Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เเบบเเผนสุขภาพ (Functional health patterns) - Coggle Diagram
เเบบเเผนสุขภาพ
(Functional health patterns)
ความหมายของเเบบเเผนสุขภาพ
แบบแผน คือ พฤติกรรมของบุคคลที่ต่อเนื่องกันในช่วงเวลาหนึ่ง
เเบบเเผนสุขภาพ คือ พฤติกรรมด้านสุขภาพของบุคคลซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งและมีผลต่อสุขภาพ
กรอบเเนวความคิดเเบบเเผนสุขภาพ พัฒนาโดย มาร์จอรีย์ กอร์ดอน ศาสตรจารย์มหาวิทยาลัยบอสตัน [ประเทศสหรัฐอเมริกา] มี11 เเบบเเผน
องค์ประกอบของเเบบเเผนสุขภาพเเต่ละเเบบเเผน
1.พฤติกรรมภายใน คือ พฤติกรรมที่ไม่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าหรือใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ตรวจสอบได้โดยตรง
พฤติกรรมภายนอก คือ การกระทำที่เเสดงออกมาสังเกตเห็นได้ รับรู้ได้ หรือใช้เครื่องมือตรวจสอบได้
3.ปัจจัยส่งเสริมพฤติกรรมและอปุสรรค
1.) เเบบเเผนการรับรู้ภาวะสุขภาพเเละการดูเเลสุขภาพ
เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินความคิด ความเข้าใจของบุคคลต่อสภาวะสุขภาพทั่วไป
รวบรวมโดยการซักประวัติและการตรวจร่างกาย
การซักประวัติ
ประวัติความถี่ในการเกิดอาการเจ็บป่วยบ่อยเพียงใด
การตรวจร่างกายประจำปี
การได้รับภูมิคุ้มกัน
การตรวจร่างกาย
ลักษณะทั่วไปและความพิการ เช่นท่าทางการเดินการลุกนั่ง การเคลื่อนไหวแขนขาการพดูคุยการแสดงสีหน้า
สังเกตการปฏบัติตนขณะเจ็บป่วยของผู้ป่วยหรือการได้รับการดูแล จากครอบครัว
2.)เเบบเเผนโภชนาการเเละการเผาผลาญสารอาหาร
ประเมินพฤติกรรมการทานอาหารโดยพิจารณาจากน้ำหนักตัว
การซักประวัติ
มีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการหรือไม่
ประวัติการเพิ่มหรือการลดของน้ำหนักตัวปกติ
ชนิดเเละปริมาณน้ำที่ดื่มในเเต่ละวัน
การตรวจร่างกาย
สังเกตพฤติกรรมการรับประทานอาหาร
ตรวจลักษณะท้อง ตับ ม้าม ก้อนในท้อง
ฟังเสียงการเคลื่อนไหวของลำไส้(Bowelsound)
ตรวจดูค่าดัชนีมวล อาการบวม
3.)เเบบเเผนการขับถ่าย
เป็นการรวบรวมเพื่อประเมินเกี่ยวกับระบบขับถ่าย ลักษณะ ปริมาณ การขับถ่ายทั้งปัสสาวะเเละอุจจาระ
การซักประวัติ
ปัสสาวะวันละกี่ครั้ง จำนวนมากน้อยเท่าใด
ปัญหาด้านปัสสาวะใดที่ต้องเเก้ไข
ประวัตการใช้ยาต่างๆ เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาลดความดันโลหิต ซึ่งมีผลต่อการทำงานของไต
การตรวจร่างกาย
สังเกตสีปริมาณลักษณะปัสสาวะที่ขับออกมาจากผู้ป่วย
ตรวจดูลักษณะท้อง การเคลื่อนไหวของลำไส้
เอกซเรย์ Ultrasound ดูความผิดปกติของไตท่อไตและการอุดตันทางเดินปัสสาวะ
4.) แบบแผนกิจกรรมและการออกกำลังกาย
เป็นการรวบรวมขอมูลเพื่อประเมินเกี่ยวกับการทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน การออกกำลังกาย หรือการทำกิจกรรมที่มีเหงื่อออก
การซักประวัติ
ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง
ออกกำลังกายได้นานเท่าไหร่ ออกกำลังกายชนิดใดได้บ้าง
ประวัติเกี่ยวกับกิจกรรมนันทนาการ งานอดิเรกหรือการใช้เวลาว่าง
การตรวจร่างกาย
สังเกตความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ
ประเมินการเคลื่อนไหว ของเเขน ขา
ตรวจวัดชีพจร ประเมินอาการของความดันโลหิตสูง เช่น ปวดศีรษะ
5.)แบบแผนการพักผ่อนนอนหลับ
เป็นแบบแผนที่เกี่ยวกับการนอนหลับการพักผ่อนปัญหาเกี่ยวกับการนอนรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแบบแผนอันเนื่องมาจากการเจ็บป่วย
การซักการซักประวัติ
พฤติกรรมการนอนประวัติเกี่ยวกับอุปนิสัยการนอน
พฤติกรรมหรือสิ่งที่ทำให้นอนหลับได้ง่าย
พฤติกรรมการผ่อนคลายชนิดและความถี่ของกิจกรรมที่ทำเพื่อให้ผ่อนคลาย
การตรวจร่างกาย
สังเกตหน้าตาว่านอนหลับพักผ่อนเพียงพอหรือไม่
เช่นการนอนหลับเวลากลางวันและตื่นเวลากลางคืน
6.)แบบแผนสติปัญญาและหกแบบแผนสติปัญญาและการรับรู้
1.)การรับรู้ความรู้สึกและการตอบสนอง
แบบแผนเกี่ยวกับความสามารถของบุคคลในการรับรู้สิ่งเร้าและการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
มี 5 ทางได้แก่ การมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่นการรับรส เเละการรับความรู้สึกทางผิวหนัง
2.)ความสามารถทางสติปัญญา
แบบแผนที่เกี่ยวกับความสามารถและพัฒนาการทางสติปัญญาเกี่ยวกับความคิดความจำและการตัดสินใจ
การซักประวัติ
ความรู้สึกทั่วไปสุขสบายหรือไม่
ปัญหาเกี่ยวกับความรู้สึกตัว เช่น มีอาการสับสน ซึมและไม่รู้สึก
ปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน การรับรสต่างๆ
การตรวจร่างกาย
ประเมินความรู้สึกตัว เช่น การลืมตา การสื่อสาร
การเคลื่อนไหวของร่างกาย
ประเมินระดับสติปัญญา(IQ)โดยใช้แบบทดสอบ
7.)แบบแผนการรับรู้แบบแผนการรับรู้ตนเองและ
อัตมโนทัศน์
เป็นแบบแผนที่เกี่ยวกับความคิดความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อตนเองและการมองเกี่ยวกับรูปร่างหน้าตา ความพิการ ภาพลักษณ์ของตน
การซักประวัติ
ความรู้สึกต่อตนเองเกี่ยวกับภาพลักษณ์โดยทั่วไป
ความรู้สึกต่อตนเองเกี่ยวกับความภาคภูมิใจและความพอใจในตนเอง
การตรวจร่างกาย
สังเกตความสนใจในตนเองของผู้ป่วย
การแต่งกายบุคลิกภาพ
การสังเกตปฏิกิริยาตอบสนองหรือพฤติกรรมที่แสดงออกต่อการเปลี่ยนแปลงหรือสูญเสีย
8.)แบบแผนบทบาทและสัมพันธภาพ
แบบแผนที่เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบปัจจัยเสี่ยงหรือปัจจัยอุปสรรคต่อการปฎิบัติหน้าที่และการสร้างสัมพันธภาพ
การซักประวัติ
โครงสร้างครอบครัว เช่น จำนวนสมาชิกในครอบครัวมีใครบ้าง หรืออยู่คนเดียว
หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ป่วยและสมาชิกคนอื่นๆในครอบครัว
ตำแหน่งหน้าที่ในการรับผิดชอบการงานอาชีพ
การตรวจร่างกาย
สังเกตพฤติกรรมต่างๆหรือท่าทางที่แสดงออกต่อครอบครัวและบุคคลในครอบครัวที่แสดงออกต่อผู้ป่วย
9.)แบบแผนเพศและการเจริญพันธุ์
เป็นแบบแผนเกี่ยวกับการพัฒนาตามเพศซึ่งมีอิทธิพลมาจากการพัฒนาทางด้านร่างกาย และสังคม สิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดู
การซักประวัติ
การเจริญพันธุ์และการทำงานของระบบสืบพันธุ์
การป้องกันโรคติดต่อกันได้ทางเพศสัมพันธ์
ปัญหาเพศสัมพันธ์ การมีเพศสัมพันธ์
การตรวจร่างกาย
สังเกตพฤติกรรมทางเพศจากลักษณะท่าทางที่แสดงออก การใช้ภาษาหรือคำพูด
เพศหญิงตรวจเต้านมต่อมน้ำเหลือง อวัยวะเพศหญิง
เพศชายตรวจอวัยวะเพศชายตรวจอาการ และอาการแสดงของการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคเอดส์
10.)แบบแผนการปรับตัวและแบบแผนการปรับตัวและการเผชิญความเครียด
เป็นแบบแผนที่เกี่ยวกับการรับรู้ลักษณะอารมณ์พื้นฐานและการรับรู้เกี่ยวกับความเครียด
การซักประวัติ
ข้อมูลทั่วไป เช่น อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้สารภาพการสมรส ความสัมพันธ์ในครอบครัว
สัมภาษณ์เกี่ยวกับลักษณะอุปนิสัยหรืออารมณ์พื้นฐานของผู้ป่วย
การตรวจร่างกาย
ตรวจสอบพฤติกรรมที่บ่งชี้ถึงความเครียดความเศร้าความวิตกกังวล
เช่น สีหน้าหมกมุ่น ขมวดคิ้ว สังเกตุอาการต่างๆ เช่น เหงื่อออกมาก หน้าซีด หรือหน้าแดง
11.)แบบแผนคุณค่าและความเชื่อ
เป็นแบบแผนเกี่ยวกับความเชื่อความศรัทธาความมั่นคงเข้มแข็งทางด้านจิตใจมีความหมายต่อชีวิตสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ
การซักประวัติ
ความเชื่อความผูกพันความศรัทธาที่มีต่อสิ่งต่างๆเช่น ความดีงาม ความถูกต้อง ศาสนา
สิ่งสำคัญในชีวิตหรือสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ
ความหวังหรือเป้าหมายในชีวิต ค่านิยมขนบธรรมเนียมประเพณี
การตรวจร่างกาย
สังเกตพฤติกรรมที่แสดงออกทางสีหน้า กริยา รวมทั้งอาการแสดงออกทางอารมณ์
สังเกตุการแสดงออกเกี่ยวกับความเชื่อ เช่น
การมีพุทธรูป สร้อยพระ หรือมีวัตถุมงคล
การบันทึกข้อมูลการประเมินภาวะสุขภาพตามแบบแผน
จะมีอยู่ 2 แบบคือ
การเก็บข้อมูลแบบอัตนัย (Subjective Date)
การเก็บข้อมูลแบบอัตนัยเป็นการเก็บข้อมูลที่ผู้ป่วยให้ข้อมูลเรามา
การเก็บข้อมูลแบบปรนัย (Objective Data )
การเก็บข้อมูลแบบปรนัยเป็นการเก็บข้อมูลที่ได้จากการสังเกตตัวผู้ป่วยเอง