคลในครอบครัวต่างก็เป็นสิ่งแวดล้อมซึ่งกัน
และกัน อาจก่อให้เกิดผลดีหรือผลเสียต่อกันก็ได้
สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่เป็นนามธรรม
ความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรม
ประเพณี กฏหมาย ศาสนา
มโนมติของสุขภาพ (Health)
สุขภาพของคนประกอบด้วย 2 ภาวะ คือ
ภาวะสุขภาพดี (Wellness)
ไนติงเกล (Nightingale, 1860)
ปราศจากโรค สามารถใช้พละกำลังของ
ตนเองได้เต็มความสามารถ
องค์การอนามัยโลก (WHO, 1947)
มีความสมบูรณ์ของร่างกาย จิตใจ และสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขมิใช่เพียงแต่ปราศจากโรคและความพิการเท่านั้น
พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ ในมาตราที่ 3 สุขภาวะที่สมบูรณ์และเชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุลทั้งทางกาย ทางจิต ทางสังคมและทางจิตวิญญาณ
เจ็บป่วย (Illness)
บุคคลที่มีความเจ็บป่วยไม่ว่าจะเป็นทางด้านใดด้านหนึ่ง
สุขภาพมีลักษณะเป็นพลวัตรและต่อเนื่อง
ในขณะหนึ่งคนอาจอยู่ในภาวะที่สมบูรณ์แข็งแรง
แต่ก็อาจอยู่ในภาวะเจ็บป่วยได้ในเวลาไม่กี่ชั่วโมงต่อมา
บางคนอาจป่วยหนักตั้งแต่แรกเกิดและเสียชีวิต
หมายความถึงภาวะที่มีความสมบูรณ์สมดุลหรือปรับตัวได้ของคนทั้งทางด้านร่างกาย จิต สังคม
มโนมติของการพยาบาล (Nursing)
การพยาบาลเป็น
การช่วยเหลือคน
เพื่อให้คนสามารถดำรงภาวะสุขภาพไว้ช่วยให้คนกลับสู่ภาวะสุขภาพดีเมื่อเจ็บป่วย
รักษาทางการพยาบาล คือพยาบาลปฏิบัติในขอบเขตหน้าที่ของตน ในการ
ช่วยเหลือด้านพฤติกรรมของบุคคลที่เปลี่ยนไปเนื่องจากผลกระทบจากปัญหา
สุขภาพที่เกิดขึ้น หรือจากพฤติกรรมเสี่ยงต่อเกิดปัญหาสุขภาพ
การพยาบาลที่จะช่วยเหลือให้คนมีภาวะสุขภาพดี หรือปรับสู่ภาวะสุขภาพดี
การส่งเสริมสุขภาพ ส่วนใหญ่เป็นการช่วยในการสร้างพฤติกรรมสุขภาพหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
การป้องกันโรค การช่วยเหลือให้คนไม่เจ็บป่วยด้วยโรคหรือความเจ็บป่วย
ที่ป้องกันได้ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม
การฟื้นฟูสภาพ ช่วยเหลือให้ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยด้วยโรคกลับมามีชีวิตในสังคมตามสภาพปกติ
การดูแลรักษา การดูแลรักษา
จะเป็นไปตามแผนการรักษาของแพทย์
การพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาลในการช่วยเหลือผู้รับบริการ
1.การประเมินสภาพ
2.การวินิจฉัยการพยาบาล
3.การปฏิบัติการพยาบาล
4.การประเมินผลการพยาบาล
การพยาบาลเป็นบริการที่จำเป็นต่อสังคม
บทบาทและวิธีการปฏิบัติของพยาบาลที่
มีลักษณะเฉพาะ
ถ้าขาดการพยาบาลที่มีคุณภาพ อาจส่งผล
ให้คนไม่สามารถดำรงภาวะสุขภาพดีไว้ได้
ความสำคัญของมโนมติพื้นฐานทางการพยาบาล
เป็นพื้นฐานของการพัฒนาศาสตร์ทางการพยาบาล
เป็นพื้นฐานของการวิจัยทางการพยาบาล
เป็นพื้นฐานของการปฏิบัติการพยาบาล
เป็นพื้นฐานของการจัดการศึกษาพยาบาล
แนวคิดภาวะสุขภาพ
การเจ็บป่วยและการพยาบาล
ภาวะสุขภาพจึงเป็นความต้องการสูงสุดของบุคคล สุขภาพดีจะช่วยให้กระบวนการเจริญเติบโต พัฒนาการทางด้านร่างกายจิตใจ และสังคมเป็นไปได้ด้วยดี
มโนทัศน์ที่เกี่ยวข้องทางการพยาบาล
ทฤษฎีทางการพยาบาล ( Nursing Theory )
หมายถึง แก่นสาระความรู้ของวิชาชีพพยาบาลหมายถึง แก่นสาระความรู้ของวิชาชีพพยาบาลโดยมีเป้าหมายของการพยาบาลและกิจกรรมการพยาบาล (Fitzpatrick & Whall , 1989 )
กระบวนทัศน์
( Paradigm )
หมายถึง กรอบการมองหรือกรอบเค้าโครงแนวคิด หรือแบบอุดมคติ หรือปรัชญาที่เป็ นที่ยอมรับในกลุ่มวิชาชีพซึ่งจะให้ข้อตกลงเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ
Metaparadigm
หมายถึง กรอบ ขอบเขต หรือโครงสร้างทางความคิดหรือมโนมติในภาพรวมกว้างๆของศาสตร์สาขาต่างๆ
กระบวนทัศน์ทางการพยาบาล ประกอบด้วยมโนทัศน์หลักเกี่ยวกับ 1. Person
Health
Environment
Nursing
กรอบแนวคิด
(Conceptual framework / Model )
หมายถึง กลุ่มของมโนทัศน์ที่สัมพันธ์กันเป็นภาพรวมของปรากฏการณ์ ประกอบด้วยทฤษฎีต่าง ๆ และครอบคลุมกับปรากฎการณ์อย่างกว้างขวาง และมีความเป็นนามธรรมสูง
ลักษณะพื้นฐานของทฤษฎี
สามารถแสดงความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์ให้เข้าใจปรากฏการณ์ที่เฉพาะได้
ให้สมมติฐานที่สามารถทดสอบได้
สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงแนวทางปฏิบัติได้
ควรจะง่ายแก่การสรุปอ้างอิงได้อย่างกว้างขวาง และครอบคลุม
ทฤษฎีที่น่าเชื่อถือจะต้องสอดคล้องกับทฤษฎีอื่นที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว
จะต้องแสดงลำดับของเหตุผลตามหลักตรรกวิทยา
การจำแนกทฤษฎีตามลักษณะการนำไปใช้
ทฤษฎีเชิงนิรนัย
(Deductive nursing theories)
เป็นการพัฒนาทฤษฎีจากการนำศาสตร์ต่างๆมาสังเคราะห์จัดระบบ ขยายเป็นมโนมติใหม่ เช่น ทฤษฎีการพยาบาลของคิง ทฤษฎีการพยาบาลของรอย
ทฤษฎีเชิงอุปนัย
(Inductive nursing theories)
เป็นการพัฒนาทฤษฎีที่เกิดจากการปฏิบัติการพยาบาลมาประมวลเพื่อสรุปเป็นทฤษฎี
การจำแนกทฤษฎีตามระดับความเป็นนามธรรม
ทฤษฎีอภิทฤษฎี (Meta – theory)
มีเป้าหมายที่กระบวน การสร้างทฤษฎี จะมีจุดเน้นที่การตั้งคำถามเชิงปรัชญา มีความเป็นนามธรรมสูง
ทฤษฎีระดับกว้าง (Grand theory)
กำหนดกรอบแนวคิดหรือแบบ จำลองมโน
มติที่ครอบคลุมเนื้อหาสาระที่กว้าง นำไปทดสอบโดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้ยาก เนื่องจากมีความเป็นนามธรรมสูง เช่น ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเรม ทฤษฎีการปรับตัวของรอย ทฤษฎีการดูแลเอื้ออาทรของวัตสัน
ทฤษฎีระดับปฏิบัติ (Practice theory)
มีความซับซ้อนน้อยที่สุดมีเนื้อหาสาระและจำนวนมโนมติไม่มาก
สามารถทดสอบได้ง่าย และนำไปใช้ในมีเนื้อหาสาระและจำนวนมโนมติไม่มาก สามารถทดสอบได้ง่าย และนำไปใช้ใน
ทฤษฎีระดับกลาง (Middle Rang theory)
ตเนื้อหาสาระแคบลงมีจำนวนมโนทัศน์
น้อยกว่าทฤษฎีระดับกว้างสามารถนำไปใช้อ้างอิงและขยายต่อได้ ทดสอบได้ สามารถ
นำไปใช้อ้างอิงและขยายต่อได้ ทดสอบได้
ประโยชน์ของทฤษฎีต่อการปฏิบัติการพยาบาล
เป็นแนวทางในการนำกระบวนการพยาบาล มาใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล
แสดงถึงความเป็นเอกสิทธิ์ในวิชาชีพการพยาบาล (Autonomy)
พัฒนาการของทฤษฎีทางการพยาบาล
ระยะก่อนปี ค.ศ. 1960
พัฒนาพื้นฐานของทฤษฎีจากแนวคิดจิตวิทยา สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพมนุษยศาสตร์ และพฤติกรรมศาสตร์
ค.ศ. 1952 มีการทำวิจัยทางการพยาบาลและมีวารสารวิจัยการพยาบาล เกิดขึ้น
ค.ศ.1950 Environmental Theory : Nightingale
ค.ศ.1952 Interpersonal Relations in Nursing : Hildegard Peplau
ระยะปี ค.ศ. 1960-1970
ค.ศ. 1961 Jean Orlando สร้างทฤษฎีชื่อ Nursing Process Theory
(เน้นการปฏิบัติการพยาบาล)
ค.ศ. 1964 Lindia Hall สร้างทฤษฎีชื่อ Core Care and Cure Theory
(เน้นปฏิกิริยาระหว่างร่างกาย และโรค)
ค.ศ. 1970 Martha E. Rogers สร้างทฤษฎี Science of Unitary Human Being
ระยะปีค.ศ. 1971-1980
ค.ศ.1971 Dorothea E. Orem สร้างทฤษฎีชื่อ Self - care Theory
ค.ศ.1974 Sister Callista Roy สร้างทฤษฎีชื่อ Roy’s Adaptation model
ค.ศ.1978 Jean Watson สร้างทฤษฎี Transpersonal Caring
ค.ศ.1978 Madeleine Leininger สร้างทฤษฎีชื่อ Transcultural nursing Theory
ระยะปีค.ศ. 1981 – ปัจจุบัน
ระยะแรก เน้นที่การนำเอาทฤษฎีต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมาแล้วมาทดลองปฏิบัติ /พิสูจน์ข้อเท็จจริงตามข้อสมมุติฐาน
ระยะหลัง เน้นพัฒนาทฤษฎีขึ้นมาใหม่พัฒนาระบบสารสนเทศทางการพยาบาลเพื่อเผยแพร่ความรู้