Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 9 การพยาบาลมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด (ต่อ), นางสาวจุฬาลักษณ์…
หน่วยที่ 9 การพยาบาลมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด (ต่อ)
มดลูกกลับสู่สภาพปกติช้า
(subinvolution)
เป็นภาวะที่กระบวนการกลับคืนสู่สภาพเดิมของมดลุกใช้เวลานาน หรือกระบวนการนั้นหยุดไปก่อนที่ มดลูกจะกลับคืนสูสภาพเดิมอย่าง สมบูรณ์
สาเหตุ
1.มีภาวะที่ทำให้การหดรัดตัวของมดลูกไม่ดี
มีเศษรก/เยื่อหุ้มทารกค้าง
มีเนื้องอกในมดลูก
การตึงตัวของมดลูกไม่ดีในครรภ์หลัง
เต้านมอักเสบ (Mastitis)
เป็นภาวะที่เนื้อเยื่อบริเวณเต้านมเกิดการบวมอักเสบ ส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ อย่างรู้สึกเจ็บหรือร้อนบริเวณเต้านม หรือเต้านมบวมแดง โดยภาวะนี้อาจเกิดขึ้นได้กับทั้งเพศชายและหญิง แต่ส่วนใหญ่จะพบได้ในผู้หญิงที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร โดยเฉพาะในช่วง 6–12 สัปดาห์แรกของการให้นม
อาการ
มีอาการคันเต้านมและรู้สึกอุ่นเมื่อจับ
คลำพบลักษณะคล้ายก้อนเนื้อในเต้านม
เกิดรอยแผลขนาดเล็กบริเวณหัวนม
มีของเหลวหรือเลือดไหลออกจากหัวนม
สาเหตุ
การติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นกรณีที่มักพบได้ในช่วง 1–3 เดือนแรกของการให้นมบุตร โดยเกิดจากแบคทีเรียที่อยู่บริเวณหัวนม ผิวหนังบริเวณใกล้เคียงหัวนม หรือจากปากของทารกเข้าสู่ทางท่อน้ำนมผ่านรอยแผลแตกเล็ก ๆ บริเวณหัวนม ส่งผลให้เต้านมเกิดการอักเสบ บวม และมีเลือดไหลเวียนบริเวณเต้านมมากขึ้น
ท่อน้ำนมอุดตัน เป็นภาวะที่อาจเกิดจากทารกดื่มนมไม่หมดเต้า หรืออาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้เซลล์เนื้อเยื่อที่ตายแล้วหลุดลอกไปอุดตันในท่อน้ำนม น้ำนมจึงคั่งในท่อน้ำนม ส่งผลให้เกิดการอักเสบของเต้านมตามมา นอกจากนี้ การอุดตันของท่อน้ำนมอาจส่งผลให้บริเวณที่น้ำนมคั่งเป็นแหล่งเจริญเติบโตของแบคทีเรียจนเสี่ยงต่อการติดเชื้อตามมาได้
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum Depression)
อาการที่เกิดจาการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ของมารดาหลังคลอดมักเกิดขึ้นชั่วคราวโดยจะมีความรู้สึกเศร้าอยากร้องไห้ โดยไม่มีสาเหตุและมีความวิตกกังวล
สาเหตุ
ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดอาจเกิดจากการลดระดับของฮอร์โมนGonadotropin ตลอดจนการเกิดภาวะเครียดเมื่อชีวิตเปลี่ยนแปลงไปมีความรู้สึกตื่นเต้นกับบทบาทใหม่หลังคลอด
เต้านมเป็นฝี (Breast Abscess)
ภาวะเต้านมอักเสบที่มีก้อนฝีหนองอยู่ภายใน ซึ่งเกิดต่อเนื่องมาจากภาวะเต้านมอักเสบ (Mastitis) ที่ไม่ได้รับการรักษา เต้านมอักเสบที่อาการไม่ดีขึ้น หรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาที่พบได้บ้างเป็นครั้งคราวในผู้หญิงที่ให้นมบุตรในระยะเดือนแรก ๆ (มักเกิดในช่วงสัปดาห์ที่ 2-3 หลังคลอด)
สาเหตุ
ฝีเต้านมเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อย ได้แก่ สแตฟีโลค็อกคัสออเรียส (Staphylococcus aureus) โดยเชื้อแบคทีเรียนี้จะเข้าไปในเต้านมผ่านทางหัวนมและลานนมที่ปริหรือแตก และทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อตามมา หากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสมก็จะกลายเป็นฝีหนองตามมา
อาการ
เต้านมข้างที่เป็นฝีจะมีลักษณะบวมแดง ร้อน และเจ็บปวดมาก
คลำได้ก้อนที่กดเจ็บมากของเต้านม และสีของผิวหนังเหนือบริเวณที่มีก้อนเปลี่ยนไปจากปกติ
ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ หนาวสั่น ปวดเมื่อยตามตัว และอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนได้
ต่อมน้ำเหลืองที่ใต้รักแร้ข้างเดียวกับเต้านมข้างที่เป็นฝีจะโตและเจ็บร่วมด้วย
วิธีป้องกันฝีที่เต้านม
1.หมั่นรักษาความสะอาดหัวนมให้ดีด้วยการใช้น้ำต้มสุกกับสบู่ก่อนและหลังให้ลูกดูดนม
2.ถ้าหัวนมแตก ให้ทาด้วยทิงเจอร์เบนโซอิน (Tincture of benzoin) และควรให้เด็กดูดนมครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยขึ้น
อารมณ์เศร้าหลังคลอด (Postpartum Blues)
Baby Blue เป็นภาวะที่คุณแม่แรกคลอดส่วนใหญ่ หรือ ประมาณ 75% ของคุณแม่หลังคลอดต้องเจอ โดยมักเกิดช่วง 3-10 วันหลังคลอด
สาเหตุ
เกิดจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่ลดลงอย่างกระทันหัน ร่วมกับความเครียด ความกังวลที่เกิดขึ้นหลังคลอด อาทิ กังวลว่าน้ำนมจะเพียงพอหรือไม่ จะเลี้ยงลูกถูกต้องหรือไม่ การพักผ่อนไม่เพียงพอ อดนอน
อาการของภาวะ
อารมณ์ขึ้นๆลงๆ หงุดหงิดง่าย
อยู่ ๆก็ร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ
เซื่องซึมง่าย
โรคจิตหลังคลอด (Postpartum Psychosis)
โรคจิตหลังคลอด เป็นความเจ็บป่วยทางจิตใจอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นหลังจากการคลอดลูก ลักษณะเด่นของโรคนี้ คือ ไม่มีการตอบสนองทางอารมณ์ต่อทารกเกิดใหม่ บางครั้งอาจมีความคิดที่จะทำร้ายลูกด้วย รวมทั้งมีอาการบางอย่างที่ดูคล้ายโรคซึมเศร้าหลังคลอด
โรคจิตหลังคลอด จัดอยู่ในกลุ่มโรคทางจิตใจหลังคลอดที่เป็นภาวะฉุกเฉิน เนื่องจากผู้ป่วยมีโอกาสทำร้ายเด็กหรือทำร้ายตนเองได้
สาเหตุ
มีอายุมากขณะตั้งครรภ์
มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคทางจิต หรือโรคจิตหลังคลอด
เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไบโพลาร์หรือโรคจิตเภท
ได้รับบาดเจ็บจากการคลอด หรือการตั้งครรภ์
เคยป่วยด้วยโรคจิตหลังคลอดในการตั้งครรภ์ครั้งก่อน
อาการ
รู้สึกอยากขว้างเด็กทิ้ง หรืออยากทำร้ายเด็กกะทันหัน
มีอาการหลงผิด เชื่อในสิ่งที่ไม่เป็นความจริง
มีอาการประสาทหลอน เช่น มองเห็นภาพ หรือได้ยินในสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง
หงุดหงิดง่าย
การรักษา
การเข้ารักษาในโรงพยาบาล
การรับประทานยารักษาอาการโรคจิต
การรับประทานยารักษาอาการซึมเศร้า
การรักษาอาการทางจิตเวชด้วยการใช้ไฟฟ้
นางสาวจุฬาลักษณ์ เที่ยงธรรม เลขที่23