Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่6การพยาบาลผู้คลอดที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับปัจจัยการคลอด - Coggle…
บทที่6การพยาบาลผู้คลอดที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับปัจจัยการคลอด
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการคลอด(6P)
1 . แรงผลักดันในการคลอด ( Power)
2 . ช่องทางคลอด ( Passage)
3 . ทารกรก ( Passenger)
4 . จิตใจ ( Psyche)
5 . ท่าของผู้คลอด ( Position)
6 . ภาวะสุขภาพกาย ( Physical condition)
ช่องทางคลอด ( Passage) แบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ
1 . ส่วนที่เป็นกระดูก ( Bony passage )
เชิงกรานแคบ ( pelvic contraction )
อุ้งเชิงกรานที่มีขนาด Obstetrical conjugate น้อยกว่า 10 ซม . ( ปกติ 11.5 ซม . )
การแคบที่ระดับส่วนกลางของเชิงกราน ( mid pelvic contraction )
ระยะห่างระหว่าง ischial spines น้อยกว่า 10 ซม . ( ปกติ 12 ซม .)
การแคบที่ระดับทางออกของเชิงกราน ( pelvic outlet contraction )
ความยาวของ intertuberous diameter มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 8 ซม .
( ปกติ มากกว่า 9 ซม .)
2 . ส่วนที่เป็นกล้ามเนื้อเอ็นยึด ( Soft passage)
1 . ความผิดปกติของปากช่องคลอด
2 . ความผิดปกติของช่องคลอด
3 . ความผิดปกติของปากมดลูก
4 . ความผิดปกติของมดลูกมดลูกคว่ำหน้า มดลูกคว่ำหลัง มดลูกหย่อนขณะตั้งครรภ์ เนื้องอกมดลูก
การหดรัดตัวของมดลูก Uterine contraction
แรงหดรัดตัวของมดลูกที่ผิดปกติมี3ชนิด
1.1 มดลูกหดรัดตัวน้อยกว่าปกติ ( Hypotonic uterine dysfunction )
หมายถึง
การหดรัดตัวของมดลูกที่มีแรงดันในมดลูกโดยเฉลี่ย น้อยกว่า 25 มิ ลลิเมตรปรอท
สาเหตุ
ประมาณครึ่งหนึ่งไม่ทราบสาเหตุ
การวินิจฉัย
ตรวจพบว่ามดลูกมีการหดรัดตัวเป็นระยะ แต่ไม่แรงพอ
การดูแลรักษา
การให้ Syntocinon ชื่อสามัญ : Oxytocin
1.2 มดลูกหดรัดตัว มากกว่าปกติ ( Hypertonic uterine dysfunction )
หมายถึง
การหดรัดตัวของมดลูกที่มีแรงดันในมดลูกโดยเฉลี่ย มากกว่า 50 มิลลิเมตรปรอท
สาเหตุ
ส่วนมากไม่ทราบสาเหตุ
การวินิจฉัย
ปากมดลูกมีการเปิดขยายและบางตัว น้อยมาก ทั้งที่มดลูกมีการหดรัดตัวรุนแรง และมีอาการเจ็บปวดมาก
การดูแลรักษา
ให้ยาบรรเทาอาการปวด ถ้าทารกมีภาวะขาดออกซิเจนต้อง ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องทันที
1.3 การหดรัดตัวของมดลูกที่ผิดปกติเฉพาะที่ ( Localized abnormalities of uterine action )
สาเหตุ
เกิดจากกล้ามเนื้อมดลูกส่วนล่างถูกยืดขยายและบางตัวมาก ในขณะที่กล้ามเนื้อมดลูก ส่วนบนมีการเกร็ง เกิดเป็นรอยคอดคล้ายวงแหวนหรือเห็นได้เป็นแนวขวางอยู่บริเวณต่ำกว่าสะดือ
การแก้ไข
การผ่าตัดคลอดโดยเร็ว ก่อนมดลูกจะแตกได้ (uterine rupture)
ทารกรก ( Passenger)
1 . ความผิดปกติของส่วนนำและท่าของทารก
ทารกส่วนนำเป็นท่าก้น ( Breech presentation)
หมายถึง ทารกในครรภ์ที่ อยู่ใน longitudinal lie โดยมี cephalic pole อยู่บริเวณยอดมดลูก
1.2 ทารกส่วนนำเป็นหน้า ( Face presentation )
หมายถึง ทารกใช้หน้าเป็นส่วนนำโดยที่ศีรษะจะมีการแหงน มากกว่าปกติ ( hyperextended h ead )
1.3 ทารกส่วนนำเป็นหน้าผาก ( Brow presentation )
หมายถึง ทารกที่มีศีรษะเป็นส่วนนำ โดยศีรษะจะอยู่ในลักษณะกึ่งกลางระหว่างการ ก้มเต็มที่กับ การแหงนเต็มที่ จุดอ้างอิงที่ใช้คือ กระดูกหน้าผาก ( frontal bone )
1.4 ทารกส่วนน าเป็นหัวไหล่หรือทารกแนวขวาง ( Shoulder presentation or Transverse lie )
หมายถึง ทารกที่มีแนวของลำตัวตั้งฉากกับแนวลำตัวของมารดาทำให้บริเวณหัวไหล่กลายเป็นส่วนนำ ( Shoulder presentation)
1.5 ทารกมีส่วนนำร่วม ( Compound presentation )
หมายถึง การมีส่วนของแขน มือ หรือขาทารกยื่นลงมาพร้อมกับส่วนนำอื่นของทารก พบบ่อยที่สุด คือ ศีรษะกับมือ
1.6 ทารกจะอยู่ในท่าหงายศีรษะ Persistent Occiput Posterior Position ( OPP )
ทารกจะอยู่ในท่าหงายศีรษะ ซึ่งส่วนใหญ่จะสามารถหมุนกลับมาเป็นท่าคว ่าหน้าตาม ปกติ ( occiput anterior) ได้เอง
1.7 Persistent Occiput Transverse position ( OTP )
เกิดขึ้นเนื่องจากศีรษะไม่ยอมหมุนไปอีก 90 องศา เพื่อให้เป็นท่า occiput anterio r ทำให้ occiput ค้างอยู่ในแนว transverse ของกระดูกเชิงกราน
จิตใจ ( Psyche)
ปัญหาของผู้คลอดส่วนใหญ่
ความกลัว
ความกลัว ความวิตกกังวลที่สูงมาก และความเจ็บปวดที่มากจะทำให้ผู้คลอดหวาดกลัวต่อการคลอด มีความรู้สึกไม่มั่นคงและไม่ปลอดภัยจากการคลอด ไม่สามารถเผชิญ หรือ ควบคุมความเจ็บปวดได้
ความเครียด
ผลของความเครียดต่อการคลอด ( Effects of stress on labour )
1 . ลดการทำงานของกล้ามเนื้อมดลูก
2 . ระดับกลูโคสที่เก็บสะสมไว้ลดลง ทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อมดลูกลดลง
3 . ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น , หลอดเลือดส่วนปลายหดรัดตัวและเลือดไปเลี้ยงมดลูกลดลง
4 . การหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกลดลง เนื่องจากระดับกลูโคสลดลงและ epinephrine เพิ่มขึ้น
ท่าผู้คลอด( Position)
ท่าของผู้คลอดมีผลต่อ แรงหดรัดตัวของมดลูก แรงเบ่ง ขนาด เชิงกราน และการหมุนภายในของทารก ท่าในแนวตรงหรือดิ่ง
ท่าทำคลอดโดยทั่วไปคือ ท่านอนหงายชันเข่าขึ้น ( Do rsal position) หรือพาดขาไว้บนขาหยั่ง ( Lithotomy position)
ภาวะด้านสุขภาพของผู้คลอด ( Physical condition)
ผู้คลอดที่มีสุขภาพอ่อนแอ มีอาการอ่อนเพลีย พักได้น้อย เนื่องจากเจ็บครรภ์คลอด ในเวลากลางคืน หมดแรง มารดามีพยาธิสภาพ เช่น โรคหัวใจ โรคหืด หอบ โรคไต โรคตับ ภาวะความดันโลหิตในระยะตั้งครรภ์ จะกระทบต่อแรงเบ่งคลอดได้