Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่6 แบบแผนสุขภาพ (Functional health patterns) - Coggle Diagram
บทที่6 แบบแผนสุขภาพ
(Functional health patterns)
:<3: ความหมายของแบบแผนสุขภาพ
แบบแผน > พฤติกรรมของบุคคลที่ต่อเนื่องกันในช่วงเวลาหนึ่ง
แบบแผนสุขภาพ > พฤติกรรมด้านสุขภาพของบุคคลซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลา
หนึ่ง และมีผลต่อสุขภาพ
:<3: กรอบแนวคิดแบบแผนสุขภาพ
พัฒนาโดย มาร์จอรีย์กอร์ดอน (Majory Gordon) ศาสตราจารย์ ทางการพยาบาลที่วิทยาลัยบอสตัน(Boston College of Nursing) ประเทศสหรัฐอเมริกา
แบบแผนสุขภาพใช้เป็นแนวคิดในการประเมินภาวะสุขภาพของบุคคล
ครอบครัวหรือชุมชน ทั้งในภาวะปกติและภาวะเจ็บป่วย
ประเมินจากพฤติกรรมทั้งภายนอกและภายใน
มนุษย์จะมีภาวะสุขภาพที่ดีหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับความปกติ(function)
หรือผิดปกติ (dysfunction) ของแบบแผนสุขภาพ
มี 11 แบบแผน
:<3:11-แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน
แบบแผนการรับรู้สุขภาพและการดูแลสุขภาพ
(Health Perception-Health Management Patterns)
แบบแผนด้านโภชนาการและการเผาผลาญอาหาร
(Nutritional-Metabolism Patterns)
แบบแผนการขับถ่ายของเสีย(Elimination Patterns)
แบบแผนด้านการมีกิจกรรมและการออกกำลังกาย
(Activity-Exercise Patterns)
แบบแผนการนอนหลับพักผ่อน (Sleep-rest Pattern)
แบบแผนสติปัญญาและการรับรู้ (Cognitive-perceptual Pattern)
แบบแผนการรับรู้ตนเองและอัตมโนทัศน์(Self perception–Self concept Pattern)
แบบแผนบทบาทและสัมพันธภาพ (Role-relationship Pattern)
แบบแผนเพศสัมพันธุ์และการเจริญพันธุ์ (Sexuality- reproductive Pattern)
แบบแผนการเผชิญความเครียดและความทนต่อความเครียด
(Coping –stress tolerance Pattern)
แบบแผนค่านิยมและความเชื่อ (Value – belief Pattern)
แบบแผนการรับรู้ภาวะสุขภาพและการดูแลสุขภาพ
เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินความคิด ความเข้าใจของบุคคลต่อภาวะสุขภาพ โดยทั่วไปของตนเองและของผู้ที่ตนรับผิดชอบ ว่าถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ และมีความ คาดหวังต่อภาวะสุขภาพหรือการรักษาอย่างไร
ความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเอง
พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันความเจ็บป่วย การดูแลรักษา และการฟื้นฟูสภาพร่างกาย
รวบรวมโดยการซักประวัติและการตรวจร่างกาย
:star: ตัวอย่างคำถามแบบแผนการรับรู้ภาวะสุขภาพและการดูแลสุขภาพ
ทราบไหมว่าเป็นโรคอะไร ทราบวิธีการดูแลตนเองหรือไม่ ถ้าทราบดูแลตนเองอย่างไร
เมื่อเจ็บป่วย/บาดเจ็บ ผู้ป่วยปฏิบัติอย่างไร
เคยรักษาแบบพื้นบ้านหรือไม่ เคยรักษาด้วยวิธีการใดบ้าง
รับรู้ผลกระทบของภาวะเจ็บป่วยต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตเป็นอย่างไร
เคยดื่มสุราหรือเครื่องดื่มมึนเมาเป็นประจำหรือไม่ หากเคยดื่มหรือยังดื่มอยู่ให้ระบายละเอียดของชนิด จำนวน อะไรเป็นปัจจัยส่งเสริม/อุปสรรคในการหยุดดื่ม หรือกลับมาดื่มใหม
เคยสูบบุหรี่หรือไม่ ถ้าเคยให้ซักถามรายละเอียดเกี่ยวกับชนิด จำนวน ระยะเวลาที่สูบ
เคยใช้ยาหรือสารเสพติดอะไรเป็นนประจำ
แบบแผนโภชนาการและการเผาผลาญสารอาหาร
ประเมินพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยพิจารณาความสอดคล้องกับอาหารที่ควรได้รับและน้ำหนักตัว
ปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการได้รับสารอาหาร น้ำ เกลือแร่ ค้นหาสิ่งที่บ่งชี้ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงของภาวะทุพโภชนาการ เช่น ความอยากอาหารลดลง
ประเมินการทำงานของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการ ได้แก่ การเคี้ยว การกลืน การย่อย การดูดซึม และการเผาผลาญ
❖ การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ เช่น
การตรวจเลือดเพื่อประเมินปัญหาเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ ความสมดุลของสารน้ าและเกลือแร่ต่างๆ ในร่างกาย
การตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง (Ultrasound) ประเมินความผิดปกติของอวัยวะภายในช่องท้องและทางเดินอาหาร
:star:ตัวอย่างคำถามแบบแผนโภชนาการและการเผาผลาญสารอาหาร
ปกติอาหารที่รับประทานคืออะไร(มื้อเช้า กลางวัน เย็น)
น้ าที่ดื่มเป็นประจ ามีอะไรบ้าง ปริมาณเท่าใด
ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมามีน้ าหนักตัวเปลี่ยนแปลง(เพิ่ม-ลด) ไหม
มีเบื่ออาหารไหม
มีปัญหาการกลืน การเคี้ยว หรือถูกจำกัดอาหารไหม
การเป็นแผล หายช้าหรือปกติ
มีผิวแห้ง มีรอยโรคบ้างไหม
มีปัญหาปาก เหงือกอักเสบ ฟันปลอม ฟันผุไหม
แบบแผนการขับถ่าย (Elimination)
เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินกระบวนการขับถ่ายลักษณะ ปริมาณ จำนวนครั้งของของเสียทุกประเภทที่ออกจากร่างกายทั้งอุจจาระ ปัสสาวะ น้ าและอิเลคโตรไลท์ ปัจจัยส่งเสริม ปัจจัยเสี่ยงและอุปสรรคต่อการขับถ่าย ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงกระบวนการขับถ่ายอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วย และการปรับตัวเพื่อแก้ไขปัญหา
:star:ตัวอย่างคำถามแบบแผนการขับถ่าย
ถ่ายอุจจาระบ่อยแค่ไหน วันละกี่ครั้งหรือ สัปดาห์ละกี่ครั้ง
ลักษณะของอุจจาระปกติ เป็นก้อนหรือเป็นน้ำ ลักษณะสีเป็นอย่างไร
มีปัญหาในการขับถ่าย เช่น ท้องผูก ปวดท้อง กลั้นอุจจาระไม่ได้ไหม
ถ้ามีปัญหาการขับถ่ายแก้ไขอย่างไร
ถ่ายปัสสาวะกี่ครั้งในตอนกลางวัน กลางคืนกี่ครั้ง
ลักษณะสี กลิ่น ปริมาณมีการเปลี่ยนแปลงไหม
มีปัญหาการกลั้นไม่ได้ไหม ปัสสาวะล าบาก กระปริกระปรอยไหม จัดการอย่างไร
เหงื่อออกมากตอนไหน
แบบแผนกิจกรรมและการออกกำลังกาย (Activity and Exercise)
เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินระดับความสามารถในการประกอบกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน การทำกิจวัตรประจำวัน การดูแลบ้าน การประกอบอาชีพ การใช้เวลาว่างและนันทนาการ การออกกำลังกาย หรือ การทำกิจกรรมที่มีเหงื่อออก
ข้อจำกัดหรือเงื่อนไขในการดำเนินชีวิตที่มีผลต่อการทำกิจกรรมและออกกำลังกาย เช่น หอบเหนื่อย แน่นหน้าอก ไม่มีเวลา
ผลกระทบที่เกิดจากการเจ็บป่วยต่อการประกอบกิจกรรมและการออกกำลังกาย
ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อไม่สามารถท ากิจกรรมที่ตนเองต้องการ หรือไม่สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำได้เนื่องด้วยข้อจำกัดต่างๆ
:star: ตัวอย่างคำถามแบบแผนกิจกรรมและการออกกำลังกาย
ในแต่ละวัน ตั้งแต่ตื่นนอน ท่านทำอะไรบ้าง กิจวัตรประจำวัน
ปัญหาในการทำกิจกรรมนั้นๆ หรือไม่
แต่ละกิจกรรมที่ทำใช้เวลานานเท่าใด
ประกอบอาชีพอะไร งานอดิเรก การใช้เวลาว่าง การออกกำลังกาย มีปัญหาขณะทำกิจกรรมนั้นๆ หรือไม
มีโรคประจำตัวที่ขัดขวางการทำกิจกรรมไหม
แบบแผนการพักผ่อนนอนหลับ (Sleep and Rest)
เป็นแบบแผนเกี่ยวกับการนอนหลับ การพักผ่อน ปัญหาเกี่ยวกับการนอน ปัจจัยส่งเสริม ปัจจัยเสี่ยงและอุปสรรคต่อแบบแผนการนอน กิจกรรมที่บุคคลปฏิบัติเพื่อให้ผ่อนคลาย รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแบบแผนอันเนื่องมาจากความ
เจ็บป่วย
:star: ตัวอย่างคำถามแบบแผนการพักผ่อนนอนหลับ
นอนวันละกี่ชั่วโมง นอนกลางวันไหม
หลับสนิท หรือหลับๆตื่นๆ
เมื่อตื่นนอนรู้สึกอย่างไร (สดชื่น ง่วง ไม่กระปรี้กระเปร่า)
มีปัญหาการนอนไม่หลับไหม จัดการอย่างไร
แบบแผนสติปัญญาและการรับรู้ (Cognition and Perception)
การรับรู้ความรู้สึกและการตอบสนอง
แบบแผนเกี่ยวกับความสามารถของบุคคลในการรับรู้สิ่งเร้าและการตอบสนองต่อสิ่งเร้าด้านการรับรู้ความรู้สึก
(sensation) ทั้ง 5 ทาง ได้แก่ การมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่นการรับรส การรับรู้สึกทางผิวหนัง และการการรับรู้เกี่ยวกับความเจ็บปวด
ความสามารถทางสติปัญญา
แบบแผนเกี่ยวกับความสามารถและพัฒนาการทางสติปัญญาเกี่ยวกับความคิดความจำ ความสามารถในการตัดสินใจ การแก้ปัญหาและการสื่อภาษาต่างๆ รวมทั้งปัจจัยส่งเสริม ปัจจัยเสี่ยงและอุปสรรคต่อความสามารถในการตัดสินใจ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแบบแผนอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วย
:star: ตัวอย่างข้อมูลแบบแผนสติปัญญาและการรับรู้
ผู้ป่วยสามารถบอกวัน เวลา สถานที่ และบุคคลได้
ตอบคำถามได้ตรงประเด็นที่ถาม
สามารถพูดโต้ตอบได้ ใช้ภาษาได้ดี อ่านหนังสือออกและเขียนหนังสือได้
มีความจำดี จำเรื่องราวที่ผ่านมาได้ดี
การรับรู้ทางการสัมผัสได้ดี
แบบแผนการรับรู้ตนเองและอัตมโนทัศน์(Self perception and Self concept)
แบบแผนที่เกี่ยวกับความคิด ความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อตนเอง (อัตมโนทัศน์) การมองตนเองเกี่ยวกับรูปร่าง หน้าตา ความพิการ (ภาพลักษณ์) ความสามารถ คุณค่า เอกลักษณ์ และความภูมิใจในตนเอง ตลอดจนปัจจัยส่งเสริม ปัจจัยเสี่ยง และปัจจัยอุปสรรคที่มีผลต่อการรับรู้ ตนเองและอัตมโนทัศน์ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแบบแผนอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วย
:star: ตัวอย่างคำถาม
ท่านคิดว่าตัวเองเป็นคนมีนิสัยอย่างไร
รู้สึกอย่างไรต่อสภาพตนเองตอนที่เจ็บป่วย
คิดว่าตัวเองมีจุดเด่น จุดด้อยอะไรบ้าง
คนอื่นมองคุณอย่างไร
พื้นฐานอารมณ์เป็นอย่างไร
แบบแผนบทบาทและสัมพันธภาพ (Role and Relationship)
แบบแผนเกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ การติดต่อสื่อสารและการมีสัมพันธภาพกับบุคคลทั้งภายในครอบครัวและสังคม รวมทั้งปัจจัยส่งเสริม ปัจจัยเสี่ยงหรือปัจจัยอุปสรรคต่อการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่และการสร้างสัมพันธภาพรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงบทบาทอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วย
:star: ตัวอย่างคำถามแบบแผนบทบาทและสัมพันธภาพ
คุณอยู่กับใคร ครอบครัวมีใครบ้าง
มีปัญหาในครอบครัวไหม ครอบครัวจัดการปัญหาอย่างไร
ครอบครัวคิดอย่างไรกับการเจ็บป่วยของคุณ
ในที่ทำงานมีปัญหาไหม มีเพื่อนสนิทไหน
รู้สึกโดดเดี่ยวไหม
9.แบบแผนเพศและการเจริญพันธุ์(Sexuality and Reproduction)
เป็นแบบแผนเกี่ยวกับพัฒนาการตามเพศซึ่งมีอิทธิพลมาจากพัฒนาการด้านร่างกายและอิทธิพลของสังคม สิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดู ลักษณะการเจริญพันธุ์ พฤติกรรมทางเพศและเพศสัมพันธ์ ปัจจัยส่งเสริม ปัจจัยเสี่ยง หรือปัจจัยอุปสรรคต่อพัฒนาการตามเพศ และการเจริญพันธ์ุ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแบบแผนอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วย
:star: ตัวอย่างคำถาม
ประวัติการมีประจำเดือน เริ่มมีเมื่ออายุกี่ปีแต่ละครั้งมีกี่วัน มีอาการร่วมขณะมีประจำเดือนหรือไม่
มีบุตรกี่คน
คุมกำเนิดหรือไม่ ใช้วิธีใด
ปัญหาเพศสัมพันธ์หรือไม
แบบแผนการปรับตัวและการเผชิญความเครียด (Coping and Stress tolerance)
เป็นแบบแผนเกี่ยวกับการรับรู้ลักษณะอารมณ์พื้นฐาน การรับรู้เกี่ยวกับความเครียดปฏิกิริยาของร่างกายเมื่อเกิดความเครียด วิธีการแก้ไขและการจัดการกับความเครียด ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดความเครียด ปัจจัยส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการปรับตัวกับความเครียด รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแบบแผนอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วย
:star: ตัวอย่างคำถาม
ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในชีวิตไหม
มีเรื่องไม่สบายใจ เครียดหรือไม่ แก้ไขอย่างไร
แบบแผนคุณค่าและความเชื่อ (Value and Belief)
เป็นแบบแผนเกี่ยวกับความเชื่อ ความศรัทธา ความมั่นคงเข้มแข็งทางด้านจิตใจ สิ่งที่มีคุณค่า มีความหมายต่อชีวิต สิ่งยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ เป้าหมายในการดำเนินชีวิต ความเชื่อทางด้านสุขภาพ และการปฏิบัติตนตามความเชื่อ ปัจจัยส่งเสริม และปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความมั่นคงเข้มแข็งทางด้านจิตใจ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแบบแผนอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วย
:star: ตัวอย่างคำถาม
มีจุดมุ่งหมายในชีวิตอย่างไร
มีสิ่งยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจคืออะไร
สิ่งที่มีความหมายต่อผู้รับบริการมากที่สุดคืออะไร
ความเชื่อเกี่ยวกับการเจ็บป่วยครั้งนี้เป็นอย่างไร
:<3: องค์ประกอบของแบบแผนสุขภาพแต่ละแบบแผน
พฤติกรรมภายใน คือ พฤติกรรมที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าหรือใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ตรวจสอบได้โดยตรง
กระบวนการทำงานทางกาย หรือทางชีวภาพในระบบต่างๆ เช่น ระบบหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด
กระบวนการคิด ความรู้ของบุคคลเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ
เจตคติ ซึ่งประกอบด้วยความรู้สึก ความคิดเห็น ค่านิยมของบุคคล
พฤติกรรมภายนอก คือการกระท าที่แสดงออกมาให้สังเกตเห็นได้ รับรู้ได้ หรือใช้เครื่องมือตรวจสอบได้ เช่น
พฤติกรรมที่เป็นคำพูด
พฤติกรรมที่ไม่ใช่คำพูด เช่น กิริยา ท่าทาง การเดิน การหัวเราะ ร้องไห้ ฯลฯ
การตรวจโดยใช้เครื่องมือทางการแพทย์ เช่น การตรวจวัดสัญญาณชีพ การเอกซเรย์ เป็นต้น
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือด การตรวจสิ่งคัดหลังต่างๆ
ปัจจัยส่งเสริมพฤติกรรมและอุปสรรค
พฤติกรรมภายนอก และพฤติกรรมภายใน จะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน
พฤติกรรมภายในเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมภายนอก
:<3: กระบวนการพยาบาล (Nursing Process)
1.การประเมินภาวะสุขภาพ
การวินิจฉัยการพยาบาล
การวางแผนการพยาบาล
การนำไปใช้
การประเมินผล
:<3: การรวบรวมข้อมูล
การประเมินทางการพยาบาลในผู้ป่วยโดยใช้กรอบแนวคิดแบบแผนสุขภาพ ของกอร์ดอน (Gordon,1994) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
วิธีการได้ม้อมูลอัตนัย
ข้อมูลอัตนัย (Subjective data) คือ การซักประวัติจากผู้รับบริการหรือญาติ (ในกรณีที่ผู้รับบริการไม่สามารถให้ข้อมูลได้หรือให้ข้อมูลได้ไม่ครอบคลุม)
ข้อมูลปรนัย (Objective data) คือ ข้อมูลที่ได้จากการสังเกต/การตรวจร่างกาย การ
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ และ การตรวจพิเศษ
:<3: ตัวอย่างการบันทึกข้อมูลการประเมินภาวะสุขภาพตามแบบแผนสุขภาพ
(Functional health patterns)
แบบแผนการรับรู้ภาวะสุขภาพและการดูแลสุขภาพ
❖ ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
ภาวะสุขภาพของตนเองก่อนการเจ็บป่วยครั้งนี้เป็นอย่างไร : สุขภาพร่างกายแข็งแรงดี
สามารถเดินไปทำกิจวัตรประจำวันได้ปกติ
ขณะนี้สุขภาพของคุณเป็นอย่างไร : การทำกิจวัตรประจำวันไม่สะดวก เดินไม่สะดวกปวดขา
ทั้งสองข้าง
เหตุผลที่มารับการรักษา ความคาดหวังต่อการรักษา : อยากหายจากโรคที่เป็นอยู่
▪ เมื่อเจ็บป่วยคุณดูแลสุขภาพตนเองอย่างไร
การปฏิบัติตัวเมื่อเจ็บป่วยขณะอยู่โรงพยาบาล: ปฏิบัติตามคำแนะน าของแพทย์ พยาบาลและ
บุคลากรในทีมสุขภาพของโรงพยาบาล
การได้รับการดูแลจากผู้อื่น : ญาติต้องพยุงเวลาลุกเดินไปเข้าห้องน้ำ แต่ไม่สะดวก
พฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแล : ญาติของผู้ป่วยดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี ยิ้มแย้ม
❖ ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
สภาพร่างกาย อารมณ์ และจิตใจโดยทั่วไป : ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี ท่าทางอ่อนเพลีย เป็นคนอารมณ์ดีจิตใจดี ชอบช่วยเหลือผู้อื่น
ความร่วมมือในการรักษา : ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการรักษาดี
ความสะอาดของร่างกาย เครื่องแต่งกาย : เสื้อผ้าสะอาด เล็บยาว ผมมัน
การดูแลของผู้ดูแล : ผู้ดูแลเอาใจใส่ ยิ้มแย้มดี
❖ สรุปข้อมูลที่เป็นปัญหา
ท่าทางอ่อนเพลีย
ปวดขาทั้ง 2 ข้าง
ลุกเดินไปเข้าห้องน้ าเองไม่ได้
มีเล็บยาว ผมมันเนื่องจากไม่ได้สระผม
แบบแผนโภชนาการและการเผาผลาญสารอาหาร
❖ ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
ตามปกติรับประทานอาหารวันละ : 3 มื้อ ตรงเวลา ปริมาณ 1 ทัพพีต่อครั้ง
ตามปกติคุณมีปัญหาในการรับประทานอาหารหรือไม่ อย่างไร : ไม่มีปัญหาในการรับประทานอาหาร
ขณะนี้ที่คุณมีปัญหาในการรับประทานอาหารหรือไม่ อย่างไร : ไม่มีปัญหา
การเปลี่ยนแปลงของน้ าหนักตัวในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา : น้ าหนักลดลง 1 กิโลกรัม
❖ ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
การได้รับสารอาหาร : ผู้ป่วยรับประทานอาหารเอง ทางปาก
❖ การตรวจร่างกาย : น้ าหนัก 68 กิโลกรัม ส่วนสูง 160 เซนติเมตร BMI = 26.56 กก/ มม.
อุณหภูมิร่างกายในระหว่าง 24 ชม. ที่ผ่านมาอยู่ในช่วง : 36.8-37.3 องศาเซลเซียส
➢ สรุปข้อมูลที่เป็นปัญหา
ไม่พบปัญหาในแบบแผนนี้
แบบแผนการขับถ่าย
❖ ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะ ก่อนการเจ็บป่วยครั้งนี้
• วิถีทาง : ปัสสาวะเอง
• ความถี่ : กลางวัน 4 ครั้ง กลางคืน 3 ครั้ง
• ลักษณะปัสสาวะในแต่ละครั้ง : 250 cc.
• อาการผิดปกติของการขับถ่ายปัสสาวะ เช่น กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะไม่สะดุด/คั่ง หรือเจ็บปวดเวลาปัสสาวะ
: เมื่ออยู่บ้าน ปัสสาวะแสบขัด กลั้นปัสสาวะไม่ค่อยได้
• วิธีแก้ไข : เอาหม้อนอนมาวางไว้ใกล้ตัว
แบบแผนการขับถ่ายอุจจาระ ก่อนการเจ็บป่วยครั้งนี้
• อาการผิดปกติของการขับถ่ายอุจจาระ เช่น ท้องผูก ท้องเสีย ท้องเสียเรื้อรังและวิธีการแก้ไข : ไม่มีปัญหา
แบบแผนการขับถ่ายอุจจาระ ขณะอยู่โรงพยาบาล
• อาการผิดปกติของการขับถ่ายอุจจาระ และวิธีการแก้ไข : ไม่มีปัญหา
❖ ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
จำนวนปัสสาวะใน 24 ชม. : ปัสสาวะประมาณ 900 cc . /วัน
ลักษณะปัสสาวะ : สีเหลือง ใส
จำนวนและลักษณะอุจจาระ : -
จำนวนและลักษณะของอาเจียน : ไม่มีอาเจียน
▪ การตรวจร่างกาย
• การตรวจบริเวณท้อง : ไม่มี bladder full และ impacted feces
➢ สรุปข้อมูลที่เป็นปัญหา
• ไม่พบปัญหาในแบบแผนนี้
แบบแผนกิจกรรมและการออกกำลังกาย
❖ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
▪ ความทนต่อการทำกิจกรรม (กิจกรรมที่ทำ/ความเหนื่อยเมื่อทำกิจกรรม)
ก่อนการเจ็บป่วยครั้งนี้ : ทำกิจกรรมต่างๆ เล็กๆน้อยๆ จะรู้สึกเหนื่อยง่าย
ขณะอยู่ในโรงพยาบาล : ทำกิจกรรมต่างๆไม่ได้ รู่สึกเหนื่อย
▪ ประวัติการเจ็บป่วย การรักษาโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง โรคระบบทางเดินหายใจ โรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูก โรคระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว : ผู้ป่วยให้ประวัติว่า เป็นโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
❖ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
▪ ความสามารถช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
การเคลื่อนไหวบนเตียง/การเดิน : ลุกนั่งบนเตียงได้เอง แต่เวลาเดินต้องมีคนพยุงเนื่องจากปวดขาทั้ง 2 ข้าง
▪ การตรวจร่างกาย
ท่าทาง การทรงตัว การเดิน การเคลื่อนไหวของร่างกาย การท างานประสานกันของกล้ามเนื้อ : ท่าทางการเดินการทรงตัวไม่ดี
สัญญาณชีพ : อัตราการเต้นของชีพจร 82 ครั้ง/นาที จังหวะการเต้นของชีพจร สม่ำเสมออัตราการหายใจ : 24 ครั้ง/นาที จังหวะ สม่ าเสมอ ความดันโลหิต : 138/76 มม.ปรอท ในท่านอน
➢ สรุปข้อมูลที่เป็นปัญหา
อ่อนเพลียง่าย ทำกิจกรรมได้ลดลง
การทรงตัวไม่ดี
ปวดขาทั้ง 2 ข้าง
ให้ประวัติเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
แบบแผนการพักผ่อนนอนหลับ
❖ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
▪ การนอนหลับ
ขณะอยู่โรงพยาบาลนอนหลับกลางวัน วันละ 2 ชั่วโมง นอนกลางคืน วันละ 4 ชั่วโมง
ปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ : นอนไม่หลับ เสียงดัง
วิธีการแก้ไข : พยายามนอนให้หลับและไม่สนใจเสียงรอบข้าง
❖ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
▪ อาการแสดงของการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ (อ่อนเพลีย หน้าตาอิดโรย ขอบตาคล้ำ หาวนอนบ่อย หงุดหงิด : ผู้ป่วยมีท่าทางอ่อนเพลีย หน้าตาไม่สดชื่น หาว
➢ สรุปข้อมูลที่เป็นปัญหา
ขณะอยู่โรงพยาบาลผู้ป่วยมีปัญหานอนไม่หลับ
นอนไม่พียงพอ
มีท่าทางอ่อนเพลีย
แบบแผนสติปัญญาและการรับรู้
❖ ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
▪ คุณมีความผิดปกติเกี่ยวกับการรับรู้หรือไม่ อย่างไร
การมองเห็น : ผู้ป่วยมีตา 2 ข้างมัว ความสามารถในการมองเห็นไม่ชัดเจน
▪ ความเจ็บปวด ความไม่สุขสบายของผู้ป่วย (ความเจ็บปวด ร้อน หนาว คัน ระคายเคือง) : ผู้ป่วยมีอาการปวดขาทั้ง 2 ข้าง
❖ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
▪ การตรวจร่างกาย
ลักษณะสีหน้า และการแสดงออกถึงความไม่สุขสบาย : สีหน้าที่แสดงออกถึงความเจ็บปวด
ระดับความรู้สึกตัว การรับรู้วัน เวลา สถานที่ บุคคล : ผู้ป่วยสามารถบอกวัน เวลา วันที่
สถานที่ และบุคคลได้
➢ สรุปข้อมูลที่เป็นปัญหา
มีปัญหาปวดขาทั้ง 2 ข้าง และมีปัญหา ตาทั้ง 2 ข้างมัว
แบบแผนแผนการรับรู้ตนเองและอัตมโนทัศน์
❖ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
▪ คุณรู้สึกต่อรูปร่างหน้าตาตนเองอย่างไร
ขณะเจ็บป่วย : รู้สึกว่าหน้าตาเศร้าหมอง ไม่มีชีวิตชีวา ผมไม่ได้หวี เหนื่อย อ่อนเพลีย
▪ คุณรู้สึกเกี่ยวกับความสามารถของตนเองอย่างไร
ขณะเจ็บป่วย : ทำงานหนักไม่ได้เลย รู้สึกเหนื่อยง่าย
❖ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
พฤติกรรมแสดงความสนใจในรูปร่าง หน้าตาต่อตนเอง : ผู้ป่วยไม่ได้มีพฤติกรรมที่แสดงความสนใจในรูปร่างหน้าตา
ลักษณะพฤติกรรมที่แสดงออกขณะสนทนา : ผู้ป่วยให้ความสนใจขณะซักถามดี มีการสบตาและพูดด้วยน้ าเสียงที่ด
➢ สรุปข้อมูลที่เป็นปัญหา
ขณะเจ็บป่วย รู้สึกว่าหน้าตาเศร้าหมอง ไม่มีชีวิตชีวา ผมไม่ได้หว
เหนื่อย อ่อนเพลีย ทำงานหนักไม่ได้เลย รู้สึกเหนื่อยง่าย
แบบแผนบทบาทและสัมพันธภาพ
❖ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
▪ บทบาทและสัมพันธภาพในครอบครัว
จำนวนสมาชิกในครอบครัว : 5 คน
ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวเป็นอย่างไร : ความสัมพันธ์ในครอบครัวดี
บทบาทและความรับผิดชอบในงาน/อาชีพ/การศึกษา : เกษียณอายุราชการแล้ว
ความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน : มีความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานดี
ทัศนคติของผู้ดูแลต่อความเจ็บป่วย และการยอมรับบทบาทผู้ดูแล : ผู้ดูแลมีทัศนคติที่ดี ดูแลผู้ป่วยเป็นอย่างดี และยอมรับในบทบาทผู้ดูแล
❖ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
สัมพันธภาพของผู้ใช้บริการกับครอบครัว/เพื่อน/ผู้ร่วมงาน : มีสัมพันธภาพดี
สัมพันธภาพของผู้ใช้บริการกับบุคลากรในทีมสุขภาพ : มีสัมพันธภาพดี
พฤติกรรมในการดูแลของครอบครัวและผู้ดูแล : คนในครอบครัวดูแลเอาใจใส่ดี
อุปสรรคของการสื่อสาร : ไม่มีอุปสรรคในการสื่อสาร
➢ สรุปข้อมูลที่เป็นปัญหา
ผู้ป่วยไม่มีปัญหาในแบบแผนนี้
แบบแผนเพศและการเจริญพันธุ์
❖ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
อาการผิดปกติหลังหมดประจำเดือน : ไม่มีอาการผิดปกติ
คุณมีความผิดปกติของอวัยวะเพศหรือไม่ อย่างไร : ไม่มีความผิดปกติ
วิธีคุมกำเนิดที่ใช้ : กินยาคุม
❖ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
▪ ตรวจร่างาย
ลักษณะทางเพศ
ชาย : ลูกกระเดือก หนวด ขนตามร่างกาย
หญิง : เต้านม สะโพก : มีเต้านม มีสะโพกผาย
ลักษณะอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก : ไม่มีความผิดปกติ สะอาด ไม่มีกลิ่นอับชื้น
สิ่งที่ขับออกทางอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก : ปัสสาวะ 1,000 ml.
➢ สรุปข้อมูลที่เป็นปัญหา
ผู้ป่วยไม่มีปัญหาในแบบแผนนี้
แบบแผนการปรับตัวและการเผชิญความเครียด
❖ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
ตามปกติมีอุปนิสัย และอารมณ์อย่างไร : เป็นคนชอบพูด ร่าเริง อารมณ์ดี
การแสดงออกเมื่อมีเหตุการณ์ที่ท าให้ไม่พอใจ และวิธีการแก้ไข : เงียบ ไม่พูดกับใคร ชอบเก็บไว้คนเดียว
ขณะนี้มีความเครียด ไม่สบายใจ หรือกังวลใจในเรื่องใด : คิดถึงหลานที่บ้าน
❖ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
ลักษณะพฤติกรรมการแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง การแต่งกาย ที่บ่งชี้ถึงความเครียด วิตกกังวล ไม่สบายใจ เช่น สีหน้าหมกมุ่น กระวนกระวาย ร้องไห้ ซึม นอนไม่หลับ รับประทานอาหาไม่ได้ : ผู้ป่วยมีสีหน้าวิตกกังวลไม่สบายใจ
➢ สรุปข้อมูลที่เป็นปัญหา
ผู้ป่วยวิตกกังวลและไม่สบายใจคิดถึงหลานที่บ้าน
แบบแผนคุณค่าและความเชื่อ
❖ข้อมูลอัตนัย (Subjective Data)
ความเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพและความเจ็บป่วย (อาหารแสลง/การปฏิบัติตน) : เชื่อว่าถ้ารับประทานกาแฟเยอะๆจะท าให้นอนไม่หลับ
สิ่งที่มีค่าหรือมีความส าคัญในชีวิต : สามี ลูกหลาน
สิ่งที่คุณยึดเป็นที่พึ่งทางใจ ทั้งในขณะปกติและเจ็บป่วยคืออะไร : พระพุทธศาสนา
ขณะอยู่โรงพยาบาลคุณต้องการปฏิบัติความเชื่อหรือไม่ : ต้องการท าตามความเชื่อ สวดมนต์ก่อนนอนและขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้หายจากอาการป่วย
❖ข้อมูลปรนัย (Objective Data)
การนำสิ่งที่นับถือบูชามาโรงพยาบาล ( ห้อยพระ ใส่เครื่องรางของขลัง ฯลฯ ) : ผู้ป่วยไม่ได้นำสิ่งที่บูชานับถือมาโรงพยาบาลด้วย
การปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาและไสยศาสตร์( สวดมนต์,อธิษฐาน, ละหมาด, รดน้ำมนต์ ) : สวดมนต์
➢ สรุปข้อมูลที่เป็นปัญหา
ผู้ป่วยไม่มีปัญหาในแบบแผนนี้