Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แบบแผนสุขภาพ (Functional health patterns) - Coggle Diagram
แบบแผนสุขภาพ
(Functional health patterns)
ความหมายของแบบแผนสุขภาพ
แบบแผน
พฤติกรรมของบุคคลที่ต่อเนื่องกันในช่วงเวลาหนึ่ง
แบบแผนสุขภาพ
พฤติกรรมด้านสุขภาพของบุคคลซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง และมีผลต่อสุขภาพ
11-แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน
แบบแผนการรับรู้สุขภาพและการดูแลสุขภาพ
(Health Perception-Health Management Patterns)
แนวทางการประเมินการรับรู้ภาวะสุขภาพและการดูแลสุขภาพ
❖การซักประวัติ
ประวัติ ความถี่ในการเกิดอาการเจ็บป่วย
ประวัติการแพ้สารต่างๆ เช่น การแพ้ยา อาหาร สารเคมี
หรือสารอื่นๆรวมทั้งอาการแพ้่และการแก้ไขเมื่อเกิดอาการแพ้
❖การตรวจร่างกาย
ความร่วมมือในการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยหรือครอบครัว
ตัวอย่างข้อมูลแบบแผนการรับรู้ภาวะสุขภาพและการดูแลสุขภาพ
“ไม่อยากรู้ กลัวเป็นโรคที่รักษาไม่หาย”
แบบแผนการนอนหลับพักผ่อน (Sleep-rest Pattern)
แนวทางการประเมินแบบแผนการพักผ่อนนอนหลับ
❖ การซักประวัติ
พฤติกรรมการนอน ประวัติเกี่ยวกับอุปนิสัยการนอน
พฤติกรรมหรือสิ่งที่ช่วยทำให้นอนหลับได้ง่าย
❖ การตรวจร่างกาย
สังเกตหน้าตาว่านอนหลับพักผ่อนเพียงพอหรือไม
ตัวอย่างคำถามแบบแผนการพักผ่อนนอนหลับ
นอนวันละกี่ชั่วโมง นอนกลางวันไหม
แบบแผนสติปัญญาและการรับรู้ (Cognitive-perceptual Pattern)
การรับรู้ความรู้สึกและการตอบสนอง
ความสามารถทางสติปัญญา
แนวทางการประเมินแบบแผน
สติปัญญาและการรับรู้
❖ การซักประวัติ
ความรู้สึกทั่วไป สุขสบายหรือไม่สุขสบาย
❖ การตรวจร่างกาย
ประเมินระดับความรู้สึกตัว เช่น การลืมตา การสื่อภาษา การเคลื่อนไหวของร่างกาย และตรวจดูความผิดปกติของจมูก ตา หู ลิ้น ตรวจประสาทสัมผัสทางผิวหนัง
แบบแผนการรับรู้ตนเองและอัตมโนทัศน์
(Self perception–Self concept Pattern)
แบบแผนที่เกี่ยวกับความคิด ความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อตนเอง (อัตมโนทัศน์) การมองตนเอง
แนวทางการประเมินแบบแผนการรับรู้ตนเองและอัตมโนทัศน์
❖ การซักประวัติ
ความรู้สึกต่อตนเองเกี่ยวกับภาพลักษณ์โดยทั่วไป รู้สึกว่าอ้วน ผอม สูงหรือเตี้ยเกินไป
❖ การตรวจร่างกาย
สังเกตความสนใจตนเองของผู้ป่วย
❖ ตัวอย่างข้อมูล
ขณะเจ็บป่วย รู้สึกว่าหน้าตาเศร้าหมองรู้สึกเหนื่อยง่าย ต้องพึ่งพาครอบครัวให้มาดูแล
แบบแผนบทบาทและสัมพันธภาพ (Role-relationship Pattern)
แบบแผนเกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ การติดต่อสื่อสารและการมีสัมพันธภาพกับ
บุคคลทั้งภายในครอบครัวและสังคม
แนวทางการประเมินแบบแผน
บทบาทและสัมพันธภาพ
❖ การซักประวัติ
การแสดงบทบาทในครอบครัวทั้งในขณะที่มีสุขภาพดีและการเปลี่ยนแปลงบทบาทในขณะเจ็บป่วยมีผลกระทบต่อครอบครัวหรือไม่
❖ การตรวจร่างกาย
สังเกตพฤติกรรมต่างๆ หรือท่าทางที่แสดงออกต่อ
ครอบครัวและบุคคลในครอบครัวแสดงต่อผู้ป่วย
❖ ตัวอย่างข้อมูล
สมาชิกในครอบครัวมี 5 คน ตัวผู้ป่วยเอง
สามี ลูกชาย ลูกสะใภ้ และหลาน
แบบแผนด้านการมีกิจกรรมและการออกกำลังกาย
(Activity-Exercise Patterns)
❖การซักประวัติ
ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง
การได้รับบาดเจ็บหรือเกิดอุบัติเหตุต่อกระดูก ข้อและกล้ามเนื้อ เช่น การหกล้มถูกรถชน การบาดเจ็บจากการทำงานหรือการเล่นกีฬา
❖ การตรวจร่างกาย
ตรวจวัดสัญญาณชีพ ประเมินอาการของความดัน
โลหิตสูง เช่น ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว แขนขาอ่อนแรง
❖ การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
การตรวจเลือดและตรวจเอกซเรย์ปอด เพื่อประเมินภาวะผิดปกติที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ หรือไม่
ตัวอย่างคำถามแบบแผนกิจกรรมและการออกกำลังกาย
ในแต่ละวัน ตั้งแต่ตื่นนอน ท่านทำอะไรบ้าง กิจวัตรประจำวัน
แบบแผนเพศสัมพันธุ์และการเจริญพันธุ์ (Sexuality- reproductive Pattern)
เป็นแบบแผนเกี่ยวกับพัฒนาการตามเพศซึ่งมีอิทธิพลมาจากพัฒนาการด้านร่างกายและอิทธิพลของสังคม สิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดู ลักษณะการเจริญพันธุ์
แนวทางการประเมินแบบแผนเพศและการเจริญพันธุ์
❖ การซักประวัติ
การมีเพศสัมพันธ์ ปัญหาเพศสัมพันธ์ ความเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับการมีเพศสัมพันธ์ุและการป้องกันโรคติดต่อกันได้ทางเพศสัมพันธุ์
❖ การตรวจร่างกาย
สังเกตพฤติกรรมทางเพศจากลักษณะท่าทางที่แสดงออก ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น การใช้ภาษาและคำพูด รวมทั้งการแต่งกายว่าเหมาะสมกับเพศหรือไม่
❖ ตัวอย่างข้อมูล
มีประจำเดือนครั้งแรกอายุ 13 ปี ครั้งละ 3
วัน มาปกติ ไม่มีอาการปวดท้อง
แบบแผนการขับถ่ายของเสีย
(Elimination Patterns)
❖การซักประวัติ
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะวันละกี่ครั้ง จำนวนมากน้อยเท่าใด ชอบกลั้นปัสสาวะหรือไม่ ปัสสาวะตอนกลางคืนหรือไม่ จำนวนกี่ครั้ง
❖ การตรวจร่างกาย
สังเกตสี ปริมาณ ลักษณะปัสสาวะที่ขับออกมาจากผู้ป่วย และปัญหาการขับถ่ายปัสสาวะว่ามีความผิดปกติหรือไม่ สอดคล้องกับการซักประวัติหรือไม่
❖ การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
ตรวจเลือดเพื่อดูระดับของยูเรีย ไนโตรเจน และครีเอตินินในเลือดบ่งบอกการทำงานของไต
ตัวอย่างคำถามแบบแผนการขับถ่าย
ถ่ายอุจจาระบ่อยแค่ไหน วันละกี่ครั้งหรือ สัปดาห์ละกี่ครั้ง
แบบแผนการเผชิญความเครียดและความทนต่อความเครียด
(Coping –stress tolerance Pattern)
เป็นแบบแผนเกี่ยวกับการรับรู้ลักษณะอารมณ์พื้นฐาน การรับรู้เกี่ยวกับความเครียด
ปฏิกิริยาของร่างกายเมื่อเกิดความเครียด วิธีการแก้ไขและการจัดการกับความเครียด
แนวทางการประเมินแบบแผนการปรับตัวและการเผชิญความเครียด
❖ การซักประวัติ
ข้อมูลทั่วไป เช่น อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ สถานภาพสมรส ความสัมพันธ์ในครอบครัวสิ่งแวดล้อมที่บ้าน เพื่อประเมินสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด
❖ การตรวจร่างกาย
ตรวจสอบพฤติกรรมที่บ่งชี้ถึงความเครียด ความเศร้า ความวิตกกังวล
❖ ตัวอย่างข้อมูล
วิธีผ่อนคลายความเครียด คือ ฟังเพลง
อ่านหนังสือ ทำให้สบายใจขึ้น
แบบแผนด้านโภชนาการและการเผาผลาญอาหาร
(Nutritional-Metabolism Patterns)
แนวทางการประเมินแบบแผนโภชนาการและการเผาผลาญสารอาหาร
❖ การซักประวัติ
แบบแผนเกี่ยวกับบริโภคนิสัยและแบบแผนการดำเนินชีวิต (life style)
มีความรู้เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการหรือไม่
ชนิด และปริมาณน้ำที่ดื่มในหนึ่งวัน
❖ การตรวจร่างกาย
สังเกตพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ปริมาณและลักษณะอาหารที่รับประทาน
ตรวจลักษณะท้อง ตับ ม้าม ก้อนในท้อง ฟังเสียงการเคลื่อนไหวของลำไส้ (Bowel sound)
ค่าดัชนีมวลกาย เท่ากับ น้ำหนัก(ก.ก.) / ส่วนสูงเป็นเมตร2
❖ การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
การตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง (Ultrasound) ประเมินความผิดปกติของอวัยวะภายในช่องท้องและทางเดินอาหาร
ตัวอย่างข้อมูลแบบแผนโภชนาการและการเผาผลาญสารอาหาร
ดื่มน้ าประมาณวันละ 6-8 แก้ว/วัน
ปกติชอบดื่มกาแฟวันละ 1 แก้ว
แบบแผนค่านิยมและความเชื่อ (Value – belief Pattern)
ป็นแบบแผนเกี่ยวกับความเชื่อ ความศรัทธา ความมั่นคงเข้มแข็ง
ทางด้านจิตใจ สิ่งที่มีคุณค่า มีความหมายต่อชีวิต
แนวทางการประเมินแบบแผนคุณค่าและความเชื่อ
❖ การซักประวัติ
ความเชื่อ ความผูกพัน ความศรัทธาที่มีต่อสิ่งต่างๆ เช่น ความดีงาม ความถูกต้อง ศาสนา พระเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ หรือสิ่งเหนือธรรมชาติ
❖ การตรวจร่างกาย
สังเกตพฤติกรรมที่แสดงออกทางสีหน้า กริยาท่าทาง รวมทั้งการแสดงออกทางอารมณ์ เช่น
ซึมเศร้า แยกตัว ว้าเหว่ โกรธ หงุดหงิด
❖ ตัวอย่างคำถาม
ความเชื่อทางด้านสุขภาพ ของแสลง
: เชื่อว่าการกินไข่ทำให้แผลหายช้า
กรอบแนวคิดแบบแผนสุขภาพ
พัฒนาโดย มาร์จอรีย์กอร์ดอน (Majory Gordon) ศาสตราจารย์ทางการพยาบาลที่วิทยาลัยบอสตัน(Boston College of Nursing)ประเทศสหรัฐอเมริกา
แบบแผนสุขภาพใช้เป็นแนวคิดในการประเมินภาวะสุขภาพของบุคคลครอบครัวหรือชุมชน ทั้งในภาวะปกติและภาวะเจ็บป่วย
ประเมินจากพฤติกรรมทั้งภายนอกและภายใน
ประเมินจากพฤติกรรมทั้งภายนอกและภายในหรือผิดปกติ (dysfunction) ของแบบแผนสุขภาพ
มี 11 แบบแผน
องค์ประกอบของแบบแผนสุขภาพแต่ละแบบแผน
พฤติกรรมภายใน คือ พฤติกรรมที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าหรือใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ตรวจสอบได้โดยตรง
• กระบวนการทำงานทางกาย หรือทางชีวภาพในระบบต่างๆ เช่น ระบบหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด
• กระบวนการคิด ความรู้ของบุคคลเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ
• เจตคติ ซึ่งประกอบด้วยความรู้สึก ความคิดเห็น ค่านิยมของบุคคล
พฤติกรรมภายนอก คือการกระทำที่แสดงออกมาให้สังเกตเห็นได้รับรู้ได้ หรือใช้เครื่องมือตรวจสอบได้
• พฤติกรรมที่เป็นคำพูด
• พฤติกรรมที่ไม่ใช่คำพูด เช่น กิริยา ท่าทาง การเดิน การหัวเราะ ร้องไห้
• การตรวจโดยใช้เครื่องมือทางการแพทย์ เช่น การตรวจวัดสัญญาณชีพ การเอกซเรย์
• การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือด การตรวจสิ่งคัดหลังต่างๆ
ปัจจัยส่งเสริมพฤติกรรมและอุปสรรค
• พฤติกรรมภายนอก และพฤติกรรมภายใน
จะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน
• พฤติกรรมภายในเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมภายนอกสังเกตเห็นได้จาก สีหน้า แววตา กิริยาท่าทาง ทางร่างกาย
กระบวนการพยาบาล (Nursing Process)
การรวบรวมข้อมูล
• ข้อมูลอัตนัย (Subjective data) คือ การซักประวัติจากผู้รับบริการหรือญาติ (ในกรณีที่ผู้รับบริการไม่สามารถให้ข้อมูลได้หรือให้ข้อมูลได้ไม่ครอบคลุม)
• ข้อมูลปรนัย (Objective data) คือ ข้อมูลที่ได้จากการสังเกต/การตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และ การตรวจพิเศษ