Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แบบแผนสุขภาพ (Functional health patterns) - Coggle Diagram
แบบแผนสุขภาพ
(Functional health patterns)
แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน
1. แบบแผนการรับรู้สุขภาพและการดูแลสุขภาพ
(Health Perception-Health Management Patterns)
เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินความคิด ความเข้าใจของบุคคลต่อภาวะสุขภาพ ความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเอง พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ รวบรวมโดยการซักประวัติและการตรวจร่างกาย
2. แบบแผนด้านโภชนาการและการเผาผลาญอาหาร (Nutritional-Metabolism Patterns)
ประเมินพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ปัจจัยต่างๆที่มีอิทธิพลต่อการได้รับสารอาหาร ค้นหาสิ่งที่ บ่งชี้ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงของภาวะทุพโภชนาการ ประเมินการทำงานของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการ
3. แบบแผนการขับถ่ายของเสีย
(EliminationPatterns)
เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินกระบวนการขับถ่าย ลักษณะ ปริมาณ จำนวนครั้งของของเสียทุกประเภทที่ออกจากร่างกายทั้งอุจจาระ ปัสสาวะ น้ำและอีเล็กโตไลท์ ปัจจัยส่งเสริม ปัจจัยเสี่ยง และอุปสรรคต่อการขับถ่าย ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงกระบวนการขับถ่ายอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วยและการปรับตัวเพื่อแก้ไขปัญหา
4. แบบแผนด้านการมีกิจกรรมและการออกกำลังกาย (Activity-Exercise Patterns)
เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินระดับความสามารถในการประกอบกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน ข้อจำกัดหรือเงื่อนไขในการดำเนินชีวิตที่มีผลต่อการทำกิจกรรม ผลกระทบที่เกิดจากการเจ็บป่วยต่อการประกอบกิจกรรม ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อไม่สามารถทำกิจกรรมที่ตนเองต้องการได้เนื่องด้วยข้อจำกัดต่างๆ
5. แบบแผนการนอนหลับพักผ่อน (Sleep-rest Pattern)
เป็นแบบแผนเกี่ยวกับการนอนหลับ การพักผ่อน ปัญหาเกี่ยวกับการนอน ปัจจัยส่งเสริม ปัจจัยเสี่ยง และอุปสรรคต่อแบบแผนการนอน กิจกรรมที่บุคคลปฏิบัติเพื่อให้ผ่อนคลาย รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแบบแผนอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วย
6. แบบแผนสติปัญญาและการรับรู้ (Cognitive-perceptual Pattern)
1. การรับรู้ความรู้สึกและการตอบสนอง
เป็นแบบแผนเกี่ยวกับความสามารถของบุคคลในการรับรู้สิ่งเร้าและการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
2. ความสามารถทางสติปัญญา
เป็นแบบแผนเกี่ยวกับความสามารถและพัฒนาการทางสติปัญญาเกี่ยวกับความคิด ความจำ ความสามารถในการตัดสินใจการแก้ปัญหาและการสื่อภาษาต่างๆ
7. แบบแผนการรับรู้ตนเองและอัตมโนทัศน์ (Selfperception–Selfconcept Pattern)
แบบแผนที่เกี่ยวกับความคิด ความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อตนเอง (อัตมโนทัศน์) การมองตนเองเกี่ยวกับรูปร่าง หน้าตา ความพิการ (ภาพลักษณ์) ความสามารถ คุณค่า เอกลักษณ์ และความภูมิใจในตนเอง
8. แบบแผนบทบาทและสัมพันธภาพ
(Role-relationship Pattern)
แบบแผนเกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ การติดต่อสื่อสารและการมีสัมพันธภาพกับบุคคลภายในครอบครัวและสังคม
9. แบบแผนเพศสัมพันธุ์และการเจริญพันธ์ุ (Sexuality-reproductive Pattern)
เป็นแบบแผนเกี่ยวกับพัฒนาการตามเพศ ซึ่งมีอิทธิพลมาจากพัฒนาการด้านร่างกาย และอิทธิพลของสังคม สิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดู ลักษณะการเจริญพันธ์ุ พฤติกรรมทางเพศและเพศสัมพันธ์ ปัจจัยส่งเสริม ปัจจัยเสี่ยง หรือปัจจัยอุปสรรคต่อพัฒนาการตามเพศ และการเจริญพันธุ์ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแบบแผนอันเนื่องมาจากความเจ็บ
10. แบบแผนการเผชิญความเครียดและความทนต่อความเครียด
(Coping –stress tolerance Pattern)
เป็นแบบแผนเกี่ยวกับการรับรู้ลักษณะอารมณ์พื้น ฐาน การรับรู้เกี่ยวกับความเครียด ปฏิกิริยาของร่างกายเมื่อเกิดความเครียด วิธีการแก้ไขและการจัดการกับความเครียด ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดความเครียด ปัจจัยส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการปรับตัวกับความเครียด รวมทั้งการเป็นแปลงของแบบแผนอันเนื่องมาจากความเจ็บ
11. แบบแผนค่านิยมและความเชื่อ
(Value–belief Pattern)
เป็นแบบแผนเกี่ยวกับความเชื่อ ความศรัทธา ความมั่นคงเข้มแข็งทางด้านจิตใจ สิ่งที่มีคุณค่า มีความหมายต่อชีวิต สิ่งยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ เป้าหมายในการดำเนินชีวิต ควจามเชื่อทางด้านสุขภาพ และการปฏิบัติตนตามความเชื่อ ปัจจัยส่งเสริม และปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความมั่นคงเข้มแข็งทางด้านจิตใจ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแบบแผนอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วย
องค์ประกอบของแบบแผนสุขภาพแต่ละแบบแผน
พฤติกรรมภายใน
คือ พฤติกรรมที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าหรือใชัเครื่องมือทาง วิทยาศาสตร์ตรวจสอบได้โดยตรง
พฤติกรรมภายนอก
คือ การกระทำที่แสดงออกมาให้สังเกตเห็นได้ รับรู้ได้ หรือใช้เครื่องมือตรวจสอบได้
ปัจจัยส่งเสริมพฤติกรรมและอุปสรรค
• พฤติกรรมภายนอก และพฤติกรรมภายใน จะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน
• พฤติกรรมภายในเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมภายนอก