Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แบบแผนสุขภาพ (Functional health patterns) - Coggle Diagram
แบบแผนสุขภาพ
(Functional health patterns)
ความหมายการประเมินภาระสุขภาพตามแผนสุขภาพของกอร์ดอน
ความหมายของแบบแผนสุขภาพ
แบบแผน คือ พฤติกรรมของบุคคลที่ต่อเนื่องกันในช่วงเวลาหนึ่ง
แบบแผนสุขภาพ คือ พฤติกรรมด้านสุขภาพของบุคคลซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง และมีผลต่อสุขภาพ
กรอบแนวคิดแบบแผนสุขภาพ
พัฒนาโดย มาร์จอรีย์ กอร์ดอน (MajoryGordon) เป็นศาสตราจารย์ทางการพยาบาลที่วิทยาลัยบอสตัน (BostonCollegeofNursing) ประเทศสหรัฐอเมริกา
ใช้เป็นแนวคิดในการประเมินภาวะสุขภาพของบุคคล ครอบครัวหรือชุมชน ทั้งในภาวะปกติและภาวะเจ็บป่วย
ประเมินจากพฤติกรรมทั้งภายนอกและภายใน
การมีภาวะสุขภาพที่ดีหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับความปกติ (function) หรือผิดปกติ (dysfunction) ของแบบแผนสุขภาพ
11 แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน
1.แบบแผนการรับรู้สุขภาพและการดูแล
(Health Perception-Health Management Patterns)
2.แบบแผนด้านโภชนาการและการเผาผลาญอาหาร
(Nutritional-Metabolism Patterns)
3.แบบแผนการขับถ่ายของเสีย(EliminationPatterns)
4.แบบแผนด้านการมีกิจกรรมและการออกกำลังกาย
(Activity-Exercise Patterns)
5.แบบแผนการนอนหลับพักผ่อน (Sleep-restPattern)
6.แบบแผนสติปัญญาและการรับรู้ (Cognitive-perceptualPattern)
7.แบบแผนการเรียนรู้ตนเองและอัตมโนทัศน์
(Selfperception–SelfconceptPattern)
8.แบบแผนบทบาทและสัมพันธภาพ (Role-relationshipPattern)
9.แบบแผนเพศสัมพันธ์ุและการเจริญพันธ์ุ
(Sexuality-reproductivePattern)
10.แบบแผนการเผชิญความเคลียดและความทนต่อความเคลียด
(Coping –stress tolerance Pattern)
11.แบบแผนค่านิยมและความเชื่อ (Value–beliefPattern)
องค์ประกอบของแบบแผนสุขภาพแต่ละแบบแผน
พฤติกรรมภายใน คือ พฤติกรรมที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าหรือใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ตรวจสอบได้โดยตรง
-กระบวนการทำงานทางกาย หรือทางชีวภาพในระบบต่างๆ เช่น ระบบหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด
-กระบวนการคิด ความรู้ของบุคคลเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ
-เจตคติ ซื่งประกอบด้วยความรู้สึก ความคิดเห็น ค่านิยมของบุคคล
พฤติกรรมภายนอก คือ การกระทำที่แสดงออกมาให้สังเกตเห็นได้ รับรู้ได้ หรือใช้เครื่องมือตรวจสอบได้ เช่น
-พฤติกรรมที่เป็นคำพูด
-พฤติกรรมที่ไม่ใช่คำพูด เช่น กิริยา ท่าทาง การหัวเราะ ร้องไห้
-การตรวจโดยใช้ครื่องมือทางการแพทย์ เช่น การตรวจวัดสัญญาณชีพ การเอกซเรย์ เป็นต้น
-การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือด การตรวจสิ่งคัดหลั่งต่างๆ
ปัจจัยส่งเสริมพฤติกรรมและอุปสรรค
-พฤติกรรมภายนอกและพฤติกรรมภายในมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน
-พฤติกรรมภายในเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมภายนอก เช่น พฤติกรรมภายในมีความยินดีและพึงพอใจกับสิ่งที่ปราถนา ก็จะแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมภายนอกให้สังเกตเห็นได้จาก สีหน้า แววตา กิริยา ท่าทาง ทางร่างกาย เป็นต้น
การรวบรวมข้อมูล
ข้อมูลอัตนัย (Subjective data) คือ การซักประวัติจากผู้รับบริการหรือญาติ (ในกรณีที่ผู้รับบริการไม่สามารถให้ข้อมูลได้หรือให้ข้อมูลได้ไม่ครอบคลุม)
ตัวอย่าง -ผู้รับบริการชอบกินข้าวเหนียววันละ 3 มื้อ ชอบกินอาหารรสจัดโดยเฉพาะส้มตำ
-ปกติเข้านอนตั้งแต่เวลา 22.00-06.00น. หลับสนิททั้งคืน ไม่เคยนอนกลางวัน
-ปวดศีรษะข้างเดียว ปวดตุ๊บๆ
ข้อมูปรนัย (Objectivedata) คือ ข้อมูลที่ได้จากการสังเกต/การตรวจร่างกายการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการตรวจพิเศษ
ตัวอย่าง -ท่าทางเหนื่อยอ่อนเพลีย ขอบตาคล้ำ หาวนอนบ่อยๆ
-สีหน้าไม่ค่อยสดชื่น
-คลำพบก้อนบริเวณหน้าท้อง
กระบวนการพยาบาล
(Nursing Process)
การประเมินภาวะสุขภาพ
การวินิจฉัยการพยาบาล
การวางแผนการพยาบาล
การนำไปปฏิบัติ
การประเมินผล
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ได้จากการซักประวัติ ตวรจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจพิเศษต่างๆ
การจัดระบบข้อมูล
เป็นการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาจัดให้เป็นหมวดหมู่ ตามกรอบแนวคิดหรือทฤษฎีทางการพยาบาล
การบันทึกข้อมูล
ข้อมูลอัตนัย (Subjectivedata)
ข้อมูลปรนัย (Objective data)
แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน
(Majory Gordon)
1.แบบแผนการรับรู้สุขภาพและการดูแล
(Health Perception-Health Management Patterns)
การซักประวัติ
• การตรวจร่างการประจำปี
• การได้รับภูมิคุ้มกัน
• การรับประทานยาเป็นประจำและเหตุผลที่รับประทานยา
• การมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพ เช่น การดื่มเหล้า การสูบบุหรี่ การติดสารเสพติด
• ประวัติการแพ้สารต่างๆ เช่น การแพ้ยา อาหาร สารเคมี หรือสารอื่นๆ รวมทั้งอาการแพ้และการแก้ไขเมื่อเกิดอาการแพ้
การตรวจร่างกาย
• ลักษณะทั่วไปและความพิการ เช่น ท่าทางการเดิน การลุกนั่ง การเคลื่อนไหวแขนขา การพูดคุย การแสดงสีหน้า
• ความสะอาดของร่างกาย เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย
• ความร่วมมือในการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยหรือครอบครัว
• สังเกตการปฏิบัติตนขณะเจ็บป่วยของผู้ป่วย หรือการได้รับการดูแลจากครอบครัว
ตัวอย่างคำถาม
• เมื่อเจ็บป่วย/บาดเจ็บ ผู้ป่วยปฏิบัติอย่างไร
• เคยรักษาแบบพื้นบ้านหรือไม่ เคยรักษาด้วยวิธีการใดบ้าง
• เคยดื่มสุราหรือเครื่องดื่มมึนเมาเป็นประจำหรือไม่ หากเคยดื่มหรือยังดื่มอยู่ให้อธิบายรายละเอียดของชนิด จำนวน อะไรเป็นปัจจัยส่งเสริม/อุปสรรคในการหยุดดื่มหรือกลับมาดื่มใหม่
• เคยสูบบุหรี่หรือไม่ ถ้าเคยให้ซักถามรายละเอียดเกี่ยวกับชนิด จำนวน ระยะเวลาที่สูบ
• เคยใช้ยาหรือสารเสพติดอะไรเป็นประจำ
2.แบบแผนด้านโภชนาการและการเผาผลาญอาหาร
(Nutritional-Metabolism Patterns)
การซักประวัติ
• แบบแผนเกี่ยวกับบริโภคนิสัยและแบบแผนการดำเนินชีวิต (lifestyle) เช่น
อุปนิสัยในการรับประทานอาหาร กินอาหารเป็นเวลาหรือไม่ รับประทานเก่งหรือชอบกินจุบกินจิบหรือไม่
• มีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการอาหารหรือไม่
• ประวัติการเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น มีแผลหรือโรคภายในช่องปาก ฟันผุ โรคตับ ตับอ่อน ถุงน้ำดี และโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร
• ปัญหาในการรับประทานอาหาร
• ประวัติการเพิ่มหรือลดของน้ำหนักตัวจากปกติ
• ประวัติการเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญสารอาหารที่ผิดปกติทั้งของผู้ป่วยและครอบครัว
• การรับประทานยาที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญสารอาหาร เช่น ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด ยาฉีดอินซูลิน เป็นต้น
• ชนิด แบะปริมาณน้ำที่ดื่มในหนึ่งวัน
• โรคหรือภาวะที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดน้ำ ภาวะน้ำเกิน หรือมีปัญหาความไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์ เช่น โรคเบาหวาน โรคไตวาย ตับวาย ไข้เลือดออก เป็นต้น
• ยาที่ได้รับซึ่งอาจมีผลต่อความสมดุลของน้ำและอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย เช่น ยาขับปัสสาวะ Lasix จะทำให้มีการขับ Ca ออกมากขึ้น
การตรวจร่างกาย
• สังเกตพฤตการรับประทานอาหาร ปริมาณและลักษณะอาหาร
• ตรวจสุขภาพของผิวหนังและเยื่อบุว่าซีดหรือไม่ สังเกตสีของผิวหนัง ริมฝีปาก เยื่อบุตา ตรขาว ฝ่ามือ ฝ่าเท้า
• เยื่อบุปากและแผลในช่องปาก คอ ฟันผุ เหงือกอักเสบ ทอนซิลแดงโตหรือไม่
• ตรวจดูท่าทางว่ามีอาการอ่อนเพลีย กล้ามเนื้อแขนขาลีบหรือไม่ ลักษณะผม เล็บ ขาดสารอาหารหรือไม่
• สังเกตอาการต่างๆที่เกิดขึ้นจากการมีปัญหาการรับประทานอาหาร
• ตรวจลักษณะท้อง ตับ ม้าม ก้อนในท้อง ฟังเสียงการเคลื่อนไหวของลำไส้ (Bowelsound)
• ประเมินโภชนาการว่าอ้วน ท้วม ปกติ หรือผอม โดยประเมินจากน้ำหนักและส่วนสูงที่สมดุลกันหรือประเมินจากดัชนีมวลกาย (BMI)
• ค่าดัชนีมวลกาย เท่ากับ น้ำหนัก(ก.ก.)/ส่วนสูงเป็นเซนติเมตร
การตรวจร่างกาย (น้ำและอิเล็กโทรไลต์)
• ผิวหนัง ตรวจดูความยืดหยุ่น(skinturgor) ความอุ่น ความชื้น
• ตรวจริมฝีปาก เยื่อบุปาก และลิ้นว่ามีแตกแห้งหรือไม่
• ตรวจดูจำนวนและสีของน้ำปัสสาวะ
• ประเมินอาการขาดน้ำ (Dehydration) จากการตรวจร่างกาย เช่น มีไข้สูง อ่อนเพลีย ริมฝีปากและเยื่อบุปากแห้ง ตาโบ๋ ผิวหนังเหี่ยว ปัสสาวะออกน้อย สีเหลืองเข้ม ชีพจรเบาเร็ว
• ตรวจดูอาการบวม (Edema)
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ เช่น การตรวจเลือดเพื่อประเมินปัญหาเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ ความสมดุลของสารน้ำและเกลือแร่ต่างๆในร่างกาย, การตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องเพื่อประเมินความผิดปกติของอวัยวะภายในช่องท้องและทางเดินอาหาร
ตัวอย่างคำถาม
• ปกติอาหารที่รับประทานคืออะไร (เช้า กลางวัน เย็น)
• น้ำที่ดื่มเป็นประจำมีอะไรบ้าง ปริมาณเท่าใด
• มีเบื่ออาหารไหม
• มีปัญหาการกลืน การเคี้ยว หรือถูกจำกัดอาหารไหม
• การเป็นแผล หานช้าหรือปกติ
• มีปัญหาปาก เหงือกอักเสบ ฟันปลอม ฟันผุไหม
3.แบบแผนการขับถ่ายของเสีย(EliminationPatterns)
การซักประวัติ
• แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะวันละกี่ครั้ง จำนวนมากน้อยเท่าใด ชอบกลั้นปัสสาวะหรือไม่
• ปัญหาการขับถ่ายปัสสาวะและวิธีการแก้ไข เช่น ปัสสาวะเเสบขัด ปัสสาวะลำบาก กระปริดประรอย กลั้นปัสสาวะหรือไม่ ปัสสาวะมีเลือดออก ปัสสาวะขุ่น มีกลิ่นเหม็น มีหนองปน
• ปัจจัยส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อแบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะปกติ เช่น ความสะดวกหรือลำบากในการไปห้องน้ำ ห้องน้ำสะอาดหรือสกปรก อุปกรณ์ในการขับถ่ายปัสสาวะต่างๆ
• ประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินปัสสาวะหรือไต เช่น ประวัติการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ภาวะเสียเลือดหรือภาวะขาดน้ำมาก
• ประวัติการใช้ยาต่างๆ เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาลดความดันโลหิต ซึ่งมีผลต่การทำงานของไต
• ซักประวัติเกี่ยวกับแบบแผนการขับถ่ายอุจจาระ ได้แก่ ความถี่ เวลาของการขับถ่ายอุจจาระ ลักษณะการขับถ่าย
• ปัญหาในการขับถ่ายอุจจาระและวิธีการแก้ไข ได้แก่ มีปัญหาท้องผูกแก้ไขโดยการรับประทานยาระบายเป็นประจำ ท้องเสีย ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ อาการเจ็บปวด อุจจาระมีเลือดสดๆปน หรือถ่ายดำ
• ปัจจัยส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อแบบแผนการขับถ่ายอุจจาระ เช่น อุจจาระตามสถานที่อื่นๆไม่ได้นอกจากบ้านของตนเอง มีริดสีดวงทวารหนัก หรือแผลบริเวณทวารหนักทำให้ไม่กล้าเบ่งถ่ายอุจจาระ เป็นต้น
การตรวจร่างกาย
• สังเกตสี ปริมาณ ลักษณะปัสสาวะที่ขับออกมาจากผู้ป่วย และปัญหาการขับถ่ายปัสสาวะว่ามีความผิดปกติหรือไม่ สอดคล้องกับการซักประวัติหรือไม่
• สังเกตการมีกระเพาะปัสสาวะเต็ม (FullBladder)
• ตรวจร่างกายทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ถ้าเป็นนิ่วทางเดินปัสสาวะอาจจะมีอาการปวดเอวด้านหลัง ถ้ามีการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะอาจมีการขับถ่ายปัสสาวะผิดปกติ มีไข้ หนาวสั่น
• ตรวจดูลักษณะท้อง ตรวจการเคลื่อนไหวของลำไส้ (Bowel sound) ตรวจทวารหนักเพื่อดูแผล ตรวจปริมาณ ลักษณะของอุจจาระว่ามีลักษณะผิดปกติหรือไม่
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
• ตรวจปัสสาวะ เพื่อประเมินความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ
• ตรวจเลือดเพื่อดูระดับของยูเรีย ไนโครเจน และครีเอตินินในเลือด บอกถึงการทำงานของไต
• เอกซเรย์ Ultrasound ดูความผิดปกติของไต ท่อไต และการอุดตันทางเดินปัสสาวะ
• การตรวจอุจจาระเพื่อประเมินว่าอุจจาระมีเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว พยาธิ หรือมีเลือดปนในอุจจาระหรือไม่
• การส่องกล้องเข้าทางทวารหนักเพื่อตรวจหาความผิดปกติของลำไส้หรือเพื่อการถ่ายภาพรังสีทางทวารหนัก
ตัวอย่างคำถาม
• ถ่ายอุจจาระบ่อยแค่ไหน วันละกี่ครั้ง สัปดาห์ละกี่ครั้ง
• ลักษณะของอุจจาระปกติเป็นก้อนหรือเป็นน้ำ ลักษณะสีเป็นอย่างไร
• มีปัญหาในการขับถ่าย เช่น ท้องผูก ปวดท้อง กลั้นอุจจาระไม่ได้ไหม
• ถ้ามีปัญหาการขับถ่ายแก้ไขอย่างไร
• ถ่ายปัสสาวะกี่ครั้งในตอนกลางวันและกลางคืนกี่ครั้ง
• ลักษณะสี กลิ่น ปริมาณมีการเปลี่ยนแปลงไหม
• มีปัญหาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ไหม
• เหงื่อออกมากตอนไหน
4.แบบแผนด้านการมีกิจกรรมและการออกกำลังกาย
(Activity-Exercise Patterns)
การซักประวัติ
• ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง
• กิจกรรมในงานอาชีพหนักเบาอย่างไร
• การออกกำลังกาย ชนิดของการออกกำลังกาย ระยะเวลาในการออกกำลังกายสัปดาห์ละกี่ครั้ง
• ประวัติเกี่ยวกับนันทนาการ งานอดิเรกหรือการใช้เวลาว่าง
• ประวัติการเป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
• ปัจจัยที่ทำให้ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเปลี่ยนแปลง/ลดลง
• ปัจจัยเสริมที่ทำให้มีสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ
• การได้รับบาดแผลหรือเกิดอุบัติเหตุต่อกระดูก ข้อ กล้ามเนื้อ
• การเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับกระดูก ข้อ กล้ามเนื้อ
• ความเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ
• การมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาระบบทางเดินหายใจ
• การได้รับบาดเจ็บที่ทำให้เกิดปัญหาระบบทางเดินหายใจ
• การใช้ยาต่างๆ ที่มีผลต่อการหายใจ
• ประวัติการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
• ประวัติการมีปัจจัยเสี่ยงต่อการมีปัญหาระบบหัวใจและการไหลเวียนโลหิต
• ประวัติการใช้ยาที่มีผลต่อการทำงานของหัวใจและการไหลเวียนโลหิต
• ประวัติการเกิดอาการผิดปกติต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของหัวใจและการไหลเวียนเลือด
• ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัวด้วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดและหัวใจ ไขมันในเลือดสูง
การตรวจร่างกาย
• สังเกตความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ
• ประเมินความสามารถในการเคลื่อนไหวของแขนขา (Range of motion : ROM)
• ตรวจร่างกายระบบต่างๆ เพื่อประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ
• สังเกตการทำกิจกรรมต่างๆ ของผู้ป่วย ตรวจดูขนาด ลักษณะของกระดูกและกล้ามเนื้อว่ามีความผิดปกติหรือไม่ กล้ามเนื้อมีความตึงตัวไหม
• ตรวจวัดสัญญาณชีพ ประเมินอาการของความดันโลหิตสูง เช่น ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว แขนขาอ่อนแรง
• ตรวจอาการขาดออกซิเจน เช่น สังเกตผิวหนัง ริมฝีปาก เล็บมือ เล็บเท้ว่ามีอาการเขียวคล้ำหรือไม่ (Cyanosis) ฟังปอดเพื่อประเมินเสียงหายใจ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ คือการตรวจเลือดและตรวจเอกซเรย์ปอด เพื่อประเมินภาวะผิดปกติที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ หรือไม่
ตัวอย่างคำถาม
• ในแต่ละวัน ตั้งแต่ตื่นนอน ท่านทำอะไรบ้าง กิจวัตรประจำวัน
• ปัญหาในการทำกิจกรรมนั้นๆ หรือไม่
• แต่ละกิจกรรมที่ทำ ใช้เวลานานเท่าใด
• ประกอบอาชีพอะไร งานอดิเรก การใช้เวลาว่าง การออกกำลังกาย มีปัญหาขณะทำกิจกรรมนั้นๆ หรือไม่
• มีโรคประจำตัวที่ขัดขวางการทำกิจกรรมไหม
5.แบบแผนการนอนหลับพักผ่อน (Sleep-restPattern)
การซักประวัติ
• พฤติกรรมการนอน ประวัติอุปนิสัยการนอน คือ เป็นคนนอนดึกหรือนอนแต่หัวค่ำ ชอบหลับเวลากลางวันตื่นกลางคืน ระยะเวลาที่นอนหลับ นอนวันละกี่ชั่วโมง กลางวันกี่ชั่วโมง กลางคืนกี่ชั่วโมง เพียงพอหรือไม่
• พฤติกรรมหรือสิ่งที่ช่วยทำให้นอนหลับได้ง่าย เช่น ก่อนนอนต้องฟังเพลง ฟังธรรมะ ดื่มนมหรือเครื่องดื่มอื่นๆ
• ปัญหาเกี่ยวกับการนอน เช่น นอนมากไป นอนน้อย นอนไม่หลับ เป็นคนนอนยาก ตื่นเร็ว
• พฤติกรรมการผ่อนคลาย ชนิดและความถี่ของกิจกรรมที่ทำเพื่อให้ผ่อนคลาย เช่น การอ่านหนังสือ การดูหนัง ฟังเพลง
• มีการใช้ยานอนหลับหรือไม่ ถ้ามีใช้ยาอะไร ตั้งแต่เมื่อไหร่ ความถี่ในการใช้ยา
การตรวจร่างกาย
• สังเกตหน้าตาว่านอนหลับพักผ่อนเพียงพอหรือไม่ เช่น ความสดชื่นแจ่มใส ซึม อ่อนเพลีย หาวนอน ง่วงนอน หาวนอนบ่อย ใต้ตาเป็นรอยเขียวคล้ำ นอนหลับกลางวันตื่นกลางคืน
ตัวอย่างคำถาม
• นอนวันละกี่ชัวโมง นอนกลางวันไหม
• หลับสนิท หรือหลับๆตื่นๆ
• เมื่อตื่นนอนรู้สกอย่างไร (สดชื่น ง่วง ไม่กระปี้กระเปร่า)
• มีปัญหาการนอนไม่หลับไหม จัดการอย่างไร
6.แบบแผนสติปัญญาและการรับรู้ (Cognitive-perceptualPattern)
• การรับรู้ความรู้สึกและการตอบสนอง ได้แก่ การมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรับรส การรับรู้สึกทางผิวหนัง และการรับรู้เกี่ยวกับความเจ็บปวด
• ความสามารถทางสติปัญญาเกี่ยวข้องกับความคิด ความจำ ความสามารถในการตัดสินใจ การแก้ปัญหาและการสื่อภาษาต่างๆ
การซักประวัติ
• ความรู้สึกทั่วไป สุขสบายหรือไม่สบาย
• ปัญหาเกี่ยวกับความรู้สึกตัว เช่น มีอาการสับสน ซึม ไม่รู้สึกตัว
• ปัญหาเกี่ยวกับการได้กลิ่น เช่น มีความผิดปกติของจมูก มีสิงคัดหลั่ง ปวดจมูก การได้กลิ่นลดลง
• ปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น เช่น เห็นภาพซ้อน ตามัว มองไม่เห็น
• ปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน เช่น หูอื้อ หูตึง ไม่ได้ยิน มีเสียงดังในหู
• ปัญหาเกี่ยวกับการรับรส ไม่สามารถรัวรสได้ ปากชา ลิ้นชา
• ปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้ความรู้สึกทางผิวหนัง เช่น อาการชา คัน ความเจ็บปวด
• ประวัติความเจ็บป่วยหรือโรคประจำตัวที่มีผลต่อการรับรู้ความรู้สึกดังกล่าว เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง การได้รับอุบัติเหตุต่างๆ
• พัฒนาการด้านสติปัญญา โดยการซักถามเกี่ยวกับความสามารถในการเรียน ทำงาน การคิด การจำ การตัดสินใจ แก้ปัญหาและการสื่อสาร
• ความเจ็บป่วยที่ทำให้ความสามารถทางสติปัญญาเปลี่ยนแปลง เช่น ประวัติการของการขาดสารอาหารไอโอดีนทำให้เป็นโรคต่อมไทรอยด์ สมองได้รับการกระทบกระเทือน
• ประวัติการได้รับยาบางชนิดซึ่งมีผลต่อความคิด ความจำ หรือทำให้มีอาการสับสน
การตรวจร่างกาย
• ประเมินระดับความรู้สึกตัว เช่น การลืมตา การสื่อภาษา การเคลื่อนไหวร่างกาย และตรวจดูความผิดปกติของจมูก ตา หู ลิ้น ตรวจประสาทสัมผัสทางผิวหนัง
• สังเกตลักษณะทั่วไป เช่น รูปร่าง ลักษณะ หน้าตา ท่าทาง การแต่งกาย การดูแลสุขอนามัยทั่วๆไป พฤติกรรมที่แสดงออก ลักษณะคำพูด การพูดจาโต้ตอบ การใช้ภาษาที่เหมาะสม การรับรู้บุคคล เวลา สถานที่ การเกิดที่สมเหตุสมผล
7.แบบแผนการเรียนรู้ตนเองและอัตมโนทัศน์
(Selfperception–SelfconceptPattern)
การซักประวัติ
• ความรู้สึกต่อตนเองเกี่ยวกับภาพลักษณ์โดยทั่วไป รู้สึกว่าอ้วน ผอม สูงหรือเตี้ยเกินไป
• ความรู้สึกต่อตนเองเกี่ยวกับความสามารถในด้านต่างๆ
• ความรู้สึกต่อตนเองเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงร่างกายที่มีอุปกรณ์เพื่อนขึ้น เช่นการมีสายสวนปัสสาวะและถุงรองรับปัสสาวะ การมีสายยางให้อาหาร
• ความรู้สึกต่อตนเองเกี่ยวกับการสูญเสียอวัยวะจากการเป็นโรค การผ่าตัดหรือการเกิดอุบัติเหตุ อาจรู้สึกว่าตนเองเป็นคนพิการกลัวคนอื่นรังเกียจ
• ความรู้สึกต่อตนเองเกี่ยวกับความภาคภูมิใจในตนเอง ความพอใจในตนเอง ความรู้สึกสูญเสียความมั่นคงปลอดภัย ท้อแท้ สิ้นหวัง เป็นต้น
การตรวจร่างกาย
• สังเกตความสนใจตนเองของผู้ป่วย
• การแต่งกาย บุคลิกภาพ
• การกล่าวถึงตนเอง
• การสังเกตปฏิกิริยาตอบสนองหรือพฤติกรรมที่แสดงออกต่อการเปลี่ยนแปลงหรือสูญเสีย เช่น อาการอาย มีพฤติกรรมปิดบังอวัยวะของร่างกายเพราะไม่ต้องการให้ใครเห็นสภาพของตนเอง
ตัวอย่างคำถาม
• ท่านคิดว่าตัวเองเป็นคนมีนิสัยอย่างไร
• รู้สึกอย่างไรต่อสภาพตนเองตอนเจ็บป่วย
• คิดว่าตัวเองมีจุดเด่น จุดด้อยอะไรบ้าง
• คนอื่นมองคุณอย่างไร
• พื้นฐานอารมณ์เป็นอย่างไร
8.แบบแผนบทบาทและสัมพันธภาพ
(Role-relationshipPattern)
การซักประวัติ
• โครงสร้างครอบครัว เช่น จำนวนสมาชิกในครอครัวมีใครบ้าง
• หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ป่วยแะสมาชิกคนอื่นๆต่อร่างครอบครัว
• การแสดงบทบาทในครอบครัวทั้งในขณะที่มีสุขภาพดีและการเปลี่ยนแปลงบทบาทในขณะเจ็บป่วย
• สัมพันธภาพของผู้ป่วยกับครอบครัว เพื่อนร่วมงาน เพื่อนบ้าน
• ตำแหน่งความรับผิดชอบต่อหน้าที่ การงาน อาชีพ
• สิ่งที่เห็นอุปสรรคต่อการสร้างสัมพันธภาพที่ดี
การตรวจร่างกาย
• สังเกตพฤติกรรมต่างๆ หรือท่าทางที่แสดงออกต่อครอบครัวและบุคคลในครอบครัวแสดงต่อผู้ป่วย ลักษณะการโต้ตอบระหว่างผู้ป่วยกับบุคคลในครอบครัว รวมทั้งเพื่อน ผู้ร่วมงาน การมาเยี่ยมของคนในครอบครัวด้วย
ตัวอย่างคำถาม
• คุณอยู่กับใคร ครอบครัวมีใครบ้าง
• มีปัญหาในครอบครัวไหม ครอบครัวจัดการปัญหาอย่างไร
• ครอบครัวคิดอย่างไรกับการเจ็บป่วยของคุณ
• ในที่ทำงานมีปัญหาไหม มีเพื่อนสนิทไหม
• รู้สึกโดดเดี่ยวไหม
9.แบบแผนเพศสัมพันธ์ุและการเจริญพันธ์ุ
(Sexuality-reproductivePattern)
การซักประวัติ
• การเจริญพันธ์ุ และการทำงานของระบบสืบพันธุ์
• การมีเพศสัมพันธ์ ปัญหาเพศสัมพันธ์ ความเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับการมีเพศสัมพันธ์และการป้องกันโรคติดต่อ
• การมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่ติดต่อกันได้ทางเพศสัมพันธ์
• ผู้หญิงควรซักประวัติเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การแท้ง การมีบุตร การคุมกำเนิด การติดเชื้อของอวัยวะสืบพันธ์ุ ประวัติเกี่ยวกับการตกขาว อาการคันอวัยวะสืบพันธ์ุ ปัสสาวะแสบขัด วิธีการรักษาความสะอาด
การตรวจร่างกาย
• สังเกตพฤติกรรมทางเพศจากลักษณะท่าทางที่แสดงออก ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น การใช้ภาษาและคำพูด รวมทั้งการแต่งกายว่าเหมาะสมกับเพศหรือไม่
• เพศหญิง ตรวจเต้านม ต่อมน้ำเหลือง อวัยวะเพศหญิง เพศชาย ตรวจอวัยวะเพศชาย ตรวจอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคเอดส์ จะพบลักษณะผอมมาก มีเชื้อราในปาก มีรอยโรคตามผิวหนัง ท้องเสียเรื้อรัง
ตัวอย่างคำถาม
• ประวัติการมีประจำเดือน เริ่มมีเมื่ออายุกี่ปี แต่ละครั้งมีกี่วัน มีอาการร่วมขณะมีประจำเดือนหรือไม่
• มีบุตรกี่คน
• คุมกำเนิดหรือไม่ ใช้วิธีใด
• มีปัญหาเพศสัมพันธ์หรือไม่
10.แบบแผนการเผชิญความเคลียดและความทนต่อความเคลียด
(Coping –stress tolerance Pattern)
การซักประวัติ
• ข้อมูลทั่วไป เช่น อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ สถานภาพการสมรส ความสัมพันธ์ในครอบครัว สิ่งแวดล้อมที่บ้าน เพื่อประเมินสาเหตุที่ทำให้เกิดความเคลียด
• สัมภาษณ์เกี่ยวกับลักษณะอุปนิสัยหรืออารมณ์พื้นฐานของผู้ป่วย
• ซักถามสิ่งที่ทำให้เกิดความเคลียด ไม่สบายใจ วิตกกังวล กลัว เคลียด คับข้องใจ
• อาการต่างๆเมื่อเกิดความเคลียด นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร เหนื่อยหอบ
• วิธีการจัดการความเคลียด เช่น การระบายความเคลียดกับบุคคลใกล้ชิด
• ซักถามความต้องการความช่วยเหลือและบุคคลที่สนับสนุนให้กำลังใจช่วยแก้ปัญหา
การตรวจร่างกาย
• ตรวจสอบพฤติกรรมที่บ่งชี้ถึงความเครยด ความเศร้า ความวิตกกังวลได้แก่ สีหน้าหมกมุ่น ขวมดคิ้ว กระวนกระวาย ซึม เศร้า ร้องไห้ นอนไม่หลับ และสังเกตอาการต่างๆ เช่น เหงื่อออกมาก หน้าซีดหน้าแดง มือสั่น หายใจเร็ว
ตัวอย่างคำถาม
• ในช่วง1ปีที่ผ่านมามกีารเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในชีวิตไหม
• มีเรื่องไม่สบายใจเครียดหรือไม่แก้ไขอย่างไร
11.แบบแผนค่านิยมและความเชื่อ (Value–beliefPattern)
การซักประวัติ
• ความเชื่อ ความผูกพัน ความศรัทธาที่มีต่อสิ่งต่างๆ เช่น ความดีงาม ความถูกต้อง ศาสนา พระเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือสิ่งเหนือธรรมชาติ
• สิ่งที่สำคัญในชีวิต หรือสิ่งที่ยึดเหนี่ยวทางจิดตใจ อาจเป็นบุคคลวัตถุ สิ่งของ ศาสนา คุณงามความดี
• ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม
• ความหวังหรือเป้าหมายในชีวิต
• การปฏิบัติกิจกรรมต่างๆความเชื่อทางศาสนา ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม
• ความเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพ เช่น ความเชื่อเกี่ยวกับสาเหตุของการก่อโรค
การตรวจร่างกาย
• สังเกตพฤติกรรมที่แสดงออกทางสีหน้า กิริยาท่าทาง รวมทั้งการแสดงออกทางอารมณ์ เช่น ซึมเศร้า แยกตัว ว้าเหว่ โกรธ หงุดหงิด
• สังเกตคำพูดของผู้ป่วยและญาติที่แสดงถึงการให้คุณค่าและการมีความเชื่อในด้านต่างๆ
• สังเกตการแสดงออกที่แสดงถึงความเชื่อต่างๆ เช่น การมีพระพุทธรูป สร้อยพระ หรือมีวัตถุมงคล
ตัวอย่างคำถาม
• มีจุดมุ่งหมายในชีวิตอย่างไร
• มีสิ่งยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจคืออะไร
• สิ่งที่มีความหมายต่อผู้รับบริการมากที่สุดคืออะไร
• ความเชื่อเกี่ยวกับการเจ็บป่วยบ่อยครั้งนี้เป็นอย่างไร