Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Pregnancy with Urinary Tract Infection - Coggle Diagram
Pregnancy with Urinary Tract Infection
ข้อมูลส่วนตัวผู้ป่วย
หญิงตั้งครรภ์ อายุ 31 ปี อายุครรภ์ 31+5 weeks by date LMP 15 กันยายน 2564 x 3 days EDC 22 มิถุนายน 2565 ฝากครรภ์ที่ศูนย์วัดธาตุทอง จำนวน 6 ครั้ง
อาการสำคัญ ( Chief complaint) : ปัสสาวะกระปริดกระปรอย 2 วันก่อนมาโรงพยาบาล
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน (Present Illness) : 2 วันก่อนมารพ. มีอาการปัสสาวะกระปริดกระปรอย ปัสสาวะมากขึ้น ปัสสาวะแล้วมีอาการเสียว ไม่มีแสบขัด มีท้องแข็งเล็กน้อย ANC ที่คลีนิค วัดธาตุทองครบกำหนดย้ายมาฝากครรภ์ที่รพ.ตำรวจตามนัด ตรวจปัสสาวะพบติดเชื้อจึง Admit
ประวัติการตั้งครรภ์และการคลอดในอดีต : ครรภ์ที่ 1 เมื่อปี 2554 Full term Normal labor เพศชาย 3,300 gm. ที่รพ.สุรินทร์ ไม่มีภาวะแทรกซ้อน
ครรภ์ที่ 2 เมื่อปี 2557 Full term Normal labor เพศหญิง 3,100 gm. ที่รพ.มวกเหล็ก ไม่มีภาวะแทรกซ้อน
ประวัติการได้รับวัคซีน
บาดทะยัก : ครบ 3 เข็มเมื่อปี 2557
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ : 17 กุมภาพันธ์ 2565
ผลการตรวจครรภ์ทางหน้าท้อง
การดู
linea nigra สีน้ำตาลเข้ม, มี striae gravidarum
การคลำ
Fundal grip : 3⁄4 เหนือสะดือ
Umbilical grip : OL position
Pawlik’s grip : HF (head float) : ส่วนนำทารกยังไม่ลงสู่ช่องเชิงกราน Vx (Vertex presentation) : ส่วนนำเป็นศีรษะ
Bilateral inguinal grip : HF (head float) : ส่วนนำทารกยังไม่ลงสู่ช่องเชิงกราน
การฟัง
FHS (fetal heart sound) = 148 bpm
ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว : ปฏิเสธ
ประวัติการผ่าตัด : ปฏิเสธ
ประวัติการใช้สารเสพติด : ปฏิเสธ
ประวัติการแพ้ยา : ปฏิเสธ
ประวัติแพ้อาหาร : แพ้กุ้ง
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต : ผู้ป่วยเป็น Cystitis เดิมเป็นๆหายๆ
สัญญาณชีพแรกรับ (19/04/65) อุณหภูมิ 37.6 องศาเซลเซียส, อัตราการเต้นของหัวใจ 84 ครั้ง/นาที, อัตราการหายใจ 18 ครั้ง/นาที, ความดันโลหิต 103/63 mmHg, O2 saturation 100%
การตรวจร่างกายผู้ป่วย
ศีรษะ : ผมยาวสีดำ สะอาด ไม่มีรังแคและเหา
ตา : เปลือกตาทั้ง 2 ข้างไม่บวม เยื่อบุตาทั้ง 2 ข้างไม่ซีด มองเห็นชัดเจน ไม่มีตาพร่ามัว
จมูก : จมูกไม่บวม ไม่มีน้ำมูก ไม่คัดจมูก ได้กลิ่นปกติ ไม่มีหายใจลำบาก
เหงือกและฟัน : ปากชุ่มชื้น ไม่มีฟันผุ ไม่มีเหงือกบวมหรือเหงือกอักเสบ
ปอด : Clear and Equal breath sound both lung
หัวใจ : Normal S1S2, No murmur
ต่อมไทรอยด์ : ไม่พบต่อมไทรอยด์บวมโต
เต้านม : เต้านมทั้งสองข้างสมมาตรกัน หัวนมทั้งสองข้างมีขนาดเท่ากัน หัวไม่มีบอดหรือบุ๋ม ไม่มีก้อนเจ็บ ไม่มีการอักเสบบริเวณเต้านม และต่อมน้ำเหลือง
อวัยวะสืบพันธุ์ : ลักษณะปกติ
ขาและเท้า : ไม่พบความผิดปกติของกระดูก ขาและเท้าไม่บวม สามารถเคลื่อนไหวได้ปกติ ไม่พบอาการของเส้นเลือดขอด
ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ANC
Blood group : AB Rh positive, Hematocrit 36.7 %, Hemoglobin 11.7 g/dL, MCV 92.2%, Hb typing = normal, HBsAg = Negative, Syphilis Ab = Normal, Anti HIV = Negative
ยาที่ผู้ป่วยได้รับ
Paracetamol 500 mg. Tab. รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง ทุก 6 ชั่วโมง เวลาปวด หรือมีไข้
บรรเทาอาการปวดและลดไข้
ผลข้างเคียง ใจสั่น อุจจาระสีดำ ผื่นขึ้น
Natural 30 mg. รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง หลังอาหาร เช้า
ช่วยป้องกันภาวะโลหิตจาง การขาดแคลเซียมและแร่ธาตุอื่นๆ สำหรับสตรีตั้งครรภ์
ผลข้างเคียง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หายใจไม่สะดวก
Ceftriaxone IV 2 gm. ทุก 24 ชั่วโมง 6 วัน
รักษาการติดเชื้อ ฆ่าเชื้อแบคทีเรียในร่างกายด้วยการทำลายผนังเซลล์ทำให้แบคทีเรียตาย
ผลข้างเคียง มีอาการบวมแดง เจ็บปวดบริเวณที่ถูกฉีดยา ท้องร่วง คลื่นไส้ อาเจียน
Calcium 600 mg.+Vit D3 200 IU รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง หลังอาหาร เช้า
สำหรับเสริมแคลเซียมและวิตามินดีสำหรับผู้ที่มีภาวะขาดแคลเซียมและวิตามินอี หรือมีความเสี่ยงในการขาด ป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน เพื่อสร้างกระดูกให้แข็งแรง
ผลข้างเคียง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด ท้องเฟ้อ ง่วงซึม
Amoxycilin 500 mg. รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเช้า เย็น 3 วัน
รักษาการติดเชื้อ ฆ่าเชื้อแบคทีเรียในร่างกายด้วยการทำลายผนังเซลล์ทำให้แบคทีเรียตาย
ผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปากเปื่อย ลิ้นเปื่อย จุกแน่นท้อง ท้องเดิน เหนื่อย อ่อนเพลีย ตัวเหลืองตาเหลือง มีเลือดออกหรือฟกช้ำง่ายกว่าปกติ ชัก
พยาธิ
การติดเชื้อระบบปัสสาวะระหว่างการตั้งครรภ์
( Urinary Tract Infection during pregnancy )
พยาธิ
สาเหตุ
ชนิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
การวินิจฉัย
อาการและอาการแสดง
ผลกระทบ
แนวทางการรักษา
1 more item...
ต่อหญิงตั้งครรภ์
1 more item...
ต่อทารก
1 more item...
Lower UTI
ปัสสาวะแสบขัด
ปัสสาวะขุ่น
ปัสสาวะมีเลือดปนร่วมกับปวดบริเวณหัวเหน่า
ปัสสาวะบ่อย
ปัสสาวะกลางคืน
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
ปัสสาวะไม่พุ่ง
ปัสสาวะออกช้า
Upper UTI
ไข้สูง
หนาวสั่น
ปวดปั้นเอว
เบื่ออาหาร
อ่อนเพลีย
คลื่นไส้ อาเจียน
หากรุนแรงอาจมีอาการของภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด
หญิงตั้งครรภ์มีอาการ มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดหลังบริเวณบั้นเอว ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบ ปัสสาวะขุ่น
การซักประวัติ
อาการและอาากรแสดงของการติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์
เช่น ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะไม่สุด ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะกระปริดกระปรอย กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะเป็นเลือด
การตรวจร่างกาย
มีไข้
ปวดบริเวณท้องน้อยเหนือหัวหน่าว
พบปัสสาวะสีขุ่น มีตะกอน สีน้ำล้างเลือด
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจ Urine analysis พบ WBC สูงกว่าปกติ
Neutrophil สูงกว่าปกติ พบ Bacteria ในปัสสาวะ
ตรวจ Urine culture พบ เชื้อแบคทีเรีย
1 more item...
หญิงตั้งครรภ์มีไข้ และพบปัสสาวะสีขุ่น
หญิงตั้งครรภ์ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะกระปริดกระปรอย ปวดบั้นเอว
แบ่งตามตำแหน่งของการติดเชื้อ
—> Upper UTI
pyelonephritis (กรวยไตอักเสบ)
renal abscess (หนองในไต)
—> Lower UTI
complicated UTI
uncomplicated UTI
แบ่งตามภาวะร่วมของผู้ป่วย
—> Complicated UTI
การติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ภาวะภูมิคุ้มกันผิดปกติ
—> Uncomplicated UTI
การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยที่ไม่มีความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ
หญิงตั้งครรภ์ อยู่ใน Complicated UTI
ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ E.coli ที่ปนเปื้อนมากับอุจจาระและเข้าสู่ท่อปัสสาวะภายหลังการอุจจาะและทำความสะอาดไม่ถูกวิธี เช่น เช็ดย้อน การมีเพศสัมพันธ์
มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและระดับฮอร์โมน Progesterone ที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีการคลายตัวของท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะซึ่งทำให้ง่ายต่อการติดเชื้อ
หญิงตั้งครรภ์จะมีปัสสาวะคงค้างในกระเพาะปัสสาวะมากกว่าปกติ ซึ่งมีผลให้เกิดการสะสมและมีการเจริญเติบโตของแบคทเรีย
ระบบภูมิต้านทานของร่างกายทำงานช้าลงเมื่อมีการ
ตั้งครรภ์ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
หญิงตั้งครรภ์ GA 31+5 wks มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและระดับฮอร์โมน Progesterone ที่เพิ่มขึ้นจากการตั้งครรภ์ ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
มีสุขนิสัยกลั้นปัสสาวะเป็นประจำขณะค้าขาย
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายขณะต้ังครรภ์ส่งเสริมให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ (UTI) และการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะซ้ำ (recurrent urinary tract infection [rUTI]) ได้ เนื่องจากขณะตั้งครรภ์ ร่างกายมีการผลิตฮอร์โมน progesterone มาก ทำให้ความตึงตัวของท่อไตและกระเพาะปัสสาวะลดลง เกิดการขยายตัวของท่อไตและกระเพาะปัสสาวะ ส่งผลให้ปัสสาวะสามารถคั่งค้าง อยู่ในท่อไตและกระเพาะปัสสาวะมากกว่าปกติ นอกจากน้ีปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์จะไหลผ่านไตมากขึ้น ไตจึงไม่สามารถกรองสารอาหารท่ีมีอยู่ในเลือดกลับคืนสู่ร่างกายได้หมด จึงอาจทำให้มีกลูโคส โปรตีน และกรดอะมิโน หลุดลอดออกมาอยู่ในปัสสาวะ ส่งเสริมให้เชื้อโรคเจริญ ในปัสสาวะ อีกทั้งขณะต้ังครรภ์ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานลดลง เมื่อเชื้อโรคเข้าสู้ทางเดินปัสสาวะจึงทำให้เกิด UTI ได้ง่าย
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่ 1 : หญิงตั้งครรภ์มีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
ข้อมูลสนับสนุน
Subjective Data (SD) : - ปวดบั้นเอว ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะกระปริดกระปรอย ปัสสาวะแสบ
Objective Data (OD) : - ผลการตรวจ Urinalysis (19/04/65) พบ WBC > 100 /HPF , Bacteria : Numerous
-ผล gram stain urine (19/04/65) พบ gram Negative Bacilli (Rare)
25/04/65 อุณหภูมิร่างกาย 38 องศาเซลเซียส
วัตถุประสงค์
เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์หายจากภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
เกณฑ์การประเมินผล
Vital sign อยู่ในเกณฑ์ปกติ อุณหภูมิร่างกาย 36.5 - 37.4 °C, อัตราการเต้นของหัวใจ 60 - 100 bpm, ความดันโลหิต < 140/90 mmHg, อัตราการหายใจ 16 - 20 bpm , Oxygen saturation มากกว่าเท่า 95 %
ไม่มีอาการและอาการของภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น มีไข้ หนาวสั่น ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย ปวดหัวหน่าว บั้นเอว เป็นต้น
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ Urinalysis ไม่พบ WBC (not found) , Bacteria (not found) , gram stain ไม่พบเชื้อ
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย โดยเฉพาะอุณหภูมิร่างกาย ค่าปกติ 36.5 - 37.4 °C ถ้าอุณหภูมิร่างกาย > 37.5 °C ให้เช็ดตัวลดไข้ และหากอุณหภูมิร่างกาย > 38.0 °C ให้เช็ดตัวลดไข้ และดูแลให้ได้รับยา paracetamol Tab. รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง ทุก 6 ชั่วโมง เวลาปวด หรือมีไข้ บรรเทาอาการปวดและลดไข้ ผลข้างเคียง ใจสั่น อุจจาระสีดำ
รักษา
ล้างมือให้สะอาดตามหลัก Hand hygiene 5 moments
• ก่อนสัมผัสผู้ป่วย
• ก่อนทำหัตถการ
• หลังสัมผัสอุปกรณ์และสารคัดหลั่งผู้ป่วย
• หลังสัมผัสผู้ป่วย
• หลังสัมผัสสิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้ป่วย
แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ตัดเล็บและล้างมือก่อนทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ทุกครั้ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
และทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ุทุกครั้งหลังขับถ่าย เพื่อป้องกันการสะสมของแบคทีเรียที่อาจส่งผลให้ติดเชื้อได้ โดยเช็ดจากหน้าไปหลัง ไม่เช็ดย้อนขึ้น
แนะนำหญิงตั้งครรภ์ไม่ให้กลั้นปัสสาวะ หากต้องการปัสสาวะ ให้ปัสสาวะทันที เพราะน้ำปัสสาวะที่คั่งค้างในกระเพาะปัสสาวะอาจเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค และทำให้การทำงานของหูรูดปัสสาวะเสียไป
แนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำวันละ 2-3 ลิตร หากไม่มีข้อจำกัดในการรับประทานน้ำ เพราะเป็นปริมาณที่เพียงพอสำหรับการขับปัสสาวะ แต่ไม่ทำให้ปัสสาวะเจือจางจนมีผลต่อระดับยาปฏิชีวนะในกระแสโลหิตให้อยู่ในระดับคงที่เพื่อฆ่าเขื้อโรคได้
ดูแลให้ หญิงตั้งครรภ์พักผ่อนเพราะเป็นการลดอัตราการเผาผลาญภายในเซลล์ ลดการทำงานของกล้ามเนื้อ เป็นการลดการผลิตความร้อน ทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลง
ดูแลให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับยาปฏิชีวนะ คือ ยา Amoxycilin 500 mg. รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเช้า เย็น 3 วัน ผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เหนื่อย อ่อนเพลีย มีเลือดออกหรือฟกช้ำง่ายกว่าปกติ และดูแลให้ได้รับยา paracetamol Tab. รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง ทุก 6 ชั่วโมง เวลาปวด มีไข้ ผลข้างเคียง ใจสั่น อุจจาระดำ
ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ Urinalysis ได้แก่ WBC , Bacteria , Gram stain
การประเมินผล
สัญญาณชีพ (27/04/65) อุณหภูมิร่างกาย 36.6 °C, อัตราการเต้นของหัวใจ 80 bpm, ความดันโลหิต 108/74 mmHg, อัตราการหายใจ 18 bpm , Oxygen saturation 98 %
ไม่มีอาการและอาการของภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น มีไข้ หนาวสั่น ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย ปวดหัวหน่าว บั้นเอว
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ Urinalysis (27/04/65) WBC (not found) , Bacteria (not found) , gram stain ไม่พบเชื้อ
ข้อวินิการพยาบาลข้อที่ 2 : หญิงตั้งครรภ์มีโอกาสคลอดก่อนกำหนดเนื่องจากหญิงตั้งครรภ์มีภาวะติดเชื้อ
Subjective Data (SD) : หญิงตั้งครรภ์บอกว่ามีปัสสาวะออกกะปริบกะปรอยและแสบขัดปัสสาวะ มีไข้ และปวดบั้นเอว
Objective Data (OD) : -
วัตถุประสงค์ : เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด
เกณฑ์การประเมิน
ไม่มีอาการเจ็บครรภ์คลอดจริง มดลูกไม่หดรัดตัว ทุก 10 นาที (น้อยกว่า 3 ครั้งใน30 นาที)หดรัดตัวครั้งหนึ่งไม่เกิน 30 นาที ปากมดลูกไม่เปิดเพิ่มขึ้น ไม่มีสิ่งขับหลั่ง เช่นมูกปนเลือด น้ำคร่ำ ออกจากช่องคลอด
ลูกดิ้นมากกว่า 10 ครั้งต่อวัน
ไม่มีมูกเลือดสด ไม่มีน้ำเดิน
กิจกรรมการพยาบาล
แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ สังเกตอาการผิดปกติด้านหญิงตั้งครรภ์ เจ็บครรภ์ถี่ มดลูกหดรัดตัว ทุก 10 นาที และเป็นเวลานาน มีมูกเลือดสดทางช่องคลอดปริมาณมาก มีน้ำเดิน ด้านทารก ลูกดิ้นน้อยลง หรือดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้งต่อวัน ให้รีบมาพบแพทย์
แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ นับลูกดิ้น ลูกจะต้องดิ้นมากกว่า10ครั้งต่อวันนึง นับหลังจากอาหารเช้า 1 ชั่วโมงหลังอาหารเที่ยง 1 ชั่วโมง ตอนเย็น ตั้งแต่หลังอาหารถึงก่อนนอน ซึ่งรวมกันแล้วเช้าเที่ยงเย็นให้ได้มากกว่า 10 ครั้งต่อวัน ให้นับไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งหญิงตั้งครรภ์คลอด
แนะนำให้ปรับเปลี่ยนท่าหญิงตั้งครรภ์ ให้หญิงตั้งครรภ์ นอนตะแคงซ้ายเพื่อกระตุ้นให้เลือดไปเลี้ยงทารกได้ดีขึ้น
แนะนำหญิงตั้งครรภ์ให้รับประทานอาหารที่มีกากใย และดื่มน้ำ วันละ 2 ลิตร ป้องกันภาวะภาวะท้องผูกเพราะอาจทำให้เกิดแรงดันในช่องท้อง
แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ใช้กำลังมาก หรือยกของที่มีน้ำหนักมาก งดกิจกรรมที่กระแทกบริเวณท้องน้อย เพื่อป้องกันการเพิ่มแรงดันในช่องท้อง
ให้หญิงตั้งครรภ์ พักผ่อนให้เพียงพอ นอนวันละ 8-10 ชั่วโมง
ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมีต่าง ๆ เช่น น้ำยาทำความสะอาดที่ผสมสารเคมี
การประเมินผล
ไม่มีอาการเจ็บครรภ์คลอดจริง ไม่มีสิ่งขับหลั่ง เช่น มูกปนเลือด น้ำคร่ำ
ลูกดิ้นมากกว่า 10 ครั้งต่อวัน
ไม่มีมูกเลือดสด ไม่มีน้ำเดิน
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 3 : หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มเนื่องจากร่างกายอ่อนเพลียจากปัสสาวะในช่วงกลางคืนบ่อย
ข้อมูลสนับสนุน
Subjective Data (SD) : - หญิงตั้งครรภ์บอกว่ามีอาการวิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย
-หญิงตั้งครรภ์บอกว่าตอนกลางคืนปวดปัสสาวะ ลุกมาปัสสาวะบ่อย
Objective Data (OD) : -หญิงตั้งครรภ์มีสีหน้าอ่อนเพลีย
วัตถุประสงค์ : เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการพลัดตกหกล้ม
เกณฑ์การประเมินผล
หญิงตั้งครรภ์ไม่มีอาการหน้ามืด เวียนศีรษะ ไม่มีอาการขาดสารน้ำสารอาหาร(Dehydration) เช่น ปากแห้ง ตาแห้ง ปัสสาวะสีเข้ม
หญิงตั้งครรภ์มีแรง ไม่มีอาการอ่อนเพลีย
นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้หญิงตั้งครรภ์ ได้รับการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ โดยทำหัตถการและการพยาบาล ให้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน
จัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการพักผ่อน ลดแสงและเสียงที่รบกวน
ดูแลให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับน้ำและอาหารตามแผนการรักษาของแพทย์
ดูแลให้หญิงตั้งครรภ์พักผ่อนบนเตียงให้อย่างเพียงพอ ยกไม้กั้นเตียงขึ้น ปรับเตียงให้ต่ำทุกครั้งหลังให้การพยาบาลเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้ม
ช่วยเหลือหญิงตั้งครรภ์เมื่อต้องการความช่วยเหลือ
ดูแลหญิงตั้งครรภ์ขณะไปเข้าห้องน้ำทุกครั้ง หรือคอยดูเวลาหญิงตั้งครรภ์เดินไปเข้าห้องน้ำเอง เพื่อป้องกันการหกล้มระหว่างทาง
จัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบ มีแสงสว่างเพียงพอเพื่อป้องกันการพลัดตกหกลัม และจัดของให้หญิงตั้งครรภ์สามารถหยิบใช้งานได้สะดวก
การประเมินผล
หญิงตั้งครรภ์นอนหลับพักผ่อนได้ดีขึ้น
หญิงตั้งครรภ์มีสีหน้าสดชื่นขึ้น อาการอ่อนเพลียลดลง
หญิงตั้งครรภ์ไม่มีอาการวิงเวียนหน้ามีด
หญิงตั้งครรภ์ไม่เกิดการพลัดตกหกลล้ม
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 4 : หญิงตั้งครรภ์มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพทารกในครรภ์
ข้อมูลสนับสนุน
Subjective Data (SD) : หญิงตั้งครรภ์ถามเกี่ยวกับพยาธิสภาพของโรคที่ส่งผลต่อลูก
Objective Data (OD) : หญิงตั้งครรภ์มีสีหน้าวิตกกังวล
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความวิตกกังวลลดลง
เกณฑ์การประเมิน
หญิงตั้งครรภ์มีสีหน้าคลายความวิตกกังวล
หญิงตั้งครรภ์เข้าใจเกี่ยวกับโรคและแผนการรักษา
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินความรู้สึก การแสดงออกของหญิงตั้งครรภ์ ทั้งคำพูดและพฤติกรรม
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับหญิงตั้งครรภ์ แนะนำตนเองด้วยท่าทีที่เป็นมิตร เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์เกิดความไว้วางใจ
พูดคุยกับหญิงตั้งครรภ์ด้วยความนุ่มนวล อ่อนโยนและรับฟังหญิงตั้งครรภ์
อธิบายและให้ข้อมูลหญิงตั้งครรภ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของทารกในครรภ์ที่เกิดขึ้นและแนวทางการรักษาของแพทย์
ให้กำลังใจ และให้โอกาสหญิงตั้งครรภ์ระบายความรู้สึก แสดงท่าทีที่เห็นอกเห็นใจ
ปฏิบัติต่อหญิงตั้งครรภ์ให้เห็นว่เต็มใจในการดูแลโดยไม่มีคำพูดหรือท่าทางแสดงที่ไม่ดี
การประเมินผล
หญิงตั้งครรภ์มีหน้าตาสดชื่น
หญิงตั้งครรภ์บอกว่าเข้าใจโรคและแผนการรักษา
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 5 : หญิงตั้งครรภ์มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับค่ารักษาในโรงพยาบาล เนื่องจากระยะเวลารักษาค่อนข้างนาน
ข้อมูลสนับสนุน
Subjective Data (SD) : -หญิงตั้งครรภ์บอกว่า ไม่ทราบว่าจะต้องอยู่โรงพยาบาลนาน
Objective Data (OD) : -หญิงตั้งครรภ์มีสีหน้าวิตกกังวล
-หญิงตั้งครรภ์ admit ตั้งแต่วันที่ 19/04/65 - 27/04/65
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความวิตกกังวลลดลง
เกณฑ์การประเมิน
หญิงตั้งครรภ์มีสีหน้าคลายความวิตกกังวล
หญิงตั้งครรภ์เข้าใจเกี่ยวกับแผนการรักษา
กิจกรรมการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพกับหญิงตั้งครรภ์ โดยการซักถาม พูดคุย เพื่อสร้างความคุ้นเคยและไว้วางใจ
แสดงออกถึงความเป็นมิตร การเต็มใจให้ความช่วยเหลือ แสดงออกถึงความเข้าใจ รับฟังและให้กำลังใจแก่หญิงตั้งครรภ์
อธิบายให้เข้าใจถึงกระบวนการติดเชื้อขณะตั้งครรภ์แนวทางการรักษาและการปฏิบัติตัว อธิบายวัตถุประสงค์การพยาบาลและแจ้งให้ทราบทุกครั้งก่อนให้การพยาบาลทุกครั้งเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์เข้าใจและคลายความวิตกกังวล
เปิดโอกาสให้หญิงตั้งครรภ์แสดงความรู้สึก โดยให้โอกาสได้พูด ซักถามพร้อมทั้งรับฟังหญิงตั้งครรภ์ด้วยความตั้งใจ
สอบถามเกี่ยวกับสิทธิ์การรักษาของหญิงตั้งครรภ์ และแนะนำให้ใช้สิทธิ์การรักษาในการจ่ายค่ารักษาครั้งนี้
การประเมินผล
หญิงตั้งครรภ์มีหน้าตาสดชื่น
หญิงตั้งครรภ์บอกว่าเข้าใจแผนการรักษา
ความหมาย
การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเป็นปัญหาหนึ่งที่พบบ่อยในขณะตั้งครรภ์ ทั้งนี้เนื่องจากการตั้งครรภ์ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ซึ่งระบบทางเดินปัสสาวะเป็นระบบหนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลง ในขณะตั้งครรภ์ การเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินปัสสาวะเป็นผลมาจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรนที่สูงขึ้น การถูกกดของกระเพาะปัสสาวะและท่อไตจากการขยายตัวของมดลูก ตลอดจน ปริมาณเลือดไหลเวียนที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านั้นล้วนเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อทางเดิน ปัสสาวะในขณะตั้งครรภ์ สามรถนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนของทารกในครรภ์และมารดาได้แก่ น้ำหนักตัวน้อย การคลอดก่อนกำหนด หรือทารกเจริญเติบโตช้ในครรภ์ การคัดกรองการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะโดย การเพาะเชื้อเป็นสิ่งจำเป็นที่พยาบาลและบุคลากรทางด้านสุขภาพจะต้องให้ความสำคัญแก่สตรีตั้งครรภ์ ในการมาฝากครรภ์ครั้งแรก หากพบว่ามีแบคที่เรียในปัสสาวะ สตรีตั้ครรภ์ควรได้รับการรักษาทันที ซึ่งจะสามารถลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นแก่มารดาและทรกในครรภ์ได้เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุด คือการป้องกันการเกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะไม่ให้ เกิดขึ้น ซึ่งวิธีการได้แก่เรื่องของสุขอนามัย การแต่งกาย การดื่มน้ำและอาหาร การขับถ่ายปัสสาวะ การใช้ยาปฏิชีวนะและการดูแลสุขภาพของร่างกายให้แข็งแรงจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้น การมา รับบริการตรวจครรภ์ในสถานบริการพยาบาลเป็นประจำของสตรีตั้งครรภ์ ทั้งนี้เพราะสตรีตั้งครรภ์จะได้ รับการประเมินภาวะสุขภาพ การตรวจรักษาและได้รับการพยาบาลได้อย่างทันท่วงที่ซึ่งจะส่งผลให้ มารดาและทารกในครรภ์มีภาวะสุขภาพที่ดี
การพยาบาล
ระยะคลอด
ให้การพยาบาลเช่นเดียวกับผู้คลอดทั่วไปและเน้นเรื่องการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกทุกครั้งหลังการขับถ่าย
ระยะหลังคลอด
การป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและการป้องกันการกลับเป็นช้ำ
ให้คำแนะนำเช่นเดียวกับคำแนะนำเพื่อป้องกันการติดเชื้อในขณะตั้งครรภ์
ระยะตั้งครรภ์
3.1 พักผ่อนอย่างเพียงพอ โดยแนะนำให้นอนตะแคงเพื่อไม่ให้มดลูกไปกดทับท่อไต
3.2 ดื่มน้ำวันละ 8-10 แก้ว หรือ 2,000-3,000 มิลลิลิตร และไม่กลั้นปัสสาวะ
3.3 ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายโดยเฉพาะอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
3.4 ในรายที่ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ให้ความรู้แก่สตรีตั้งครรภ์ถึงความจำเป็นของ
3.5 แนะนำให้สังเกตอาการผิดปกติที่ต้องรีบมาพบแพทย์
กรณีที่มีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและได้รับการรักษาติดตามการเปลี่ยนแปลงของโรครวมทั้งสังเกตอาการผิดปกติ
เน้นความสำคัญของการมาตรวจครรภ์ตามนัดอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
กรณีที่ต้องรับเข้ารักษาในโรงพยาบล
5.1 อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์เข้าในถึงความจำเป็นในการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล
5.2 ดูแลให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ แนะนำให้นอนตะแคงเพื่อไม่ให้มดลูกกดทับท่อไต
5.3 ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่ว โมง เพื่อประเมินการติดเชื้อในร่างกาย
5.4 ประเมินสียงหัวใจของทารกและการดิ้นของทารกเพื่อประเมินสภาวะของทารกในครรภ์
5.5 สังกตและบันทึกปริมาณสารน้ำเข้าและออกจากร่างกาย
5.6 ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา
5.7 ให้การพยาบาลเพื่อบรรเทาความไม่สุขสบาย
5.8 ดูแลประดับประคองจิตใจ ในรายที่มีอาการรุนแรง
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินของโรค ภาวแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับสตรีตั้งครรภ์และทารก
การวางแผนการจำหน่ายกลับบ้าน D-METHOD
D : Diagnosis
Pregnancy with UTI : ติดชื้อทางเดินปัสสาวะขณะตั้งครรภ์
เกิดจาก ฮอร์โมนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทางเดินปัสสาวะง่ายต่อการติดเชื้อ และเนื่องจากมดลูกอยู่บนกระเพาะปัสสาวะ เมื่อมดลูกขยายตัวจะทำให้เพิ่มแรงกดทับบริเวณทางเดินปัสสาวะ ซึ่งอาจทำให้ขัดขวางการขับถ่ายปัสสาวะจากกระเพาะปัสสาวะ เป็นเหตุให้เกิดการติดเชื้อได้
ปัจจัยเสี่ยง
การเช็ดทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์
การเปลี่ยนแปลงสรีระร่างกาย
อาการ
มีไข้
ปัสสาวะแสบขัด
ปัสสาวะขุ่น
ปัสสาวะมีเลือดปนร่วมกับปวดบริเวณหัวเหน่า
ปัสสาวะบ่อย
แนะนำการปฏิบัติ
การปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้าน สังเกตอาการติดเชือ้ทางเดินปัสสาวะซ้ำ เช่น ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะขุ่น ปัสสาวะมีเลือดปนร่วมกับปวดบริเวณหัวเหน่า ปัสสาวะบ่อย
ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว เพื่อลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย
ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์จากหน้าไปหลัง และให้แห้งไม่อับชื้น
M : Medication
เนื่องจากหญิงตั้งครรภ์มี plan discharge แต่ยังไม่ทราบวันกลับที่แน่ชัด จึงยังไม่ทราบยากลับบ้าน
E : Environment
จัดสิ่งแวดล้อมรอบข้างหญิงตั้งครรภ์ให้สะอาด ป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำ
จัดสิ่งของรอบข้างหญิงตั้งครรภ์ให้เป็นระเบียบ และไม่ขวางทาง เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุต่อตัวหญิงตั้งครรภ์
ควรมีราวจับในห้องน้ำ และพื้นของห้องน้ำไม่ควรเป็นพื้นที่ลื่น เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุการพลัดตกหกล้ม
T : Treatment
ดื่มน้ำสะอาดวันละ 6-8 แก้ว เพื่อลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียที่กระเพาะปัสสาวะ
ควรปัสสาวะเมื่อรู้สึกปวดปัสสาวะ ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ เพราะจะทำให้เกิดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียที่กระเพาะปัสสาวะ
ทำความสะอาดอวัยสืบพันธุ์ทุกครั้งหลังการขับถ่าย โดยเช็ดจากบนลงล่าง ไม่ควรเช็ดย้อนขึ้นมา
H : Health
ควรถ่ายปัสสาวะทุกครั้งที่รู้สึกปวด ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ เพราะจะทำให้เชื้อแบคทีเรียสามารถเกาะผนังของกระเพาะปัสสาวะและเริ่มเจริญเติบโตได้
ควรขับปัสสาวะโดยเร็วหากมีเพศสัมพันธ์ (ภายใน 30 นาที) เพื่อช่วยขับไล่เชื้อแบคทีเรียไม่ให้เคลื่อนตัวขึ้นไปบริเวณท่อปัสสาวะ
ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธ์ุหรือภายหลังการขับถ่ายให้สะอาดทุกครั้ง โดยทำความสะอาดจากด้านหน้าไปด้านหลังเสมอ เพื่อป้องกันเชื้อโรคปนเปื้อนผ่านเข้าท่อปัสสาวะเข้ามาในกระเพาะปัสสาวะ ไม่ควรเช็ดย้อนขึ้นมา หากพบว่ายังเช็ดอวัยวะสืบพันธ์ุไม่แห้งสะอาด และกระดาษชำระแผ่นนั้นเช็ดผ่านไปบริเวณด้านหลังแล้ว ให้ทิ้งไป และใช้กระดาษชำระที่สะอาดแผ่นใหม่เช็ด
ไม่ควรใช้สเปรย์หรือยาดับกลิ่นในบริเวณอวัยวะสืบพันธ์ุ เพราะอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อปากท่อปัสสาวะและปากช่องคลอด ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสเกิดการบาดเจ็บและการ
ติดเชื้อ
หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้ารัดรูป และการสวมถุงน่องเป็นเวลานาน แนะนำให้สวมกางเกงชั้นในที่เป็นผ้าฝ้าย เนื่องจากระบายอากาศได้ดี
ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง เพราะอาจทำให้ยาที่ได้ไม่ตรงกับชนิดของโรค หรือขนาดและระยะเวลาในการใช้ยาไม่ถูกต้อง จึงส่งผลให้โรคไม่หาย จนกลายเป็นโรคเรื้อรังจากเชื้อดื้อยาได้
หากจำเป็นต้องใช้ชักโครกสาธารณะ หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับฝาโถชักโครก หลีกเลี่ยงการสัมผัสของอวัยวะสืบพันธุ์
ขณะทำงานหากต้องนั่งทำงานเป็นเวลานาน แนะนำให้เปลี่ยนท่าไปมา เพื่อให้ร่างกายได้ขยับ ลดการสะสมแบคทีเรีย
กรณีที่ไม่สามารถไปเข้าห้องน้ำได้ แนะนำให้ใส่แพมเพิสแบบสวมของผู้ใหญ่ เพื่อป้องกันการกลั้นปัสสาวะ และควรเปลี่ยนและทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ 1-2 ชั้วโมง ไม่ควรทิ้งไว้เป็นเวลานาน
O : Out patient
หญิงตั้งครรภ์เข้าใจและทราบถึงการมาตรวจตามนัด การติดต่อขอความช่วยเหลือเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน แนะนำอาการที่ผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์ เช่น อาการปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อยมากกว่าปกติ ปัสสาวะเป็นเลือด เจ็บครรภ์ถี่ ท้องแข็ง มีน้ำคร่ำรั่วก่อนกำเนิด มีมูกเลือด เป็นต้น
D : Diet
ดื่มน้ำสะอาดและดื่มในปริมาณมาก โดยอาจเริ่มจากการดื่มน้ำเพิ่มจากเดิม 1 แก้วทุกมื้ออาหาร หรือดื่มน้ำประมาณ 6 - 8 แก้วต่อวัน หากพบว่าปัสสาวะที่ออกมามีสีเหลืองเข้ม หมายความว่าดื่มน้ำไม่เพียงพอ ต้องเพิ่มการดื่มน้ำมากขึ้น เพื่อช่วยทำความสะอาดกระเพาะปัสสาวะ ลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย
หลีกเลี่ยงสารอาหารที่ระคายเคืองต่อกระเพาะปัสสาวะ เช่น ชากาแฟ แอลกอฮอล์ น้ำอัดลม