Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แบบแผนสุขภาพ (Functional health patterns), ประเมินพฤติกรรมการรับประทานอาหา…
แบบแผนสุขภาพ (Functional health patterns)
แบบแผน
หมายถึง พฤตกิรรมของบคุคลที่ต่อเนื่องกันในช่วงเวลาหนึ่ง
แบบแผนสุขภาพ
หมายถึง พฤติกรรมด้านสขุภาพของบคุคลซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง และมีผลต่อสุขภาพ
11 แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน
1 แบบแผนการรับรู้สุขภาพและการดูแลสุขภาพ
(Health Perception-Health Management Patterns)
2 แบบแผนด้านโภชนาการและการเผาผลาญอาหาร (Nutritional-Metabolism Patterns)
3 แบบแผนการขับถ่ายของเสีย(EliminationPatterns)
4 แบบแผนด้านการมีกิจรรมและการออกกำลังกาย
(Activity-Exercise Patterns)
5 แบบแผนการนอนหลับพักผ่อน
(Sleep-restPattern)
6 แบบแผนสติปัญญาและการรับรู้
(Cognitive-perceptualPattern)
7 แบบแผนการรับรู้ตนเองและอัตมโนทัศน์
(Selfperception–SelfconceptPattern)
10 แบบแผนการเผชิญความเครียดและความทนต่อความเครียด(Coping –stress tolerance Pattern)
11 แบบแผนค่านิยมและความเชื่อ
(Value–beliefPattern)
9 แบบแผนเพศสัมพันธุ์และการเจริญพันธ์ุ
(Sexuality-reproductivePattern)
8 แบบแผนบทบาทและสัมพันธภาพ
(Role-relationshipPattern)
องค์ประกอบของแบบแผนสุขภาพแต่ละแบบแผน
กระบวนการพยาบาล (Nursing Process)
ประเมินพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยพิจารณาความสอดคล้องกับอาหารที่ควรได้รับและน้ำหนักตัว
ปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการได้รับสารอาหาร น้ำ เกลือแร่ ค้นหาสิ่งที่บ่งชี้ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงของภาวะทุพโภชนาการ เช่น ความอยากอาหารลดลง
ประเมินการทำงานของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการ ได้แก่ การเคี้ยว การกลืน การย่อย การดูดซึม และการเผาผลาญ
❖การซักประวัติ
การรับรู้สุขภาพของตนเองหรือบุคคลรับผิดชอบทั้งอดีตและปัจจุบันเป็นอย่างไร
ประวัติความถี่ในการเกิดอาการเจ็บป่วย บ่อยเพียงใด
มีความรู้เกี่ยวกับโรคที่เป็นหรือสาเหตุของโรคถูกต้องหรือไม่
มีความรู้สึกและความคาดหวังเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพท่ีเกิดขึ้นอย่างไร
มีความต้องการความช่วยเหลือจากทีมการพยาบาลหรือผู้รักษาอย่างไร
การตรวจร่างกายประจำปี
การรับประทานยาเป็นประจำและเหตุผลที่รับประทานยา
ประวัติการแพ้สารต่างๆเช่นการแพย้าอาหารสารเคมีหรือสารอนื่ๆ
❖การตรวจร่างกาย
ลักษณะทั่วไปและความพิการเช่นท่าทางการเดินการลุกนั่ง การเคลื่อนไหวแขนขา การพดูคุย การแสดงสีหน้า
ความสะอาดของร่างกาย เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย
ความร่วมมือในการรกัษาพยาบาลของผู้ป่วยหรือครอบครัว
ความร่วมมือในการรกัษาพยาบาลของผู้ป่วยหรือครอบครัว
เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินกระบวนการขับถ่ายลักษณะ ปริมาณ จำนวนครั้งของของเสียทุกประเภทที่ออกจากร่างกายทั้งอุจจาระ ปัสสาวะ น้ำและอิเลคโตรไลท์ ปัจจัยส่งเสริม ปัจจัยเสี่ยงและอุปสรรคต่อการขับถ่าย ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงกระบวนการขับถ่ายอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วยและการปรับตัวเพื่อแก้ไขปัญหา
❖ การซักประวัติ
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะวันละกี่ครั้ง จำนวนมากน้อยเท่าใด ชอบกลั้นปัสสาวะหรือไม่ ปัสสาวะตอนกลางคืนหรือไม่ จำนวนกี่ครั้ง
ปัญหาการขับถ่ายปัสสาวะและวิธีการแก้ไข เช่น ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะล าบาก กระปริดกระปรอย ปัสสาวะน้อย
ปัจจัยส่งเสริม และปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อแบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะปกติ เช่น ความสะดวกหรือลำบากในการไปห้องน้ า
ประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินปัสสาวะหรือไต
ประวัติการใช้ยาต่างๆ เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาลดความดันโลหิต ซึ่งมีผลต่อ การทำงานของไต
ซักประวัติเกี่ยวกับแบบแผนการขับถ่ายอุจจาระ ได้แก่ ความถี่ เวลาของการขับถ่ายอุจจาระ ลักษณะการขับถ่าย
ปัญหาในการขับถ่ายอุจจาระและวิธีการแก้ไข ได้แก่ มีปัญหาท้องผูกแก้ไขโดยการรับประทานยาระบายเป็นประจำ ท้องเสีย ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้
ปัจจัยส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อแบบแผนการขับถ่ายอุจจาระ เช่น อุจจาระตามสถานที่อื่นๆ ไม่ได้นอกจากบ้านของตนเอง มีริดสีดวงทวารหนัก
❖ การตรวจร่างกาย
สังเกตสี ปริมาณ ลักษณะปัสสาวะที่ขับออกมาจากผู้ป่วย
สังเกตการมีกระเพาะปัสสาวะเต็ม (Full Bladder)
ตรวจร่างกายทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ถ้าเป็นนิ่วทางเดินปัสสาวะ
อาจจะมีอาการปวดเอวด้านหลัง
ตรวจดูลักษณะท้อง ตรวจการเคลื่อนไหวของลำไส้ (Bowel sound) ตรวจทวารหนักเพื่อดูแผล
ตรวจปริมาณ ลักษณะของอุจจาระว่ามีลักษณะผิดปกติหรือไม่
❖ การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
ตรวจปัสสาวะ เพื่อประเมินความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ
ตรวจเลือดเพื่อดูระดับของยูเรีย ไนโตรเจน และครีเอตินินในเลือดบ่งบอกการทำงานของไต
เอกซเรย์Ultrasound ดูความผิดปกติของไต ท่อไต และการอุดตันทางเดินปัสสาวะ
การตรวจอุจจาระเพื่อประเมินว่าอุจจาระมีเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว พยาธิ
การส่องกล้องเข้าทางทวารหนักเพื่อตรวจหาความผิดปกติของลำไส้ใหญ
เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินระดับความสามารถในการประกอบกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน การทำกิจวัตรประจำวัน การดูแลบ้าน การประกอบอาชีพ การใช้เวลาว่างและนันทนาการ การออกกำลังกาย หรือ การทำกิจกรรมที่มีเหงื่อออก
ข้อจำกัดหรือเงื่อนไขในการดำเนินชีวิตที่มีผลต่อการทำกิจกรรมและออกกำลังกาย เช่น
หอบเหนื่อย แน่นหน้าอก ไม่มีเวลา
ผลกระทบที่เกิดจากการเจ็บป่วยต่อการประกอบกิจกรรมและการออกกำลังกาย
ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อไม่สามารถทำกิจกรรมที่ตนเองต้องการ หรือไม่สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำได้เนื่องด้วยข้อจำกัดต่างๆ
❖ การซักประวัติ
ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง
-แข็งแรงดี สามารถปฏิบัติงานและกิจวัตรต่างๆ ได้ตามปกติ
-ทำงานหรือกิจกรรมได้จำกัด
กิจกรรมในงานอาชีพหนักเบาอย่างไร เช่น อาชีพครู ค้าขาย ชาวนา จะมีกิจกรรมที่แตกต่างกันการ
ออกกำลังกาย ชนิดของการออกกำลังกาย ระยะเวลาในการออกก าลังกายสัปดาห์ละกี่ครั้ง แต่ละครั้งใช้เวลานานเท่าไร
ประวัติเกี่ยวกับนันทนาการงานอดิเรก
ประวัติการเป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
ปัจจัยที่ทำให้ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจ าวันเปลี่ยนแปลง / ลดลง
ปัจจัยเสริมที่ทำให้มีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ เช่น มีผู้ดูแลใกล้ชิด
การได้รับบาดเจ็บหรือเกิดอุบัติเหตุต่อกระดูก ข้อ และกล้ามเนื้อ
❖ การตรวจร่างกาย
สังเกตความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ
ประเมินความสามารถในการเคลื่อนไหวของแขนขา(Range of motion : ROM)
ตรวจร่างกายระบบต่างๆ เพื่อประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ
สังเกตการทำกิจกรรมต่างๆ ของผู้ป่วย ตรวจดูขนาด รูปร่าง
ลักษณะของกระดูกว่ามีความผิดปกติหรือไม่
ตรวจวัดสัญญาณชีพ ประเมินอาการของความดัน
โลหิตสูง
ตรวจอาการขาดออกซิเจน เช่น สังเกตผิวหนัง ริมฝีปาก เล็บมือ เล็บเท้าว่ามีอาการเขียวคล้ าหรือไม่ (Cyanosis) ฟังปอดเพื่อประเมินเสียงหายใจว่ามความผิดปกติหรือไม
❖ การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
การตรวจเลือดและตรวจเอกซเรย์ปอด เพื่อประเมินภาวะผิดปกติที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ
ประเมินพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยพิจารณาความสอดคล้อง
กับอาหารที่ควรได้รับและน้ำหนักตัว
ปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการได้รับสารอาหาร น้ำ เกลือแร่ ค้นหาสิ่งที่บ่งชี้ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงของภาวะทุพโภชนาการ เช่น ความอยากอาหารลดลง
ประเมินการทำงานของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการ ได้แก่ การเคี้ยว การกลืน การย่อย การดูดซึม และการเผาผลาญ
❖ การซักประวัติ
แบบแผนเกี่ยวกับบริโภคนิสัยและแบบแผนการดำเนินชีวิต (life style)
-อุปนิสัยในการรับประทานอาหาร กินอาหารเป็นเวลาหรือไม่
-ชอบกินอาหารขณะนั่งดูโทรทัศน์ ชอบนั่งๆ นอนๆโดยไม่ทำกิจกรรมต่างๆ
-ลักษณะอาหารหรือขนมที่ชอบ
มีความรู้เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการหรือไม่
ประวัติการเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร
ปัญหาในการรับประทานอาหาร
ประวัติการเพิ่มหรือลดของน้กหนักตัวจากปกติ
❖ การซักประวัติ (น้ำและอิเล็กโทรไลต์)
ชนิด และปริมาณน้ำที่ดื่มในหนึ่งวัน
โรคหรือภาวะที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดน้ำ ภาวะน้ำเกิน หรือมีปัญหาความไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต
ยาที่ได้รับซึ่งอาจมีผลต่อความสมดุลของน้ำและอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย เช่น ยาขับปัสสาวะLasix จะท าให้มีการขับ Ca ออกมากขึ้น
❖ การตรวจร่างกาย
สังเกตพฤติกรรมการรับประทานอาหาร
ตรวจสภาพของผิวหนังและเยื่อบุว่าซีดหรือไม่ โดยสังเกตสีของผิวหนัง ริมฝีปาก เยื่อบุตา
(Conjunctiva) ตาขาว ฝ่ามือ ฝ่าเท้า
เยื่อบุปากและแผลในช่องปาก คอ ฟันผุ เหงือกอักเสบ ทอนซิลแดงโตหรือไม่
ตรวจดูท่าทางว่ามีอาการอ่อนเพลีย กล้ามเนื้อแขนขาลีบหรือไม่
สังเกตอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการมีปัญหาการรับประทานอาหาร
ค่าดัชนีมวลกาย เท่ากับ น้ำหนัก(ก.ก)/ส่วนสูง(เมตร2)
เป็นแบบแผนเกี่ยวกับการนอนหลับ การพักผ่อน ปัญหาเกี่ยวกับการนอน ปัจจัยส่งเสริม ปัจจัยเสี่ยง และอุปสรรคต่อแบบแผนการนอน กิจกรรมที่บุคคลปฏิบัติเพื่อให้ผ่อนคลาย รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแบบแผนอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วย
❖ การซักประวัติ
พฤติกรรมการนอน ประวัติเกี่ยวกับอุปนิสัยการนอน เป็นคนนอนดึกหรือนอนแต่หัวค่ า ชอบหลับเวลากลางวันตื่นเวลากลางคืนระยะเวลาที่นอนหลับ นอนวันละกี่ชั่วโมง กลางวันกี่ชั่วโมง กลางคืนกี่ชั่วโมงเพียงพอหรือไม่
พฤติกรรมหรือสิ่งที่ช่วยทำให้นอนหลับได้ง่ายก่อนนอนต้องฟังเพลง ฟังธรรมะ ดื่มนมหรือเครื่องดื่มอื่นๆ หรือบรรยากาศเงียบสงบและไม่มีแสงไฟ หรือต้องเปิดไฟสว่าง เปิดเครื่องปรับอากาศจึงทำให้นอนหลับสบาย เป็นต้น
ปัญหาเกี่ยวกับการนอน นอนมากไป นอนน้อย นอนไม่หลับ เป็นคนนอนยาก ตื่นเร็ว นอนหลับๆ ตื่นๆ
นอนหลับไม่สนิท นอนฝันร้าย รวมทั้งสาเหตุของปัญหาและแนวทางแก้ไขพฤติกรรมการผ่อนคลาย ชนิดและความถี่ของกิจกรรมที่ทำเพื่อให้ผ่อนคลาย การอ่านหนังสือ การดูหนัง ฟังเพลง การนั่งสมาธิ เล่นกีฬา ท่องเที่ยว ฯลฯมีการใช้ยานอนหลับหรือไม่ ถ้ามีใช้ยาอะไร ตั้งแต่เมื่อไร ความถี่ในการใช้ยา
❖ การตรวจร่างกาย
สังเกตหน้าตาว่านอนหลับพักผ่อนเพียงพอหรือไม่ ความสดชื่นแจ่มใส ซึม อ่อนเพลีย
-ง่วงนอน หาวนอนบ่อย
-ใต้ตาเป็นรอยเขียวคล้ำ
-นอนหลับเวลากลางวันตื่นเวลากลางคืน
1.การรับรู้ความรู้สึกและการตอบสนอง
แบบแผนเกี่ยวกับความสามารถของบุคคลในการรับรู้สิ่งเร้าและการตอบสนองต่อสิ่งเร้าด้านการรับรู้ความรู้สึก (sensation) ทั้ง 5 ทาง ได้แก่ การมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรับรส การรับรู้สึกทางผิวหนัง และการการรับรู้เกี่ยวกับความเจ็บปวด
2.ความสามารถทางสติปัญญา
แบบแผนเกี่ยวกับความสามารถและพัฒนาการทางสติปัญญาเกี่ยวกับความคิดความจำความสามารถในการตัดสินใจการแก้ปัญหาและการสื่อภาษาต่างๆ
❖ การซักประวัติ
ความรู้สึกทั่วไป สุขสบายหรือไม่สุขสบาย
ปัญหาเกี่ยวกับความรู้สึกตัว เช่น มีอาการสับสน ซึม ไม่รู้สึกตัว และระยะเวลาที่มีอาการ
ปัญหาเกี่ยวกับการได้กลิ่น เช่น มีความผิดปกติของจมูก มีสิ่งคัดหลัง ปวดจมูก การได้กลิ่นลดลงหรือไม่ได้กลิ่น
ปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น เช่น เห็นภาพซ้อน ตามัว มองไม่เห็น
ปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน เช่น หูอื้อ หูตึง ไม่ได้ยิน มีเสียงดังในหู
-ปัญหาเกี่ยวกับการรับรส ไม่สามารถรับรสได้ ปากชา ลิ้นชา
ปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้ความรู้สึกทางผิวหนัง เช่น อาการชา คัน ความเจ็บปวด
ประวัติความเจ็บป่วยหรือโรคประจ าตัวที่มีผลต่อการรับรู้ความรู้สึกดังกล่าว เช่น โรคเบาหวานความดันโลหิตสูง การได้รับอุบัติเหตุต่างๆ
พัฒนาการด้านสติปัญญา โดยการซักถามเกี่ยวกับความสามารถในการเรียน ความสามารถในการทำงาน การคิด การจ า การตัดสินใจ แก้ปัญหาและการสื่อสาร
ความเจ็บป่วยที่ทำให้ความสามารถทางสติปัญญาเปลี่ยนแปลง เช่น ประวัติของการขาดสารอาหารไอโอดีนทำให้เป็นโรคต่อมไทรอยด
ประวัติการได้รับยาบางชนิดซึ่งมีผลต่อความคิด ความจำหรือทำให้มีอาการสับสน
❖ การตรวจร่างกาย
ประเมินระดับความรู้สึกตัว เช่น การลืมตา การสื่อภาษา การเคลื่อนไหวของร่างกายและตรวจดูความผิดปกติของจมูก ตา หู ลิ้น ตรวจประสาทสัมผัสทางผิวหนัง
สังเกตลักษณะทั่วไป เช่น รูปร่าง ลักษณะ หน้าตา ท่าทาง การแต่งกาย การดูแลสุขอนามัยทั่วๆไป
ประเมินระดับสติปัญญา (IQ) โดยใช้แบบทดสอบ
พฤติกรรมภายใน
คือ พฤติกรรมที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าหรือใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตรต์รวจสอบได้โดยตรง
• กระบวนการทำงานทางกาย หรือทางชีวภาพในระบบต่างๆ เช่น ระบบหายใจ ระบบหัวใจ และหลอดเลือด
•กระบวนการคิดความรขู้องบคุคลเกยี่วกบัสิ่งต่างๆ
•เจตคติซึ่งประกอบด้วยความรู้สึกความคิดเห็นค่านิยมของบคุคล
พฤติกรรมภายนอก
คือ การกระทำที่แสดงออกมาให้สังเกตเห็นได้ รับรู้ได้ หรือใช้เครื่องมือตรวจสอบได้ เช่น
• พฤติกรรมที่เป็นคำพูด
• พฤติกรรมที่ไม่ใช่คำพูด เช่น กิริยา ท่าทาง การเดิน การหัวเราะ ร้องไห้ ฯลฯ
• การตรวจโดยใช้เครื่องมือทางการแพทย์ เช่น การตรวจวัดสัญญาณชีพ การเอกซเรย์ เป็นต้น
• การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือด การตรวจสิ่งคัดหลังต่างๆ
ปัจจัยส่งเสริมพฤติกรรมและอุปสรรค
การรวบรวมข้อมูล
ข้อมูลอัตนัย (Subjective data)
คือ การซักประวัติจากผู้รับบริการหรือญาติ (ในกรณีที่ผู้รับบริการไม่สามารถให้ข้อมูลได้หรือให้ข้อมูลได้ไม่ครอบคลุม)
ตัวอย่างข้อมูลอัตนัย (Subjective data)
ผู้รับบริการชอบกินข้าวเหนียววันละ 3 มื้อ ชอบกินอาหารรสจัดโดยเฉพาะส้มตำ
ปกติเข้านอนตั้งแต่เวลา 22.00-06.00 น. หลับสนิททั้งคืน ไม่เคยนอนกลางวัน
“ปวดศีรษะข้างเดียว ปวดตุ๊บๆ”
ข้อมูลปรนัย (Objective data)
คือ ข้อมูลที่ได้จากการสังเกต/การตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และ การตรวจพิเศษ
ตัวอย่างข้อมูลปรนัย (Objective data)
ท่าทางเหนื่อยอ่อนเพลีย ขอบตาดำคล้ำ หาวนอนบ่อยๆ
สีหน้าไม่ค่อยสดชื่น
คลำพบก้อนบริเวณหน้าท้อง
เป็นแบบแผนเกี่ยวกับความเชื่อ ความศรัทธา ความมั่นคงเข้มแข็งทางด้านจิตใจ สิ่งที่มีคุณค่า มีความหมายต่อชีวิต สิ่งยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ เป้าหมายในการด าเนินชีวิต ความเชื่อทางด้านสุขภาพ และการปฏิบัติตนตามความเชื่อ ปัจจัยส่งเสริม และปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความมั่นคงเข้มแข็งทางด้านจิตใจ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแบบแผนอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วย
❖ การซักประวัติ
-ความเชื่อ ความผูกพัน ความศรัทธาที่มีต่อสิ่งต่างๆ
-สิ่งสำคัญในชีวิต หรือสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ
-ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม
-ความหวังหรือเป้าหมายในชีวิต
-การปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ความเชื่อทางศาสนา ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมเช่น การปฏิบัติธรรมตามศาสนาที่นับถือ การทำบุญใส่บาตร การไปวัด การไปโบสถ์ เป็นต้น
-ความเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพ เช่น ความเชื่อเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดโรค ความเชื่อเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล
❖ การตรวจร่างกาย
-สังเกตพฤติกรรมที่แสดงออกทางสีหน้า กริยาท่าทาง
-สังเกตคำพูดของผู้ป่วยและญาติที่แสดงถึงการให้คุณค่าและการมีความเชื่อในด้านต่างๆ
-สังเกตการแสดงออกที่แสดงถึงความเชื่อต่างๆ เช่น การมีพระพุทธรูป สร้อยพระ หรือมีวัตถุ
มงคลบูชา การใช้เครื่องรางของขลัง การสวดมนต์ การทำสมาธิภาวนา
เป็นแบบแผนเกี่ยวกับการรับรู้ลักษณะอารมณ์พื้นฐาน การรับรู้เกี่ยวกับความเครียดปฏิกิริยาของร่างกายเมื่อเกิดความเครียด วิธีการแก้ไขและการจัดการกับความเครียด ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดความเครียด ปัจจัยส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการปรับตัวกับความเครียด รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแบบแผนอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วย
❖ การซักประวัติ
-ข้อมูลทั่วไป เช่น อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ สถานภาพสมรส ความสัมพันธ์ในครอบครัว สิ่งแวดล้อมที่บ้าน
-สัมภาษณ์เกี่ยวกับลักษณะอุปนิสัยหรืออารมณ์พื้นฐานของผู้ป่วย
-ซักถามสิ่งที่ทำให้เกิดความเครียด ไม่สบายใจ วิตกกังวล กลัว เครียด คับข้องใจ
-อาการต่างๆ เมื่อเกิดความเครียด นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร เหนื่อยหอบ
-วิธีการจัดการความเครียด เช่น การระบายความเครียดกับบุคคลใกล้ชิด การเก็บตัวเงียบไม่
สังสรรค์กับใคร การใช้ยา
-ซักถามความต้องการการช่วยเหลือและบุคคลที่สนับสนุนให้กำลังใจ
❖ การตรวจร่างกาย
-ตรวจสอบพฤติกรรมที่บ่งชี้ถึงความเครียด ความ
เศร้า ความวิตกกังวล
-สีหน้าหมกมุ่น ขมวดคิ้ว กระวนกระวาย ซึม
เงียบเฉย ร้องไห้ นอนไม่หลับ
-สังเกตอาการต่างๆ เช่น เหงื่อออกมาก หน้า
ซีดหรือหน้าแดง มือสั่น หายใจเร็ว
เป็นแบบแผนเกี่ยวกับพัฒนาการตามเพศซึ่งมีอิทธิพลมาจากพัฒนาการด้านร่างกายและอิทธิพลของสังคม สิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดู ลักษณะการเจริญพันธุ์ พฤติกรรมทางเพศและเพศสัมพันธ์ ปัจจัยส่งเสริม ปัจจัยเสี่ยง หรือปัจจัยอุปสรรคต่อพัฒนาการตามเพศ และการเจริญพันธ
❖ การซักประวัติ
-การเจริญพันธ์ และการทำงานของระบบสืบพันธุ์
-การมีเพศสัมพันธ์ ปัญหาเพศสัมพันธ์ ความเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับการมีเพศสัมพันธ์และการป้องกันโรคติดต่อกันได้ทางเพศสัมพันธ
-การมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่ติดต่อกันได้ทางเพศสัมพันธ์ การมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม เช่น รักร่วมเพศ
-เพศหญิงควรซักประวัติเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การแท้ง การมีบุตร การคุมกำเนิด การติดเชื้อของอวัยวะสืบพันธ
❖ การตรวจร่างกาย
สังเกตพฤติกรรมทางเพศจากลักษณะท่าทางที่แสดงออก ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น การใช้ภาษาและคำพูด
เพศหญิง ตรวจเต้านม ต่อมน้ำเหลือง อวัยวะเพศหญิง -เพศชาย ตรวจอวัยวะเพศชายตรวจ
อาการและอาการแสดงของการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคเอดส์
แบบแผนเกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ การติดต่อสื่อสารและการมีสัมพันธภาพกับบุคคลทั้งภายในครอบครัวและสังคม รวมทั้งปัจจัยส่งเสริม ปัจจัยเสี่ยงหรือปัจจัยอุปสรรคต่อการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่และการสร้างสัมพันธภาพ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงบทบาทอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วย
❖ การซักประวัติ
-โครงสร้างครอบครัว เช่น จำนวนสมาชิกในครอบครัวมีใครบ้าง หรืออยู่คนเดียวหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ป่วยและสมาชิกคนอื่นๆ ต่อครอบครัว
-การแสดงบทบาทในครอบครัวทั้งในขณะที่มีสุขภาพดีและการเปลี่ยนแปลงบทบาทในขณะเจ็บป่วยมีผลกระทบต่อครอบครัวหรือไม่
-สัมพันธภาพของผู้ป่วยกับครอบครัว เพื่อนร่วมงาน เพื่อนบ้าน การเปลี่ยนแปลงของสัมพันธภาพ
โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หรือช่วยตนเองไม่ได้
-ตำแหน่งความรับผิดชอบต่อหน้าที่ การงาน อาชีพ
-สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการสร้างสัมพันธภาพที่ดี เช่น ทัศนคติที่ไม่ดีต่อกัน ความเครียดภายในครอบครัว
❖ การตรวจร่างกาย
สังเกตพฤติกรรมต่างๆ หรือท่าทางที่แสดงออกต่อ
ครอบครัวและบุคคลในครอบครัวแสดงต่อผู้ป่วย การโต้ตอบระหว่างผู้ป่วยกับบุคคลในครอบครัว รวมทั้ง
เพื่อน ผู้ร่วมงาน
แบบแผนที่เกี่ยวกับความคิด ความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อตนเอง(อัตมโนทัศน์) การมองตนเองเกี่ยวกับรูปร่าง หน้าตา ความพิการ(ภาพลักษณ์)ความสามารถ คุณค่า เอกลักษณ์ และความภูมิใจในตนเอง ตลอดจนปัจจัยส่งเสริม ปัจจัยเสี่ยง และปัจจัยอุปสรรคที่มีผลต่อการรับรู้ตนเองและอัตมโนทัศนตนเองและอัตมโนทัศน์
❖ การซักประวัติ
ความรู้สึกต่อตนเองเกี่ยวกับภาพลักษณ์โดยทั่วไป รู้สึกว่าอ้วน ผอม สูงหรือเตี้ยเกินไป
ความรู้สึกต่อตนเองเกี่ยวกับความสามารถในด้านต่างๆ
-ความรู้สึกต่อตนเองเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงร่างกายที่มีอุปกรณ์เพิ่มขึ้น เช่น การมีสายสวนปัสสาวะและถุงรองรับปัสสาวะ การมีสายยางให้อาหาร
-ความรู้สึกต่อตนเองเกี่ยวกับการสูญเสียอวัยวะจากการเป็นโรคการผ่าตัด หรือการเกิดอุบัติเหตุหน้าเสียโฉม
-ความรู้สึกต่อตนเองเกี่ยวกับความภาคภูมิใจในตนเอง ความพอใจในตนเอง ความรู้สึกสูญเสียความมั่นคงปลอดภัย ท้อแท้ สิ้นหวัง เป็นต้น
❖ การตรวจร่างกาย
สังเกตความสนใจตนเองของผู้ป่วย
การแต่งกาย บุคลิกภาพ
การกล่าวถึงตนเอง
การสังเกตปฏิกิริยาตอบสนองหรือพฤติกรรมที่แสดงออกต่อการเปลี่ยนแปลงหรือสูญเสีย